เสนีย์ บุษปะเกศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสนีย์ บุษปะเกศ
เกิด23 ธันวาคม พ.ศ. 2466
กรุงเทพ
เสียชีวิต8 มกราคม พ.ศ. 2520 (อายุ 53 ปี)
อาชีพนักหนังสือพิมพ์ นักเขียน นักจัดรายการวิทยุ ผู้กำกับภาพยนตร์
คู่สมรสรัชนี จันทรังษี

เสนีย์ บุษปะเกศ (23 ธันวาคม พ.ศ. 24668 มกราคม พ.ศ. 2520) เป็นนักเขียนเรื่องสั้น และนวนิยายที่มีชื่อเสียง อีกทั้งยังเป็นนักจัดรายการวิทยุ ผู้สร้างละครเวที ละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และนักเขียนบท ทั้งนี้ เขาเป็นพ่อของคฑาหัสต์ บุษปะเกศ[1]นายกสมาคมนักเขียนบทละครโทรทัศน์

เสนีย์ บุษปะเกศ เกิดที่ตำบลวรจักร กรุงเทพ เป็นบุตรคนโตของขุนประมวลกสิภูมิ กับนางประทิน บุษปะเกศ มีน้องชายชื่อ กมล บุษปะเกศ จบชั้นมัธยม 6 จากโรงเรียนวัดไตรมิตรวิทยาราม รับราชการกรมที่ดิน และกรมศุลกากร อย่างละหนึ่งปี แล้วจึงออกจากราชการ

เสนีย์ เข้าทำงานในวงการหนังสือพิมพ์ มีผลงานเขียนตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์หลายฉบับ เช่น บางกอกรายวัน บางกอกรายสัปดาห์ สยามนิกร สยามสมัย สกุลไทย สกุลไชย รัคนโกสินทร์ เริงรมย์ แล้วหันไปเป็นนักจัดรายการวิทยุ นำข่าวจากหนังสือพิมพ์มาอ่านออกอากาศทางวิทยุ รายการตอบคำถามไขปัญหาชีวิตและความรัก ชื่อรายการ "สี่มุมบ้าน" ออกอากาศทางสถานีวิทยุทหารอากาศ ทุ่งมหาเมฆ ต่อมาย้ายไปออกอากาศทางสถานีวิทยุกองปราบเสียงสามยอด ชื่อรายการ "สี่มุมเมือง" และทำละครวิทยุร่วมกับภรรยา คือ รัชนี จันทรังษี ที่มีชื่อเสียงคือเรื่อง ตะวันยอแสง

เสนีย์ บุษปะเกศ ยังมีผลงานช่วยเหลือสังคม เป็นหัวหน้าชมรม "ไทยช่วยไทย" เพื่อช่วยเหลือประชาชน และทหาร ตำรวจ ตามชายแดน และเป็นนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย คนที่ 4 ระหว่างปี พ.ศ. 2519 - 2520

เสนีย์ บุษปะเกศ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2520 ด้วยวัย 53 ปี

ผลงานการประพันธ์นวนิยาย[แก้]

  • ตะวันยอแสง (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2553 ช่อง 7 และ 2560 ช่อง 3)
  • ไพรกระเจิง
  • รุ่งทิพย์ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2545 ช่อง 7 และ 2566 ช่อง 3)
  • ผู้ดีเถื่อน
  • ฟ้าเพียงดิน (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2544 ช่อง 3 และ 2565 ช่องวัน)
  • แก้วลืมคอน (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2548 ช่อง 5 และ 2564 ช่องวัน)
  • คมแฝก (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2551 ช่อง 7 และ 2561 ช่อง 3)
  • แม่คุณเอ๋ย
  • หงษ์ทอง
  • ดาวพระเสาร์

อ้างอิง[แก้]

  • สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย. เสี้ยวศตวรรษ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์สามัคคีสาร (ดอกหญ้า), พ.ศ. 2539. 263 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-89658-0-5