ข้ามไปเนื้อหา

สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรี
ประสูติ1 กันยายน พ.ศ. 2313
สิ้นพระชนม์27 พฤษภาคม พ.ศ. 2365 (51 ปี)
พระบุตรพระวงศ์เธอ กรมหมื่นมนตรีรักษา
หม่อมเจ้าแบน มนตรีกุล
ราชสกุลมนตรีกุล
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาเงิน แซ่ตัน
พระมารดาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์

สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรี (2 กันยายน พ.ศ. 2313 - 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2365) หรือพระนามเดิมว่า จุ้ย พระโอรสลำดับที่ 5 ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ กับเจ้าขรัวเงิน แซ่ตัน ประสูติในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อวันเสาร์ เดือน 10 ขึ้น 12 ค่ำ ปีขาล โทศก จ.ศ. 1132 ตรงกับวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2313[1]

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชปราบดาภิเษกในปี พ.ศ. 2325 จึงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าจุ้ย ถึง พ.ศ. 2346 ได้เลื่อนเป็นกรมขุนพิทักษ์มนตรี[2] และในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2349 (นับแบบปัจจุบันเป็น พ.ศ. 2350) จึงโปรดให้เลื่อนเป็นกรมหลวงพิทักษ์มนตรี[3]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์มีพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ โปรดให้กำกับกรมวังและกรมมหาดไทย[1]

พระองค์ทรงเชี่ยวชาญด้านงานช่างและนาฏศิลป์ รวมทั้งทรงเป็นกวี พระองค์ทรงเป็นผู้ที่คิดค้น เกรินบันไดนาค ที่ใช้ในงานพระราชพิธีพระบรมศพซึ่งเป็นงานฝีพระหัตถ์ทรงประดิษฐ์ ของพระองค์ตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์

กรมหลวงพิทักษ์มนตรีประชวรเปนพระยอดในพระศอมาตั้งแต่เดือน 3 ปีมะเส็ง ตรีศก สิ้นพระชนม์เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย จัตวาศก จ.ศ. 1184 เวลาเช้า 5 โมง 4 บาท[4] ตรงกับวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2365 พระชันษา 52 ปี[1] ทรงเป็นต้น ราชสกุลมนตรีกุล

พระโอรสธิดา

[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรี
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

หม่อมเจ้าชาย 15 พระองค์ หม่อมเจ้าหญิง 22 พระองค์ สถาปนาขึ้นเป็นพระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชาย 1 พระองค์

  1. หม่อมเจ้าหญิงใหญ่ มนตรีกุล (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อ พ.ศ. 2396 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ)
  2. หม่อมเจ้าหญิงงิ้ว มนตรีกุล (พระราชทานเพลิง ณ วัดอรุณราชวราราม พ.ศ. 2410)
  3. หม่อมเจ้านุช มนตรีกุล
  4. หม่อมเจ้าหญิงเครือวัน มนตรีกุล (สิ้นชีพิตักษัยในสมัยรัชกาลที่ 3)
  5. หม่อมเจ้าหญิงเรณู มนตรีกุล (ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2334)
  6. หม่อมเจ้าหญิงพลับ มนตรีกุล (ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2335 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2421 สิริชนมายุ 87 ปี)
  7. หม่อมเจ้าหญิงยิ้ม มนตรีกุล (ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2335)
  8. หม่อมเจ้าหญิงองุ่น มนตรีกุล (ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2346 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2417 สิริชนมายุ 72 ปี)
  9. หม่อมเจ้าหญิงสำอาง มนตรีกุล (ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2350 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2417 สิริชนมายุ 68 ปี)
  10. หม่อมเจ้าหญิงสังวาลย์ มนตรีกุล (พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ พ.ศ. 2410)
  11. หม่อมเจ้าหญิงกำพร้า มนตรีกุล
  12. หม่อมเจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม (สิ้นชีพิตักษัยในสมัยรัชกาลที่ 3)
  13. หม่อมเจ้าหญิงประดับ มนตรีกุล (ประสูติ พ.ศ. 2354 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2438 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2439)
  14. หม่อมเจ้าหญิงปริก มนตรีกุล บางแห่งว่าชื่อหม่อมเจ้าหญิงปรก
  15. หม่อมเจ้าหญิงพนม มนตรีกุล (ประสูติ พ.ศ. 2354 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2445)
  16. หม่อมเจ้าโต มนตรีกุล (ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2354 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2417 สิริชนมายุ 64 ปี) มีธิดา คือ
    1. หม่อมราชวงศ์หญิงวรรณ มนตรีกุล[5] สมรสกับหม่อมเจ้าสมพงศ์ พระโอรสในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอมเรศรัศมี
  17. หม่อมเจ้าบุตร มนตรีกุล (ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2354)
  18. หม่อมเจ้าพยอม มนตรีกุล (ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2355 ต่อมาในรัชกาลที่ 4 เมื่อปี พ.ศ. 2396 ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระวงศ์เธอ กรมหมื่นมนตรีรักษา สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2408 สิริพระชนมายุ 53 ปี) มีโอรส คือ
    1. หม่อมราชวงศ์โต มนตรีกุล (หม่อมภารตราชา) มีบรรดาศักดิ์เป็นหม่อมราชนิกุล
  19. หม่อมเจ้าหญิงพลอย มนตรีกุล (ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2358 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2432 สิริชนมายุ 75 ปี)
  20. หม่อมเจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม
  21. หม่อมเจ้าภุมเรศ มนตรีกุล
  22. หม่อมเจ้าชายไม่ปรากฏพระนาม
  23. หม่อมเจ้าหนู มนตรีกุล (ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2359 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2421 สิริชนมายุ 63 ปี)
  24. หม่อมเจ้าหญิงพริ้ง มนตรีกุล (พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2438)
  25. หม่อมเจ้าคุมพล มนตรีกุล (พระราชทานเพลิง ณ วัดระฆังโฆสิตาราม พ.ศ. 2395)
  26. หม่อมเจ้าแขก มนตรีกุล บางแห่งว่าชื่อหม่อมเจ้าหนูแข (พระราชทานเพลิง ณ วัดดุสิตาราม พ.ศ. 2396)
  27. หม่อมเจ้าหญิงหรุ่น มนตรีกุล บางแห่งว่าชื่อหม่อมเจ้าหญิงหรุ่ม (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2442 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446)
  28. หม่อมเจ้าหญิงเขม มนตรีกุล (ประสูติประมาณ พ.ศ. 2363-พ.ศ. 2365 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2445 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2453)
  29. หม่อมเจ้าอำไพ มนตรีกุล (สิ้นชีพิตักษัยประมาณปี พ.ศ. 2392-พ.ศ. 2393)
  30. หม่อมเจ้าแบบ มนตรีกุล หรือ หม่อมเจ้าแบน มนตรีกุล (พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2475) ประสูติแต่หม่อมทองอยู่ มนตรีกุล ณ อยุธยา ทรงสมรสกับหม่อมกระจาด มนตรีกุล ณ อยุธยา มีโอรส คือ
    1. หม่อมราชวงศ์ตาบ มนตรีกุล สมรสกับยิ้ม มนตรีกุล ณ อยุธยาและอ้วน มนตรีกุล ณ อยุธยา มีโอรสธิดา คือ
      1. หม่อมหลวงต่วนศรี มนตรีกุล ชายาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
      2. หม่อมหลวงตาด มนตรีกุล ชายาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
      3. หม่อมหลวงโต มนตรีกุล
      4. หม่อมหลวงเต่า มนตรีกุล
      5. หม่อมหลวงเตาะ มนตรีกุล
      6. หม่อมหลวงตอง มนตรีกุล
      7. หม่อมหลวงเติบ มนตรีกุล
    2. หม่อมราชวงศ์เสงี่ยม มนตรีกุล
    3. หม่อมราชวงศ์แพ มนตรีกุล
    4. หม่อมราชวงศ์งาม มนตรีกุล
  31. หม่อมเจ้าหญิงประภา มนตรีกุล (ไม่มีข้อมูล - พ.ศ. 2393)
  32. หม่อมเจ้าช้อย มนตรีกุล
  33. หม่อมเจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม
  34. หม่อมเจ้าหญิงสุด มนตรีกุล (ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2365 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2443 สิริชนมายุ 79 ปี พระราชทานเพลิง ณ วัดดุสิดาราม เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2444)
  35. หม่อมเจ้าชายไม่ปรากฏพระนาม
  36. หม่อมเจ้าชายไม่ปรากฏพระนาม
  37. หม่อมเจ้าชายไม่ปรากฏพระนาม


พระอิสริยยศ

[แก้]
  • พ.ศ. 2325 : สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าจุ้ย
  • พ.ศ. 2346 : สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าจุ้ย กรมขุนพิทักษมนตรี
  • พ.ศ. 2350 : สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าจุ้ย กรมหลวงพิทักษมนตรี
  • ในสมัยรัชกาลที่ 2 : สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุ้ย กรมหลวงพิทักษมนตรี
  • ในปัจจุบัน : สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุ้ย กรมหลวงพิทักษมนตรี

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
บรรณานุกรม
  • ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา (พ.ศ. 2459). "พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๒". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  • ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (11 สิงหาคม พ.ศ. 2531). "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  • ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. ISBN 974-221-818-8
  • สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 57. ISBN 978-974-417-594-6