ประวัติศาสตร์อิสราเอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติศาสตร์อิสราเอล เป็นเรื่องราวการตั้งประเทศของชาวยิวหรือชาวฮีบรูซึ่งเริ่มต้นจากการอพยพของอับราฮัมในพันธสัญญาเดิม การตกไปเป็นทาสในอียิปต์ การอพยพของโมเสสมาสู่ดินแดนพันธสัญญา การตั้งอาณาจักรของชาวยิว จนถูกยึดครองโดยเปอร์เซีย กรีก และโรมัน การแพร่กระจายของชาวยิวไปทั่วโลก ในที่สุดขบวนการไซออนนิสต์ได้ฟื้นฟูภาษาฮีบรูเป็นภาษาพูด และก่อตั้งประเทศอิสราเอลในดินแดนปาเลสไตน์ได้สำเร็จหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

กำเนิดชาวยิวในพันธสัญญาเดิม[แก้]

กำเนิดของชาวยิวเริ่มขึ้นเมื่อ 4,000 ปีก่อน โดยบรรพบุรุษของอับราฮัม (อิบรอฮิม) ได้พาครอบครัวของตนอพยพออกมาจากนครอูร์ (ur) หรือเมืองคลาเดีย ในดินแดนเมโสโปเตเมียของอาณาจักรสุเมเรีย ด้วยเกิดความขัดแย้งเรื่องความเชื่อกับกษัตริย์นิมรูค (numruk) ผู้ปกครองนครอูร์ ซึ่งอับราฮัมเชื่อว่าพระเจ้าทรงมีเพียงพระองค์เดียว ขัดกับชาวนครอูร์ที่นับถือพระเจ้าหลายองค์ และส่วนใหญ่นับถือบูชาเทพเจว็ด เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้น อับราฮัมจึงตัดสินใจเดินทางออกนอกนครอูร์ พร้อมด้วยครอบครัวผู้ที่ศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียวกัน ซึ่งพระเจ้าได้ตรัสกับเขาว่าให้ไปยังดินแดนที่อุดมไปด้วยน้ำนมและน้ำผึ้ง พระองค์จะทรงยกดินแดนแห่งนั้นให้กับเชื้อสายของเขา เขาดินทางไปที่ซาม (saam) หรือดินแดนปาเลสไตน์ (paslestine) และได้ตั้งถิ่นฐานกันที่นั่น

อับราฮัมมีลูกด้วยกันสองคน คนแรกคือ อิสมาเอล (yismael) ที่เกิดกับหญิงทาสชื่อว่า นางฮาการ์ (hagar) คนที่สองคือ อิสอัค (ishak) หรือไอเซ๊ด (Issic) ที่เกิดกับซาราห์ (sarah) ภรรยาของท่าน ซึ่งอับราฮัมได้วิงวอนต่อพระเจ้าที่มีชื่อเรียกว่ายะโฮวา (Jehovah) ขอให้ทรงเพิ่มพูนลูกหลานของท่านให้มากมายดั่งเม็ดทรายในทะเล และดวงดาวในท้องฟ้าและในกาลถัดมา ได้ปรากฏว่า เชื้อสายของอิสมาเอลที่อพยพไปทางใต้หรือแหลมอาระเบีย ได้กลายเป็นต้นตระกูลของชาวอาหรับทั้งหมด ส่วนเชื้อสายของอิสอัคนั้น เป็นต้นตระกูลของชาวอิสราเอล โดยอิสอัคมีลูกด้วยกันสองคนคือ เอซาว (esau) และยาโคบ (jacob) หรืออิสราเอล

ยาโคบ ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นอิสราเอลในวันที่เขาพบพระเจ้าที่ริมแม่น้ำยับบอก ซึ่งเขาได้ปล้ำสู้กับบุรุษผู้หนึ่งในคืนนั้น และขอให้บุรุษนั้นอวยพรเขาแล้วจะปล่อยเขาไป จึงกลายเป็นที่มาที่ลูกหลานอิสราเอลได้รับการอวยพรมากมาย หลังจากที่ยาโคบถูกเรียกชื่อใหม่จากบุรุษผู้นี้ว่า "อิสราเอล" ซึ่งแปลว่า "ผู้ที่ปล้ำสู้กับพระเจ้า" ยาโคบ Jacob หรือ อิสราเอล มีลูกด้วยกันสิบสองคนคือ รูเบน ซามาอูล เลวี ยูดาห์ ซับลุน อิสสาคาร์ ดาน อาเชอร์ กาด นัฟตาลี โยเซฟ และเบนจามิน โดยเรียกบุตรสิบสองคนนี้ว่า อิสราเอลไลย์ (israeliah)

ต่อมาได้เกิดภัยแล้งขึ้น ยาโคบ หรืออิสราเอล และครอบครัว ต้องทำมาหากินด้วยความยากลำบาก โดยในขณะนั้นโยเซฟได้บอกว่าตัวเอง เป็นที่รักของพระเจ้าของชาวอิสราเอล ทุกคนในครอบครัวจะรอดได้เพราะตัวเขา ทำให้พี่น้องคนอื่นเกิดความอิจฉาริษยา จึงได้วางแผนกันกำจัด โดยการโยนลงบ่อกลางทะเลทราย และนำเศษเสื้อผ้าของเขาไปบอกแก่บิดาว่า โยเซฟได้เสียชีวิตไปเสียแล้ว ก่อให้เกิดความโศกเศร้าแก่ยาโคบ หรืออิสราเอลเป็นอย่างมาก แต่โชคดีที่กองคาราวานจากปาเลสไตน์ที่จะไปยังอียิปต์มาตักน้ำ และได้ช่วยเหลือโยเซฟให้ขึ้นมาจากบ่อน้ำ แต่ด้วยหัวหน้าพ่อค้าเห็นว่าโยเซฟมีรูปโฉมงาม จึงได้นำเขาไปขายให้กับข้าหลวงชาวอียิปต์ และข้าหลวงผู้นั้นได้รับเขาไว้มาดูแลอย่างดี โดยไม่ได้ให้เขาอยู่ในฐานะทาสเหมือนคนอื่น

ครั้นโยเซฟเติบใหญ่ กลายเป็นชายหนุ่มรูปงาม ภรรยาของข้าหลวงได้หลงใหลในรูปโฉมของเขา และล่อลวงเขาด้วยความใคร่อยู่หลายต่อหลายครั้ง แต่โยเซฟไม่มีความคิดที่เนรคุณข้าหลวงที่เลี้ยงดูตัวเอง จึงไม่ได้สนใจการหว่านเสน่ห์ของภรรยาข้าหลวงแต่อย่างใด ทำให้นางเกิดความคับแค้น และวางแผนให้เขาได้รับโทษ ฐานที่ทำให้นางขายหน้า โดยการล่อหลอกให้เขาเข้ามาในห้องของนางตามลำพัง และตะโกนร้องเรียกทหารยามว่า โยเซฟได้เข้ามาปลุกปล้ำตน เขาจึงถูกข้าหลวงทำโทษ โดยการถูกส่งไปจองจำในคุก

ต่อมาได้เกิดภัยแล้งขึ้นในอียิปต์ ประจวบกับที่ฟาโรห์ทรงสุบินประหลาดจึงประกาศหาคนที่จะมาไขความฝันของพระองค์ให้ ซึ่งในขณะนั้นโยเซฟได้เคยกล่าวอ้างให้ผู้คนในคุกฟังว่า ตนเองสามารถทำนายฝันได้ เขาจึงถูกพาตัวมาเข้าเฝ้าฟาโรห์ และทำนายถึงพระสุบินของพระองค์ พระเจ้าทรงให้โยเซฟมีความเข้าใจ ถึงสิ่งที่ฟาโรห์ทรงพระสุบิน และมีสติปัญญาในการแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้น (ปฐก 41:14-32) ทำให้ฟาโรห์ทรงแต่งตั้งเขาให้เป็นผู้ดูแลทั่วราชอาณาจักร แต่งตั้งเป็นใหญ่มีอำนาจรองจากฟาโรห์ (ปฐก 41:40-44) และเขาได้นำพี่น้องทั้งหมดที่ต้องประสบกับภัยแล้งในคานาอันเข้ามาอยู่อาศัยในแผ่นดินอียิปต์

ครั้นพอสิ้นโยเซฟไป ฟาโรห์องค์ต่อมาได้เกิดความไม่ไว้ใจต่อชาวฮีบรู ด้วยเกรงว่าพวกเขาจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ จึงได้แยกฮีบรูให้ไปอยู่อีกอาณาเขตหนึ่งห่างจากพวกตน และลดฐานะให้เป็นทาส แล้วเกณฑ์แรงงานไปใช้ในการก่อสร้างพีระมิด อีกทั้งปริมาณประชากรของชาวฮีบรูได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ฟาโรห์ต้องมีคำสั่งให้ประหารชีวิตเด็กเกิดใหม่เป็นจำนวนมาก

อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่ามีทารกเพศชายคนหนึ่งรอดตายจากคำสั่งประหารนั้นมาได้ เพราะมารดาได้นำเด็กใส่ตะกร้าลอยน้ำ เจ้าหญิงอียิปต์องค์หนึ่งทรงพบเข้า และนำเขาไปอุปการะ ประทานชื่อว่า "โมเสส" (Moses) พระนางตรัสว่า "เพราะเราได้ฉุดเขาขึ้นมาจากน้ำ" (อพย 2:10)

โมเสสเติบโตขึ้น เป็นผู้มีสติปัญญาดี และได้รับการศึกษาสูงเยี่ยงเจ้าชายองค์หนึ่ง เขามีจิตเมตตา และสงสารทาสชาวฮีบรูที่ถูกเกณฑ์แรงงานมาสร้างพีระมิดให้ฟาโรห์ และถูกผู้คุมทำทารุณกรรมต่าง ๆ จนพลั้งเผลอสังหารผู้คุมคนหนึ่ง เพื่อต้องการช่วยเหลือทาสที่กำลังถูกทารุณ กาลนั้นเขาได้ละทิ้งตำแหน่งและฐานันดรของตัวเอง มาอยู่กับพวกทาสชาวฮีบรู และพาพวกอิสราเอล หรือ ฮีบรูถึงสามแสนคนออกจากอียิปต์กลับไปสู่ประเทศปาเลสไตน์ ดินแดนแห่งนี้พวกฮิบรูถือว่าเป็นดินแดนแห่งพันธสัญญาของพระเจ้า ที่ทรงประทานให้แก่พวกเขา และระหว่างทางที่โมเสสนำชาวอิสราเอลกลับไปยังดินแดนแห่งพันธสัญญาที่ยาโคบเคยอยู่ โมเสสได้พบพระเจ้าที่ภูเขาซีนาย และรับพระบัญญัติสิบประการ The Ten commanment ที่นั้น

ดินแดนที่เรียกว่า "ปาเลสไตน์" (Palestine) ที่ชาวฮิบรูได้อพยพเข้าไปอาศัยอยู่เมื่อครั้งนั้น มีเนื้อที่ประมาณ 25,000 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศเหนือจรดประเทศซีเรีย ทิศใต้จรดประเทศอียิปต์ ทิศตะวันออกจรดแม่น้ำจอร์แดน ทิศตะวันตกจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ณ ดินแดนแห่งนี้ โมเสส ได้วางรากฐานที่สำคัญให้แก่สังคมฮิบรู คือ

  • ด้านกฎหมาย จัดทำกฎหมายและกำหนดระเบียบการปกครองพวกอิสราเอลไลท์ขึ้น กฎหมายและระเบียบการปกครองดังกล่าว มีสารที่สำคัญคือ ให้ถือว่าพระเจ้าทรงเป็นผู้ปกครองสูงสุดของชาวอิสราเอลไลท์ พระเจ้าทรงมอบหน้าที่ให้ผู้แทนของพระองค์ (ซึ่งได้มาโดยการเลือกตั้ง) เรียกว่า "ยัดซ์" (Judge) แปลว่า "ผู้วินิจฉัย" ทำหน้าที่เป็นตุลาการพิพากษาคดี แผ่นดินทั้งหมดเป็นสมบัติของพระเจ้า ห้ามซื้อขาย ผู้ใดฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับข้อห้ามทางศาสนาจะต้องได้รับโทษอย่างหนัก ผู้กระทำผิดทางอาญาเช่นไร จะต้องได้รับโทษตอบแทนในทำนองเดียวกัน (ตาต่อตาฟันต่อฟัน)
  • ด้านศาสนา กำหนดให้มีพระเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียวคือ "ยาเวห์" หรือ "ยะโฮวา" (Yaveh, Yahoveh) พระเจ้าทรงประทานกฎแห่งความประพฤติ (ศีล) แก่ประชาชน 10 ประการ เรียกว่า "บัญญัติ 10 ประการ" (Ten Commanments)

อาณาจักรของชาวฮีบรู[แก้]

พวกฮีบรูมีความสามัคคีและมีกำลังเข้มเข็งขึ้น จึงได้ทำการรวบรวมดินแดนโดยรอบ อันได้แก่ ดินแดนของพวกคานัน และพวกอาราเอลไลท์ แต่ก็ถูกรุกรานจากพวกพวกฟิลิเตีย (Philistine) ซึ่งอพยพจากเกาะครีต (Crete) และเข้ามาตั้งภูมิลำเนาอยู่แถบชายทะเล ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปาเลสไตน์ และพวกอามอไรท์กับฮิตไตท์จากทางเหนือ ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีกษัตริย์ปกครอง พวกอิสราเอลไลท์ได้พร้อมใจกันเลือกหัวหน้ากลุ่มที่เข้มแข็งขึ้นมาผู้หนึ่งชื่อ "ซาอูล" (Saul) ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์แรก เมื่อประมาณ 1050 ปี ก่อนคริสตกาล

ในกาลต่อมา กษัตริย์ซาอูลสิ้นพระชนม์จากการรบกับชนฟิลิสเตีย และหลังจากกษัตริย์ซาอูลสิ้นพระชนม์แล้ว พวกอิสราเอลไลท์ได้เลือกอดีตข้าราชสำนักของพระเจ้าซาอูลผู้มีความสามารถในการสงครามไม่แพ้กันขึ้นเป็นกษัตริย์ มีพระนามว่ากษัตริย์ดาวิด (David) พระเจ้าดาวิดทรงครองราชย์ อยู่ระหว่าง 1010-970 ปี ก่อนคริสตกาล สมัยของพระองค์นับได้ว่า เป็นสมัยแห่งความรุ่งโรจน์ของพวกอิสราเอล ทรงตี 12 เผ่าของอิสราเอลรวมกันเป็นหนึ่งเดียว โดยกษัตริย์ดาวิดมาจากเผ่ายูดาห์ หนึ่งในสิบสองเผ่าเชื้อสายของยาโคบ (อิสราเอล) และได้สถาปนานครเยรูซาเลม ช่วงนี้ชาวอิสราเอลเรียกตนเองตามเผ่าของตัวเอง เช่น อารอนเผ่าเลวี ดาวิดแห่งยูดาห์ ซาอูเผ่าเบนยามิน หลังจากที่ช่วงเป็นทาสในอียิปต์ได้เรียกชนชาตินี้ว่า "ฮีบรู"

ครั้นสิ้นรัชสมัยกษัตริย์ดาวิด กษัตริย์โซโลมอน โอรสกษัตริย์ดาวิด ทรงทำให้เยรูซาเลมมั่งคั่งและรุ่งโรจน์ถึงขีดสุด ทรงสร้างมหาวิหารงดงามและยิ่งใหญ่ขึ้นในอาณาจักร ในตอนนั้นคำว่าศูนย์กลางของโลก หมายถึงเยรูซาเร็ม อย่างไรก็ตาม ปลายรัชกาลกษัตริย์โซโลมอนทรงปล่อยให้ลัทธิศาสนาฟินิเชียนและอียิปต์ ซึ่งบูชารูปเคารพและนับถือเทพเจ้าหลายองค์เข้ามา ทำให้ประชาชนทางเหนือพากันรับนับถือเทพเจ้าของลัทธิศาสนาอื่นมากขึ้น พระเจ้าได้ลงโทษชนชาตินี้โดยฉีกอาญาจักรอิสราเอลเป็น 2 ส่วน

เมื่อกษัตริย์โซโลมอนสิ้นพระชนม์ เมื่อ ปี 930 ก่อนคริสต์ศักราช ทำให้อาณาจักรของโซโลมอนแตกออกป็นสองส่วนคือ อาณาจักรอิสราเอล (the kingdom of israel) โดยมีกรุงสะมาเรียเป็นเมืองหลวง และอาณาจักรยูดาห์ (the kingdom of judah) โดยมีเยรูซาเล็มเป็นศูนย์กลาง 350 ปีต่อมา อาณาจักรทั้งสองต้องล่มสลายไป โดยอาณาจักรที่ล่มสลายไปแห่งแรกคือ อาณาจักรอิสราเอล ถูกยึดครองโดยพวกอัสซีเรีย (assyrian) ในปี 721 ก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งนำโดยกษัตริย์ซาร์กอนที่ 2 และกวาดต้อนชาวยิวไปยังอัสซีเรีย แต่กษัตริย์ซาร์กอน ไม่ได้บุกยึดอาณาจักรยูดาห์ เพราะอาณาจักรยูดาห์ได้ทำการจ่ายภาษี และส่งเครื่องบรรณาการมาแทน

การล่มสลายของอาณาจักร[แก้]

ต่อมา ปี 587 ก่อนคริสต์ศักราช อาณาจักรยูดาห์ต้องล่มสลายตามไป โดยเนบูคัดเนสซาร์แห่งอาณาจักรแคลเดียมีชัยต่ออัสซีเรีย จึงตัดสินใจบุกอาณาจักยูดาห์ต่อ เขาได้ทำลายมหาวิหารยะโฮวาห์ และกวาดต้อนชาวอาณาจักรยูดาห์ไปยังบาบิโลน และให้อิสระแก่ยิวในการประกอบกิจทางศาสนา และจัดให้อยู่เป็นนิคมยิว (the jewish dispora) จึงทำให้ยิวสามารถรักษาสภาพเป็นยิวและภาษาของตัวเองได้ ต่อมาปี 538 ก่อนคริสต์ศักราช กษัตริย์ไซรัส (king cyrus) แห่งเปอร์เซียมีชัยต่ออัลคาเดียน จึงได้ปลดปล่อยชาวยิว 50,000 คน กลับเยรูซาเล็ม ทำให้ยิวมีอาณาจักรของตัวเองอีกครั้งและอิสราเอลได้รื้อฟื้นสร้างมหาวิหารใหม่อีกครั้ง แต่ก็เป็นเพียงแค่ระยะเวลาสั้น ๆ ด้วยในปี 332 ก่อนคริสต์ศักราช ชาวยิวได้ตกไปอยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great) ที่มีชัยต่อเปอร์เซียในการเข้าบุกยึดดินแดน

จนกระทั่งปี 129 ก่อนคริสต์ศักราช ชาวยิวได้มีอิสระกลับคืนมาอีกครั้ง แต่ในปี 63 คริสต์ศักราช ชาวยิวก็กลับเข้าไปอยู่ภายใต้การปกครองของโรมันแทนกรีก ทำให้ชาวยิวลำบากมากขึ้น เพราะกรีกได้นำเอารูปปั้นเทพเจ้าต่าง ๆ สร้างความไม่พอใจแก่ชาวยิวที่นับถือพระเจ้าเพียงพระองค์เดียว ในปีค.ศ. 70 ชาวอิสราเอลถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏที่ต้องการหลุดพ้นจากการเป็นทาสโรม และถูกปราบปรามด้วยการประหารมากมาย ซึ่งชนชาติอิราเอล และ มหาวิหารถูกทำลายพร้อมกัน

ต่อมา ปี ค.ศ. 313-636 ชาวอิสราเอลตกอยู่ภายใต้การปกครองของพวกไบแซนไทน์ (byzantine) ที่นับถือคริสต์ ไบแซนไทน์ได้สร้างโบถส์คริสต์หลายแห่งแถวโบถส์ยิวและกาลิลี จนกระทั่งได้จำกัดชาวอิสราเอลให้เข้าไปในเยรูซาเล็มได้บางวันเท่านั้น ทำให้อิสราเอลคิดก่อการกบฏ โดยได้พยายามติดต่อพวกเปอร์และเป็นสายลับให้แก่เปอร์ จนกระทั่งเปอร์มีชัยเหนือไบแซนไทน์ในปี ค.ศ. 614 แต่เป็นเพียงแค่ 3 ปีเท่านั้นที่อิสราเอลมีอิสระ

การแพร่กระจายของชาวยิว[แก้]

หลังจากนั้นชาวอิราเอลตกอยู่ภายใต้ไบแซนไทน์อีกครั้ง จึงทำให้อิราเอลถูกเนรเทศเกือบทั้งหมดและบางส่วนถูกฆ่า ชนชาติอิสราเอลจึงได้กระจัดกระจายไป ซึ่งในตอนนั้นมีการประกาศพระกิติคุณของพระเยซูคริสต์จากชาวอิสราเอลกลับใจมาเชื่อในพระคริสต์ ซึ่งได้แยกจากอิสราเอลที่นับถือศาสนาเดิมนั้นคือยูดาย คำว่ายิวจึงได้เริ่มต้นเรียกมาจากตอนนี้ ซึ่งนักศาสนสตร์อธิบายว่าน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า ยูดัส Judus หนึ่งในสาวกผู้ทรยศพระเยซู ซึ่งมีภาพลักษณ์คล้าย ๆ กับชนชาติอิสราเอลนั้นคือ ไว้ใจไม่ได้ เห็นแก่เงิน นิสัยขี้โกง และฉลาดเอาตัวรอด

จากนั้นชนชาติอิสราเอลได้อพยพไปยังแอฟริกา ยุโรป เปอร์เซีย และแหลมอาระเบีย ต่อมาปี ค.ศ 632 ประเทศอิสราเอล หรือ ดินแดนปาเลสไตน์ กลับมาเป็นของชนกลุ่มน้อยที่เคยอยู่มาก่อนที่อับราฮัมจะเข้ามา นั้นคือชาวฟิลิเตียหรือชาวปาเลสไตน์ ต่อมาโซจุเตริกท์ประมุขแห่งอิสลามได้เข้าครอบครองเยรูซาเร็ม ดินแดนแห่งนี้ตกอยู่ภายใต้อาณาจักอิสลาม และพวกเขาได้ให้อิสระแก่ชาวยิวในการนับถือศาสนาในฐานะพลเมือง ชาวยิวบางส่วนได้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลามแทน แต่ก็มีจำนวนมากที่ยังคงเป็นยิว และอยู่ร่วมกับมุสลิมได้อย่างสงบสุข จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองเกิดขึ้น

สงครามโลกครั้งที่สองและฮอโลคอสต์[แก้]

ขบวนการไซออนนิสต์[แก้]

ความขัดแย้งกับโลกอาหรับ[แก้]