นัฟตาลี เบนเนตต์
นัฟตาลี เบนเนตต์ | |
---|---|
נפתלי בנט | |
ภาพถ่ายประจำตำแหน่งอย่างเป็นทางการ มิถุนายน 2564 | |
นายกรัฐมนตรีอิสราเอล คนที่ 13 | |
ดำรงตำแหน่ง 13 มิถุนายน พ.ศ. 2564 – 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 | |
ประธานาธิบดี | รูเวน ริฟลิน |
ก่อนหน้า | เบนจามิน เนทันยาฮู |
ถัดไป | ยาอีร์ ลาปิด |
Ministerial roles | |
2556–2558 | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงบริการศาสนา | |
2556–2562 | รัฐมนตรีกระทรวงกิจการยิวนอกประเทศ |
2558–2562 | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ |
2562–2563 | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม |
2564 – ปัจจุบัน | Minister of Community Affairs[1] |
สมาชิกสภานัสเซต | |
2556–2561 | พรรคมาตุภูมิยิว |
2561–2562 | พรรคขวาใหม่ |
2562 | พรรคยามินา |
2562–2563 | พรรคขวาใหม่ |
2563 – ปัจจุบัน | พรรคยามินา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 มีนาคม พ.ศ. 2515 ไฮฟา, ประเทศอิสราเอล |
พรรคการเมือง | พรรคขวาใหม่ (2561 – ปัจจุบัน) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น |
|
คู่สมรส | จิลัต เบนเนตต์ (2542 - ปัจจุบัน) |
บุตร | 4 |
ที่อยู่อาศัย | ราอานานา, ประเทศอิสราเอล |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยฮีบรูแห่งเยรูซาเลม |
อาชีพ | ทหาร,นักธุรกิจ, นักการเมือง |
ลายมือชื่อ | |
เว็บไซต์ | naftalibennett |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองกำลังป้องกันอิสราเอล |
ประจำการ | 2533–2539 |
ยศ | รัฟเซเรน (พันตรี) |
หน่วย | |
ผ่านศึก | |
นัฟตาลี เบนเนตต์ (อังกฤษ: Naftali Bennett, ฮีบรู: נַפְתָּלִי בֶּנֶט; 25 มีนาคม 2515) เป็นนักการเมืองอิสราเอล ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีอิสราเอลคนปัจจุบัน อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 13 ของอิสราเอลโดยดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 13 มิถุนายน 2564 ถึง 1 กรกฎาคม 2565[2] เขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงกิจการยิวนอกประเทศ (Diaspora Affairs) ตั้งแต่ปี 2556 ถึง 2562 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมตั้งแต่ปี 2562 ถึง 2563 เขาเป็นหัวหน้าพรรคขวาใหม่ตั้งแต่ปี 2561 และก่อนหน้านั้นเป็นหัวหน้าพรรคมาตุภูมิยิวระหว่างปี 2555 ถึง 2561[3]
เขาเกิดและเติบโตในไฮฟา เป็นบุตรคนเข้าเมืองจากสหรัฐ เบนเนตต์รับราชการในหน่วยลาดตระเวนกองเสนาธิการ หน่วยรบพิเศษของกองกำลังป้องกันอิสราเอล บังคับบัญชาปฏิบัติการรบหลายครั้ง และต่อมาเป็นผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ ในปี 2542 เขาร่วมก่อตั้งและเป็นเจ้าของร่วมของบริษัทไซโอตา สัญชาติอเมริกัน ซึ่งดำเนินธุรกิจด้านต่อต้านการฉ้อฉล[4] เขายังเป็นซีอีโอของโซลูโต บริษัทคลาวด์คอมพิวติงสัญชาติอิสราเอล
เขาเข้าสู่การเมืองในปี 2549 โดยเป็นเสนาธิการให้แก่เบนจามิน เนทันยาฮูจนถึงปี 2551; ในปี 2554 เขาร่วมก่อตั้งขบวนการนอกรัฐสภา อิสราเอลของฉัน[5] ในปี 2555 เบนเนตต์ได้รับเลือกตั้งเป็นหัวหน้าพรรคมาตุภูมิยิว ในการเลือกตั้งนัสเซตปี 2556 พรรคของเขาคว้า 12 ที่นั่งจาก 120 ที่นั่ง[6] เขาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและบริการศาสนาระหว่างปี 2556 ถึง 2558 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่ปี 2558 ถึง 2562 ในเดือนธันวาคม 2561 เบนเนตต์ออกจากพรรคไปก่อตั้งพรรคขวาใหม่[7]
วันที่ 2 มิถุนายน 2564 เบนเนตต์ตกลงตั้งรัฐบาลหมุนเวียนกับยาอีร์ ลาปิด โดยเบนเนตต์จะเป็นนายกรัฐมนตรีถึงปี 2567 แล้วต่อด้วยลาปิด อีกสองปี[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "All Governments of Israel". Knesset. สืบค้นเมื่อ 14 June 2021.
- ↑ Michael, Bachner (8 June 2021). "Swearing-in of Bennett-Lapid gov't that would replace Netanyahu set for Sunday". The Times of Israel. สืบค้นเมื่อ 11 June 2021.
- ↑ Wootliff, Raoul (10 October 2019). "Yamina party officially splits into New Right, Jewish Home-National Union". The Times of Israel. สืบค้นเมื่อ 21 October 2019.
- ↑ "Cyota". crunchbase.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-15. สืบค้นเมื่อ 8 March 2021.
- ↑ "Israel's election: A newly hatched hawk flies high". The Economist. 5 January 2013. สืบค้นเมื่อ 8 March 2021.
- ↑ Gil Stern; Jeremy Sharon; Lahav Harkov (24 January 2013). "Final election count: Right bloc 61, Center-Left 59 seats". The Jerusalem Post.
- ↑ Bennett, Shaked quit Jewish Home, announce formation of ‘HaYamin HeHadash’ The Times of Israel, 29 December 2018
- ↑ Kingsley, Patrick (2 June 2021). "Live Updates: Netanyahu Faces Ouster as Foes Reach Deal for New Government". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2 June 2021.