บริติชราช
อินเดีย | |||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1858–1947 | |||||||||||||||||||||||
![]() แผนที่บริติชราชในปี 1909 เขตสีแดงคือปกครองโดยรัฐบาลอุปราช และสีเหลืองคือปกครองโดยเหล่ามหาราชา | |||||||||||||||||||||||
สถานะ | จักรวรรดิอันประกอบด้วย บริติชอินเดียกับบรรดารัฐพื้นเมือง ในพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์บริเตน | ||||||||||||||||||||||
เมืองหลวง | กัลกัตตา (1858–1911) นิวเดลี (1911–1947) | ||||||||||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | อังกฤษ, ฮินดี, อูรดู | ||||||||||||||||||||||
การปกครอง | รัฐบาลอาณานิคมบริติช | ||||||||||||||||||||||
พระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรและจักรพรรดิ/จักรพรรดินีก | |||||||||||||||||||||||
• 1858–1901 | พระนางเจ้าวิกตอเรีย | ||||||||||||||||||||||
• 1901–1910 | พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 | ||||||||||||||||||||||
• 1910–1936 | พระเจ้าจอร์จที่ 5 | ||||||||||||||||||||||
• 1936 | พระเจ้าเอดเวิร์ดที่ 8 | ||||||||||||||||||||||
• 1936–1947 | พระเจ้าจอร์จที่ 6 | ||||||||||||||||||||||
อุปราชและข้าหลวงฯค | |||||||||||||||||||||||
• 1858–1862 (คนแรก) | ชาลส์ แคนนิง | ||||||||||||||||||||||
• 1947 (คนสุดท้าย) | หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน | ||||||||||||||||||||||
สภานิติบัญญัติ | สภานิติบัญญัติในสมเด็จฯ | ||||||||||||||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||||||||||||||
23 มิถุนายน 1757 | |||||||||||||||||||||||
2 สิงหาคม ค.ศ. 1858 | |||||||||||||||||||||||
15 สิงหาคม 1947 | |||||||||||||||||||||||
15 สิงหาคม 1947 | |||||||||||||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||||||||||||
1937[ต้องการอ้างอิง] | 4,903,312 ตารางกิโลเมตร (1,893,179 ตารางไมล์) | ||||||||||||||||||||||
1947[ต้องการอ้างอิง] | 4,226,734 ตารางกิโลเมตร (1,631,951 ตารางไมล์) | ||||||||||||||||||||||
สกุลเงิน | รูปี | ||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | |||||||||||||||||||||||
|
บริติชราช (อังกฤษ: British Raj; ฮินดี: ब्रिटिश राज) หรือเรียกอย่างง่ายว่า อินเดีย หมายถึงการปกครองโดยพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรในอนุทวีปอินเดียระหว่างปี ค.ศ. 1858 ถึง 1947 ซึ่งบางครั้งก็รู้จักในชื่อ การปกครองโดยตรงในอินเดีย (อังกฤษ: Direct rule in India) ประกอบด้วยการปกครองสองรูปแบบ คือ ดินแดนที่ปกครองโดยเจ้าพื้นเมือง กับดินแดนที่ปกครองโดยรัฐบาลกลางที่ถูกเรียกว่า บริติชอินเดีย แต่ไม่ว่าจะปกครองแบบไหน ดินแดนทั้งหมดล้วนอยู่ในบังคับของสหราชอาณาจักร ด้วยการปกครองแบบสหภาพนี้ ทำให้ในทางการเมืองมักจะเรียกอนุทวีปอินเดียของสหราชอาณาจักรว่า จักรวรรดิอินเดีย ซึ่งชื่อดังกล่าวปรากฏบนหนังสือเดินทางตั้งแต่ปี 1876
ก่อนหน้ายุคบริติชราช อังกฤษได้ปกครองบรรดาดินแดนในอนุทวีปอินเดียผ่านบริษัทอินเดียตะวันออกกว่าร้อยปี ซึ่งบริษัทนี้มีกองเรือและกองทหารเป็นของตนเอง การปกครองโดยบริษัทฯได้สิ้นสุดลงเมื่อมีการตราพระราชบัญญัติรัฐบาลอินเดีย ค.ศ. 1858 ขึ้น ในการนี้ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียได้สถาปนาพระองค์เป็นจักรพรรดินีนาถแห่งอินเดีย ทรงส่งขุนนางไปปกครองอินเดียในตำแหน่งอุปราชและข้าหลวงต่างพระองค์ ต่อมาภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ก็ได้มีการแบ่งอินเดียแบ่งออกเป็นสองประเทศในเครือจักรภพคืออินเดีย (ประเทศอินเดียในปัจจุบัน) และปากีสถาน (ประเทศปากีสถานและประเทศบังกลาเทศในปัจจุบัน) ส่วนพม่านั้นได้แยกตัวออกจากรัฐบาลบริติชอินเดียในปี ค.ศ. 1937 และถูกปกครองโดยตรงจากรัฐบาลสหราชอาณาจักรตั้งแต่บัดนั้น
บริติชราชประกอบไปด้วยดินแดนที่เป็นประเทศอินเดียและบังกลาเทศในปัจจุบัน อีกทั้งยังมีเอเดน (1839-1937), พม่าตอนบน (1858-1937), และพม่าตอนล่าง (1886-1937), โซมาลิแลนด์ของบริเตน (1884-98), รัฐทรูเชียล (1820-1947), และ สิงคโปร์ (1858-67) นอกจากนี้ บริติชราชยังมีเขตอำนาจถึงดินแดนในปกครองอังกฤษในตะวันออกกลาง เงินตรารูปีอินเดียใช้กันอย่างแพร่หลายในอนุทวีปอินเดีย อย่างไรก็ตาม ในบรรดาดินแดนในบังคับของอังกฤษเหล่านี้ บริติชซีลอน (ศรีลังกาในปัจจุบัน) มีฐานะเป็นคราวน์โคโลนีที่ไม่ขึ้นกับรัฐบาลอุปราชแห่งอินเดีย
ราชอาณาจักรเนปาลและภูฏาน แม้จะมีความขัดแย้งกับสหราชอาณาจักร แต่ก็ได้ลงนามทำสนธิสัญญากัน และได้รับการยอมรับในฐานะรัฐอิสระและไม่ใช่ส่วนหนึ่งในบริติชราช[1][2] ราชอาณาจักรสิกขิมได้รับการตั้งให้เป็นรัฐเจ้าครองนครหลังการลงนามในสนธิสัญญาอังกฤษ-สิกขิมในปี 1862 อย่างไรก็ตาม ประเด็นของความเป็นอธิปไตยยังคงไม่ได้กำหนดอะไรทั้งสิ้น.[3] หมู่เกาะมัลดีฟส์เป็นรัฐในอารักขาของบริเตนตั้งแต่ปี 1867 ถึงปี 1965 แต่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งในบริติชอินเดีย
บริติชอินเดียกับบรรดารัฐพื้นเมือง[แก้]
อินเดียในยุคของบริติชราช ประกอบด้วยดินแดนสองประเภท คือ บริติชอินเดีย ปกครองและบริหารโดยรัฐบาลกลาง กับ รัฐพื้นเมือง (รัฐมหาราชา) ปกครองโดยเจ้าอินเดียแต่บริหารโดยรัฐบาลกลาง ทั้งนี้ในมาตรา 18 ของพระราชบัญญัติจำกัดความ ค.ศ. 1889 (Interpretation Act) บัญญัติไว้ว่า:
- (4.) คำว่า "บริติชอินเดีย" นั้นหมายถึงดินแดนและสถานที่ทั้งปวงในแผ่นดินแว่นแคว้นในสมเด็จฯ ซึ่งขณะนี้อยู่ในปกครองโดยสมเด็จฯผ่านทางข้าหลวงต่างพระองค์แห่งอินเดีย หรือผ่านข้าหลวงหรือเจ้าพนักงานอื่นใดอันขึ้นกับข้าหลวงต่างพระองค์แห่งอินเดีย
- (5.) คำว่า "อินเดีย" นั้นหมายถึงบริติชอินเดียพร้อมด้วยดินแดนของบรรดาเจ้าหรือผู้นำพื้นเมืองภายใต้พระราชอำนาจในสมเด็จฯ ซึ่งทรงบริหารผ่านข้าหลวงต่างพระองค์แห่งอินเดีย หรือผ่านข้าหลวงหรือเจ้าพนักงานอื่นใดอันขึ้นกับข้าหลวงต่างพระองค์แห่งอินเดีย[4]
โดยทั่วไป คำว่า "บริติชอินเดีย" นั้นถูกใช้เพื่อสื่อถึงอนุทวีปอินเดียภายใต้การปกครองของบริษัทอินเดียตะวันออกระหว่าง ค.ศ. 1600 ถึง 1858 นอกจากยังคำว่าบริติชอินเดีย ยังใช้สื่อถึงชาวอังกฤษในอินเดียด้วย ส่วนคำว่า "จักรวรรดิอินเดีย" นั้นเป็นคำที่ไม่ถูกใช้ในสารบบกฎหมาย แต่เนื่องจากกษัตริย์อังกฤษทรงปกครองอินเดียในพระอิสริยยศ จักรพรรดิแห่งอินเดีย ดังนั้นเวลากษัตริย์อังกฤษมีพระราชดำรัสไปยังรัฐสภาจึงมักจะเรียกอินเดียว่า "จักรวรรดิอินเดีย" ทั้งนี้ หนังสือเดินทางที่ออกโดยรัฐบาลบริติชอินเดียนั้น ปรากฏคำว่า "Indian Empire" บนปก และปรากฏคำว่า "Empire of India" อยู่ด้านใน[5] นอกจากนี้ยังมีการสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีชื่อว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันสูงส่งยิ่งแห่งจักรวรรดิอินเดีย ด้วย
เขตการปกครอง[แก้]
- ดูเพิ่มได้ที่: เขตปกครองและมณฑลของบริติชอินเดีย
+ เขตการปกครองและประชากร (เฉพาะที่ขึ้นตรงกับรัฐบาลอุปราชเท่านั้น ไม่รวมรัฐพื้นเมือง)[6] | ||
มณฑลของบริติชอินเดีย (ในวงเล็บคือดินแดนในปัจจุบัน) |
พื้นที่ (ตร.กม.) | ประชากร ปี 1901 |
---|---|---|
อัสสัม (รัฐอัสสัม, รัฐอรุณาจัลประเทศ, รัฐเมฆาลัย, รัฐมิโซรัม, รัฐนาคาแลนด์) |
130,000 | 6 ล้านคน |
เบงกอล (ประเทศบังกลาเทศ, รัฐเบงกอลตะวันตก, รัฐพิหาร, รัฐฌารขัณฑ์ และรัฐโอริศา) |
390,000 | 75 ล้านคน |
บอมเบย์ (แคว้นสินธิและบางส่วนของรัฐมหาราษฏระ, รัฐคุชราต และรัฐกรณาฏกะ) |
320,000 | 19 ล้านคน |
พม่า (ประเทศพม่า) |
440,000 | 9 ล้านคน |
มณฑลกลาง (รัฐมัธยประเทศและรัฐฉัตตีสครห์) |
270,000 | 13 ล้านคน |
มัทราส (รัฐทมิฬนาฑูและบางส่วนของรัฐอานธรประเทศ, รัฐเกรละ, รัฐกรณาฏกะ และ รัฐโอริศา) |
370,000 | 38 ล้านคน |
ปัญจาบ (แคว้นปัญจาบ, กรุงอิสลามาบาด, รัฐปัญจาบ, รัฐหรยาณา, รัฐหิมาจัลประเทศ, รัฐฉัตติสครห์ และเดลี) |
250,000 | 20 ล้านคน |
สหมณฑล (รัฐอุตตรประเทศและรัฐอุตตราขัณฑ์) |
280,000 | 48 ล้านคน |
ธงที่เกี่ยวข้อง[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ British Empire - Relations with Bhutan
- ↑ British Empire - Relations with Nepal
- ↑ "Sikkim." Encyclopædia Britannica. 2007. Encyclopædia Britannica Online. 5 Aug. 2007 <http://www.britannica.com/eb/article-46212>.
- ↑ Interpretation Act 1889 (52 & 53 Vict. c. 63), s. 18.
- ↑ British Indian Passport of Muhammad Ali Jinnah
- ↑ Imperial Gazetteer of India vol. IV 1907, p. 46
- บทความที่ขาดแหล่งอ้างอิงเฉพาะส่วนตั้งแต่February 2016
- Pages using infobox country or infobox former country with the symbol caption or type parameters
- บริติชอินเดีย
- ประวัติศาสตร์อินเดีย
- จักรวรรดิอังกฤษ
- รัฐสิ้นสภาพในทวีปเอเชีย
- รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2401
- สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2490
- ประวัติศาสตร์ปากีสถาน
- ประวัติศาสตร์บังกลาเทศ
- รัฐสิ้นสภาพในประเทศอินเดีย
- รัฐสิ้นสภาพในประเทศปากีสถาน
- รัฐสิ้นสภาพในประเทศพม่า
- พม่าภายใต้การปกครองของอังกฤษ
- อดีตอาณานิคมของอังกฤษในเอเชีย
- บทความเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์