ชาญ เย็นแข
ชาญ เย็นแข | |
---|---|
ชาญ เย็นแข | |
สารนิเทศภูมิหลัง | |
เกิด | 10 กันยายน พ.ศ. 2469 ชาญ เย็นแข ย่านเสาชิงช้า จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 5 ตุลาคม พ.ศ. 2531 (62 ปี) พัทยา จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย |
คู่สมรส | สุพรรณี สิงหราชา สมศรี เย็นแข (จนกระทั่งเสียชีวิต)[1] |
บุตร | 1 คน |
อาชีพ | นักร้อง นักพากย์ภาพยนตร์ |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2492 - 2531 |
ชาญ เย็นแข (10 กันยายน พ.ศ. 2469 - 5 ตุลาคม พ.ศ. 2531) เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่ง ที่มีชื่อเสียงจากเพลง "ค่าน้ำนม"จากการประพันธ์ของไพบูลย์ บุตรขัน
ประวัติ
[แก้]ชาญ เย็นแข เกิดที่กรุงเทพมหานคร ที่ย่านเสาชิงช้า จบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวัดบวรนิเวศ แล้วเริ่มเป็นนักร้องประกวดตามงานวัดในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ใช้ชื่อว่า "เอี่ยวพญา" โดยเพลงที่ประกวดงานวัดครั้งแรกในชีวิตของเขาเกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2484 โดยร้องเพลง กลางสายลม ขณะมีอายุเพียง 16 ปี ที่วัดจอมสุดาราม (วัดไพรงาม) สถานีรถไฟสามเสน ซึ่งผลการประกวดออกมาว่า เขาได้รางวัลที่ 3 [2] ส่วนเพลงแรกที่สามารถชนะเลิศการประกวดคือเพลง รำพันรัก เมื่อปี พ.ศ. 2488 โดยเป็นการร้องที่งานภูเขาทอง วัดสระเกศวรวิหาร หลังสงครามจึงได้มาฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของครูสง่า อารัมภีร
ในปี พ.ศ. 2492 ชาญ เย็นแข ได้ติดตามสง่า อารัมภีร ไปที่ห้องบันทึกเสียงซึ่งจะมีการบันทึกเสียงเพลง "ค่าน้ำนม" ของครูไพบูลย์ บุตรขัน แต่ปรากฏว่าบุญช่วย หิรัญสุนทร ซึ่งจะเป็นผู้ร้องเพลงนี้ไม่มา ครูสง่าจึงเสนอให้ชาญ ร้องเพลงนี้บันทึกเสียงแทน ปรากฏว่าเมื่อสถานีวิทยุนำเพลงนี้มาออกอากาศ ก็เป็นที่นิยม และทำให้ชาญ เย็นแข เป็นที่รู้จักมาตั้งแต่นั้น[3]
ชาญ เย็นแข ร้องเพลงที่มีชื่อเสียงอีก เช่น ชายสามโบสถ์, สามหัวใจ, กลิ่นโคลนสาบควาย, บัวลืมสระ, ตารางดวงใจ ฯลฯ และยังเคยเป็นนักพากย์ภาพยนตร์ และนักจัดรายการวิทยุ
การเสียชีวิต
[แก้]ชาญ เย็นแข สมรสกับคุณสุพรรณี สิงหราชา เมื่อปี พ.ศ. 2494 มีบุตรสาว 1 คน เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2531 [4] ขณะกำลังจะร้องเพลงที่ร้านอาหารของวงจันทร์ ไพโรจน์ ที่อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี พระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ คอลัมน์ สภาประชาชน, หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์, 8 ตุลาคม 2551, หน้า 5
- ↑ ประวัติของ ชาญ เย็นแข - ผู้ร้องเพลง ค่าน้ำนม
- ↑ เจนภพ จบกระบวนวรรณ. เพลงลูกทุ่ง, TK Park Music Library ชุดดนตรีไทย. กรุงเทพ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, พ.ศ. 2550. 176 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-8218-83-0
- ↑ ชีวประวัติ ชาญ เย็นแข[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ประวัติเพลง ค่าน้ำนม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-17. สืบค้นเมื่อ 2008-03-01.