วัดสุนทรธรรมทาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดสุนทรธรรมทาน
วัดสุนทรธรรมทาน (วัดแคนางเลิ้ง) เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร.jpg
Map
ชื่อสามัญวัดสุนทรธรรมทาน, วัดแคนางเลิ้ง, วัดสนามกระบือ
ที่ตั้งเลขที่ 216 ถนนพะเนียง แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระประธานพระพุทธสุนทรมุนี
พระพุทธรูปสำคัญหลวงพ่อบารมี
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดสุนทรธรรมทาน เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในแขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร

ประวัติ[แก้]

วัดสุนทรธรรมทานหรือ วัดแคนางเลิ้ง เพี้ยนมาจากคำว่า วัดแค่ ตามสำเนียงชาวใต้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนั้น ยังเคยเรียกวัดนี้ว่า วัดสนามกระบือ ตามชื่อตำบลที่ตั้งของวัดในขณะนั้น (ตำบลสนามควาย) ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดสุนทรธรรมทาน" ด้วยการเอาพระนามกรมหมื่นสุนทรธิบดีและนามพระธรรมทานาจารย์ วัดสระเกศ มาผสมกัน[1] แต่ชาวบ้านยังคงเรียกวา "วัดแค"[2] วัดสุนทรธรรมทานตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2380 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2502

อาคารเสนาสนะ[แก้]

พระอุโบสถหลังใหม่ก่อสร้างแทนหลังเดิมที่ชำรุดทรุดโทรม ภายในประดิษฐาน พระพุทธสุนทรมุนี พระประธานหน้าตักกว้าง 4 ศอก มีซุ้มเรือนแก้วประดับแบบพระพุทธชินราชลงรักปิดทองประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีหินอ่อน ภายนอกเป็นชานกำแพงแก้วประดับมุกด้านหน้าและด้านหลังโดยรอบพระอุโบสถ มีวิหารคดตกแต่งด้วยดวงดาวปิดทองล่องชาดที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ประดับภาพปูนปั้นลายไทยปิดทองล่องชาด แสดงภาพพุทธประวัติพระพุทธเจ้าขณะประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน

ปูชนียวัตถุมี หลวงพ่อบารมี ประดิษฐานอยู่ใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ใกล้กับพระอุโบสถ วัดยังมีอนุสรณ์พระราชธรรมวิจารณ์ (ธูป เขมะสิริ) อดีตเจ้าอาวาส วัดสุนทรธรรมทานยังเป็นที่บรรจุอัฐิของมิตร ชัยบัญชา[3]

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประวัติชุมชนชาวละคอนหรือชาวนอกและละคอนชาตรี นางเลิ้ง กรุงเทพมหานคร". กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.[ลิงก์เสีย]
  2. "วัดสุนทรธรรมทาน (วัดแค)". กองการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-05. สืบค้นเมื่อ 2020-09-17.
  3. "เดิน เล่น @นางเลิ้ง ย่านบันเทิงรุ่นปู่ย่า #เที่ยวเก๋ในย่านเก่า". ธนาคารไทยพาณิชย์.