รายพระนามพระมหากษัตริย์บัลแกเรีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าซาร์
แห่งราชอาณาจักรบัลแกเรีย
ราชาธิปไตยในอดีต
ธงประจำพระองค์ของพระเจ้าซาร์
พระเจ้าซาร์ซีเมออนที่ 2 แห่งบัลแกเรีย
พระมหากษัตริย์แห่งบัลแกเรียองค์สุดท้าย

ปฐมกษัตริย์ ข่านอัสปารุค
(ดำรงพระอิสริยยศเป็น ข่าน)
องค์สุดท้าย ซาร์ซีแมออนที่ 2
(ดำรงพระอิสริยยศเป็น ซาร์)
สถานพำนัก พระราชวังหลวงบัลแกเรีย, โซเฟีย
ราชอาณาจักรบัลแกเรีย
เริ่มระบอบ พ.ศ. 1224 (ค.ศ. 681)
สิ้นสุดระบอบ 15 กันยายน พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946)
(1,265 ปี 289 วัน)
ผู้อ้างสิทธิ์ อดีตซาร์ซีแมออนที่ 2

พระมหากษัตริย์แห่งบัลแกเรีย ทรงปกครองประเทศอย่างเป็นอิสระทั้งสิ้น 3 ระยะ คือ ระยะแรกตั้งแต่การก่อตั้งจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 จนถึงช่วงของการพิชิตบัลแกเรียของไบแซนไทน์ (ค.ศ. 681–1018) ระยะที่ 2 ตั้งแต่เหตุการณ์การก่อการกำเริบของอาแซนและแปเตอร์ ซึ่งก่อให้เกิดการจัดตั้งจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2 จนถึงช่วงของการยึดครองส่วนที่เหลือของราชรัฐในดินแดนบัลแกเรียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน (ค.ศ. 1185–1396) และช่วงที่ 3 เมื่อมีการจัดตั้งรัฐอิสระบัลแกเรีย จนถึงช่วงของการล้มล้างระบบกษัตริย์ด้วยการลงประชามติว่าด้วยสาธารณรัฐบัลแกเรีย ค.ศ. 1946 (ค.ศ. 1878–1946)[1]

ผู้ปกครองบัลแกเรียระยะแรกใช้พระอิสริยยศ "กานัสอูบีกี" (ข่าน) และในเวลาต่อมาในตำแหน่ง "กเนียส" (เจ้าชาย) ซึ่งใช้ในระยะเวลาสั้นๆ และต่อมาในตำแหน่ง "ซาร์" (จักรพรรดิ) สำหรับพระอิสริยยศ "ซาร์" นั้น มีที่มาจากคำว่าไกซาร์ในภาษาละติน ซึ่งใช้พระอิสริยยศนี้เป็นครั้งแรกในรัชสมัยของซาร์ซีแมออนที่ 1 แห่งบัลแกเรียหลังจากที่ได้รับชัยชนะเหนือจักรวรรดิไบแซนไทน์ใน ค.ศ. 913 และหลังจากนั้นผู้ปกครองบัลแกเรียจะใช้พระอิสริยยศนี้จนกระทั่งบัลแกเรียตกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมันใน ค.ศ. 1396 หลังจากมีการก่อตั้งบัลแกเรียขึ้นมาใหม่ในฐานะประเทศราชของออตโตมันใน ค.ศ. 1878 ผู้ปกครองพระองค์แรกของบัลแกเรียยุคใหม่อย่างเจ้าชายอาแลกซันเดอร์ที่ 1 ทรงเลือกใช้พระอิสริยยศ "กเนียส" (เจ้าชาย) และเมื่อบัลแกเรียได้รับอิสรภาพโดยนิตินัยใน ค.ศ. 1908 ผู้ปกครองบัลแกเรียในขณะนั้นอย่างแฟร์ดีนันต์ที่ 1 ทรงเลือกใช้พระอิสริยยศซาร์อีกครั้ง รวมทั้งพระทายาทของพระองค์ คือ ซาร์บอริสที่ 3 และซาร์ซีแมออนที่ 2 จนกระทั่งเกิดการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ใน ค.ศ. 1946 ในช่วงสมัยจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 และที่ 2 ตำแหน่งซาร์นั้นมีความหมายว่า "จักรพรรดิ" ในขณะที่ในภาษาบัลแกเรียสมัยใหม่ตำแหน่งนี้มีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์"

สำหรับรายพระนามในหน้านี้ไม่รวมผู้ปกครองชนบัลการ์ของเกรตบัลแกเรียเก่าและผู้อ้างสิทธิ์ที่ไม่ประสบความสำเร็จในการแย่งชิงราชบัลลังก์

จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1[แก้]

ราชวงศ์ดูลอ[แก้]

ลำดับที่ พระนาม ประสูติ สวรรคต ครองราชย์ หมายเหตุ
1 ข่านอัสปารุค
บัลแกเรีย: Аспарух
(Asparuh)
ป. ค.ศ. 640 ค.ศ. 701
แม่น้ำนีเปอร์
ค.ศ. 681–701 พระโอรสของข่านกุบรัตแห่งเกรตบัลแกเรียเก่า หลังจากได้รับชัยชนะในยุทธการที่อองกัลใน ค.ศ. 680 พระองค์ทรงสถาปนาบัลแกเรียขึ้น สวรรคตใน ค.ศ. 701 จากการรบกับชาวคาซาร์[2]
2 ข่านแตร์แวล
บัลแกเรีย: Тервел
(Tervel)
ค.ศ. 675
จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1
ค.ศ. 721
จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1
ค.ศ. 701–721 ได้รับพระอิสริยยศซีซาร์จากการช่วยเหลือจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 2ในการกู้คืนพระราชบัลลังก์ใน ค.ศ. 705 [3][4] พระองค์ยังให้ความช่วยเหลือไบแซนไทน์ในสงครามการล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิล (ค.ศ. 717–718) พระองค์สวรรคต ค.ศ. 721[5]
3 ข่านกอร์แมซีย์
บัลแกเรีย: Кормесий
(Kormesiy)
ไม่ทราบ ค.ศ. 738 ค.ศ. 721–738 ไม่ทราบวันสวรรคต[6]
4 ข่านแซวาร์
บัลแกเรีย: Севар
(Sevar)
ไม่ทราบ ค.ศ. 753 (ไม่แน่นอน) ค.ศ. 738–753 ข่านพระองค์สุดท้ายจากราชวงศ์ดูลอ อาจจะสวรรคตหรือถูกถอดถอนจากบัลลังก์ใน ค.ศ. 753[7]

ตระกูลวอกิล (ครั้งที่ 1)[แก้]

ลำดับที่ พระนาม ประสูติ สวรรคต ครองราชย์ หมายเหตุ
5 ข่านกอร์มีซอช
บัลแกเรีย: Кормисош
(Kormisosh)
ไม่ทราบ ไม่ทราบ ค.ศ. 753–756 เป็นยุคเริ่มต้นของปัญหาความมั่นคงภายใน ถูกถอดถอน ค.ศ. 756[8]
6 ข่านวีแนค
บัลแกเรีย: Винех
(Vineh)
ไม่ทราบ ค.ศ. 762 ค.ศ. 756–762 ถูกปลงพระชนม์ ค.ศ 762[9]

ตระกูลอูเกน[แก้]

ลำดับที่ พระนาม ประสูติ สวรรคต ครองราชย์ หมายเหตุ
7 ข่านแตแลตส์
บัลแกเรีย: Телец
(Telets)
ไม่ทราบ ค.ศ. 765 ค.ศ. 762–765 ถูกปลงพระชนม์ ค.ศ 765[10]

ยุคไร้ราชวงศ์ (ครั้งที่ 1)[แก้]

ลำดับที่ พระนาม ประสูติ สวรรคต ครองราชย์ หมายเหตุ
8 ข่านซาบิน
บัลแกเรีย: Сабин
(Sabin)
ไม่ทราบ ไม่ทราบ ค.ศ. 765–766 อาจมีเชื้อสายชาวสลาฟ ถูกสภาประชาชนถอดถอนใน ค.ศ. 766 ลี้ภัยไปอยู่ไบแซนไทน์[11]

ตระกูลวอกิล (ครั้งที่ 2)[แก้]

ลำดับที่ พระนาม ประสูติ สวรรคต ครองราชย์ หมายเหตุ
9 ข่านอูมอร์
บัลแกเรีย: Умор
(Umor)
ไม่ทราบ ไม่ทราบ ค.ศ. 766 ครองราชย์ 40 วัน ถูกถอดถอนใน ค.ศ. 766 และลี้ภัยไปอยู่ไบแซนไทน์[12]

ยุคไร้ราชวงศ์ (ครั้งที่ 2)[แก้]

ลำดับที่ พระนาม ประสูติ สวรรคต ครองราชย์ หมายเหตุ
10 ข่านตอกตู
บัลแกเรีย: Токту
(Toktu)
ไม่ทราบ ค.ศ. 767 ค.ศ. 766–767 ถูกฝ่ายตรงข้ามปลงพระชนม์ในป่าแถบแม่น้ำดานูบใน ค.ศ. 767[13][14]
11 ข่านปากัน
บัลแกเรีย: Паган
(Pagan)
ไม่ทราบ ค.ศ. 768 ค.ศ. 767–768 ถูกคนรับใช้ปลงพระชนม์บริเวณภูมิภาควาร์นา[15]

ราชวงศ์ดูลอ (กรุม)[แก้]

ลำดับที่ พระนาม ประสูติ สวรรคต ครองราชย์ หมายเหตุ
12 ข่านแตแลริก
บัลแกเรีย: Телериг
(Telerig)
ค.ศ. 706 ค.ศ. 777
คอนสแตนติโนเปิล, จักรวรรดิไบแซนไทน์
ค.ศ. 768–777 พระโอรสของข่านแตร์แวล หลบหนีไปอยู่คอนสแตนติโนเปิลใน ค.ศ. 777 และเปลี่ยนไปนับถืออีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์[16]
13 ข่านการ์ดัม
บัลแกเรีย: Кардам
(Kardam)
ค.ศ. 735 ป. ค.ศ. 803 ค.ศ. 777–803 ปัญหาภายในสิ้นสุดลง มีการฟื้นฟูความมั่นคงและเสถียรภาพในประเทศ ไม่ทราบวันสวรรคตที่แน่นอน[17]
14 ข่านกรุม
บัลแกเรีย: Крум
(Krum)
ไม่ทราบ 13 เมษายน ค.ศ. 814 ค.ศ. 803–814 พระองค์เป็นที่รู้จักจากยุทธการที่ปลิสกา ซึ่งจักรพรรดินิเคฟอรอสที่ 1แห่งไบแซนไทน์สวรรคตในการรบครั้งนี้ ข่านกรุมยังเป็นผู้ริเริ่มกฎหมายลายลักษณ์อักษรขึ้นเป็นครั้งแรกในบัลแกเรีย พระองค์สวรรคตด้วยเหตุที่คาดว่ามาจากพระหทัยวายในวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 814 อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้มีอยู่หลายทฤษฎีที่ใช้อธิบายสาเหตุการสวรรคตของพระองค์[18]
15 ข่านออมูร์ตัก
บัลแกเรีย: Омуртаг
(Omurtag)
ไม่ทราบ ค.ศ. 831 ค.ศ. 814–831 เป็นที่รู้จักในฐานะข่านนักก่อสร้าง ปรับปรุงการบริหารราชการแผ่นดินและการเบียดเบียนชาวคริสต์[19]
16 ข่านมาลามีร์
บัลแกเรีย: Маламир
(Malamir)
ไม่ทราบ ค.ศ. 836 ค.ศ. 831–836 พระโอรสองค์ที่ 3 และองค์เล็กสุดของข่านออมูร์ตัก สวรรคตเมื่อพระชนมายุยังน้อย[20]
17 ข่านแปรซีอันที่ 1
บัลแกเรีย: Пресиан I
(Presian I)
ไม่ทราบ ค.ศ. 852 ค.ศ. 836–852 เกือบทุกส่วนของภูมิภาคมาซิโดเนียเป็นส่วนหนึ่งของบัลแกเรีย[21]
18 เจ้าชายบอริสที่ 1
บัลแกเรีย: Борис I
(Boris I)
ไม่ทราบ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 907
แปรสลัฟ, บัลแกเรีย
ค.ศ. 852–889 เกิดกระบวนการเปลี่ยนบัลแกเรียให้เป็นคริสต์ กำหนดให้ภาษาบัลแกเรียเก่าเป็นภาษาราชการของประเทศและคริสตจักร ยอมรับคริสตจักรบัลแกเรียนออร์ทอดอกซ์[22] สละราชสมบัติ ค.ศ. 883 และสวรรคตวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 902 พระชนมายุประมาณ 80 พรรษา [23] ได้รับการยกย่องให้เป็นนักบุญ
19 เจ้าชายวลาดีมีร์
บัลแกเรีย: Владимир
(Vladimir)
ไม่ทราบ ค.ศ. 893 (ไม่แน่นอน) ค.ศ. 889–893 พระโอรสองค์โตของเจ้าชายบอริสที่ 1 พยายามที่จะรื้อฟื้นศาสนาเทงกรี พระบิดาถอดถอนและทำให้พระองค์พระเนตรบอดใน ค.ศ. 893[24]
20 ซาร์ซีแมออนที่ 1
บัลแกเรีย: Симеон I
(Simeon I)
ค.ศ. 864/865 27 พฤษภาคม ค.ศ. 927
แปรสลัฟ, บัลแกเรีย
ค.ศ. 893–927 พระโอรสองค์ที่ 3 ของเจ้าชายบอริสที่ 1 ถูกเลี้ยงมาเพื่อให้เป็นนักบวช แต่ได้ราชบัลลังก์จากสภาแห่งแปรสลัฟ บัลแกเรียมีความเจริญและอาณาเขตกว้างไกลมากที่สุด และเป็นยุคทองของวัฒนธรรมบัลแกเรีย สวรรคตจากพระอาการหทัยวายในวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 927 พระชนมายุ 63 พรรษา[25]
21 ซาร์แปเตอร์ที่ 1
บัลแกเรีย: Петър I
(Peter I)
ไม่ทราบ 30 มกราคม ค.ศ. 970 ค.ศ. 927–969 พระโอรสพระองค์ที่ 2 ของซาร์ซีแมออนที่ 1 พระองค์ครองราชย์ 42 ปี ซึ่งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์บัลแกเรีย พระองค์สละราชสมบัติใน ค.ศ. 969 เพื่อเป็นนักบวช สวรรคตวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 970[26] ได้รับการยกย่องให้เป็นนักบุญ
22 ซาร์บอริสที่ 2
บัลแกเรีย: Борис II
(Boris II)
ป. ค.ศ. 931 ค.ศ. 977 ค.ศ. 969–971 พระโอรสองค์โตของซาร์แปเตอร์ที่ 1 ถูกไบแซนไทน์ถอดจากราชบัลลังก์ใน ค.ศ. 971 พระองค์ถูกกองทหารชายแดนของบัลแกเรียสังหาร เมื่อพระองค์พยายามที่จะเสด็จกลับประเทศใน ค.ศ. 977[27]
คณะผู้ปกครองบัลแกเรียตะวันตกจากตระกูลกอมีตอปูลี ประกอบด้วยดาวิต, มอยแซย์, อารอน และซามูอิล ระหว่าง ค.ศ. 971–977[28]
23 ซาร์รอมัน
บัลแกเรีย: Роман
(Roman)
ช่วงต้นของคริสต์ทศวรรษที่ 930 ค.ศ. 997
คอนสแตนติโนเปิล, จักรวรรดิไบแซนไทน์
ค.ศ. 977–991 (997) พระโอรสพระองค์ที่ 2 ของซาร์แปเตอร์ที่ 1 พระองค์ถูกไบแซนไทน์ตอนพระอัณฑะ แต่หนีกลับมาบัลแกเรียได้ใน ค.ศ. 977 ต่อมาถูกจับในการรบกับไบแซนไทน์ใน ค.ศ. 991 สวรรคตภายในคุกที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ค.ศ. 997[29]

ราชวงศ์กอมีตอปูลี[แก้]

ลำดับที่ พระนาม ประสูติ สวรรคต ครองราชย์ หมายเหตุ
24 ซาร์ซามูอิล
บัลแกเรีย: Самуил
(Samuil)
ไม่ทราบ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1014
แปรสปา, บัลแกเรีย
ค.ศ. 997–1014 ผู้ปกครองร่วมและนายพลภายใต้การปกครองของซาร์รอมันตั้งแต่ ค.ศ. 976–997 สถาปนาพระองค์เป็นซาร์แห่งบัลแกเรียใน ค.ศ. 997 สวรรคตจากพระอาการหทัยวายวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1014 พระชนมายุประมาณ 69–70 พรรษา[30]
25 ซาร์กาวริล ราดอมีร์
บัลแกเรีย: Гаврил Радомир
(Gavril Radomir)
ไม่ทราบ สิงหาคม ค.ศ. 1015 ค.ศ. 1014–1015 พระโอรสองค์โตของซาร์ซามูอิล ขึ้นครองราชย์วันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1014 ถูกปลงพระชนม์โดยซาร์อีวัน วลาดิสลัฟ ซึ่งเป็นพระภาดาของพระองค์ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1015[31]
26 ซาร์อีวัน วลาดิสลัฟ
บัลแกเรีย: Иван Владислав
(Ivan Vladislav)
ไม่ทราบ กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1018
ดูร์เริส
ค.ศ. 1015–1018 พระโอรสของอารอนและพระภาติยะของซาร์ซามูอิล สวรรคตในการล้อมดูร์เริส[32] การสวรรคตของพระองค์ถือได้ว่าเป็นจุดสิ้นสุดของจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 โดยถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของไบแซนไทน์
27 ซาร์แปรซีอันที่ 2
บัลแกเรีย: Пресиян II
(Presian II)
ค.ศ. 996/97 (ไม่แน่นอน) ค.ศ. 1060/61 (ไม่แน่นอน) ค.ศ. 1018 รัชทายาทของซาร์อีวัน วลาดิสลัฟ นักประวัติศาสตร์บางคนถือว่าพระองค์เป็นซาร์พระองค์สุดท้ายของจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1[33]

พระมหากษัตริย์ที่อ้างสิทธิ์ระหว่างการปกครองโดยจักรวรรดิไบแซนไทน์[แก้]

ลำดับที่ พระนาม ประสูติ สวรรคต ครองราชย์ หมายเหตุ
ซาร์แปเตอร์ที่ 2
บัลแกเรีย: Петър II
(Peter II)
ไม่ทราบ ค.ศ. 1041 ค.ศ. 1040–1041 อ้างว่าเป็นทายาทของซาร์กาวริล ราดอมีร์ ก่อกำเริบเพื่อต่อต้านไบแซนไทน์ แต่ไม่สำเร็จ[34]
ซาร์แปเตอร์ที่ 3
บัลแกเรีย: Петър ІІІ
(Peter III)
ไม่ทราบ ค.ศ. 1101 ค.ศ. 1072 มีพระนามว่ากอนสตันติน บอดิน โดยพระองค์มีซาร์ซามูอิลเป็นบรรพบุรุษ พระองค์ได้รับการสถาปนาเป็นซาร์แห่งบัลแกเรียในช่วงของการก่อกำเริบของแกออร์กี วอยแตค[35] ระหว่าง ค.ศ. 1081–1101 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งดูกลิยา

จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2[แก้]

ราชวงศ์อาแซน (ครั้งที่ 1)[แก้]

ลำดับที่ พระนาม ประสูติ สวรรคต ครองราชย์ หมายเหตุ
1
(1)
ซาร์แปเตอร์ที่ 4
บัลแกเรีย: Петър IV
(Peter IV)
ไม่ทราบ ค.ศ. 1197 ค.ศ. 1185–1190 พระนามเดิมแตออดอร์ พระองค์สถาปนาตนขึ้นเป็นซาร์แห่งบัลแกเรียเมื่อการก่อการกำเริบประสบความสำเร็จ ใน ค.ศ. 1190 พระองค์สละราชสมบัติให้กับพระอนุชา[36]
2 ซาร์อีวัน อาแซนที่ 1
บัลแกเรีย: Иван Асен I
(Ivan Asen I)
ไม่ทราบ ค.ศ. 1196 ค.ศ. 1190–1196 พระอนุชาของซาร์แปเตอร์ที่ 4 พระองค์เป็นแม่ทัพที่ประสบความสำเร็จ ปกครองจนกระทั่งถึง ค.ศ. 1196 และถูกปลงพระชนม์โดยอีวังกอ ซึ่งเป็นพระภาดาของพระองค์[37]
1
(2)
ซาร์แปเตอร์ที่ 4
บัลแกเรีย: Петър IV
(Peter IV)
ไม่ทราบ ค.ศ. 1197 ค.ศ. 1196–1197 กลับมาครองราชบัลลังก์หลังจากพระอนุชาสวรรคต ถูกปลงพระชนม์ใน ค.ศ. 1197[36]
3 ซาร์กาลอยัน
บัลแกเรีย: Калоян
(Kaloyan)
ป. ค.ศ. 1172 ตุลาคม ค.ศ. 1207 ค.ศ. 1197–1207 พระอนุชาของซาร์แปเตอร์ที่ 4 และซาร์อีวัน อาแซนที่ 1 ทรงขยายอาณาเขตของจักรวรรดิบัลแกเรีย และพยายามนำคริสตจักรบัลแกเรียเข้าสู่นิกายโรมันคาทอลิก พระองค์ถูกปลงพระชนม์ในเหตุการณ์การล้อมที่เทสซาโลนีกี[38]
4 ซาร์บอริล
บัลแกเรีย: Борил
(ฺBoril)
ไม่ทราบ ไม่ทราบ ค.ศ. 1207–1218 พระโอรสของพระกนิษฐาของซาร์กาลอยัน ถูกถอดถอนและทำให้พระเนตรบอด ค.ศ. 1218[39]
5 ซาร์อีวัน อาแซนที่ 2
บัลแกเรีย: Иван Асен II
(Ivan Asen II)
คริสต์ทศวรรษที่ 1190 พฤษภาคม/มิถุนายน ค.ศ. 1241 ค.ศ. 1218–1241 พระโอรสพระองค์ใหญ่ในซาร์อีวัน อาแซนที่ 1 เป็นยุคที่จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2 เจริญถึงขีดสุด สวรรคตใน ค.ศ. 1241 พระชนมายุประมาณ 46–47 พรรษา[40]
6 ซาร์กาลีมัน อาแซนที่ 1
บัลแกเรีย: Калиман Асен I
(Kaliman Asen I)
ค.ศ. 1234 สิงหาคม/กันยายน ค.ศ. 1246 ค.ศ. 1241–1246 พระโอรสของซาร์อีวัน อาแซนที่ 2 ประสูติใน ค.ศ. 1234 พระองค์เสด็จสวรรคตใน ค.ศ. 1246 ซึ่งเป็นไปได้จากการถูกลอบวางยาพิษ พระชนมายุ 12 พรรษา[41]
7 ซาร์มีคาอิลที่ 2 อาแซน
บัลแกเรีย: Михаил II Асен
(Michael II Asen)
ป. ค.ศ. 1239 ธันวาคม ค.ศ. 1256 หรือ
มกราคม ค.ศ. 1257
ค.ศ. 1246–1256 พระโอรสของซาร์อีวัน อาแซนที่ 2 ถูกปลงพระชนม์โดยเจ้าชายกาลีมัน พระภาดาของพระองค์[42]
8 ซาร์กาลีมัน อาแซนที่ 2
บัลแกเรีย: Калиман Асен II
(Kaliman Asen II)
ไม่ทราบ ค.ศ. 1256 ค.ศ. 1256 ถูกปลงพระชนม์ใน ค.ศ. 1256[43]
9 ซาร์มิตซอ อาแซน
บัลแกเรีย: Мицо Асен
(Mitso Asen)
ไม่ทราบ ค.ศ. 1277/78 ค.ศ. 1256–1257 พระชามาดาในซาร์อีวัน อาแซนที่ 2 หลบหนีไปที่จักรวรรดิไนเซียใน ค.ศ. 1257[44]
10 ซาร์กอนสตันตินที่ 1
บัลแกเรีย: Константин I
(Constantine I)
ไม่ทราบ ค.ศ. 1277 ค.ศ. 1257–1277 บอลยาร์แห่งสโกเปีย สวรรคตในการรบกับอีวัยลอใน ค.ศ. 1277[45]

ยุคไร้ราชวงศ์[แก้]

ลำดับที่ พระนาม ประสูติ สวรรคต ครองราชย์ หมายเหตุ
11 ซาร์อีวัยลอ
บัลแกเรีย: Ивайло
(Ivaylo)
ไม่ทราบ ค.ศ. 1281 ค.ศ. 1278–1279 ผู้นำของการก่อกำเริบของชาวนา หนีไปอยู่กับโกลเดนฮอร์ด แต่ถูกโนไกข่านปลงพระชนม์[46]

ราชวงศ์อาแซน (ครั้งที่ 2)[แก้]

ลำดับที่ พระนาม ประสูติ สวรรคต ครองราชย์ หมายเหตุ
12 ซาร์อีวัน อาแซนที่ 3
บัลแกเรีย: Иван Асен III
(Ivan Asen III)
ค.ศ. 1259/60 ค.ศ. 1303 ค.ศ. 1279–1280 พระโอรสพระองค์โตของซาร์มิตซอ อาแซน หลบหนีไปอยู่คอนสแตนติโนเปิลพร้อมทรัพย์สมบัติ[47]

ราชวงศ์แตร์แตร์ (ครั้งที่ 1)[แก้]

ลำดับที่ พระนาม ประสูติ สวรรคต ครองราชย์ หมายเหตุ
13 ซาร์แกออร์กีที่ 1 แตร์แตร์
บัลแกเรีย: Георги I Тертер
(George I Terter)
ไม่ทราบ ค.ศ. 1308/09 ค.ศ. 1280–1292 บอลยาร์แห่งแชร์แวน หนีไปอยู่ไบแซนไทน์ ค.ศ. 1292 สวรรคตที่บัลแกเรียประมาณ ค.ศ. 1308–1309[48]

ราชวงศ์สมีแลตส์[แก้]

ลำดับที่ พระนาม ประสูติ สวรรคต ครองราชย์ หมายเหตุ
14 ซาร์สมีแลตส์
บัลแกเรีย: Смилец
(Smilets)
ไม่ทราบ ค.ศ. 1298 ค.ศ. 1292–1298 บอลยาร์แห่งกอปซิส ถูกปลงพระชนม์หรือสวรรคตด้วยเหตุตามธรรมชาติใน ค.ศ. 1298[49]
15 ซาร์อีวันที่ 2
บัลแกเรีย: Иван II
(Ivan II)
ป. ค.ศ. 1290 ก่อน ค.ศ. 1330 ค.ศ. 1298–1299 พระโอรสของซาร์สมีแลตส์ ขึ้นครองราชย์เมื่อทรงพระเยาว์ สูญเสียพระราชบัลลังก์ให้กับเจ้าชายชาวมองโกล[50]

ราชวงศ์บอร์จีกิน[แก้]

ลำดับที่ พระนาม ประสูติ สวรรคต ครองราชย์ หมายเหตุ
16 ซาร์ชากา
บัลแกเรีย: Чака
(Chaka)
ไม่ทราบ ค.ศ. 1300 ค.ศ. 1299–1300 พระโอรสของโนไกข่าน ถูกถอดถอนและปลงพระชนม์ในคุก ค.ศ. 1300[51]

ราชวงศ์แตร์แตร์ (ครั้งที่ 2)[แก้]

ลำดับที่ พระนาม ประสูติ สวรรคต ครองราชย์ หมายเหตุ
17 ซาร์ตอดอร์ สแวตอสลัฟ
บัลแกเรีย: Тодор Светослав
(Theodore Svetoslav)
คริสต์ทศวรรษที่ 1270 ค.ศ. 1322 ค.ศ. 1300–1322 พระโอรสของซาร์แกออร์กีที่ 1 แตร์แตร์ ดำรงพระชนม์ชีพวัยเยาว์ในฐานะตัวประกันที่โกลเดนฮอร์ด การปกครองของพระองค์นำไปสู่การฟื้นตัวของบัลแกเรีย สวรรคตช่วงปลาย ค.ศ. 1321 พระชนมายุประมาณ 50–55 พรรษา[52]
18 ซาร์แกออร์กีที่ 2 แตร์แตร์
บัลแกเรีย: Георги II Тертер
(George II Terter)
ไม่ทราบ ค.ศ. 1323 ค.ศ. 1322–1323 พระโอรสของซาร์ตอดอร์ สแวตอสลัฟ สวรรคตช่วงปลาย ค.ศ. 1322/23[53]

ราชวงศ์ชิชมัน[แก้]

ลำดับที่ พระนาม ประสูติ สวรรคต ครองราชย์ หมายเหตุ
19 ซาร์มีคาอิล อาแซนที่ 3
บัลแกเรีย: Михаил Асен III
(Michael Asen III)
หลัง ค.ศ. 1280 31 กรกฎาคม 1330 ค.ศ. 1323–1330 บอลยาร์แห่งวีดิน สวรรคตในยุทธการที่แวลเบิชด์ วันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1330 ขณะที่ทำสงครามกับเซอร์เบีย[54]
20 ซาร์อีวัน สแตฟัน
บัลแกเรีย: Иван Стефан
(Ivan Stephen)
ค.ศ. 1300/01 ค.ศ. 1373 ? ค.ศ. 1330–1331 พระโอรสของซาร์มีคาอิลที่ 3 ถูกถอดถอนในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1331 และหลบหนีไปอยู่เซอร์เบีย[55] คาดว่าสวรรคต ค.ศ. 1373

ราชวงศ์สรัตซีมีร์[แก้]

ลำดับที่ พระนาม ประสูติ สวรรคต ครองราชย์ หมายเหตุ
21 ซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์
บัลแกเรีย: Иван Александър
(Ivan Alexander)
ไม่ทราบ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1371 ค.ศ. 1331–1371 บอลยาร์แห่งแห่งโลเวช สืบเชื้อสายมาจากทั้งราชวงศ์อาแซน ราชวงศ์แตรแตรและราชวงศ์ชิชมัน ยุคสมัยของพระองค์เป็นยุคทองทางวัฒนธรรมของบัลแกเรีย สวรรคตในวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1371 บัลแกเรียถูกแบ่งออกเป็นส่วนให้กับพระโอรสของพระองค์[54]
22 ซาร์อีวัน ชิชมัน
บัลแกเรีย: Иван Шишман
(Ivan Shishman)
ค.ศ. 1350/51 3 มิถุนายน ค.ศ. 1395 ค.ศ. 1371–1395 พระโอรสพระองค์ที่ 4 ของซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์
23 ซาร์อีวัน สรัตซีมีร์
บัลแกเรีย: Иван Срацимир
(Ivan Sratsimir)
ค.ศ. 1324/25
โลเวช
ค.ศ. 1397 ค.ศ. 1356–1397 พระโอรสพระองค์ที่ 3 ของซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์ ครองราชย์ที่เมืองวีดิน
24 ซาร์กอนสตันตินที่ 2
บัลแกเรีย: Константин II
(Constantine II)
ค.ศ. 1369
วีดิน
17 กันยายน ค.ศ. 1422
เบลเกรด
ค.ศ. 1397–1422 พระโอรสของซาร์อีวัน สรัตซีมีร์และซารีนาอันนา พระธิดาของเจ้าชายนีกอลาเอ อาเลกซันดรูแห่งวอเลเคีย พระองค์ได้รับการสถาปนาเป็นซาร์ร่วมในช่วงประมาณ ค.ศ. 1395 หรือช่วงปีก่อนหน้านั้น พระองค์ทรงสูญเสียบัลแกเรียให้กับจักรวรรดิออตโตมัน และถือได้ว่าเป็นจุดสิ้นสุดของจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2

ราชรัฐบัลแกเรีย[แก้]

ราชวงศ์บัทเทินแบร์ค[แก้]

ลำดับที่ พระนาม ประสูติ สวรรคต ครองราชย์ หมายเหตุ
1 เจ้าชายอาแลกซันเดอร์ที่ 1 บัทเทินแบร์ค
บัลแกเรีย: Александър I Батенберг
(Alexander I Battenberg)
5 เมษายน ค.ศ. 1857
เวโรนา
31 กรกฎาคม ค.ศ. 1893
กราซ
ค.ศ. 1879–1886 สละราชสมบัติเนื่องจากรัสเซียกดดัน สวรรคตที่เมืองกราซ

ราชวงศ์ซัคเซิน–โคบวร์คและโกทา–โกฮารี[แก้]

ลำดับที่ พระนาม ประสูติ สวรรคต ครองราชย์ หมายเหตุ
2 เจ้าชายแฟร์ดีนันต์ที่ 1
บัลแกเรีย: Фердинанд I
(Ferdinand I)
26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1861
เวียนนา
10 กันยายน ค.ศ. 1948
โคบวร์ค
ค.ศ. 1887–1908 ได้รับการเลือกจากสภาแห่งชาติให้เป็นเจ้าชายแห่งบัลแกเรีย

ราชอาณาจักรบัลแกเรีย[แก้]

ราชวงศ์ซัคเซิน–โคบวร์คและโกทา–โกฮารี[แก้]

ลำดับที่ พระนาม ประสูติ สวรรคต ครองราชย์ หมายเหตุ
1 ซาร์แฟร์ดีนันต์ที่ 1
บัลแกเรีย: Фердинанд I
(Ferdinand I)
26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1861
เวียนนา
10 กันยายน ค.ศ. 1948
โคบวร์ค
ค.ศ. 1908–1918 ได้เป็นซาร์เมื่อประกาศเอกราชในวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1908 สละราชสมบัติวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1918 หลังจากการพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 สวรรคตวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 1948 ที่เมืองโคบวร์ค
2 ซาร์บอริสที่ 3
บัลแกเรีย: Борѝс III
(Boris III)
30 มกราคม ค.ศ. 1894
โซเฟีย
28 สิงหาคม ค.ศ. 1943
โซเฟีย
ค.ศ. 1918–1943 สวรรคตหลังจากกลับมาจากการเสด็จเยือนเยอรมนีในวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1943
3 ซาร์ซีแมออนที่ 2
บัลแกเรีย: Симеон II
(Simeon II)
16 มิถุนายน ค.ศ. 1937
โซเฟีย
ค.ศ. 1943–1946 เป็นพระเจ้าซาร์เมื่อมีพระชนมายุ 6 พรรษา หลังจากที่พระบิดาสวรรคต ระบอบราชาธิปไตยถูกผู้นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ล้มล้าง และเคยดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 48 ของบัลแกเรีย ระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 2001 – 17 สิงหาคม ค.ศ. 2005

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. "1946: Third Bulgarian Kingdom ends with a referendum". BNR Radio Bulgaria. สืบค้นเมื่อ 27 November 2015.
  2. Andreev, p. 19
  3. Andreev, p. 23
  4. Whittow, p. 273
  5. Andreev, p. 27
  6. Andreev, p. 29
  7. Andreev, p. 30
  8. Andreev, p. 32
  9. Andreev, p. 33
  10. Andreev, p. 35
  11. Andreev, p. 36
  12. Andreev, p. 38
  13. Andreev, p. 39
  14. Andreev, p. 38
  15. Andreev, p. 40
  16. Andreev, p. 42
  17. Andreev, p. 44
  18. Andreev, pp. 53–54
  19. Andreev, pp. 61–62
  20. Andreev, pp. 67–68
  21. Andreev, p. 70
  22. Whittow, p. 284
  23. Andreev, pp. 85–86
  24. Andreev, p. 89
  25. Andreev, pp. 103–104
  26. Andreev, p. 112
  27. Andreev, p. 118
  28. Ioannes Scylitzes. Historia. 2, pp. 346–347
  29. Andreev, p. 121-122
  30. Andreev, p. 127
  31. Andreev, pp. 129–130
  32. Andreev, p. 133
  33. Павлов, Пл., Бунтари и авантюристи в Средновековна България, LiterNet, 2005 – Заговорите на „магистър Пресиан Българина“ (посетен на 26.1.2007)
  34. Andreev, p. 136
  35. Andreev, p. 142-143
  36. 36.0 36.1 Andreev, pp. 146–147
  37. Andreev, pp. 157–158
  38. Andreev, p. 173
  39. Andreev, p. 184
  40. Andreev, p. 193
  41. Andreev, p. 197
  42. Andreev, p. 205
  43. Andreev, p. 208
  44. Andreev, p. 211
  45. Andreev, p. 229
  46. Andreev, p. 136
  47. Andreev, p. 233
  48. Andreev, p. 239
  49. Andreev, p. 240
  50. John V. A. Fine, Jr., The Late Medieval Balkans, Ann Arbor, 1987.
  51. Andreev, p. 244
  52. Andreev, p. 251
  53. Andreev, p. 254
  54. 54.0 54.1 Andreev, p. 263
  55. Andreev, p. 267

บรรณานุกรม[แก้]