จักรพรรดิแห่งอินเดีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดิ
แห่งอินเดีย
ราชาธิปไตยในอดีต
Star of the Order of the Star of India (gold).svg
ตราแผ่นดิน
King George VI LOC matpc.14736 (cleaned).jpg
จักรพรรดิจอร์จที่ 6
จักรพรรดิแห่งอินเดียพระองค์สุดท้าย

ปฐมกษัตริย์ จักรพรรดินีนาถวิกตอเรีย
องค์สุดท้าย จักรพรรดิจอร์จที่ 6
เริ่มระบอบ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1876
สิ้นสุดระบอบ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1948

จักรพรรดิแห่งอินเดีย เป็นพระอิสริยยศที่พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรใช้ในการปกครองอนุทวีปอินเดียสมัยบริติชราช

18 ปีหลังจากรัฐสภาสหราชอาณาจักรได้ตราพระราชบัญญัติรัฐบาลอินเดีย ค.ศ. 1858 รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีเบนจามินได้ถวายพระอิสริยยศ "จักรพรรดิแห่งอินเดีย" ให้กับสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ในปี 1876

หลังจากที่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 พระราชโอรสเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรและจักรพรรดิแห่งอินเดีย และพระอัครมเหสีของพระองค์ สมเด็จพระราชินีอเล็กซานดรา ก็ได้รับพระอิสริยยศทั้งพระราชินีแห่งสหราชอาณาจักรและจักรพรรดินีแห่งอินเดีย

เมื่อพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรจะทรงลงพระปรมาภิไธยในเอกสารใดๆที่เกี่ยวข้องกับบริติชอินเดีย จะมีการเติม R I ลงท้ายพระปรมาภิไธย (R ย่อจากภาษาละตินว่า Rex/Regina และ I จาก Imperator/Imperatrix) แต่ถ้าเป็นการลงพระปรมาภิไธยในเอกสารใดๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับอินเดีย จะเติมท้ายเพียงแค่ R เท่านั้น พระมหากษัตริย์และพระอัครมเหสีที่ทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นจักรพรรดิและจักรพรรดินีแห่งอินเดียพระองค์สุดท้ายคือ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 และสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี ซึ่งในรัชกาลของพระองค์ มีการแบ่งบริติชราชออกเป็นประเทศปากีสถานและประเทศอินเดียเมื่อปี 1947 พระราชอิสริยยศจักรพรรดิแห่งอินเดียจึงถูกยกเลิกมานับแต่นั้น

แม้พระราชอิสริยยศจักรพรรดิแห่งอินเดียจะถูกยกเลิกไปเมื่อ 18 สิงหาคม 1947 แต่พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรก็ยังทรงมีพระราชสถานะเป็นพระเจ้าแผ่นดินของประเทศอินเดียไปจนถึงปี 1950 และเป็นพระเจ้าแผ่นดินของประเทศปากีสถานไปจนถึง 1956

รายพระนามจักรพรรดิ/จักรพรรดินีแห่งอินเดีย[แก้]

พระบรมฉายาลักษณ์ พระปรมาภิไธย พระราชสมภพ สวรรคต เป็นจักรพรรดิ/จักรพรรดินีเมื่อ เป็นจักรพรรดิ/จักรพรรดินีถึง ความสัมพันธ์กับองค์ก่อน คู่อภิเษก
Heinrich von Angeli (1840-1925) - Queen Victoria (1819-1901) - RCIN 405021 - Royal Collection.jpg วิกตอเรีย 24 พฤษภาคม 1819 22 มกราคม 1901 1 พฤษภาคม 1876
[1][2]
22 มกราคม 1901 Prince Albert 404387.jpg
เจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามี
(สิ้นพระชนม์ ค.ศ. 1861)
Edward VII in coronation robes.jpg เอ็ดเวิร์ดที่ 7 9 พฤศจิกายน 1841 6 พฤษภาคม 1910 22 มกราคม 1901 6 พฤษภาคม 1910 พระราชโอรสในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย QueenAlexandra.jpg
เจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งเดนมาร์ก
George V of the united Kingdom.jpg จอร์จที่ 5 3 มิถุนายน 1865 20 มกราคม 1936 6 พฤษภาคม 1910 20 มกราคม 1936 พระราชโอรสในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 Queen Mary by William Llewellyn.jpg
เจ้าหญิงวิกตอเรีย แมรีแห่งเท็ก
His Majesty King Edward VIII in Garter Robes (cropped).jpg เอ็ดเวิร์ดที่ 8 23 มิถุนายน 1894 28 พฤษภาคม 1972 20 มกราคม 1936 11 ธันวาคม 1936
(สละราชสมบัติ)
พระราชโอรสในพระเจ้าจอร์จที่ 5 Wallis Simpson -1936.JPG
วอลลิส ซิมป์สัน
(อภิเษกสมรส ปี 1937)
George VI.jpg จอร์จที่ 6 14 ธันวาคม 1895 6 กุมภาพันธ์ 1952 11 ธันวาคม 1936 15 สิงหาคม 1947 พระอนุชาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 Queen Elizabeth Bowes Lyon in Coronation Robes by Sir Gerald Kelly.jpg
เลดีเอลิซาเบธ โบวส์-ลีออน

อ้างอิง[แก้]

  1. Proclaimed Empress of India on 28 April 1876 in the United Kingdom
  2. Proclaimed Empress of India on 1 January 1877 in India

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]