ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สวลี ผกาพันธุ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Rotlink (คุย | ส่วนร่วม)
fixing dead links
บรรทัด 97: บรรทัด 97:
{{เริ่มอ้างอิง}}
{{เริ่มอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}
* [http://www.culture.go.th/supreme/artist_project.php?no=3&subno=3&subdetail=4&artistNo=30 หออัครศิลปิน]
* [http://web.archive.org/20070311010315/www.culture.go.th/supreme/artist_project.php?no=3&subno=3&subdetail=4&artistNo=30 หออัครศิลปิน]
* [http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp?stcolumnid=824&stissueid=2444&stcolcatid=2&stauthorid=9 คอลัมน์คนในภาพถ่าย นิตยสารสกุลไทย ประจำวัน อังคาร ที่ 21 สิงหาคม 2544]
* [http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp?stcolumnid=824&stissueid=2444&stcolcatid=2&stauthorid=9 คอลัมน์คนในภาพถ่าย นิตยสารสกุลไทย ประจำวัน อังคาร ที่ 21 สิงหาคม 2544]
{{จบอ้างอิง}}
{{จบอ้างอิง}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:40, 21 มกราคม 2557

สวลี ผกาพันธุ์
สวลี ผกาพันธุ์ ในงาน ที่นี่มีเพลงที่นี่มีรัก
สวลี ผกาพันธุ์ ในงาน ที่นี่มีเพลงที่นี่มีรัก
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด6 สิงหาคม พ.ศ. 2474 (92 ปี)
เชอร์รี่ ฮอฟแมนน์[1]
คู่สมรสอดีศักดิ์ เศวตนันทน์
ผลงานเด่นพจมาน พินิตนันทน์ - บ้านทรายทอง (พ.ศ. 2494)
ศิลปินแห่งชาติพ.ศ. 2532 - สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยสากล-ขับร้อง)

สวลี ผกาพันธุ์ มีชื่อจริงว่า เชอร์รี่ เศวตนันทน์[2] (สกุลเดิม ฮอฟแมนน์; 6 สิงหาคม 2474 - ) เกิดที่กรุงเทพมหานคร ศิลปินนักร้อง และนางเอกละคร มีผลงานบันทึกเสียงประมาณ 1,500 เพลง

นักร้องสตรีรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานมากที่สุดถึง 4 ครั้ง ปัจจุบันยังคงรับเชิญในรายการคอนเสิร์ต นับว่าเป็นศิลปินผู้ให้ความบันเทิงและจรรโลงจิตใจของคนในสังคมตลอดมา[3]

ประวัติ

เกิดวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2474 ที่กรุงเทพมหานคร มีชื่อจริงแต่แรกเกิดว่า เชอร์รี่ ฮอฟแมนน์ เป็นลูกครึ่งที่เกิดแต่บิดาชาวเดนมาร์ก และมารดาชาวไทย มีพี่น้องสองคน[1] เธอสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม เมื่อปี พ.ศ. 2490 จากนั้นได้เรียนต่อเพิ่มเติมทางด้านชวเลข และพิมพ์ดีด เมื่อเรียนจบแล้วได้เข้าทำงานเป็นเสมียนพิมพ์ดีดอยู่ที่เทศบาลนครกรุงเทพ และบริษัทสหไทยวัฒนา

สู่วงการบันเทิง

ความสนใจทางด้านการขับร้องและดนตรี เริ่มตั้งแต่สมัยเรียนชั้นมัธยม และด้วยความเป็นผู้มีน้ำเสียงดี จึงได้รับมอบหมายให้เป็นผู้นำในการร้องเพลงชาติทุกวัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2491 ขณะที่อายุได้ 17 ปี และกำลังทำงานที่บริษัทสหไทยวัฒนานั้น คุณมยุรี จันทร์เรือง ครูสอนวิชาขับร้องที่โรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม ได้ชวนไปดูการฝึกซ้อมละครของคณะผกาวลี ซึ่งเป็นของญาติ ทำให้มีโอกาสรู้จักกับ ครูลัดดา สารตายน (ศิลปะบรรเลง) ผู้ฝึกซ้อมและกำกับการแสดง

ครูมยุรีได้เล่าให้ครูลัดดาฟังว่าเชอร์รี่ร้องเพลงได้ดี ครูลัดดาจึงลองทดสอบเสียงโดยให้ร้องเพลงพระราชนิพนธ์สายฝน ปรากฏว่าเป็นที่พอใจ จึงชวนมาร้องเพลงสลับฉากละครในตอนเย็นหลังเลิกงาน เพลงแรกในชีวิตมีชื่อว่าเพลง หวานรื่น ผลงานเพลงของครูประสิทธิ์ ศิลปะบรรเลง โดยร้องคู่กับ วลิต สนธิรัตน์ ในวันนั้น นอกจากจะเป็นวันที่เริ่มต้นชีวิตการเป็นนักร้องแล้ว ยังเป็นวันที่ครูลัดดาได้ตั้งชื่อให้ท่านใช้ในการแสดงว่า สวลี แปลว่า "น้ำผึ้ง"[4] ส่วนนามสกุล ผกาพันธุ์ นั้น สด กูรมะโรหิต เป็นผู้ตั้งให้ในเวลาต่อมา โดยมีความหมายว่า "เผ่าพันธุ์ของดอกไม้" ซึ่งนำมาจากชื่อจริงของเธอคือ "เชอร์รี่"[4] จากนั้นมาได้มีโอกาสร้องเพลงสลับฉากเพิ่มขึ้นกับเริ่มแสดงเป็นตัวประกอบ มีบทพูดเล็ก ๆ น้อย ๆ และร้องเพลงในเรื่อง

เมื่องานการขับร้องเพลงและการแสดงละครมีมากขึ้น จึงตัดสินใจลาออกจากงานเพื่อมาทำงานด้านการบันเทิงอย่างเต็มตัว ต่อมาไม่นานได้รับบทนางเอกครั้งแรกใน ความพยาบาท ทำให้มีชื่อเป็นที่รู้จักทั่วไปและได้แสดงนำอีกหลายเรื่องจนคณะผกาวลีเลิกกิจการลงจึงได้ย้ายไปแสดงอยู่กับคณะอัศวินการละคร เป็นนางเอกเรื่อง มโนราห์ คู่กับ สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ และเรื่องอื่นๆ ที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ บ้านทรายทอง บทประพันธ์อมตะตลอดกาลของ ก.สุรางคนางค์ (ซึ่งต่อมาเป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์อีกหลายครั้ง) รับบทเป็น “พจมาน” คนแรก และได้ร้องเพลงไพเราะ หากรู้สักนิด ผลงานการประพันธ์ของ หม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์ เป็นที่นิยมมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังได้ร่วมแสดงกับคณะเทพศิลป์ และคณะศิวารมย์เป็นครั้งคราว

หลังจากมีประสบการณ์ในวงการละครเวทีมาระยะหนึ่ง สวลีและ อดีศักดิ์ เศวตนันทน์ สามี ตั้งคณะละคร นันทน์ศิลป เปิดการแสดงที่ศาลาเฉลิมนคร [5]และต่อมาในชื่อ คณะชื่นชุมนุมศิลปิน ประสบความสำเร็จเป็นอันดีจนถึงปลายยุคละครเวที ส.อาสนจินดา ได้ชักชวนสมัครพรรคพวกที่เคยร่วมงานละครเวทีกันมาก่อนมาแสดงภาพยนตร์ที่เตรียมสร้างโดยมีสวลีเป็นนางเอกอยู่ระยะหนึ่งกับมีโอกาสทำหน้าที่พากย์หนังด้วย ระยะนี้เริ่มร้องเพลงบันทึกแผ่นเสียง ผลงานล้วนประสบความสำเร็จอย่างสูง เช่น ลมหวน โรครัก ,หน้าชื่นอกตรม ,รักมีกรรม ฯลฯ

เมื่อมีการก่อตั้งไทยทีวี ช่อง 4 บางขุนพรหม สถานีโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2498 คณะชื่นชุมนุมศิลปิน ได้เข้ามาจัดรายการโทรทัศน์เป็นคณะแรก ด้วยการจัดรายการเพลง ซึ่งมี ครูสมาน กาญจนผลิน เป็นผู้ควบคุมวง และนักร้องที่มีชื่อเสียง เช่น สุเทพ วงศ์กำแหง, ชรินทร์ นันทนาคร, นริศ อารีย์, พูลศรี เจริญพงษ์, อดิเรก จันทร์เรือง ฯลฯ และละครโทรทัศน์หลายเรื่อง ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ยิ่งไปกว่านั้นทั้งยังเป็นผู้พากย์หนังทีวีชุด แลสซี่ สุนัขแสนรู้ อีกด้วย ส่วนงานบันทึกเสียงยังมีประจำทั้งเพลงเดี่ยวและเพลงคู่ นักร้องที่เคยร่วมงานด้วยซึ่งค่อนข้างหาฟังยากในปัจจุบันคือ ชาญ เย็นแข และ ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์

ด้วยประสบการณ์หลายด้านในวงการบันเทิงที่ประสบความสำเร็จถึงจนเป็นหนึ่งในทำเนียบแห่งศิลปินแห่งชาติท่านหนึ่งของประเทศไทย[6]

ผลงานเด่น

ไฟล์:พจมาน สว่างวงศ์ (2494).JPG
พจมาน พินิตนันทน์ จากละครเวทีบ้านทรายทอง ฉบับ พ.ศ. 2494 รับบทโดย สวลี ผกาพันธุ์

บท พจมาน พินิตนันทน์ คนแรกในนวนิยาย บ้านทรายทอง คู่กับ ฉลอง สิมะเสถียร ทั้งฉบับละครเวที คณะอัศวินการละคร ที่ ศาลาเฉลิมไทย และฉบับละครโทรทัศน์ คณะกัญชลิกา ทางไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม และเป็นคนแรกผู้ขับร้องเพลงเอกนำเรื่องชื่อเดียวกันด้วย[7]

ตัวอย่างผลงานเพลง

จำเลยรัก ,เดือนดารา ,หนีรัก ,ปล่อยฉันไป ,ใครหนอ ,หลงเงา ,ดวงใจ ,สนามอารมณ์ ,บำนาญรัก ,รักในใจ ,บ้านของเรา ,ไฟรักรุมใจ ,อย่าทรมานอีกเลย ,คนใจดำ ,รักเธอไม่ถึงบาท ,ฆ่าฉันให้ตายดีกว่า ,ฟ้ามิอาจกั้น ,รักเธอเสมอ ,ฉงน ,ฝัน ฝัน ,ถ้าวันนี้ยังมีเขาอยู่ ,นานเกินรอ ,ให้ ,ขวัญใจนักเรียน ฯลฯ

ผลงานภาพยนตร์

รายชื่อบางส่วน ซึ่งถ่ายทำด้วยฟิล์ม 16 มม.

  • กฤษดาอภินิหาร (2493) - นำแสดงโดย จมื่นมานิตย์นเรศ ,อบ บุญติด ,อารีย์ โทนะวนิก ,สวลี ผกาพันธุ์ ,พรรณี เกษแก้ว ,ชูศรี ผกาวลี กำกับโดย ลัดดา สารตายน ฉายครั้งแรกวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2493 ที่โรงหนังเฉลิมนคร
  • น้ำตาชาย (2497) - นำแสดงโดย สวลี ผกาพันธุ์ ,สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ ,สมควร กระจ่างศาสตร์ ,ทักษิณ แจ่มผล สร้างโดย บาร์โบสภาพยนตร์ กำกับโดย วิเชียร ฉวีวงศ์ ฉายต้นเดือนกันยายน พ.ศ. 2497 ที่โรงหนังควีนส์
  • เริงริษยา (2498) - นำแสดงโดย สวลี ผกาพันธุ์ และ โชติ สโมสร สร้างโดย รัตนภาพยนตร์ ฉายวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2498 ที่โรงหนังเอ็มไพร์
  • ล้มบาง (2498) - นำแสดงโดย ทักษิณ แจ่มผล ,ฑัต เอกฑัต ,สวลี ผกาพันธุ์ ,มาลิน เลขะวัฒนพิจารณ์ สร้างโดย บาร์โบสภาพยนตร์ กำกับโดย ส.อาสนจินดา ฉายวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2498 ที่โรงหนังควีนส์
  • ผารีซอ (2498) - นำแสดงโดย สวลี ผกาพันธุ์ ,ฤทธิ์ อินทนันท์ ,มนูญ ชูเกษ ,วิรัติ ภู่จีนาพันธ์ ,ล้อต๊อก ,ด.ช.สำรวย นิลประภา สร้างโดย หนังสือพิมพ์ปิยะมิตร โดย วิรัตน์ คูห์สุวรรณ อำนวยการสร้าง กำกับการแสดงโดย คุณาวุฒิ ฉายวันที่ 26 กรกฎาคม 2498 ที่โรงหนังศรีราชวงศ์
  • เสือน้อย (2498) - นำแสดงโดย ทักษิณ แจ่มผล ,ส.อาสนจินดา ,พันคำ ,สวลี ผกาพันธุ์ ,ล้อต๊อก ,จำรูญ ,สาหัส บุญหลง สร้างโดย บาร์โบสภาพยนตร์ กำกับโดย ส.อาสนจินดา (ฉายต่อจากเรื่อง โบตั๋น ปี พ.ศ. 2498) ที่โรงหนังคาเธ่ย์
  • เพลิงโลกันต์ (2498) - นำแสดงโดย สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ ,สวลี ผกาพันธุ์ ,แน่งน้อย ,มาลิน ,ไสล ,มนูญ ,สุรชาติ สร้างโดย เอราวัณภาพยนตร์ กำกับโดย เสนีย์ บุษปะเกศ ฉายปี พ.ศ. 2498
  • ไฟชีวิต (2499) - นำแสดงโดย สวลี ผกาพันธุ์ ,สุรชัย ลูกสุรินทร์ ,สมศรี เทียมกำแหง ,จรูญ ,ชูศรี สร้างโดย เกรียงศักดิ์ หาญวานิช กำกับโดย ลัดดา สารตายน ฉายปี พ.ศ. 2499 ที่โรงหนังนิวโอเดียน
  • สวรรค์หาย (2501) - นำแสดงโดย สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ ,อาคม มกรานนท์ ,อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา ,สวลี ผกาพันธุ์ , แขไข ,สาหัส ,ฑัต ,จรูญ สร้างโดย บริการสากลภาพยนตร์ โดย สกุล เกตุพันธ์ อำนวยการสร้าง กำกับโดย รังสี ทัศนพยัคฆ์ ฉายวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2501 ที่โรงหนังศาลาเฉลิมกรุง-เฉลิมบุรี

ฯลฯ

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 กาญจนาวดี ไชยสงค์. สวลี ผกาพันธ์ นักร้องในดวงใจ. เรียกดูเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2556
  2. ::THAI FILM FOUNDATION::
  3. สวลี ผกาพันธุ์
  4. 4.0 4.1 "แด่พลเอกสิทธิ์ จิรโรจน์" (Press release). ไทยโพสต์. 16 กุมภาพันธ์ 2553. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2556. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. ศุกรหัศน์ (เฉลิม เศวตนันทน์)กับเรื่องของศิลปิน ,ok nation.net
  6. สาขาศิลปการแสดง (เพลงไทยสากล-ขับร้อง) พุทธศักราช ๒๕๓๒
  7. http://www.thaifilm.com/forumDetail.asp?topicID=2866