ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศอิสราเอล

พิกัด: 31°N 35°E / 31°N 35°E / 31; 35
หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก รัฐอิสราเอล)

31°N 35°E / 31°N 35°E / 31; 35

รัฐอิสราเอล

  • מְדִינַת יִשְׂרָאֵל‎ (ฮีบรู)
  • دَوْلَة إِسْرَائِيل‎ (อาหรับ)
เพลงชาติฮาทิควา
("ความหวัง")
ที่ตั้งของประเทศอิสราเอล (สีเขียว) บนลูกโลก
ชายแดนตามข้อตกลงสงบศึก ค.ศ. 1949 (เส้นสีเขียว)
ชายแดนตามข้อตกลงสงบศึก ค.ศ. 1949 (เส้นสีเขียว)
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
เยรูซาเลม
(ได้รับการยอมรับบางส่วน)[fn 1][fn 2]
31°47′N 35°13′E / 31.783°N 35.217°E / 31.783; 35.217
ภาษาราชการฮีบรู
ภาษาที่ได้รับการยอมรับอาหรับ[fn 3]
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2019)
ศาสนา
(ค.ศ. 2019)
เดมะนิมชาวอิสราเอล
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา สาธารณรัฐตามรัฐธรรมนูญ
อิซัค เฮอร์ซ็อค
เบนจามิน เนทันยาฮู
มิกกี เลวี
เอสเธอร์ ฮายุต
สภานิติบัญญัติคเนสเซต
เป็นเอกราชจากจักรวรรดิบริติช
14 พฤษภาคม ค.ศ. 1948
11 พฤษภาคม ค.ศ. 1949
ค.ศ. 1958–2018
พื้นที่
• รวม
20,770–22,072 ตารางกิโลเมตร (8,019–8,522 ตารางไมล์)[a] (อันดับที่ 150)
2.71 (ใน ค.ศ. 2015)[16]
ประชากร
• ประมาณ
10,009,800 [17] (อันดับที่ 99)
• สำมะโนประชากร 2008
7,412,200[18][fn 4]
449 ต่อตารางกิโลเมตร (1,162.9 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 35)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2022[21] (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 478.01 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[fn 4] (อันดับที่ 49)
เพิ่มขึ้น 50,200 ดอลลาร์สหรัฐ[fn 4] (อันดับที่ 34)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2022[21] (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 520.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[fn 4] (อันดับที่ 29)
เพิ่มขึ้น 54,690 ดอลลาร์สหรัฐ[fn 4] (อันดับที่ 15)
จีนี (ค.ศ. 2018)34.8[fn 4][22]
ปานกลาง · อันดับที่ 48
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.919[fn 4][23]
สูงมาก · อันดับที่ 19
สกุลเงินนิวเชเกล (‎) (ILS)
เขตเวลาUTC+2 (เวลามาตรฐานอิสราเอล)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+3 (เวลาออมแสงอิสราเอล)
รูปแบบวันที่
  • יי-חח-שששש‎ (AM)
  • วว-ดด-ปปปป (ค.ศ.)
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+972
รหัส ISO 3166IL
โดเมนบนสุด.il
  1. ^ 20,770 ตารางกิโลเมตรคืออิสราเอลในเส้นสีเขียว ส่วน 22,072 ตารางกิโลเมตรรวมที่ราบสูงโกลัน (ประมาณ 1,200 ตารางกิโลเมตร (460 ตารางไมล์)) และเยรูซาเลมตะวันออก (ประมาณ 64 ตารางกิโลเมตร (25 ตารางไมล์))

ประเทศอิสราเอล (อังกฤษ: Israel; ฮีบรู: יִשְׂרָאֵל; อาหรับ: إِسْرَائِيل) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐอิสราเอล (อังกฤษ: State of Israel; ฮีบรู: מְדִינַת יִשְׂרָאֵל; อาหรับ: دَوْلَة إِسْرَائِيل) เป็นประเทศในตะวันออกกลางและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้บนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและชายฝั่งเหนือของทะเลแดง มีเขตแดนทางบกติดต่อกับประเทศเลบานอนทางทิศเหนือ ประเทศซีเรียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศจอร์แดนทางทิศตะวันออก ดินแดนเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาของปาเลสไตน์ทางทิศตะวันออกและตะวันตกตามลำดับ และประเทศอียิปต์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศอิสราเอลมีภูมิลักษณ์หลากหลายแม้มีพื้นที่ค่อนข้างเล็ก[24][25] เทลอาวีฟเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของประเทศ[26] ส่วนที่ตั้งรัฐบาลและเมืองหลวงตามประกาศคือ เยรูซาเลม แม้อำนาจอธิปไตยของรัฐเหนือเยรูซาเลมยังไม่มีการรับรองในระดับนานาประเทศ[27][28][29][30][fn 5]

ราชอาณาจักรอิสราเอลและยูดาห์ถือกำเนิดขึ้นระหว่างยุคเหล็ก[31][32] จักรวรรดิอัสซีเรียใหม่ทำลายอิสราเอลเมื่อราว 720 ปีก่อน ค.ศ.[33] ต่อมายูดาห์ถูกจักรวรรดิบาบิโลเนีย เปอร์เซียและเฮลเลนนิสติกพิชิต และมีอยู่เป็นจังหวัดปกครองตนเองของยิว[34][35] กบฏแมคาบี (Maccabean Revolt) ที่สำเร็จทำให้เกิดราชอาณาจักรแฮซมาเนียน (Hasmonean) ซึ่งมีเอกราชเมื่อ 110 ปีก่อน ค.ศ.[36] ทว่า ใน 63 ปีก่อน ค.ศ. ตกเป็นรัฐบริวารของสาธารณรัฐโรมันซึ่งต่อมาตั้งราชวงศ์เฮโรเดียนใน 37 ปีก่อน ค.ศ. และ 6 ปีก่อน ค.ศ. สถาปนามณฑลยูเดียของโรมัน[37] ยูเดียเป็นมณฑลหนึ่งของโรมันจนกบฏยิวที่ไม่สำเร็จทำให้เกิดการทำลายเป็นวงกว้าง[36] การขับไล่ประชากรยิว[36][38] และการเปลี่ยนชื่อภูมิภาคจากจูเดียเป็นซีเรียปาเลสตีนา (Syria Palaestina)[39] มียิวอยู่ในภูมิภาคนี้บ้างเป็นเวลาหลายศตวรรษ ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 อาหรับยึดลิแวนต์จากจักรวรรดิไบแซนไทน์ แล้วอยู่ในการควบคุมของมุสลิมจนสงครามครูเสดครั้งที่หนึ่งในปี 1099 ตามด้วยการพิชิตของอัยยูบิดในปี 1187 รัฐสุลต่านมัมลุกอียิปต์ขยายการควบคุมเหนือลิแวนต์ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 จนถูกจักรวรรดิออตโตมันพิชิตในปี 1517 ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 ความตื่นตัวเรื่องชาติในหมู่ยิวนำไปสู่การสถาปนาขบวนการไซออนิสต์ในประเทศต่าง ๆ ตามด้วยการเข้าเมืองออตโตมันและบริติชปาเลสไตน์หลายระลอก

ในปี 1947 สหประชาชาติลงมติรับแผนแบ่งส่วนสำหรับปาเลสไตน์ที่แนะนำการสถาปนารัฐอาหรับและยิวและให้เยรูซาเลมอยู่ในการควบคุมของหลายชาติ[40] หน่วยงานยิวยอมรับและผู้นำอาหรับปฏิเสธแผนดังกล่าว[41][42][43] ปีต่อมา หน่วยงานยิวประกาศอิสรภาพของรัฐอิสราเอล และสงครามอาหรับ–อิสราเอล ค.ศ. 1948 ในเวลาต่อมาทำให้อิสราเอลครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ของอดีตอาณัติ ส่วนรัฐอาหรับเพื่อนบ้านถือครองเวสต์แบงก์และกาซา[44] นับแต่นั้นอิสราเอลสู้รบในสงครามหลายครั้งกับประเทศอาหรับ[45] และตั้งแต่ปี 1967 ยึดครองดินแดนรวมทั้งเวสต์แบงก์ ที่ราบสูงโกลันและฉนวนกาซา[46][47][48] อิสราเอลขยายกฎหมายไปยังที่ราบสูงโกลันและเยรูซาเลมตะวันออก แต่ไม่รวมเวสต์แบงก์[49][50][51][52] การยึดครองดินแดนปาเลสไตน์เป็นการยึดครองทางทหารยาวนานที่สุดในโลกในสมัยใหม่ ความพยายามระงับข้อพิพาทอิสราเอล–ปาเลสไตน์ยังไม่มีความตกลงสั้นติภาพขั้นสุดท้าย แต่มีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์และจอร์แดนแล้ว

ในกฎหมายหลักพื้นฐาน อิสราเอลนิยามตนเองว่าเป็นรัฐยิวและประชาธิปไตย[53] ปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยมีระบบรัฐสภา ประชาชนมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป โดยใช้การลงคะแนนระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อและ[54] นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล และเนสเซทเป็นองค์การบริหารอำนาจนิติบัญญัติสภาเดี่ยวของอิสราเอล อิสราเอลเป็นประเทศพัฒนาแล้ว สมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา[55] และเศรษฐกิจของอิสราเอลใหญ่เป็นอันดับที่ 29 ของโลก อันดับที่ 13 ของโลกในด้าน GDP ต่อหัว ตามผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศราคาตลาดใน พ.ศ. 2566[56] อิสราเอลมีมาตรฐานการครองชีพสูงสุดในตะวันออกกลางและสูงสุดเป็นอันดับสามในทวีปเอเชีย[57] อิสราเอลมีความคาดหมายการคงชีพสูงสุดประเทศหนึ่งในโลก[58]

ภูมิศาสตร์

แบบเมดิเตอร์เรเนียน ร้อนแห้งในฤดูร้อน เย็นปานกลาง และมีฝนตกเล็กน้อยในฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ย ระหว่าง 8 - 36 องศา ฝนตกประมาณปีละ 64 วัน ปริมาณ 539 มิลลิเมตร มีพรมแดน (ตามเข็มนาฬิกา) ติดกับประเทศเลบานอน ซีเรีย จอร์แดน และอียิปต์ อิสราเอลมีชายฝั่งบนทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อ่าวอะกาบา (Gulf of Aqaba) และทะเลเดดซี

ประวัติศาสตร์

ยุคก่อนประวัติศาสคร์

การตรึงพระเยซูที่กางเขน” โดยซิโมน วูเอท์ (Simon Vouet) ที่ เจนัว (ค.ศ. 1622)

ประวัติศาสตร์ของอิสราเอลเกิดขึ้นเมื่อพระเจ้าได้ทำพันธสัญญากับท่านอับราฮัม เนื่องจากว่าพระองค์ได้ทรงมองเห็นว่าท่านอับราฮัม เป็นคนชอบธรรมในสายพระเนตรของพระองค์ อับราฮัมมีลูกด้วยกันสองคน คนแรกคือ อิสมาเอล (Yismael) ที่เกิดกับหญิงทาสชื่อว่า นางฮาการ์ (Hagar) คนที่สองคือ อิสอัค (Ishak) หรือไอแซค (Issic) ที่เกิดกับซาราห์ (Sarah) ผู้เป็นบุตรหญิงของบิดาของอับราฮัม แต่ไม่ใด้เกิดจากมารดาเดียวกัน ส่วนเชื้อสายของอิสอัคนั้น เป็นต้นตระกูลของชาวอิสราเอล โดยอิสอัคมีลูกด้วยกันสองคนคือ เอซาว (Esau) และยาโคบ (Jacob) หรืออิสราเอลตามที่พระเจ้าได้ทรงตั้งชื่อให้เมื่อครั้งที่ท่านยาโคบหรือท่านอิสราเอลได้ปล้ำสู้กับพระเจ้าแล้วได้ชัยชนะครั้งที่ข้ามแม่น้ำยับบอก (การปล้ำสู้กันครั้งนี้เป็นเหตุให้ผู้ชายอิสราเอลไม่กินเส้นที่ตะโพก ซึ่งอยู่ที่ข้อต่อตะโพกนั้นจนถึงทุกวันนี้ เพราะพระองค์ทรงถูกต้องข้อต่อตะโพกของยาโคบตรงเส้นเอ็นที่ตะโพก)

ยาโคบ Jacob หรือ อิสราเอล มีลูกด้วยกันสิบสามคนคือ รูเบน สิเมโอน เลวี ยูดาห์ ดาน นัฟทาลี กาด อาเชอร์ อิสสาคาร์ เศบูลุน โยเซฟ และเบนยามิน และดีนาหฺ์ (หลังจากให้กำเนิดเศบูลุน เลอาห์ให้กำเนิดบุตรสาวคือดีนาห์นี่เอง) จากพันธสัญญาระหว่างพระเจ้ากับอับราฮัมพระองค์จึงได้บันดาลให้เกิดภัยแล้งขึ้นทั่วโลก

ต่อมาได้เกิดภัยแล้งขึ้น ยาโคบ หรืออิสราเอล และครอบครัว ต้องทำมาหากินด้วยความยากลำบาก โยเซฟ บุตรคนหนึ่งของยาโคบได้ไปเป็นผู้ดูแลราชอาณาจักรในอียิปต์ เขาได้นำพี่น้องทั้งหมดที่ต้องประสบกับภัยแล้งในคานาอันเข้ามาอยู่อาศัยในแผ่นดินอียิปต์ ครั้นพอสิ้นโยเซฟไป ฟาโรห์องค์ต่อมาได้เกิดความไม่ไว้ใจต่อชาวฮีบรู จึงลดฐานะให้เป็นทาส แล้วเกณฑ์แรงงานไปใช้ในการทำอิฐเพื่อใช้ในการก่อสร้างพีรมิด และมีคำสั่งให้ประหารชีวิตเด็กเกิดใหม่เป็นจำนวนมาก มีทารกเพศชายคนหนึ่งรอดตายจากคำสั่งประหารนั้นมาได้ ชื่อว่า "โมเสส" (Moses) โมเสสเติบโตขึ้น เป็นผู้พาพวกอิสราเอล หรือ ฮีบรูซึ่งนับแต่ผู้ชายได้ถึง 600,000 คน ผู้หญิงและเด็กต่างหาก และยังมีฝูงชนชาติอื่นเป็นจำนวนมากติดตามไปด้วย พร้อมทั้งฝูงสัตว์ คือฝูงแพะแกะและโคจำนวนมาก ออกจากอียิปต์กลับไปสู่ประเทศปาเลสไตน์ โดยพระกรที่เหยียดออก

พวกฮีบรูมีความสามัคคีและมีกำลังเข้มเข็งขึ้น จึงได้ทำการรวบรวมดินแดนโดยรอบ อันได้แก่ ดินแดนของพวกคานัน และพวกอาราเอลไลท์ แต่ก็ถูกรุกรานจากพวกพวกฟิลิเตีย (Philistine) ซึ่งอพยพจากเกาะครีต และเข้ามาตั้งภูมิลำเนาอยู่แถบชายทะเล ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปาเลสไตน์ และพวกอามอไรท์กับฮิตไตท์จากทางเหนือ ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีกษัตริย์ปกครอง พวกอิสราเอลไลท์ได้พร้อมใจกันเลือกหัวหน้ากลุ่มที่เข้มแข็งขึ้นมาผู้หนึ่งชื่อ "ซาอูล" (Saul) ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์แรก เมื่อประมาณ 1,050 ปี ก่อนคริสตกาล หลังจากนั้น ชาวยิวมีกษัตริย์ที่เก่งกล้าอีก 2 องค์คือกษัตริย์ดาวิดและกษัตริย์โซโลมอน เมื่อกษัตริย์โซโลมอนสิ้นพระชนม์ เมื่อ ปี 930 ก่อนคริสต์ศักราช ทำให้อาณาจักรของโซโลมอนแตกออกป็นสองส่วนคือ อาณาจักรอิสราเอล (The Kingdom of Israel) โดยมีกรุงสะมาเรียเป็นเมืองหลวง และอาณาจักรยูดาห์ (Kingdom of Judah) โดยมีเยรูซาเลมเป็นศูนย์กลาง

ยุคกลางและประวัติศาสตร์ยุคใหม่

ในปี 634–641 บริเวณนี้ รวมทั้งเยรูซาเลม ถูกอาหรับที่เพิ่งเข้ารีตอิสลามพิชิต การควบคุมดินแดนนี้เปลี่ยนแปลงระหว่างรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน อุมัยยะฮ์ อับบาซียะฮ์ ฟาติมียะห์ เซลจุก ครูเซเดอร์และอัยยูบิดในช่วงสามศตวรรษถัดมา[59]

ระหว่งการล้อมเยรูซาเลมในสงครามครูเสดครั้งที่หนึ่งในปี 1099 ผู้อยู่อาศัยในนครชาวยิวต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับกำลังประจำที่ตั้งฟาติมียะห์และประชากรมุสลิมซึ่งพยายามปกป้องนครจากนักรบครูเสดอย่างไร้ผล เมื่อนครแตก มีผู้ถูกสังหารหมู่ประมาณ 60,000 คน รวมทั้งยิว 6,000 คนที่ลี้ภัยในธรรมศาลาแห่งหนึ่ง[60] ในเวลานั้นซึ่งล่วงเลยการล่มสลายของรัฐยิวมาครบหนึ่งพันปี มีชุมชนยิวอยู่ทั่วประเทศ มีชุมชนที่ทราบ 50 แห่ง รวมทั้งเยรูซาเลม ไทเบียเรียส รามลา แอชคะลอน เซซาเรีย และกาซา[61] อัลเบิร์ตแห่งอาเคินระบุว่า ผู้อยู่อาศัยในไฮฟาชาวยิวเป็นกำลังสู้รบหลักของนคร และ "ปะปนกับทหารซาราเซ็น [ฟาติมียะห์]" พวกเขาต่อสู้อย่างกล้าหาญเกือบเดือนจนถูกกองทัพเรือและทัพบกนักรบครูเสดบีบบังคับให้ล่าถอย[62][63]

ในปี 1165 ไมมอนีดีซ (Maimonides) เยือนเยรูซาเลมและสวดภาวนาบนเนินพระวิหารใน "สถานศักดิ์สิทธิ์ใหญ่" ในปี 1141 กวีชาวสเปนเชื้อสายยิว เยฮูดา ฮาเลวี (Yehuda Halevi) เรียกร้องให้ยิวย้ายไปยังแผ่นดินอิสราเอลซึ่งเขาเดินทางไปด้วยตนเอง ในปี 1887 สุลต่านเศาะลาฮุดดีนพิชิตนักรบครูเสดในยุทธการที่ฮัททิน และต่อมายึดเยรูซาเลมและปาเลสไตน์เกือบทั้งหมด ในเวลานั้น เศาะลาฮุดดีนออกประกาศเชิญชวนยิวให้หวนคืนและตั้งถิ่นฐานในเยรูซาเลม[64] และยูดาห์ อัลฮารีซี (Judah al-Harizi) ระบุว่า "นับแต่อาหรับยึดเยรูซาเลม ชาวอิสราเอลก็อยู่อาศัยที่นั่น"[65] อัลฮารีซีเปรียบเทียบพระราชกฤษฎีกาของเศาะลาฮุดดีนที่อนุญาตให้ยิวตั้งถิ่นฐานในเยรูซาเลมกับพระราชกฤษฎีกาของพระมหากษัตริย์เปอร์เซีย พระเจ้าไซรัสมหาราช เมื่อกว่า 1,600 ปีก่อน[66]

ในปี 1211 ชุมชนชาวยิวในประเทศเข้มแข็งขึ้นเมื่อกลุ่มยิวที่มีแรบไบกว่า 300 คนเป็นหัวหน้าเข้ามาจากฝรั่งเศสและอังกฤษ[67] ซึ่งมีแรบไบแซมซัน เบน อับราฮัมแห่งเซนส์[68] แนคแมนีดีซ (Nachmanides) แรบไบชาวสเปนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 13 และผู้นำยิวที่ได้รับการรับรองยกย่องแผ่นดินอิสราเอลอย่างสูงและมองว่านิคมยิวเป็นข้อบัญญัติแน่นอนที่มีผลต่อยิวทุกคน เขาเขียนว่า "หากผู้มิใช่ยิวประสงค์สร้างสันติ เราจักสร้างสันติและปล่อยพวกเขาไว้บนเงื่อนไขชัดเจน แต่สำหรับเรื่องแผ่นดิน เราจักไม่ยอมปล่อยให้ตกอยู่ในมือพวกเขา หรือในดินแดนของชาติใด ไม่ว่าในอายุคนใด"[69]

ในปี 1260 การควบคุมภูมิภาคปาเลสไตน์ตกเป็นของสุลต่านมัมลุกอียิปต์[70] ประเทศตั้งอยู่ระหว่างศูนย์กลางอำนาจของมัมลุกสองแห่ง คือ ไคโรและดามัสกัสและมีการพัฒนาบ้างตามถนนส่งจดหมายที่เชื่อมระหว่างสองนคร เยรูซาเลมแม้ไม่มีการคุ้มครองจากกำแพงนครใด ๆ มาตั้งแต่ปี 1219 ก็มีโครงการก่อสร้างใหม่ ๆ ที่ตั้งอยู่รอบมัสยิดอัลอักศอบนเนินพระวิหาร ในปี 1266 สุลต่านไบบาส์ (Baybars) แห่งมัมลุกเปลี่ยนสภาพถ้ำอัครบิดร (Cave of the Patriarchs) ในฮีบรอนเป็นสถานที่คุ้มภัยของอิสลามโดยเฉพาะและห้ามคริสต์ศาสนิกชนและยิวเข้า ซึ่งเดิมสามารถเข้าได้โดยต้องจ่ายค่าธรรมเนียม คำสั่งห้ามมีผลจนอิสราเอลเข้าควบคุมอาคารในปี 1967[71][72]

ในปี 1516 ภูมิภาคนี้ถูกจักรวรรดิออตโตมันพิชิต และอยู่ในการควบคุมของออตโตมันจนสิ้นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เมื่อบริเตนพิชิตกำลังออตโตมันและตั้งรัฐบาลทหารขึ้นปกครองทั่วอดีตออตโตมันซีเรีย ในปี 1920 ดินแดนดังกล่าวถูกแบ่งระหว่างบริเตนและฝรั่งเศสภายใต้ระบบอาณัติ และพื้นที่ที่บริเตนบริหารราชการแผ่นดินซึ่งรวมอิสราเอลสมัยใหม่ได้ชื่อว่า ปาเลสไตน์ในอาณัติ[70][73][74]

ขบวนการไซออนิสต์และอาณัติของบริเตน

ทีโอดอร์ เฮิซ (Theodor Herzl) ผู้มีวิสัยทัศน์รัฐยิว

นับแต่มีชุมชนยิวพลัดมาตุภูมิแรกสุด ยิวจำนวนมากหวังคืนสู่ "ไซออน" และ "แผ่นดินอิสราเอล"[75] แม้ปริมาณความพยายามที่ควรใช้ไปเพื่อเป้าหมายนี้เป็นหัวข้อพิพาท[76][77] ความหวังและความปรารถนาของยิวที่อาศัยอยู่นอกมาตุภูมิเป็นแก่นสำคัญของระบบความเชื่อของยิว[76] หลังยิวถูกขับไล่ออกจากสเปนในปี 1492 บางชุมชนตั้งถิ่นฐานอยู่ในปาเลสไตน์[78] ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 ชุมชนยิวตั้งรกรากในสี่นครศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่ เยรูซาเลม ไทเบียเรียส ฮีบรอนและซาเฟ็ด และในปี 1697 แรบไบเยฮูดา ฮาชาซิด (Yehuda Hachasid) นำกลุ่มยิว 1,500 คนไปเยรูซาเลม[79] ในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ผู้คัดค้านลัทธิฮาซิดิมชาวยุโรปตะวันออก ที่เรียก เปรูชิม (Perushim) ตั้งถิ่นฐานในปาเลสไตน์[80][81][82]

การย้ายถิ่นของยิวสมัยใหม่ระลอกแรกไปปาเลสไตน์ในปกครองของออตโตมัน ที่เรียก อะลียาครั้งแรก (First Aliyah) เริ่มขึ้นในปี 1881 เมื่อยิวหนีโพกรมในยุโรปตะวันออก[83] แม้มีขบวนการไซออนิสต์แล้ว นักหนังสือพิมพ์ชาวออสเตรีย-ฮังการี ทีโอดอร์ เฮิซ (Theodor Herzl) ได้รับความชอบว่าเป็นผู้ก่อตั้งขบวนการการเมืองไซออนิสต์[84] เป็นขบวนการซึ่งมุ่งสถาปนารัฐยิวในแผ่นดินอิสราเอล ฉะนั้นจึงเสนอทางออกแก่ปัญหาชาวยิวในรัฐยุโรป ร่วมกับเป้าหมายและความสำเร็จของโครงการระดับชาติอื่นในเวลานั้น[85] ในปี 1896 เฮิซจัดพิมพ์หนังสือ รัฐยิว เสนอวิสัยทัศน์รัฐยิวในอนาคต ปีต่อมาเขาเป็นประธานสภาไซออนิสต์ครั้งที่หนึ่ง[86]

อะลียาครั้งที่สอง (ปี 1904–14) เริ่มขึ้นหลังโพกรมคีชีเนฟ (Kishinev pogrom) มียิวประมาณ 40,000 คนตั้งถิ่นฐานในปาเลสไตน์ แม้เกือบครึ่งออกจากที่นั้นในที่สุด[83] ผู้เข้าเมืองทั้งสองระลอกแรกเป็นยิวออร์ทอด็อกซ์เสียส่วนใหญ่[87] แม้อะลียาครั้งที่สองมีกลุ่มสังคมนิยมซึ่งสถาปนาขบวนการคิบบุตส์ (kibbutz) อยู่ด้วย[88] ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบริเตน อาร์เธอร์ แบลเฟอร์ (Arthur Balfour) ส่งปฏิญญาแบลเฟอร์ปี 1917 แก่บารอนรอทส์ไชลด์ (วัลเทอร์ รอทส์ไชลด์ บารอนที่ 2 แห่งรอทส์ไชลด์) ผู้นำชุมชนยิวบริเตน ซึ่งแถลงว่าบริเตนตั้งใจสถาปนา "บ้านชาติ" ของยิวในอาณัติปาเลสไตน์[89][90]

พิธีโอนเยรูซาเลมให้อยู่ในการปกครองของบริเตนหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ในปี 1918 ลีจันยิว กลุ่มซึ่งประกอบด้วยอาสาสมัครไซออนิสต์เป็นหลัก สนับสนุนการพิชิตปาเลสไตน์ของบริเตน[91] การคัดค้านการปกครองของบริเตนและการเข้าเมืองของยิวนำไปสู่เหตุจลาจลในปาเลสไตน์ปี 1920 และการสถาปนาทหารอาสาสมัครยิวที่เรียก ฮาฆอนาฮ์ (Haganah) ซึ่งต่อมาแยกออกมาเป็นกลุ่มกึ่งทหารออกัน (Irgan) และเลฮี (Lehi)[92] ในปี 1922 สันนิบาตชาติให้อาณัติเหนือปาเลสไตน์แก่บริเตนภายใต้เงื่อนไขซึ่งรวมปฏิญญาแบลเฟอร์และคำมั่นแก่ยิว และบทบัญญัติคล้ายกันว่าด้วยชาวปาเลสไตน์เชื้อสายอาหรับ[93] ประชากรของพื้นที่ในเวลานั้นเป็นอาหรับและมุสลิมเป็นหลัก โดยมียิวคิดเป็นประมาณร้อยละ 11[94] และคริสต์ศาสนิกชนเชื้อสายอาหรับประมาณร้อยละ 9.5 ของประชากร[95]

อะลียาครั้งที่สาม (1919–23) และครั้งที่สี่ (1924–29) นำชาวยิวอีก 100,000 คนมายังปาเลสไตน์[83] ความรุ่งเรืองของลัทธินาซีและการเบียดเบียนยิวที่เพิ่มขึ้นในทวีปยุโรปคริสต์ทศวรรษ 1930 นำไปสู่อะลียาครั้งที่ห้า โดยมีการไหลบ่าของชาวยิวกว่า 250,000 คน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของกบฏอาหรับปี 1936–39 ระหว่างนั้นทางการอาณัติบริติชร่วมกับทหารอาสาสมัครอาฆอนาห์และออกันฆ่าอาหรับ 5,032 คนและทำให้มีผู้บาดเจ็บ 14,760 คน[96][97] ทำให้ประชากรอาหรับปาเลสไตน์ชายผู้ใหญ่กว่าร้อยละ 10 ถูกฆ่า ได้รับบาดเจ็บ ถูกจำคุกหรือถูกเนรเทศ[98] บริเตนริเริ่มการจำกัดการเข้าเมืองปาเลสไตน์ของยิวด้วยกระดาษขาวปี 1939 เมื่อประเทศทั่วโลกไม่รับผู้ลี้ภัยยิวที่หนีฮอโลคอสต์ จึงมีการจัดระเบียบขบวนการลับที่เรียก เข็มขัดอะลียา เพื่อนำยิวไปปาเลสไตน์[83] เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง ประชากรยิวของปาเลสไตน์เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 33 ของประชากรทั้งหมด[99]

หลังสงครามโลกครั้งที่สองและเอกราช

แผนที่ "แผนการแบ่งปาเลสไตน์พร้อมกับสหภาพเศรษฐกิจ" ของยูเอ็นที่ยิวยอมรับ แต่อาหรับปฏิเสธ

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง บริเตนขัดแย้งรุนแรงกับชุมชนยิวเรื่องการจำกัดการเข้าเมืองของยิว ตลอดจนความขัดแย้งกับชุมชนอาหรับเรื่องระดับขีดจำกัด ฮาฆอนาห์เข้าร่วมกับออกันและเลฮีในการต่อสู้ด้วยอาวุธต่อการปกครองของบริเตน[100] ขณะเดียวกัน ผู้รอดชีวิตและผู้ลี้ภัยฮอโลคอสต์ชาวยิวหลายแสนคนแสวงชีวิตใหม่ห่างไกลจากชุมชนที่ถูกทำลายในทวีปยุโรป ยีชูฟ (Yishuv) พยายามนำผู้ลี้ภัยเหล่านี้มาปาเลสไตน์ แต่มีจำนวนมากถูกปฏิเสธหรือถูกบริเตนจับขังไว้ในค่ายกักกันในอัตลิตและไซปรัส

วันที่ 22 กรกฎาคม 1946 ออกันโจมตีสำนักงานใหญ่บริหารราชการแผ่นดินของบริเตนสำหรับปาเลสไตน์ ซึ่งตั้งอยู่ที่โรงแรมคิงดาวิดในเยรูซาเลม[101][102] มีผู้เสียชีวิตหลายสัญชาติรวม 91 คน และได้รับบาดเจ็บอีก 46 คน[103] โรงแรมนั้นยังเป็นที่ตั้งของสำนักเลขาธิการรัฐบาลปาเลสไตน์และสำนักงานใหญ่ของกองทัพบริเตนในปาเลสไตน์และทรานส์เจอร์แดน ทีแรกการโจมตีนี้ได้รับความเห็นชอบจากฮาฆอนาห์ เข้าใจว่าเหตุนี้เป็นการตอบโต้ปฏิบัติการอะกาธา (การตีโฉบฉวยเป็นวงกว้างรวมทั้งต่อหน่วยงานยิว ซึ่งทางการบริติชเป็นผู้ลงมือ) และเป็นครั้งที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดต่อชาวบริติชระหว่างสมัยอาณัติ[103][104] ในปี 1947 รัฐบาลบริติชประกาศว่าจะถอนตัวออกจากปาเลสไตน์ โดยแถลงว่าไม่สามารถบรรลุวิธีระงับปัญหาที่ทั้งอาหรับและยิวยอมรับ

วันที่ 15 พฤษภาคม 1947 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่เพิ่งตั้งได้ข้อสรุปว่าให้ตั้งคณะกรรมการพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยปาเลสไตน์ "เพื่อเตรียมรายงานว่าด้วยปัญหาปาเลสไตน์สำหรับข้อพิจารณาในสมัยประชุมสามัญแห่งสมัชชาฯ"[105] ในรายงานของคณะกรรมการฯ ลงวันที่ 3 กันยายน 1947 ถึงสมัชชาใหญ่ฯ[106] คณะกรรมการฯ ส่วนใหญ่ในบทที่ 6 เสนอแผนแทนที่อาณัติปาเลสไตน์ด้วย "รัฐอาหรับเอกราช รัฐยิวเอกราช และนครเยรูซาเลม ... โดยอย่างหลังให้อยู่ภายใต้ระบบภาวะทรัสตีระหว่างประเทศ"[107] วันที่ 29 พฤศจิกายน สมัชชาใหญ่ฯ รับข้อมติที่ 181 (II) แนะนำการมีมติเห็นชอบและการนำไปปฏิบัติซึ่งแผนการแบ่งพร้อมสหภาพเศรษฐกิจ[40] แผนที่แนบกับข้อมติมีความสำคัญที่เสนอโดยคณะกรรมการฯ ส่วนใหญ่ในรายงานวันที่ 3 กันยายน หน่วยงานยิวซึ่งเป็นผู้แทนชุมชนยิวที่ได้รับการรับรอง ยอมรับแผนนี้[42][43] ฝ่ายสันนิบาตอาหรับและคณะกรรมการสูงอาหรับปาเลสไตน์ปฏิเสธ และบ่งชี้ว่าจะปฏิเสธแผนแบ่งส่วนใด ๆ[41][108] วันรุ่งขึ้น คือ 1 ธันวาคม 1947 คณะกรรมการสูงอาหรับประกาศการหยุดงานประท้วงสามวัน และแก๊งอาหรับเริ่มโจมตีเป้าหมายยิว[109] ทีแรกยิวเป็นฝ่ายตั้งรับเมื่อสงครามกลางเมืองปะทุ แต่ในต้นเดือนเมษายน 1948 เปลี่ยนเป็นฝ่ายบุก[110][111] เศรษฐกิจปาเลสไตน์อาหรับล่มสลายและชาวอาหรับปาเลสไตน์หลบหนีหรือถูกขับไล่ 250,000 คน[112]

การปักธงหมึกเป็นการสิ้นสุดสงครามอาหรับ–อิสราเอล ค.ศ. 1948

วันที่ 14 พฤษภาคม 1948 หนึ่งวันก่อนอาณัติบริติชหมดอายุ เดวิด เบนกูเรียน หัวหน้าหน่วยงานยิว ประกาศ "การสถาปนารัฐยิวในแผ่นดินอิสราเอล เรียก รัฐอิสราเอล"[44][113] การพาดพิงเดียวในข้อความของประกาศฯ ถึงเขตแดนของรัฐใหม่คือการใช้คำว่าแผ่นดินอิสราเอล (Eretz-Israel)[114] วันรุ่งขึ้น กองทัพประเทศอาหรับสี่ประเทศ คือ อียิปต์ ซีเรีย ทรานส์จอร์แดนและอิรัก ยาตราเข้าอดีตปาเลสไตน์ในอาณัติบริเตน เปิดฉากสงครามอาหรับ–อิสราเอล ค.ศ. 1948[115][116] ทหารสมทบจากประเทศเยเมน โมร็อกโก ซาอุดีอาระเบียและซูดานเข้าร่วมสงครามด้วย[117][118] ความมุ่งหมายปรากฏของการบุกครองคือการป้องกันการถสาปนารัฐยิวตั้งแต่เริ่มบังคับและผู้นำอาหรับบางคนพูดถึงการผลักดันยิวตกทะเล[119][43][120] เบนนี มอร์ริสว่า ยิวรู้สึกว่ากองทัพอาหรับที่กำลังบุกครองมุ่งฆ่าล้างบางยิว[121] สันนิบาตอาหรับแถลงว่าการบุกครองเป็นไปเพื่อฟื้นฟูกฎหมายและความสงบเรียบร้อยและป้องกันการนองเลือดเพิ่มอีก[122]

หลังการสู้รบนานหนึ่งปี มีการประกาศการหยุดยิงและมีการสถาปนาพรมแดนชั่วคราว เรียก เส้นเขียว (Green Line)[123] จอร์แดนผนวกดินแดนที่เรียก เวสต์แบงก์ รวมทั้งเยรูซาเลมตะวันออก และอียิปต์ควบคุมฉนวนกาซา สหประชาชาติประมาณว่าชาวปาเลสไตน์กว่า 700,000 คนถูกขับไล่หรือหลบหนีจากกำลังอิสราเอลที่กำลังรุกคืบระหว่างความขัดแย้งนั้น ซึ่งภาษาอารบิกเรียก นัคบา ("หายนะ")[124] ส่วน 156,000 คนยังอยู่และกลายเป็นพลเมืองอิสราเอลเชื้อสายอาหรับ[125]

ปีแรก ๆ ของรัฐอิสราเอล

ประเทศอิสราเอลได้รับเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติด้วยคะแนนเสียงฝ่ายข้างมากเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 1949[126] ทั้งอิสราเอลและจอร์แดนสนใจความตกลงสันติภาพอย่างจริงใจ แต่บริเตนขัดขวางความพยายามของจอร์แดนเพื่อเลี่ยงความเสียหายต่อผลประโยชน์ของบริเตนในอียิปต์[127] ในปีแรก ๆ ของรัฐ ขบวนการไซออนิสต์เลเบอร์ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเดวิด เบนกูเรียนเป็นผู้นำ ครอบงำการเมืองอิสราเอล[128][129] คิบบุตซิม หรือชุมชนระบบนารวม มีบทบาทสำคัญในการสถาปนารัฐใหม่[130]

การเข้าเมืองอิสราเอลระหว่างปลายคริสต์ทศวรรษ 1940 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1950 ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการเข้าเมืองอิสราเอลและสถาบันการเข้าเมืองมิชอบด้วยกฎหมายที่เอกชนสนับสนุน ทั้งสองกลุ่มอำนวยความสะดวกแก่ลอจิสติกส์การเข้าเมืองเป็นประจำเช่น การจัดหาการขนส่ง แต่ฝ่ายหลังเข้าร่วมในปฏิบัติการลับในหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตะวันออกกลางและยุโรปตะวันออก ที่ซึ่งชีวิตชาวยิวเชื่อว่าตกอยู่ในอันตรายและการออกจากที่เหล่านั้นยาก มีการยุบสถาบันการเข้าเมืองมิชอบด้วยกฎหมายในปี 1953[131] การเข้าเมืองเป็นไปตามแผนหนึ่งล้าน ผู้เข้าเมืองมีเหตุผลหลากหลาย บ้างมีความเชื่อแบบไซออนิสต์หรือมาเพราะคำมั่นสำหรับชีวิตที่ดีกว่านอิสราเอล แต่บ้างย้ายเพื่อหนีการเบียดเบียนหรือถูกขับไล่[132][133]

การไหลบ่าของผู้รอดชีวิตจากฮอโลคอสต์และยิวจากประเทศอาหรับและมุสลิมเข้าประเทศอิสราเอลระหว่างสามปีแรกเพิ่มจำนวนยิวจาก 700,000 คนเป็น 1.4 ล้านคน ภายในปี 1958 ประชากรอิสราเอลเพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านคน[134] ระหว่างปี 1948 และ 1970 มีผู้ลี้ภัยชาวยิวประมาณ 1,150,000 คนย้ายถิ่นเข้าประเทศอิสราเอล[135] ผู้เข้าเมืองใหม่บางส่วนมาเป็นผู้ลี้ภัยโดยไม่มีทรัพย์สินติดตัวและกำหนดให้ำนักในค่ายชั่วคราวเรียก มาอะบารอต (ma'abarot) ภายในปี 1952 มีกว่า 200,000 คนอาศัยอยู่ในนครเต๊นท์เหล่านี้[136] ยิวที่มาจากทวีปยุโรปมักได้รับการปฏิบัติดีกว่ายิวจากประเทศตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ หน่วยเคหะที่สงวนไว้สำหรับยิวกลุ่มหลักมักได้รับกำหนดใหม่แก่ยิวกลุ่มแรก ส่งผลให้ยิวจากดินแดนอาหรับโดยทั่วไปอาศัยอยู่ในค่ายเปลี่ยนผ่านนานกว่า[137] ความตึงเครียดซึ่งพัฒนาขึ้นระหว่างสองกลุ่มจากการเลือกปฏิบัติดังกล่าวดำเนินมาถึงทุกวันนี้[138] ระหว่างช่วงนี้ อาหาร เครื่องนุ่งห่มและเฟอร์นิเจอร์จำเป็นต้องได้รับการปันส่วน ซึ่งเรียก ยุครัดเข็มขัด ความจำเป็นเพื่อระงับวิกฤตการณ์นำให้เบนกูเรียนลงนามความตกลงค่าปฏิกรรมกับประเทศเยอรมนีตะวันตก ทำให้เกิดการประท้วงขนาดใหญ่ของยิวซึ่งโกรธแค้นกับแนวคิดที่ว่าอิสราเอลสามารถระงับค่าตอบแทนเป็นเงินจากฮอโลคอสต์[139]

ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1950 ประเทศอิสราเอลถูกเฟดายีนปาเลสไตน์ (Palestinian fedayeen) โจมตีบ่อยครั้ง โดยมีเป้าหมายต่อพลเรือนเกือบทั้งหมด[140] ส่วนใหญ่จากฉนวนกาซาที่อียิปต์ยึดครอง[141] นำให้เกิดการตีโฉบฉวยโต้ตอบ ในปี 1956 บริเตนใหญ่และฝรั่งเศสมุ่งเข้าควบคุมคลองสุเอซอีกครั้ง ซึ่งอียิปต์โอนเป็นของรัฐ การปิดล้อมคลองสุเอซและช่องแคบติรานมิให้อิสราเอลขนส่งทางเรือ ร่วมกับปริมาณการโจมตีของเฟดายีนต่อประชากรภาคใต้ของอิสราเอลที่เพิ่มขึ้น และถ้อยแถลงร้ายแรงและคุกคามของอาหรับล่าสุด ทำให้อิสราเอลโจมตีอียิปต์[142][143][144][145] อิสราเอลเข้าเป็นพันธมิตรลับกับบริเตนใหญ่และฝรั่งเศส และสามารถเอาชนะได้คาบสมุทรไซนาย แต่ถูกสหประชาชาติกดดันให้ถอนกำลังเพื่อแลกกับการรับประกันสิทธิการเดินเรือของอิสราเอลในทะเลแดงโดยทางช่องแคบติรานและคลองฯ[146][147] สงครามนั้น ซึ่งเรียก วิกฤตการณ์คลองสุเอซ ทำให้ลดการแทรกซึมชายแดนอิสราเอลลดลงอย่างสำคัญ[148][149][150][151] ในค้นคริสต์ทศวรรษ 1960 อิสราเอลจับตัวอาชญากรสงครามนาซี อดอล์ฟ ไอชมันน์ในประเทศอาร์เจนตินาและนำตัวมาไต่สวนในอิสราเอล[152] การไต่สวนนั้นมีผลกระทบใหญ่หลวงต่อความตระหนักสาธารณะของฮอโลคอสต์[153] ไอชมันน์ยังเป็นผู้เดียวที่ถูกประหารชีวิตในประเทศอิสราเอลจากคำพิพากษาของศาลพลเรือนอิสราเอลจนถึงปัจจุบัน[154]

ดินแดนที่อิสราเอลถือครอง:
  หลังสงคราม
คาบสมุทรไซนายคืนให้อียิปต์ในปี 1982

นับแต่ปี 1964 ประเทศอาหรับที่กังวลต่อแผนของอิสราเอลในการปันน้ำจากแม่น้ำจอร์แดนสู่ที่ราบชายฝั่ง[155] พยายามหันเหต้นน้ำเพื่อตัดทรัพยากรน้ำของอิสราเอล ยั่วยุความตึงเครียดระหว่างอิสราเอลฝ่ายหนึ่ง และซีเรียและเลบานอนอีกฝ่ายหนึ่ง นักชาตินิยมอาหรับซึ่งมีประธานาธิบดีอียิปต์ ญะมาล อับดุนนาศิร เป็นผู้นำ ปฏิเสธที่จะรับรองอิสราเอลและเรียกร้องให้ทำลายล้างอิสราเอล[45][156][157] ภายในปี 1966 ความสัมพันธ์อาหรับ–อิสราเอลเสื่อมลงถึงขั้นที่มีการยุทธ์จริงจังระหว่างกำลังอิสราเอลและอาหรับ[158] ในเดือนพฤษภาคม 1967 อียิปต์ประชุมกองทัพใกล้ชายแดนกับอิสราเอล ขับไล่กำลังรักษาสันติภาพสหประชาชาติซึ่งประจำอยู่ในคาบสมุทรไซนายตั้งแต่ปี 1957 และสกัดการเข้าถึงทะเลแดงของอิสราเอล[159][160][161] รัฐอาหรับอื่นระดมกำลังเช่นกัน[162] อิสราเอลย้ำว่าการกระทำเหล่านี้เป็นเหตุแห่งสงคราม และในวันที่ 5 มิถุนายน เปิดฉากการโจมตีก่อนต่ออียิปต์ จอร์แดน ซีเรียและอิรักตอบสนองและโจมตีอิสราเอล ในสงครามหกวัน อิสราเอลพิชิตจอร์แดนและยึดเวสต์แบงก์ พิชิตอียิปต์และยึดฉนวนกาซาและคาบสมุทรไซนาย และพิชิตซีเรียและยึดที่ราบสูงโกลัน[163] ขอบเขตของเยรูซาเลมขยายใหญ่ขึ้น รวมเยรูซาเลมตะวันออก และเส้นเขียวปี 1949 กลายเป็นเขตแดนบริหารราชการแผ่นดินระหว่างอิสราเอลและดินแดนยึดครอง

นับแต่สงครามปี 1967 และข้อมติ "สามไม่" ของสันนิบาตอาหรับ ระหว่างสงครามการบั่นทอนกำลังปี 1967–1970 อิสราเอลเผชิญการโจมตีจากอียิปต์ในไซนาย จากกลุ่มปาเลสไตน์ที่มุ่งเป้าชาวอิสราเอลในดินแดนยึดครอง ในดินแดนอิสราเอล และทั่วโลก กลุ่มปาเลสไตน์และอาหรับที่สำคัญที่สุดคือ องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) ซึ่งสถาปนาในปี 1964 ซึ่งเดิมมุ่งมั่นเพื่อ "การต่อสู้ด้วยอาวุธว่าเป็นทางเดียวในการปลดปล่อยบ้านเกิด"[164][165] ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 กลุ่มปาเลสไตน์เปิดฉากการโจมตีเป็นระลอก[166][167] ต่อเป้าหมายอิสราเอลและยิวทั่วโลก[168] รวมทั้งการสังหารหมู่นักกีฬาอิสราเอลในโอลิมปิกฤดูร้อน 1972 ในมิวนิก รัฐบาลอิสราเอลตอบโต้ด้วยการทัพลอบฆ่าต่อผู้อยู่เบื้องหลังการสังหารหมู่ การทิ้งระเบิดทางอากาศและการตีโฉบฉวยต่อสำนักงานใหญ่ PLO ในประเทศเลบานอน

วันที่ 6 ตุลาคม 1973 ระหว่างที่ยิวกำลังจัดยมคิปปูร์ ซึ่งเป็นเทศกาลสำคัญที่สุดของยิว กองทัพอียิปต์และซีเรียเปิดฉากการโจมตีอย่างจู่โจมต่อกำลังอิสราเอลในคาบสมุทรไซนายและที่ราบสูงโกลัน ซึ่งเปิดฉากสงครามยมคิปปูร์ สงครามยุติในวันที่ 25 ตุลาคมโดยอิสราเอลสามารถผลักดันกำลังอียิปต์และซีเรียแต่สูญเสียทหารกว่า 2,500 นายในสงครามที่คร่าชีวิต 10,000–35,000 คนในเวลาประมาณ 20 วัน[169] การสอบสวนภายในถือว่ารัฐบาลพ้นความรับผิดชอบสำหรับความล้มเหลวทั้งก่อนหน้าและระหว่างสงคราม แต่สาธารณะบีบบังคับให้นายกรัฐมนตรีโกลดา เมอีร์ลาออก[170] ในเดือนกรกฎาคม 1976 มีเครื่องบินโดยสารหนึ่งถูกกองโจรปาเลสไตน์จี้ระหว่างบินจากอิสราเอลไปประเทศฝรั่งเศส และลงจอดที่เอ็นเทบเบ (Entebbe) ประเทศอูกันดา คอมมานโดอิสราเอลดำเนินปฏิบัติการซึ่งสามารถช่วยเหลือตัวประกันชาวอิสราเอลได้สำเร็จ 102 คนจาก 106 คน

ความขัดแย้งเพิ่มเติมและกระบวนการสันติภาพ

การเลือกตั้งคเนสเซตปี 1977 เป็นจุดพลิกผันสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองของอิสราเอลเมื่อพรรคลิคุดของเมนาเฮม เบกินชนะพรรคแรงงาน[171] ในปีเดียวกัน ประธานาธิบดีอียิปต์ อันวัร อัสซาดาต เดินทางไปประเทศอิสราเอลและปราศรัยต่อคเนสเซตซึ่งถือเป็นการรับรองอิสราเอลของประมุขแห่งรัฐอาหรับครั้งแรก[172] ในอีกสองปีต่อมา ซาดาดและเบกินลงนามข้อตกลงค่ายเดวิด (ปี 1978) และสนธิสัญญาสันติภาพอิสราเอล–อียิปต์ (ปี 1979)[173] อิสราเอลยอมถอนกำลังจากคาบสมุทรไซนายและตกลงเข้าสู่การเจรจาเรื่องอัตตาณัติของชาวปาเลสไตน์ในเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา[174]

วันที่ 11 มีนาคม 1978 กองโจร PLO ตีโฉบฉวยจากประเทศเลบานอนนำไปสู่การสังหารหมู่ถนนชายฝั่ง อิสราเอลตอบโต้โดยการเปิดฉากบุกครองภาคใต้ของเลบานอนเพื่อทำลายฐาน PLO ที่อยู่ทางใต้ของแม่น้ำลิตานี นักรบของ PLO ส่วนใหญ่ถอนกำลัง แต่อิสราเอลสามารถเข้าควบคุมภาคใต้ของเลบานอนจนกระทั่งกำลังของสหประชาชาติและกองทัพเลบานอนยึดคืน ไม่นาน PLO ใช้นโยบายโจมตีอิสราเอลอีกครั้ง ในไม่กี่ปีถัดมา PLO แทรกซึมภาคใต้ของเลบานอนและยิงปืนใหญ่ประปรายข้ามชายแดน ฝ่ายอิสราเอลดำเนินการโจมตีตอบโต้ทั้งทางอากาศและทางบกหลายครั้ง

ขณะเดียวกัน รัฐบาลเบกินจัดสิ่งจูงใจแก่ชาวอิสราเอลให้ตั้งถิ่นฐานในเวสต์แบงก์ ทำให้เพิ่มความตึงเครียดกับชาวปาเลสไตน์ในพื้นที่[175] มีการผ่านกฎหมายหลักพื้นฐาน เยรูซาเลม เมืองหลวงของอิสราเอล ในปี 1980 ซึ่งบางคนเชื่อว่ายืนยันการผนวกเยรูซาเลมของอิสราเอลในปี 1967 ด้วยกฤษฎีกาของรัฐบาล และจุดชนวนกรณีพิพาทระหว่างประเทศเหนือสถานภาพของนคร ไม่มีกฎหมายอิสราเอลฉบับใดนิยามดินแดนอิสราเอลและไม่มีรัฐบัญญัติใดเจาะจงรวมเยรูซาเลมตะวันออกในเยรูซาเลมด้วย[176] จุดยืนของรัฐสมาชิกสหประชาชาติมีการสะท้อนในข้อมติหลายข้อมติซึ่งประกาศว่าการกระทำของอิสราเอลในการตั้งถิ่นฐานพลเมืองในเวสต์แบงก์ และกำหนดกฎหมายและการบริหารราชการแผ่นดินต่อเยรูซาเลมตะวันออก มิชอบด้วยกฎหมายและไม่มีผลสมบูรณ์[177] ในปี 1981 อิสราเอลผนวกที่ราบสูงโกลัน แม้การผนวกนั้นไม่ได้รับการรับรองของนานาชาติ[178] ความหลากหลายของประชากรของอิสราเอลเพิ่มขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1980 ถึง 1990 ยิวเอธิโอเปียหลายระลอกเข้าเมืองอิสราเอลตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 ส่วนระหว่างปี 1990 และ 1994 การเข้าเมืองจากรัฐหลังโซเวียตเพิ่มประชากรของอิสราเอลร้อยละ 12[179]

วันที่ 7 มิถุนายน 1981 กองทัพอากาศอิสราเอลทำลายเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แห่งเดียวของอิรักที่กำลังอยู่ระหว่างก่อสร้างนอกกรุงแบกแดดเพื่อยับยั้งโครงการอาวุธนิวเคลียร์ของอิรัก ให้หลังการโจมตีของ PLO หลายครั้งในปี 1982 ประเทศอิสราเอลจึงบุกครองเลบานอนในปีเดียวกันเพื่อทำลายฐานซึ่ง PLO ใช้เปิดฉากโจมตีและยิงขีปนาวุธใส่ภาคเหนือของอิสราเอล[180] ในการสู้รบหกวันแรก ฝ่ายอิสราเอลทำลายกำลังทหารของ PLO ในประเทศเลบานอนและสามารถพิชิตกองทัพซีเรียได้อย่างเด็ดขาด การสอบสวนของรัฐบาลอิสราเอล คณะกรรมการคาฮาน ต่อมาสรุปว่าเบกิน ชารอนและนายพลอิสราเอลหลายนายมีส่วนรับผิดชอบโดยอ้อมสำหรับการสังหารหมู่ที่ชาบราและชาติลา ในปี 1985 ประเทศอิสราเอลตอบโต้การโจมตีก่อการร้ายของปาเลสไตน์ในไซปรัสโดยการทิ้งระเบิดสำนักงานใหญ่ของ PLO ในประเทศตูนิเซีย อิสราเอลถอนกำลังจากประเทศเลบานอนเป็นส่วนใหญ่ในปี 1986 แต่ยังคงเขตกันชนบริเวณชายแดนในภาคใต้ของเลบานอนจนถึงปี 2000 ซึ่งกำลังอิสราเอลขัดแย้งกับฮิซบุลลอฮ์ อินติฟาดาครั้งแรก ซึ่งเป็นการก่อการกำเริบของปาเลสไตน์ต่อการปกครองของอิสราเอล ปะทุขึ้นในปี 1987 โดยมีการเดินขบวนและความรุนแรงหลายระลอกเกิดขึ้นในเขตเวสต์แบงก์และกาซาที่ถูกยึดครอง ในช่วงหกปีถัดมา อินติฟาดามีการรจัดระเบียบมากขึ้นและรวมเอามาตรการทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่มุ่งขัดขวางการยึดครองของอิสราเอล มีผู้ถูกฆ่าในความรุนแรงดังกล่าวกว่า 1,000 คน[181] ระหว่างสงครามอ่าวเปอร์เซียปี 1991 PLO สนับสนุนซัดดัม ฮุสเซนและการโจมตีด้วยขีปนาวุธสกัตต่ออิสราเอล แม้สาธารณะโกรธแค้น อิสราเอลรับฟังคำร้องของสหรัฐให้ละเว้นการโจมตีโต้ตอบและไม่เข้าร่วมในสงครามนั้น[182][183]

ในปี 1992 ยิตส์ฮัก ราบินเป็นนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้งซึ่งพรรคของเขาเรียกร้องให้ประนีประนอมกับเพื่อนบ้านของอิสราเอล[184][185] ปีต่อมา ชีโมน เปเรสผู้แทนฝ่ายอิสราเอล และมะห์มูด อับบาสผู้แทนฝ่าย PLO ลงนามข้อตกลงกรุงออสโล ซึ่งให้องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์มีสิทธิปกครองหลายส่วนของเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา[186] PLO ยังรับรองสิทธิการดำรงอยู่ของอิสราเอลและยอมยุติการก่อการร้าย[187] ในปี 1994 มีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพอิสราเอล–จอร์แดน ทำให้จอร์แดนเป็นประเทศอาหรับที่สองที่ฟื้นฟูความสัมพันธ์กับอิสราเอล[188] การสนับสนุนข้อตกลงฯ ของสาธารณะฝ่ายอาหรับลดลงจากการดำเนินการตั้งนิคม[189] และจุดตรวจของอิสราเอลต่อ และการบั่นทอนภาวะทางเศรษฐกิจ[190] การสนับสนุนข้อตกลงฯ ของสาธารณะฝ่ายอิสราเอลสั่นคลอนเมื่ออิสราเอลถูกโจมตีฆ่าตัวตายจากปาเลสไตน์[191] ในเดือนพฤศจิกายน 1995 ขณะออกจากการชุมนุมสันติภาพ ยาซัค ราบินถูกยิเกล แอไมร์ (Yigal Amir) ยิวขวาจัดซึ่งคัดค้านข้อตกลงฯ[192]

ภายใต้นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮูเมื่อปลายคริสต์ทศวรรรษ 1990 อิสราเอลถอนกำลังออกจากฮีบรอน[193] และลงนามบันทึกแม่น้ำวาย ซึ่งให้การควบคุมมากขึ้นแก่องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์[194] เอฮุด บารัค ซึ่งได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีในปี 1999 ถอนกำลังออกจากภาคใต้ของเลบานอนและเจรจากับประธานองค์การฯ ปาเลสไตน์ ยัสเซอร์ อาราฟัต และประธานาธิบดีสหรัฐ บิล คลินตัน ในการประชุมสุดยอดค่ายเดวิดปี 2000 ระหว่างการประชุม บารัคเสนอแผนตั้งรัฐปาเลสไตน์ รัฐที่เสนอมีฉนวนกาซาทั้งหมดและกว่าร้อยละ 90 ของเวสต์แบงก์โดยมีกรุงเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงร่วมกัน[195] ต่างฝ่ายต่างโทษอีกฝ่ายหนึ่งว่าเป็นสาเหตุทำให้การเจรจาล่ม หลังหัวหน้าพรรคลิคุด อาเรียล ชารอนเยือนเนินพระวิหารอันเป็นที่โต้เถียง เกิดอินติฟาดาครั้งที่สอง นักวิจารณ์บางคนสรุปว่าอาราฟัตเตรียมการก่อการกำเริบดังกล่าวล่วงหน้าเนื่องจากการเจรจาสันติภาพล้มเหลว[196][197][198][199] ชารอนเป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งพิเศษปี 2001 ระหว่างการดำรงตำแหน่ง ชารอนดำเนินแผนถอนกำลังจากฉนวนกาซาฝ่ายเดียวและยังเป็นหัวหอกการก่อสร้างแนวกั้นเวสต์แบงก์ของอิสราเอล[200] ยุติอินติฟาดา[201][202] ในสมัยของเขา มีชาวอิสราเอลถูกฆ่า 1,100 คน ส่วนใหญ่ในเหตุระเบิดฆ่าตัวตาย[203] ส่วนปาเลสไตน์ตั้งแต่ปี 2000 ถึง 2,008 มี 4,791 คนถูกกำลังความมั่นคงของอิสราเอลฆ่า 44 คนถูกพลเรือนอิสราเอลฆ่า และ 609 คนถูกปาเลสไตน์ด้วยกันฆ่า[204]

ในเดือนกรกฎาคม 2006 การโจมตีด้วยปืนใหญ่ของฮิซบุลลอฮ์ใส่ชุมชนชายแดนด้านทิศเหนือของอิสราเอลและการลักพาตัวทหารอิสราเอลสองนายข้ามชายแดนจุดชนวนสงครามเลบานอนครั้งที่สองนานหนึ่งเดือน[205][206] วันที่ 6 กันยายน 2007 กองทัพอากาศอิสราเอลทำลายเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในประเทศซีเรีย ปลายปี 2008 อิสราเอลเกิดความขัดแย้งอีกครั้งเมื่อการหยุดยิงระหว่างฮามาสกับอิสราเอลล่ม สงครามกาซาปี 2008–09 กินเวลาสามสัปดาห์และยุติหลังอิสราเอลประกาศหยุดยิงฝ่ายเดียว[207][208] ฮามาสประกาศหยุดยิงของตนโดยมีเงื่อนไขให้อิสราเอลถอนกำลังอย่างสมบูรณ์และเปิดจุดผ่านแดน แม้ยังมีการยิงจรวดและการโจมตีตอบโต้ของอิสราเอลอยู่เรื่อย ๆ แต่การหยุดยิงอันเปราะบางยังมีผลอยู่[209] อิสราเอลเริ่มปฏิบัติการในกาซาเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2012 กินเวลาแปดวัน[210] เพื่อตอบโต้การโจมตีด้วยจรวดหนึ่งร้อยครั้งใส่นครภาคใต้ของอิสราเอลตามอ้าง[211] อิสราเอลเริ่มปฏิบัติการอีกครั้งในกาซาระหว่างการขยายขอบเขตของการโจมตีด้วยจรวดของฮามาสในเดือนกรกฎาคม 2014[212]

ในเดือนกันยายน 2010 อิสราเอลได้รับเชิญให้เข้าร่วมโออีซีดี[55] ประเทศอิสราเอลลงนามความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป สหรัฐ สมาคมการค้าเสรียุโรป ตุรกี เม็กซิโก แคนาดา จอร์แดน อียิปต์และในปี 2007 เป็นประเทศที่มิใช่ละตินอเมริกาประเทศแรกที่ลงนามความตกลงการค้าเสรีกับกลุ่มการค้าเมร์โกซูร์[213][214] ในคริสต์ทศวรรษ 2010 ความร่วมมือในภูมิภาคที่เพิ่มขึ้นระหว่างอิสราเอลและประเทศสันนิบาตอาหรับ ซึ่งมีความตกลงสันติภาพสองฉบับ (จอร์แดน อียิปต์) ความสัมพันธ์ทางทูต (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ปาเลสไตน์) และความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการ (บาห์เรน ซาอุดีอาระเบีย โมร็อกโก ตูนิเซีย) และสถานการณ์ความมั่นคงของอิสราเอลเปลี่ยนจากความเป็นปรปักษ์อาหรับ–อิสราเอลแต่เดิมเป็นความเป็นคู่แข่งในภูมิภาคกับอิหร่านและตัวแทน ความขัดแย้งอิหร่าน–อิสราเอลค่อย ๆ ถือกำเนิดขึ้นจากความเป็นปรปักษ์ของสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านสมัยหลังปฏิวัติที่ประกาศต่ออิสราเอลตั้งแต่ปี 1979 เป็นการสนับสนุนฮิซบุลลอฮ์ของอิหร่านในทางลับระหว่างความขัดแย้งเลบานอนใต้ (1985–2000) แล้วพัฒนาเป็นความขัดแย้งภูมิภาคตัวแทนตั้งแต่ปี 2005 ด้วยการเข้ามีส่วนของอิหร่านที่เพิ่มขึ้นในสงครามกลางเมืองซีเรียตั้งแต่ปี 2011 และความขัดแย้งเปลี่ยนจากการสงครามตัวแทนมาเป็นการเผชิญหน้าโดยตรงในต้นปี 2018

การเมืองการปกครอง

ยิตส์ฮัก ราบิน, บิล คลินตัน และยัสเซอร์ อาราฟัต

อิสราเอลปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยสมาชิกสภาคเนสเซ็ทมีวาระครั้งละ 7 ปี ประธานาธิบดีคนปัจจุบันได้แก่นาย Reuven Rivlin ซึ่งขึ้นดำรงตำแหน่งเมื่อ 24 กรกฎาคม 2014

บริหาร

คณะรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งมีวาระครั้งละ 4 ปี นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ นัฟตาลี เบนเนตต์

นิติบัญญัติ

สมาชิกสภา Knesset ซึ่งทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎรและสถาบันทางนิติบัญญัติ ประกอบด้วยสมาชิก 120 คน มีวาระครั้งละ 4 ปี

ตุลาการ

การแบ่งเขตการปกครอง

อิสราเอล เวสต์แบงก์ และ ฉนวนกาซา
อิสราเอล เวสต์แบงก์ และ ฉนวนกาซา

ประเทศอิสราเอลแบ่งเป็น 6 เขต (เมโฮซอต [mehozot]; เอกพจน์ เมฮอซ [mehoz]) และ 13 เขตย่อย (นาฟอต [nafot]; เอกพจน์ นาฟา [nafa])

เขต เมืองเอก นครใหญ่สุด ประชากร[215]
ยิว อาหรับ รวม หมายเหตุ
เยรูซาเลม เยรูซาเลม 67% 32% 1,083,300 a
เหนือ นาซาเรธอิลลิต นาซาเรธ 43% 54% 1,401,300
ไฮฟา ไฮฟา 68% 26% 996,300
กลาง รามลา ริชอนเลซิออน 88% 8% 2,115,800
เทลอาวีฟ เทลอาวีฟ 93% 2% 1,388,400
ใต้ เบียร์ชีบา อัชดอด 73% 20% 1,244,200
ยูเดียและซามาเรีย Ariel Modi'in Illit 98% 0% 399,300 b
^a รวมยิวกว่า 200,000 คนและอาหรับ 300,000 คนในเยรูซาเลมตะวันออก[216]
^b เฉพาะพลเมืองอิสราเอล

ดินแดนยึดครอง

ในปี 1967 จากผลแห่งสงครามหกวัน อิสราเอลยึดและยึดครองเวสต์แบงก์ รวมทั้งเยรูซาเลมตะวันออก ฉนวนกาซา และที่ราบสูงโกลัน อิสราเอลยังเคยยึดคาบสมุทรไซนายแต่คืนให้อียิปต์ในส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาสันติภาพอียิปต์–อิสราเอลปี 1979 ระหว่างปี 1982 ถึง 2000 อิสราเอลยึดครองภาคใต้ของเลบานอนบางส่วน ซึ่งเรียก เข็มขัดความมั่นคง นับแต่การยึดดินแดนเหล่านี้ มีการสร้างนิคมและฐานทัพอิสราเอลในพื้นที่ดังกล่าวยกเว้นเลบานอน อิสราเอลยังใช้บังคับกฎหมายพลเรือนแก่ที่ราบสูงโกลันและเยรูซาเลมตะวันออกและให้ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าวมีสถานภาพผู้อยู่อาศัยถาวรและสามารถสมัครขอรับสัญชาติได้ เวสต์แบงก์นอกนิคมอิสราเอลภายในดินแดนนั้น ยังอยู่ภายใต้การควบคุมทางทหารโดยตรง และชาวปาเลสไตน์ในพื้นที่นี้ไม่สามารถเป็นพลเมืองอิสราเอลได้ อิสราเอลถอนกำลังทหารและรื้อถอนนิคมอิสราเอลในฉนวนกาซาอันเป็นส่วนหนึ่งของการปลดปล่อยจากกาซาแม้ยังควบคุมน่านฟ้าและน่านน้ำต่อ

คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประกาศว่าการผนวกที่ราบสูงโกลันและเยรูซาเลมตะวันออกไม่มีผลและเป็นโมฆะ และยังมองดินแดนดังกล่าวว่าถูกยึดครอง ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ องค์กรตุลาการหลักของสหประชาชาติ ประเมินในการให้คำปรึกษาปี 2004 ว่าด้วยความชอบด้วยกฎหมายของการก่อสร้างกำแพงเวสต์แบงก์ของอิสราเอล ว่าดินแดนที่อิสราเอลยึดในสงครามหกวันรวมทั้งเยรูซาเลมตะวันออกเป็นดินแดนถูกยึดครอง สถานภาพของเยรูซาเลมตะวันออกในการระงับข้อพิพาทสันติภาพในอนาคตใด ๆ บางทีเป็นประเด็นยากในการเจรจาระหว่างรัฐบาลอิสราเอลและผู้แทนชาวปาเลสไตน์ ซึ่งอิสราเอลมองว่าเป็นดินแดนเอกราชของประเทศ เช่นเดียวกับเป็นส่วนหนึ่งของเมืองหลวง การเจรจาส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับดินแดนนี้เป็นพื้นฐานของข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 242 ซึ่งครอบคลุม "การอยมรับไม่ได้ซึ่งการได้มาซึ่งดินแดนจากสงคราม" และเรียกร้องให้อิสราเอลถอนกำลังจากดินแดนยึดครองเพื่อแลกกับการฟื้นความสัมพันธ์กับรัฐอาหรับ ซึ่งเป็นหลักการที่เรียก "แลกดินแดนกับสันติภาพ"

ผู้สังเกตการณ์บางส่วนมองว่า อิสราเอลเข้าร่วมการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบและกว้างขวางในดินแดนยึดครอง ซึ่งรวมทั้งการยึดครอง และอาชญากรรมสงครามต่อพลเรือน คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติกล่าวหาว่าละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมสากล กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐกล่าวหาว่าผู้อยู่อาศัยท้องถิ่นมี "ความสามารถจำกัดในการเอาผิดกับทางการปกครองสำหรับการละเมิดเช่นว่า" องค์การนิรโทษกรรมสากลกล่าวหาว่าจับกุมหมู่ตามอำเภอใจ ทรมาน ฆ่าคนไม่ชอบด้วยกฎหมาย ละเมิดอย่างเป็นระบบและการไม่ต้องถูกลงโทษ เป็นต้น และการปฏิเสธสิทธิการกำหนดการปกครองด้วยตนเองของปาเลสไตน์ นายกรัฐมนตรีเนทันยาฮูตอบโต้ข้อกล่าวหาเหล่านี้โดยการให้ท้ายกำลังความมั่นคงของประเทศสำหรับการคุ้มครองผู้บริสุทธิ์จากผู้ก่อการร้าย และแสดงความรังเกียจสิ่งที่เขาอธิบายว่าไม่มีความกังวลเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ "ฆาตกรอาชญากร" เป็นผู้ก่อ ผู้สังเกตการณ์บางส่วน เช่น ข้าราชการอิสราเอล นักวิชาการ เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำสหประชาชาติ นิกกี เฮลีย์ และเลขาธิการสหประชาชาติ พัน กี-มุน และโคฟี อันนัน ก็ยืนยันว่ายูเอ็นกังวลกับความประพฤติมิชอบของอิสราเอลอย่างไม่ได้สัดส่วน

กำแพงเวสต์แบงก์อิสราเอลที่กั้นอิสราเอลกับเวสต์แบงก์

เวสต์แบงก์ถูกจอร์แดนยึดครองและผนวกในปี 1950 หลังฝ่ายอาหรับปฏิเสธคำวินิจฉัยของสหประชาชาติให้สร้างสองรัฐในปาเลสไตน์ เฉพาะบริเตนที่รับรองการผนวกดินแดนนี้และนับแต่นั้นจอร์แดนสละการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนนั้นให้ PLO ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวปาเลสไตน์ รวมทั้งผู้ลี้ภัยจากสงครามอาหรับ–อิสราเอลปี 1948 นับแต่การยึดครองในปี 1967 ถึงปี 1993 ชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่ในดินแดนเหล่านี้อยู่ภายใต้ฝ่ายปกครองทหารของอิสราเอล นับแต่จดหมายรับรองของอิสราเอล – PLO ประชากรและนครปาเลสไตน์ส่วนมากอยู่ภายใต้เขตอำนาจภายในขององค์การบริหารปาเลสไตน์ และอยู่ในการควบคุมของกองทัพอิสราเอลบางส่วนเท่านั้น แม้อิสราเอลวางกำลังพลและรื้อฟื้นฝ่ายปกครองทหารอย่างสมบูรณ์หลายโอกาสระหว่างสมัยความไม่สงบ เพื่อตอบโต้การโจมตีที่เพิ่มขึ้นระหว่างอินติฟาดาครั้งที่สอง รัฐบาลอิสราเอลเริ่มก่อสร้างกำแพงเวสต์แบงก์ของอิสราเอล เมื่อสเจสมบูรณ์ กำแพงประมาณร้อยละ 13 จะมีการก่อสร้างบนเส้นเขียวหรือในประเทศอิสราเอล ส่วนอีกร้อยละ 87 อยู่ในเวสต์แบงก์

ฉนวนกาซาถูกอียิปต์ยึดครองตั้งแต่ปี 1948 ถึง 1967 และอิสราเอลยึดครองต่อมาหลังปี 1967 จากนั้นในปี 2005 เป็นส่วนหนึ่งของแผนปลดปล่อยฝ่ายเดียว อิสราเอลถอนผู้ตั้งถิ่นฐานและกำลังทั้งหมดจากดินแดน อิสราเอลยังไม่ถือฉนวนกาซาว่าเป็นดินแดนยึดครองและประกาศว่าเป็น "ดินแดนต่างด้าว" ทัศนะนี้ถูกองค์การมนุษยธรรมระหว่างประเทศหลายองค์การและองค์กรต่าง ๆ ของสหประชาชาติ หลังยุทธการที่กาซาปี 2007 เมื่อฮามาสเถลิงอำนาจในฉนวนกาซา อิสราเอลคุมเข้มการควบคุมจุดผ่านแดนกาซาตรงชายแดน เช่นเดียวกับทางทะเลและอากาศ และห้ามบุคคลเข้าออกพื้นที่ยกเว้นกรณีที่มองว่าเป็นมนุษยธรรมเป็นกรณี ๆ ไป กาซามีชายแดนกับอียิปต์และความตกลงกับอิสราเอล สหภาพยุโรปและองค์การบริหารปาเลสไตน์ควบคุมที่ข้ามแดน

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

  มีความสัมพันธ์ทางทูต
  ระงับความสัมพันธ์ทางทูต
  เคยมีความสัมพันธ์ทางทูต
  ไม่มีความสัมพันธ์ทางทูต เคยมีความสัมพันธ์ทางการค้า
  ไม่มีความสัมพันธ์ทางทูต

กองทัพ

กองกำลังกึ่งทหาร

เศรษฐกิจ

โครงสร้าง

เทลอาวีฟ

ระบบเศรษฐกิจอิสราเอลมีลักษณะผสมผสานระหว่างการที่รัฐเข้าไปมีบทบาทควบคุมกิจการที่มีกำลังการผลิตและการจ้างงานสูง ขณะที่ภาคเอกชนก็สามารถมีกิจการได้โดยเสรี โดยทั่วไปแล้ว เศรษฐกิจของอิสราเอลจะอยู่ใต้อิทธิพลของความจำเป็นด้านความมั่นคง

  • ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ต้นไม้ ธาตุทองแดง โปแตช ก๊าซธรรมชาติ หินฟอสเฟต โบรมีน
  • อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 1.9 (ปี 2549)
  • อัตราผู้ว่างงาน ร้อยละ 8.5 (ปี 2549)
  • สินค้าส่งออกที่สำคัญ เครื่องจักรและอุปกรณ์ software เพชรเจียระไน ผลิตภัณฑ์เกษตร เสื้อผ้า
  • สินค้านำเข้าที่สำคัญ วัตถุดิบ อาวุธยุทโธปกรณ์ เชื้อเพลิง เพชร เมล็ดข้าว สินค้าอุปโภคบริโภค
  • ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมนี เบลเยี่ยม สวิตเซอร์แลนด์ จีน ฮ่องกง
    • ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม ฮ่องกง สหราชอาณาจักร
    • ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร

สถานการณ์เศรษฐกิจ

การท่องเที่ยว

โครงสร้างพื้นฐาน

วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี

คมนาคม และ โทรคมนาคม

การศึกษา

อัตราการรู้หนังสือ

สาธารณสุข

ประชากร

เมืองใหญ่

กรุงเยรูซาเลม เมืองที่มีประชากรมากที่สุดในอิสราเอล

มีจำนวนประมาณ 6 ล้านคน ร้อยละ 90 อาศัยอยู่ในเขตเมืองที่ทันสมัย แต่ก็มีบางส่วนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองเก่า ส่วนประชากรอีกร้อยละ 6 อยู่ในชนบทโดยเป็นสมาชิกสหกรณ์ 2 ลักษณะคือ คิบบุตซ์ และโมชาฟ ชาวอิสราเอลมีหลายชาติพันธ์ ทั้งชาวยิว และชนอาหรับพื้นเมือง รวมทั้งชาวยิวที่อพยพมาจากยุโรป แอฟริกา เอเชีย และประเทศตะวันออกกลางอื่น ๆ ประชากรส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ ๆ อาทิ เทลอาวีฟ เยรูซาเลม และไฮฟา ที่เหลือกระจัดกระจายตามพื้นที่การเกษตรทั่วประเทศชาวอิสราเอล ร้อยละ 82 นับถือศาสนายูดาย (Judaism) ที่เหลือนับถือศาสนาอิสลาม (14 %) คริสต์ (2%) อายุเฉลี่ย 79.46 ปี ชาย 77.33 ปี หญิง 81.7 ปี อัตราการเขียนออกอ่านได้ ร้อยละ 95.4

ศาสนา

ส่วนใหญ่นับถือศาสนายูดาห์ 80.1% ศาสนาอิสลาม 14.6% ศาสนาคริสต์ 2.1% ศาสนาบาไฮ และอื่น ๆ อีก 3.2%

วัฒนธรรม

อิสราเอลมีวัฒนธรรมทั้งเก่า และใหม่ผสมผสานกัน กล่าวคือ วัฒนธรรมโบราณของยิวที่เก่าแก่กว่า 4000 ปี และวัฒนธรรมใหม่ที่เกิดจากการหลั่งไหลของชาวยิวจากทั่วโลกที่กลับเข้าไปตั้งถิ่นฐานในอิสราเอลภายหลังการก่อตั้งรัฐอิสราเอล เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2491 ชาวอิสราเอลร้อยละ 90 อาศัยอยู่ในเขตเมืองที่ทันสมัย แต่ก็มีบางส่วนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองเก่า ส่วนประชากรอีกร้อยละ 6 อยู่ในชนบทโดยเป็นสมาชิกสหกรณ์ 2 ลักษณะคือ คิบบุตซ์ และโมชาฟ

วรรณกรรม

สถาปัตยกรรม

อาหาร

ดนตรี

สื่อมวลชน

วันหยุด

หมายเหตุ

  1. รัฐสมาชิกของสหประชาชาติที่ยอมรับ ได้แก่ออสเตรเลีย (เยรูซาเลมตะวันตก),[1] รัสเซีย (เยรูซาเลมตะวันตก),[2] สาธารณรัฐเช็ก (เยรูซาเลมตะวันตก),[3] ฮอนดูรัส,[4] กัวเตมาลา,[5] นาอูรู,[6] และสหรัฐ[7] ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2020 มีรายงานว่าเซอร์เบียจะย้ายสถานทูตจากเทลอาวีฟไปที่เยรูซาเลม[8][9]
  2. เยรูซาเลมเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศถ้ารวมเยรูซาเลมตะวันออก ซึ่งส่วนใหญ่ยอมรับในฐานะดินแดนที่ถูกครอบครอง[10]
  3. ภาษาอาหรับเคยเป็นภาษาทางการของรัฐอิสราเอล[11] ใน ค.ศ. 2018 มีการเปลี่ยนหมวดหมู่ไปเป็น 'สถานะพิเศษในรัฐ'[12][13][14]
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 ประชากรและข้อมูลเศรษฐกิจอิสราเอลครอบคลุมที่ราบสูงโกลัน, เยรูซาเลมตะวันออก และถิ่นฐานชาวอิสราเอลในเวสต์แบงก์[19][20]
  5. The Jerusalem Law states that "Jerusalem, complete and united, is the capital of Israel" and the city serves as the seat of the government, home to the President's residence, government offices, supreme court, and parliament. United Nations Security Council Resolution 478 (20 August 1980; 14–0, U.S. abstaining) declared the Jerusalem Law "null and void" and called on member states to withdraw their diplomatic missions from Jerusalem (see Kellerman 1993, p. 140). See Status of Jerusalem for more information.

อ้างอิง

  1. "Australia recognises West Jerusalem as Israeli capital". BBC News. 15 December 2018. สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.
  2. "Foreign Ministry statement regarding Palestinian-Israeli settlement". www.mid.ru. 6 April 2017.
  3. "Czech Republic announces it recognizes West Jerusalem as Israel's capital". Jerusalem Post. 6 December 2017. สืบค้นเมื่อ 6 December 2017. The Czech Republic currently, before the peace between Israel and Palestine is signed, recognizes Jerusalem to be in fact the capital of Israel in the borders of the demarcation line from 1967." The Ministry also said that it would only consider relocating its embassy based on "results of negotiations.
  4. "Honduras recognizes Jerusalem as Israel's capital". The Times of Israel. 29 August 2019.
  5. "Guatemala se suma a EEUU y también trasladará su embajada en Israel a Jerusalén" [Guatemala joins US, will also move embassy to Jerusalem]. Infobae (ภาษาสเปน). 24 December 2017. Guatemala's embassy was located in Jerusalem until the 1980s, when it was moved to Tel Aviv.
  6. "Nauru recognizes J'lem as capital of Israel". Israel National News (ภาษาอังกฤษ). 29 August 2019.
  7. "Trump Recognizes Jerusalem as Israel's Capital and Orders U.S. Embassy to Move". The New York Times. 6 December 2017. สืบค้นเมื่อ 6 December 2017.
  8. Frot, Mathilde (4 September 2020). "Kosovo to normalise relations with Israel". The Jewish Chronicle. สืบค้นเมื่อ 4 September 2020.
  9. "Kosovo and Serbia hand Israel diplomatic boon after US-brokered deal". The Guardian. 4 September 2020. สืบค้นเมื่อ 4 September 2020.
  10. The Legal Status of East Jerusalem (PDF), Norwegian Refugee Council, December 2013, pp. 8, 29
  11. "Arabic in Israel: an official language and a cultural bridge". Israel Ministry of Foreign Affairs. 18 December 2016. สืบค้นเมื่อ 8 August 2018.
  12. "Israel Passes 'National Home' Law, Drawing Ire of Arabs". The New York Times (ภาษาอังกฤษ). 19 July 2018.
  13. Lubell, Maayan (19 July 2018). "Israel adopts divisive Jewish nation-state law". Reuters.
  14. "Press Releases from the Knesset". Knesset website. 19 July 2018. The Arabic language has a special status in the state; Regulating the use of Arabic in state institutions or by them will be set in law.
  15. 15.0 15.1 Israel's Independence Day 2019 (PDF) (Report). Israel Central Bureau of Statistics. 6 May 2019. สืบค้นเมื่อ 7 May 2019.
  16. "Surface water and surface water change". Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD). สืบค้นเมื่อ 11 October 2020.
  17. "World Population Prospects - Population Division - United Nations". population.un.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-11. สืบค้นเมื่อ 2024-10-29.
  18. Population Census 2008 (PDF) (Report). Israel Central Bureau of Statistics. 2008. สืบค้นเมื่อ 27 December 2016.
  19. OECD 2011.
  20. Quarterly Economic and Social Monitor เก็บถาวร 2021-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Volume 26, October 2011, p. 57: "When Israel bid in March 2010 for membership in the 'Organization for Economic Co-operation and Development'... some members questioned the accuracy of Israeli statistics, as the Israeli figures (relating to gross domestic product, spending and number of the population) cover geographical areas that the Organization does not recognize as part of the Israeli territory. These areas include East Jerusalem, Israeli settlements in the West Bank and the Golan Heights."
  21. 21.0 21.1 "World Economic Outlook (April 2022)". International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ April 20, 2022.
  22. "Income inequality". data.oecd.org. OECD. สืบค้นเมื่อ 29 June 2020.
  23. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  24. "Israel". The World Factbook. Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 5 January 2017. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  25. Skolnik 2007, pp. 132–232
  26. "GaWC – The World According to GaWC 2008". Globalization and World Cities Research Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-11. สืบค้นเมื่อ 1 March 2009.
  27. The Controversial Sovereignty over the City of Jerusalem (June 22, 2015, The National Catholic Reporter) "No U.S. president has ever officially acknowledged Israeli sovereignty over any part of Jerusalem (...) The refusal to recognize Jerusalem as Israeli territory is a near universal policy among Western nations."
  28. "UN General Assembly Resolution 181 recommended the creation of an international zonea, or corpus separatum, in Jerusalem to be administered by the UN for a 10-year period, after which there would be referendum to determine its future. This approach applies equally to West and East Jerusalem and is not affected by the occupation of East jerusalem in 1967. To a large extent it is this approach that still guides the diplomatic behaviour of states and thus has greater force in international law" (Susan M. Akram, Michael Dumper, Michael Lynk, Iain Scobbie (eds.), International Law and the Israeli-Palestinian Conflict: A Rights-Based Approach to Middle East Peace, Routledge, 2010 p.119. )
  29. Jerusalem: Opposition to mooted Trump Israel announcement grows"Israeli sovereignty over Jerusalem has never been recognised internationally"
  30. Whither Jerusalem (Lapidot) page 17: "Israeli control in west Jerusalem since 1948 was illegal and most states have not recognized its sovereignty there"
  31. Finkelstein, Israel; Silberman, Neil Asher (2001). The Bible unearthed : archaeology's new vision of ancient Israel and the origin of its stories (1st Touchstone ed.). New York: Simon & Schuster. ISBN 978-0-684-86912-4.
  32. The Pitcher Is Broken: Memorial Essays for Gosta W. Ahlstrom, Steven W. Holloway, Lowell K. Handy, Continuum, 1 May 1995 Quote: "For Israel, the description of the battle of Qarqar in the Kurkh Monolith of Shalmaneser III (mid-ninth century) and for Judah, a Tiglath-pileser III text mentioning (Jeho-) Ahaz of Judah (IIR67 = K. 3751), dated 734-733, are the earliest published to date."
  33. Broshi, Maguen (2001). Bread, Wine, Walls and Scrolls. Bloomsbury Publishing. p. 174. ISBN 978-1-84127-201-6.
  34. "British Museum – Cuneiform tablet with part of the Babylonian Chronicle (605–594 BCE)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 October 2014. สืบค้นเมื่อ 30 October 2014.
  35. Jon L. Berquist (2007). Approaching Yehud: New Approaches to the Study of the Persian Period. Society of Biblical Lit. pp. 195–. ISBN 978-1-58983-145-2.
  36. 36.0 36.1 36.2 Peter Fibiger Bang; Walter Scheidel (31 January 2013). The Oxford Handbook of the State in the Ancient Near East and Mediterranean. OUP USA. pp. 184–187. ISBN 978-0-19-518831-8.
  37. Abraham Malamat (1976). A History of the Jewish People. Harvard University Press. pp. 223–239. ISBN 978-0-674-39731-6.
  38. Yohanan Aharoni (15 September 2006). The Jewish People: An Illustrated History. A&C Black. pp. 99–. ISBN 978-0-8264-1886-9.
  39. Erwin Fahlbusch; Geoffrey William Bromiley (2005). The Encyclopedia of Christianity. Wm. B. Eerdmans Publishing. pp. 15–. ISBN 978-0-8028-2416-5.
  40. 40.0 40.1 "Resolution 181 (II). Future government of Palestine". United Nations. 29 November 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-10. สืบค้นเมื่อ 21 March 2017.
  41. 41.0 41.1 Morris 2008, p. 66: at 1946 "The League demanded independence for Palestine as a "unitary" state, with an Arab majority and minority rights for the Jews.", p. 67: at 1947 "The League's Political Committee met in Sofar, Lebanon, on 16–19 September, and urged the Palestine Arabs to fight partition, which it called "aggression," "without mercy." The League promised them, in line with Bludan, assistance "in manpower, money and equipment" should the United Nations endorse partition.", p. 72: at December 1947 "The League vowed, in very general language, "to try to stymie the partition plan and prevent the establishment of a Jewish state in Palestine.""
  42. 42.0 42.1 Morris 2008, p. 75: "The night of 29–30 November passed in the Yishuv’s settlements in noisy public rejoicing. Most had sat glued to their radio sets broadcasting live from Flushing Meadow. A collective cry of joy went up when the two-thirds mark was achieved: a state had been sanctioned by the international community."
  43. 43.0 43.1 43.2 Morris 2008, p. 396: "The immediate trigger of the 1948 War was the November 1947 UN partition resolution. The Zionist movement, except for its fringes, accepted the proposal.", "The Arab war aim, in both stages of the hostilities, was, at a minimum, to abort the emergence of a Jewish state or to destroy it at inception. The Arab states hoped to accomplish this by conquering all or large parts of the territory allotted to the Jews by the United Nations. And some Arab leaders spoke of driving the Jews into the sea and ridding Palestine "of the Zionist plague." The struggle, as the Arabs saw it, was about the fate of Palestine/ the Land of Israel, all of it, not over this or that part of the country. But, in public, official Arab spokesmen often said that the aim of the May 1948 invasion was to "save" Palestine or "save the Palestinians," definitions more agreeable to Western ears."
  44. 44.0 44.1 "Declaration of Establishment of State of Israel". Israel Ministry of Foreign Affairs. 14 May 1948. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2017. สืบค้นเมื่อ 21 March 2017.
  45. 45.0 45.1 Gilbert 2005, p. 1
  46. "Debate Map: Israel".
  47. "Israel, Occupied Territories". doi:10.1093/law:epil/9780199231690/law-9780199231690-e1301. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  48. Cuyckens, Hanne (1 October 2016). "Is Israel Still an Occupying Power in Gaza?". Netherlands International Law Review. 63 (3): 275–295. doi:10.1007/s40802-016-0070-1. ISSN 0165-070X – โดยทาง link.springer.com.
  49. "The status of Jerusalem" (PDF). The Question of Palestine & the United Nations. United Nations Department of Public Information. East Jerusalem has been considered, by both the General Assembly and the Security Council, as part of the occupied Palestinian territory.{{cite book}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์)
  50. "Analysis: Kadima's big plans". BBC News. 29 March 2006. สืบค้นเมื่อ 10 October 2010.
  51. Kessner, BC (2 April 2006). "Israel's Hard-Learned Lessons". Homeland Security Today. สืบค้นเมื่อ 26 April 2012.
  52. Kumaraswamy, P. R. (5 June 2002). "The Legacy of Undefined Borders". Tel Aviv Notes. สืบค้นเมื่อ 25 March 2013.
  53. "Israel". Freedom in the World. Freedom House. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-23. สืบค้นเมื่อ 20 March 2012.
  54. "Global Survey 2006: Middle East Progress Amid Global Gains in Freedom". Freedom House. 19 December 2005. Retrieved 20 March 2012.
  55. 55.0 55.1 "Israel's accession to the OECD". Organisation for Economic Co-operation and Development. Retrieved 12 August 2012.
  56. "Israel and the IMF". IMF (ภาษาอังกฤษ).
  57. "Human development indices". United Nations Development Programme. Retrieved 4 November 2010.
  58. "WHO: Life expectancy in Israel among highest in the world". Haaretz. 24 May 2009.
  59. Gil, Moshe (1997). A History of Palestine, 634–1099. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-59984-9.
  60. Allan D. Cooper (2009). The geography of genocide. University Press of America. p. 132. ISBN 978-0-7618-4097-8. สืบค้นเมื่อ 1 January 2012.
  61. Carmel, Alex. The History of Haifa Under Turkish Rule. Haifa: Pardes, 2002 (ISBN 965-7171-05-9), pp. 16–17
  62. Moshe Gil (1992). A History of Palestine, 634–1099. Cambridge University Press. p. 829. ISBN 9780521404372. สืบค้นเมื่อ 17 May 2015. Haifa was taken [...] in August 1100 or June 1101, according to Muslim sources which contradict one another. Albert of Aachen does not mention the date in a clear manner either. From what he says, it appears that it was mainly the Jewish inhabitants of the city who defended the fortress of Haifa. In his rather strange Latin style, he mentions that there was a Jewish population in Haifa, and that they fought bravely within the walls of the city. He explains that the Jews there were protected people of the Muslims (the Fatimids). They fought side by side with units of the Fatimid army, striking back at Tancred's army from above the walls of the citadel (... Judaei civis comixtis Sarracenorum turmis) until the Crusaders overcame them and they were forced to abandon the walls. The Muslims and the Jews then managed to escape from the fortress with their lives, while the rest of the population fled the city en masse. Whoever remained was slaughtered, and huge quantities of spoils were taken. [...] [Note #3: Albert of Aachen (Albericus, Albertus Aquensis), Historia Hierosolymitanae Expeditionis, in: RHC (Occ.), IV. p. 523; etc.]
  63. Irven M. Resnick (1 June 2012). Marks of Distinctions: Christian Perceptions of Jews in the High Middle Ages. CUA Press. pp. 48–49. ISBN 978-0-8132-1969-1. citizens of the Jewish race, who lived in the city by the favour and consent of the king of Egypt in return for payment of tribute, got on the walls bearing arms and put up a very stubborn defence, until the Christians, weighed down by various blows over the period of two weeks, absolutely despaired and held back their hands from any attack. [...] the Jewish citizens, mixed with Saracen troops, at once fought back manfully,... and counter-attacked. [Albert of Aachen, Historia Ierosolimitana 7.23, ed. and transl. Susan B. Edgington (Oxford: Clarendon Press, 2007), 516 and 521.]
  64. Abraham P. Bloch (1987). "Sultan Saladin Opens Jerusalem to Jews". One a day: an anthology of Jewish historical anniversaries for every day of the year. KTAV Publishing House, Inc. p. 277. ISBN 978-0-88125-108-1. สืบค้นเมื่อ 26 December 2011.
  65. Benzion Dinur (1974). "From Bar Kochba's Revolt to the Turkish Conquest". ใน David Ben-Gurion (บ.ก.). The Jews in their Land. Aldus Books. p. 217. สืบค้นเมื่อ 26 December 2011.
  66. Geoffrey Hindley (28 February 2007). Saladin: hero of Islam. Pen & Sword Military. p. xiii. ISBN 978-1-84415-499-9. สืบค้นเมื่อ 26 December 2011.
  67. Alex Carmel; Peter Schäfer; Yossi Ben-Artzi (1990). The Jewish settlement in Palestine, 634–1881. L. Reichert. p. 31. ISBN 978-3-88226-479-1. สืบค้นเมื่อ 21 December 2011.
  68. Samson ben Abraham of Sens, Jewish Encyclopedia.
  69. Moshe Lichtman (September 2006). Eretz Yisrael in the Parshah: The Centrality of the Land of Israel in the Torah. Devora Publishing. p. 302. ISBN 978-1-932687-70-5. สืบค้นเมื่อ 23 December 2011.
  70. 70.0 70.1 Kramer, Gudrun (2008). A History of Palestine: From the Ottoman Conquest to the Founding of the State of Israel. Princeton University Press. p. 376. ISBN 978-0-691-11897-0.
  71. M. Sharon (2010). "Al Khalil". Encyclopedia of Islam, Second Edition. Koninklijke Brill NV.
  72. International Dictionary of Historic Places: Middle East and Africa by Trudy Ring, Robert M. Salkin, Sharon La Boda, pp. 336–339
  73. "The Covenant of the League of Nations". Article 22. สืบค้นเมื่อ 18 October 2012.
  74. "Mandate for Palestine," Encyclopaedia Judaica, Vol. 11, p. 862, Keter Publishing House, Jerusalem, 1972
  75. Rosenzweig 1997, p. 1
  76. 76.0 76.1 Geoffrey Wigoder, G.G. "Return to Zion". The New Encyclopedia of Judaism (via Answers.Com). The Jerusalem Publishing House. สืบค้นเมื่อ 8 March 2010.
  77. "An invention called 'the Jewish people'". Haaretz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2010. สืบค้นเมื่อ 9 March 2010.
  78. Gilbert 2005, p. 2. "Jews sought a new homeland here after their expulsions from Spain (1492) ..."
  79. Eisen, Yosef (2004). Miraculous journey: a complete history of the Jewish people from creation to the present. Targum Press. p. 700. ISBN 1-56871-323-1.
  80. Morgenstern, Arie (2006). Hastening redemption: Messianism and the resettlement of the land of Israel. USA: Oxford University Press. p. 304. ISBN 978-0-19-530578-4.
  81. "Jewish and Non-Jewish Population of Palestine-Israel (1517–2004)". Jewish Virtual Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-18. สืบค้นเมื่อ 29 March 2010. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  82. Barnai, Jacob (1992). The Jews in Palestine in the Eighteenth Century: Under the Patronage of the Istanbul committee of Officials for Palestine. University Alabama Press. p. 320. ISBN 978-0-8173-0572-7.
  83. 83.0 83.1 83.2 83.3 "Immigration to Israel". Jewish Virtual Library. สืบค้นเมื่อ 29 March 2012. The source provides information on the First, Second, Third, Fourth and Fifth Aliyot in their respective articles. The White Paper leading to Aliyah Bet is discussed "Aliyah During World War II and its Aftermath".
  84. Kornberg 1993 "How did Theodor Herzl, an assimilated German nationalist in the 1880s, suddenly in the 1890s become the founder of Zionism?"
  85. Herzl 1946, p. 11
  86. "Chapter One". The Jewish Agency for Israel1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-10. สืบค้นเมื่อ 21 September 2015. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  87. Stein 2003, p. 88. "As with the First Aliyah, most Second Aliyah migrants were non-Zionist orthodox Jews ..."
  88. Romano 2003, p. 30
  89. Macintyre, Donald (26 May 2005). "The birth of modern Israel: A scrap of paper that changed history". The Independent. สืบค้นเมื่อ 20 March 2012.
  90. Yapp, M.E. (1987). The Making of the Modern Near East 1792–1923. Harlow, England: Longman. p. 290. ISBN 0-582-49380-3.
  91. Schechtman, Joseph B. (2007). "Jewish Legion". Encyclopaedia Judaica. Vol. 11. Detroit: Macmillan Reference USA. p. 304. สืบค้นเมื่อ 6 August 2014.
  92. Scharfstein 1996, p. 269. "During the First and Second Aliyot, there were many Arab attacks against Jewish settlements ... In 1920, Hashomer was disbanded and Haganah ("The Defense") was established."
  93. "League of Nations: The Mandate for Palestine, July 24, 1922". Modern History Sourcebook. Fordham University. 24 July 1922. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-04. สืบค้นเมื่อ 27 August 2007.
  94. Shaw, J. V. W. (January 1991) [1946]. "Chapter VI: Population". A Survey of Palestine. Vol. Volume I: Prepared in December 1945 and January 1946 for the information of the Anglo-American Committee of Inquiry (Reprint ed.). Washington, D.C.: Institute for Palestine Studies. p. 148. ISBN 978-0-88728-213-3. OCLC 22345421. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-19. สืบค้นเมื่อ 2018-05-17. {{cite book}}: |volume= has extra text (help)
  95. "Report to the League of Nations on Palestine and Transjordan, 1937". British Government. 1937. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2013. สืบค้นเมื่อ 14 July 2013.
  96. Walter Laqueur (1 July 2009). A History of Zionism: From the French Revolution to the Establishment of the State of Israel. Knopf Doubleday Publishing Group. ISBN 9780307530851. สืบค้นเมื่อ 15 October 2015.
  97. Hughes, M (2009). "The banality of brutality: British armed forces and the repression of the Arab Revolt in Palestine, 1936–39" (PDF). English Historical Review. CXXIV (507): 314–354. doi:10.1093/ehr/cep002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2016.
  98. Khalidi, Walid (1987). From Haven to Conquest: Readings in Zionism and the Palestine Problem Until 1948. Institute for Palestine Studies. ISBN 978-0-88728-155-6
  99. "The Population of Palestine Prior to 1948". MidEastWeb. สืบค้นเมื่อ 19 March 2012.
  100. Fraser 2004, p. 27
  101. Encyclopedia of Terrorism, Harvey W. Kushner, Sage, 2003 p.181
  102. The British Empire in the Middle East, 1945–1951: Arab Nationalism, the United States, and Postwar Imperialism. William Roger Louis, Oxford University Press, 1986, p. 430
  103. 103.0 103.1 Clarke, Thurston. By Blood and Fire, G. P. Puttnam's Sons, New York, 1981
  104. Bethell, Nicholas (1979). The Palestine Triangle. Andre Deutsch.
  105. "A/RES/106 (S-1)". General Assembly resolution. United Nations. 15 พฤษภาคม 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2012. สืบค้นเมื่อ 12 August 2012.
  106. "A/364". Special Committee on Palestine. United Nations. 3 กันยายน 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2012. สืบค้นเมื่อ 12 August 2012.
  107. "Background Paper No. 47 (ST/DPI/SER.A/47)". United Nations. 20 April 1949. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2011. สืบค้นเมื่อ 31 July 2007.
  108. Bregman 2002, pp. 40–41
  109. Gelber, Yoav (2006). Palestine 1948. Brighton: Sussex Academic Press. p. 17. ISBN 978-1-902210-67-4.
  110. Morris 2008, p. 77–78.
  111. Tal, David (2003). War in Palestine, 1948: Israeli and Arab Strategy and Diplomacy. Routledge. p. 471. ISBN 978-0-7146-5275-7.
  112. Morris 2008.
  113. Clifford, Clark, "Counsel to the President: A Memoir", 1991, p. 20.
  114. Jacobs, Frank (7 August 2012). "The Elephant in the Map Room". Borderlines. The New York Times. สืบค้นเมื่อ 3 September 2012.
  115. Karsh, Efraim (2002). The Arab–Israeli conflict: The Palestine War 1948. Osprey Publishing. p. 50. ISBN 978-1-84176-372-9.
  116. Ben-Sasson 1985, p. 1058
  117. Morris 2008, p. 205.
  118. Rabinovich, Itamar; Reinharz, Jehuda (2007). Israel in the Middle East: Documents and Readings on Society, Politics, and Foreign Relations, Pre-1948 to the Present. Brandeis. p. 74. ISBN 978-0-87451-962-4.
  119. David Tal (24 June 2004). War in Palestine, 1948: Israeli and Arab Strategy and Diplomacy. Routledge. p. 469. ISBN 978-1-135-77513-1. some of the Arab armies invaded Palestine in order to prevent the establishment of a Jewish state, Transjordan...
  120. Morris 2008, p. 187: "A week before the armies marched, Azzam told Kirkbride: "It does not matter how many [ Jews] there are. We will sweep them into the sea." … Ahmed Shukeiry, one of Haj Amin al-Husseini's aides (and, later, the founding chairman of the Palestine Liberation Organization), simply described the aim as "the elimination of the Jewish state." … al-Quwwatli told his people: "Our army has entered … we shall win and we shall eradicate Zionism""
  121. Morris 2008, p. 198: "the Jews felt that the Arabs aimed to reenact the Holocaust and that they faced certain personal and collective slaughter should they lose"
  122. "PDF copy of Cablegram from the Secretary-General of the League of Arab States to the Secretary-General of the United Nations: S/745: 15 May 1948". Un.org. 9 กันยายน 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2014. สืบค้นเมื่อ 13 October 2013.
  123. Karsh, Efraim (2002). The Arab–Israeli conflict: The Palestine War 1948. Osprey Publishing. ISBN 978-1-84176-372-9.
  124. Morris, Benny. The Birth of the Palestinian Refugee Problem Revisited. Cambridge University Press. p. 602. ISBN 978-0-521-00967-6.
  125. "Dr. Sarah Ozacky-Lazar, Relations between Jews and Arabs during Israel's first decade (in Hebrew)".
  126. "Two Hundred and Seventh Plenary Meeting". The United Nations. 11 May 1949. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 September 2007. สืบค้นเมื่อ 13 July 2007. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  127. William Roger Louis (1984). The British Empire in the Middle East, 1945–1951: Arab Nationalism, the United States, and Postwar Imperialism. Clarendon Press. p. 579. ISBN 978-0-19-822960-5. The transcript makes it clear that British policy acted as a brake on Jordan." "King Abdullah was personally anxious to come to agreement with Israel", Kirkbride stated, and in fact it was our restraining influence which had so far prevented him from doing so." Knox Helm confirmed that the Israelis hoped to have a settlement with Jordan, and that they now genuinely wished to live peacefully within their frontiers, if only for economic reasons
  128. Lustick 1988, pp. 37–39
  129. "Israel (Labor Zionism)". Country Studies. Library of Congress. สืบค้นเมื่อ 12 February 2010.
  130. "The Kibbutz & Moshav: History & Overview". Jewish Virtual Library. Jewish Virtual Library. สืบค้นเมื่อ 17 June 2014.
  131. Segev, Tom. 1949: The First Israelis. "The First Million". Trans. Arlen N. Weinstein. New York: The Free Press, 1986. Print. p 105-107
  132. Shulewitz, Malka Hillel (2001). The Forgotten Millions: The Modern Jewish Exodus from Arab Lands. Continuum. ISBN 978-0-8264-4764-7.
  133. Laskier, Michael "Egyptian Jewry under the Nasser Regime, 1956–70" pages 573–619 from Middle Eastern Studies, Volume 31, Issue # 3, July 1995 page 579.
  134. "Population, by Religion". Israel Central Bureau of Statistics. 2016. สืบค้นเมื่อ 4 September 2016.
  135. Bard, Mitchell (2003). The Founding of the State of Israel. Greenhaven Press. p. 15.
  136. Hakohen, Devorah (2003). Immigrants in Turmoil: Mass Immigration to Israel and Its Repercussions in the 1950s and After. Syracuse University Press. ISBN 978-0-8156-2969-6.; for ma'abarot population, see p. 269.
  137. Clive Jones, Emma Murphy, Israel: Challenges to Identity, Democracy, and the State, Routledge 2002 p. 37: "Housing units earmarked for the Oriental Jews were often reallocated to European Jewish immigrants; Consigning Oriental Jews to the privations of ma'aborot (transit camps) for longer periods."
  138. Segev 2007, pp. 155–157
  139. Shindler 2002, pp. 49–50
  140. Kameel B. Nasr (1 December 1996). Arab and Israeli Terrorism: The Causes and Effects of Political Violence, 1936–1993. McFarland. pp. 40–. ISBN 978-0-7864-3105-2. Fedayeen to attack...almost always against civilians
  141. Gilbert 2005, p. 58
  142. Isaac Alteras (1993). Eisenhower and Israel: U.S.-Israeli Relations, 1953–1960. University Press of Florida. pp. 192–. ISBN 978-0-8130-1205-6. the removal of the Egyptian blockade of the Straits of Tiran at the entrance of the Gulf of Aqaba. The blockade closed Israel's sea lane to East Africa and the Far East, hindering the development of Israel's southern port of Eilat and its hinterland, the Nege. Another important objective of the Israeli war plan was the elimination of the terrorist bases in the Gaza Strip, from which daily fedayeen incursions into Israel made life unbearable for its southern population. And last but not least, the concentration of the Egyptian forces in the Sinai Peninsula, armed with the newly acquired weapons from the Soviet bloc, prepared for an attack on Israel. Here, Ben-Gurion believed, was a time bomb that had to be defused before it was too late. Reaching the Suez Canal did not figure at all in Israel's war objectives.
  143. Dominic Joseph Caraccilo (January 2011). Beyond Guns and Steel: A War Termination Strategy. ABC-CLIO. pp. 113–. ISBN 978-0-313-39149-1. The escalation continued with the Egyptian blockade of the Straits of Tiran, and Nasser's nationalization of the Suez Canal in July 1956. On October 14, Nasser made clear his intent:"I am not solely fighting against Israel itself. My task is to deliver the Arab world from destruction through Israel's intrigue, which has its roots abroad. Our hatred is very strong. There is no sense in talking about peace with Israel. There is not even the smallest place for negotiations." Less than two weeks later, on October 25, Egypt signed a tripartite agreement with Syria and Jordan placing Nasser in command of all three armies. The continued blockade of the Suez Canal and Gulf of Aqaba to Israeli shipping, combined with the increased fedayeen attacks and the bellicosity of recent Arab statements, prompted Israel, with the backing of Britain and France, to attack Egypt on October 29, 1956.
  144. Alan Dowty (20 June 2005). Israel/Palestine. Polity. pp. 102–. ISBN 978-0-7456-3202-5. Gamal Abdel Nasser, who declared in one speech that "Egypt has decided to dispatch her heroes, the disciples of Pharaoh and the sons of Islam and they will cleanse the land of Palestine....There will be no peace on Israel's border because we demand vengeance, and vengeance is Israel's death."...The level of violence against Israelis, soldiers and civilians alike, seemed to be rising inexorably.
  145. "The Jewish Virtual Library, The Sinai-Suez Campaign: Background & Overview". In 1955, Egyptian President Gamal Abdel Nasser began to import arms from the Soviet Bloc to build his arsenal for the confrontation with Israel. In the short-term, however, he employed a new tactic to prosecute Egypt's war with Israel. He announced it on August 31, 1955: Egypt has decided to dispatch her heroes, the disciples of Pharaoh and the sons of Islam and they will cleanse the land of Palestine....There will be no peace on Israel's border because we demand vengeance, and vengeance is Israel's death. These "heroes" were Arab terrorists, or fedayeen, trained and equipped by Egyptian Intelligence to engage in hostile action on the border and infiltrate Israel to commit acts of sabotage and murder.
  146. Schoenherr, Steven (15 December 2005). "The Suez Crisis". สืบค้นเมื่อ 31 May 2013.
  147. Gorst, Anthony; Johnman, Lewis (1997). The Suez Crisis. Routledge. ISBN 978-0-415-11449-3.
  148. Benny Morris (25 May 2011). Righteous Victims: A History of the Zionist-Arab Conflict, 1881–1998. Knopf Doubleday Publishing Group. pp. 300, 301. ISBN 978-0-307-78805-4. (p. 300) In exchange (for Israeli withdrawal) the United states had indirectly promised to guarantee Israel's right of passage through the straits (to the Red sea) and its right to self defense if the Egyptian closed them....(p 301) The 1956 war resulted in a significant reduction of...Israeli border tension. Egypt refrained from reactivating the Fedaeen, and...Egypt and Jordan made great effort to curb infiltration
  149. "National insurance institute of Israel, Hostile Action Casualties" (ภาษาฮิบรู). list of people who were kiled in hostile action: 53 In 1956, 19 in 1957, 15 in 1958
  150. "jewish virtual library, Terrorism Against Israel: Number of Fatalities". 53 at 1956, 19 at 1957, 15 at 1958
  151. "Jewish virtual library, MYTH "Israel's military strike in 1956 was unprovoked."". Israeli Ambassador to the UN Abba Eban explained ... As a result of these actions of Egyptian hostility within Israel, 364 Israelis were wounded and 101 killed. In 1956 alone, as a result of this aspect of Egyptian aggression, 28 Israelis were killed and 127 wounded.
  152. "Adolf Eichmann". Jewish Virtual Library. สืบค้นเมื่อ 18 September 2007. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  153. Cole 2003, p. 27
  154. Shlomo Shpiro (2006). "No place to hide: Intelligence and civil liberties in Israel". Cambridge Review of International Affairs. 19 (44): 629–648. doi:10.1080/09557570601003361.
  155. "The Politics of Miscalculation in the Middle East", by Richard B. Parker (1993 Indiana University Press) pp. 38
  156. Maoz, Moshe (1995). Syria and Israel: From War to Peacemaking. USA: Oxford University Press. p. 70. ISBN 978-0-19-828018-7.
  157. "On This Day 5 Jun". BBC. 5 June 1967. สืบค้นเมื่อ 26 December 2011.
  158. Segev 2007, p. 178
  159. Gat, Moshe (2003). Britain and the Conflict in the Middle East, 1964–1967: The Coming of the Six-Day War. Greenwood Publishing Group. p. 202. ISBN 0275975142.
  160. John Quigley, The Six-Day War and Israeli Self-Defense: Questioning the Legal Basis for Preventive War, Cambridge University Press, 2013, p. 32.
  161. Samir A. Mutawi (18 July 2002). Jordan in the 1967 War. Cambridge University Press. p. 93. ISBN 978-0-521-52858-0. Although Eshkol denounced the Egyptians, his response to this development was a model of moderation. His speech on 21 May demanded that Nasser withdraw his forces from Sinai but made no mention of the removal of UNEF from the Straits nor of what Israel would do if they were closed to Israeli shipping. The next day Nasser announced to an astonished world that henceforth the Straits were, indeed, closed to all Israeli ships
  162. Segev 2007, p. 289
  163. Smith 2006, p. 126. "Nasser, the Egyptian president, decided to mass troops in the Sinai ... casus belli by Israel."
  164. Bennet, James (13 March 2005). "The Interregnum". The New York Times Magazine. สืบค้นเมื่อ 11 February 2010.
  165. "Israel Ministry of Foreign Affairs – The Palestinian National Covenant- July 1968". Mfa.gov.il. สืบค้นเมื่อ 13 March 2009.
  166. Silke, Andrew (2004). Research on Terrorism: Trends, Achievements and Failures. Routledge. p. 149 (256 pages). ISBN 978-0-7146-8273-0. สืบค้นเมื่อ 8 March 2010.
  167. Gilbert, Martin (2002). The Routledge Atlas of the Arab–Israeli Conflict: The Complete History of the Struggle and the Efforts to Resolve It. Routledge. p. 82. ISBN 978-0-415-28116-4. สืบค้นเมื่อ 8 March 2010.
  168. Andrews, Edmund; Kifner, John (27 January 2008). "George Habash, Palestinian Terrorism Tactician, Dies at 82". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 29 March 2012.
  169. "1973: Arab states attack Israeli forces". On This Day. The BBC. 6 October 1973. สืบค้นเมื่อ 15 July 2007.
  170. "Agranat Commission". Knesset. 2008. สืบค้นเมื่อ 8 April 2010. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  171. Bregman 2002, pp. 169–170 "In hindsight we can say that 1977 was a turning point ..."
  172. Bregman 2002, pp. 171–174
  173. Bregman 2002, pp. 186–187
  174. Bregman 2002, pp. 186
  175. Cleveland, William L. (1999). A history of the modern Middle East. Westview Press. p. 356. ISBN 978-0-8133-3489-9.
  176. Lustick, Ian (1997). "Has Israel Annexed East Jerusalem?". Middle East Policy. Washington, D.C.: Wiley-Blackwell. V (1): 34–45. doi:10.1111/j.1475-4967.1997.tb00247.x. ISSN 1061-1924. OCLC 4651987544. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-11-20. สืบค้นเมื่อ 1 June 2013.
  177. See for example UN General Assembly resolution 63/30, passed 163 for, 6 against "Resolution adopted by the General Assembly". 23 มกราคม 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2011.
  178. "Golan Heights profile". BBC News. 27 November 2015. สืบค้นเมื่อ 6 January 2017.
  179. Friedberg, Rachel M. (November 2001). "The Impact of Mass Migration on the Israeli Labor Market" (PDF). The Quarterly Journal of Economics. 116 (4): 1373–1408. doi:10.1162/003355301753265606.
  180. Bregman 2002, p. 199
  181. Stone & Zenner 1994, p. 246. "Toward the end of 1991 ... were the result of internal Palestinian terror."
  182. Haberman, Clyde (9 December 1991). "After 4 Years, Intifada Still Smolders". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 28 March 2008.
  183. Mowlana, Gerbner & Schiller 1992, p. 111
  184. Bregman 2002, p. 236
  185. "From the End of the Cold War to 2001". Boston College. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 August 2013. สืบค้นเมื่อ 20 March 2012.
  186. "The Oslo Accords, 1993". U.S. Department of State. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2010. สืบค้นเมื่อ 30 March 2010. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  187. "Israel-PLO Recognition – Exchange of Letters between PM Rabin and Chairman Arafat – Sept 9- 1993". Israeli Ministry of Foreign Affairs. สืบค้นเมื่อ 31 March 2010. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  188. Harkavy & Neuman 2001, p. 270. "Even though Jordan in 1994 became the second country, after Egypt to sign a peace treaty with Israel ..."
  189. "Sources of Population Growth: Total Israeli Population and Settler Population, 1991–2003". Settlements information. Foundation for Middle East Peace. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 August 2013. สืบค้นเมื่อ 20 March 2012.
  190. Kurtzer, Daniel; Lasensky, Scott (2008). Negotiating Arab-Israeli peace: American leadership in the Middle East. United States Institute of Peace Press. p. 44. ISBN 978-1-60127-030-6.
  191. Cleveland, William L. (1999). A history of the modern Middle East. Westview Press. p. 494. ISBN 978-0-8133-3489-9.
  192. "Israel marks Rabin assassination". BBC News. 12 November 2005.
  193. Bregman 2002, p. 257
  194. "The Wye River Memorandum". U.S. Department of State. 23 October 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 1999. สืบค้นเมื่อ 30 March 2010. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  195. Gelvin 2005, p. 240
  196. Gross, Tom (16 January 2014). "The big myth: that he caused the Second Intifada". The Jewish Chronicle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 22 April 2016.
  197. Hong, Nicole (23 February 2015). "Jury Finds Palestinian Authority, PLO Liable for Terrorist Attacks in Israel a Decade Ago". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 22 April 2016.
  198. Ain, Stewart (20 December 2000). "PA: Intifada Was Planned". The Jewish Week. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 October 2007.
  199. Samuels, David (1 September 2005). "In a Ruined Country". The Atlantic. สืบค้นเมื่อ 27 March 2013.
  200. "West Bank barrier route disputed, Israeli missile kills 2". USA Today. 29 July 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 October 2012. สืบค้นเมื่อ 1 October 2012.
  201. Harel, Amos; Issacharoff, Avi (1 October 2010). "Years of rage". Haaretz. สืบค้นเมื่อ 12 August 2012.
  202. King, Laura (28 September 2004). "Losing Faith in the Intifada". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 12 August 2012.; Diehl, Jackson (27 September 2004). "From Jenin To Fallujah?". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 12 August 2012.; Amidror, Yaakov. "Winning Counterinsurgency War: The Israeli Experience" (PDF). Strategic Perspectives. Jerusalem Center for Public Affairs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-08-11. สืบค้นเมื่อ 12 August 2012.; Pipes, Daniel (14 September 2008). "Must Counterinsurgency Wars Fail?". The Washington Times. สืบค้นเมื่อ 12 August 2012.; Frisch, Hillel (12 มกราคม 2009). "The Need for a Decisive Israeli Victory Over Hamas". Perspectives Papers on Current Affairs. Begin-Sadat Center for Strategic Studies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 June 2012. สืบค้นเมื่อ 12 August 2012.; Buchris, Ofek (9 March 2006). "The "Defensive Shield" Operation as a Turning Point in Israel's National Security Strategy". Strategy Research Project. United States Army War College. สืบค้นเมื่อ 12 August 2012.; Krauthammer, Charles (18 June 2004). "Israel's Intifada Victory". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 12 August 2012.; Plocker, Sever (22 June 2008). "2nd Intifada forgotten". Ynetnews. สืบค้นเมื่อ 12 August 2012.; Ya'alon, Moshe (January 2007). "Lessons from the Palestinian 'War' against Israel" (PDF). Policy Focus. Washington Institute for Near East Policy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-08-11. สืบค้นเมื่อ 12 August 2012. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); Hendel, Yoaz (20 September 2010). "Letting the IDF win". Ynetnews. สืบค้นเมื่อ 12 August 2012.; Zvi Shtauber; Yiftah Shapir (2006). The Middle East strategic balance, 2004–2005. Sussex Academic Press. p. 7. ISBN 978-1-84519-108-5. สืบค้นเมื่อ 12 February 2012.
  203. The Psychology of Strategic Terrorism: Public and Government Responses to Attack, Shepherd, Ben, p. 172
  204. "Fatalities before Operation "Cast Lead"". B'Tselem. สืบค้นเมื่อ 14 January 2017.
  205. "Security Council Calls for End to Hostilities between Hizbollah, Israel, Unanimously Adopting Resolution 1701 (2006)". United Nations Security Council Resolution 1701. 11 August 2006.
    Escalation of hostilities in Lebanon and in Israel since Hizbollah's attack on Israel on 12 July 2006
  206. Harel, Amos (13 July 2006). "Hezbollah kills 8 soldiers, kidnaps two in offensive on northern border". Haaretz. สืบค้นเมื่อ 20 March 2012.
  207. Koutsoukis, Jason (5 January 2009). "Battleground Gaza: Israeli ground forces invade the strip". Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 5 January 2009.
  208. Ravid, Barak (18 January 2009). "IDF begins Gaza troop withdrawal, hours after ending 3-week offensive". Haaretz. สืบค้นเมื่อ 20 March 2012.
  209. Azoulay, Yuval (1 January 2009). "Two IDF soldiers, civilian lightly hurt as Gaza mortars hit Negev". Haaretz. สืบค้นเมื่อ 20 March 2012.
  210. Stephanie Nebehay (20 November 2012). "UN rights boss, Red Cross urge Israel, Hamas to spare civilians". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 20 November 2012.; al-Mughrabi, Nidal (24 November 2012). "Hamas leader defiant as Israel eases Gaza curbs". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-10. สืบค้นเมื่อ 8 February 2013.; "Israeli air strike kills top Hamas commander Jabari". The Jerusalem Post. สืบค้นเมื่อ 14 November 2012.
  211. Lappin, Yaakov; Lazaroff, Tovah (12 November 2012). "Gaza groups pound Israel with over 100 rockets". The Jerusalem Post. สืบค้นเมื่อ 27 March 2013.
  212. "Israel and Hamas Trade Attacks as Tension Rises". The New York Times. 8 July 2014.
  213. Israel's Free Trade Area Agreements, IL: Tamas, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 ตุลาคม 2011, สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2011
  214. "Israel signs free trade agreement with Mercosur". Israel Ministry of Foreign Affairs. 19 December 2007. สืบค้นเมื่อ 15 October 2012.
  215. "Localities and Population, by Population Group, District, Sub-District and Natural Region". Israel Central Bureau of Statistics. 6 September 2017. สืบค้นเมื่อ 19 September 2017.
  216. "Population of Jerusalem, by Age, Religion and Geographical Spreading, 2015" (PDF). Jerusalem Institute for Israel Studies. สืบค้นเมื่อ 19 September 2017.

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

รัฐบาล
ข้อมูลทั่วไป
แผนที่