การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539

← พ.ศ. 2538 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 พ.ศ. 2544 →

ทั้งหมด 393 ที่นั่งในรัฐสภาไทย
ต้องการ 197 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก
ผู้ใช้สิทธิ62.4% เพิ่มขึ้น
  First party Second party Third party
 
ผู้นำ ชวลิต ยงใจยุทธ นายชวน หลีกภัย ชาติชาย ชุณหะวัณ
พรรค ความหวังใหม่ ประชาธิปัตย์ ชาติพัฒนา
เขตของผู้นำ ส.ส.นครพนม เขต 1 ส.ส.ตรัง เขต 1 ส.ส.นครราชสีมา เขต 1
เลือกตั้งล่าสุด 57 86 53
ที่นั่งที่ชนะ 125 123 52
ที่นั่งเปลี่ยน เพิ่มขึ้น 68 เพิ่มขึ้น 37 ลดลง 1
คะแนนเสียง 16,585,528 18,087,006 7,044,304
% 29.1% 31.8% 12.4%

นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง

บรรหาร ศิลปอาชา
ชาติไทย

ว่าที่นายกรัฐมนตรี

ชวลิต ยงใจยุทธ
ความหวังใหม่

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 เป็น การเลือกตั้งในประเทศไทยครั้งที่ 21 มีขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539[1] การเลือกตั้งในครั้งนั้น พรรคความหวังใหม่ ที่เพิ่งลงเลือกตั้ง เป็นครั้งแรกประสบความสำเร็จ สามารถเฉือนเอาชนะ พรรคประชาธิปัตย์ ไปได้ 2 เสียง ทำให้ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี

ที่มา

ที่มาของการเลือกตั้งครั้งนี้ สืบเนื่องจากนายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคชาติไทย ซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาล ได้ตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาเมื่อคืนวันศุกร์ที่ 27 กันยายน ปีเดียวกันนั้น เพราะก่อนหน้านั้นไม่นานมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล โดย พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นฝ่ายค้าน การอภิปรายฯครั้งนั้น มีหลายกรณีทั้งข้อสงสัยเรื่องสัญชาติกำเนิดของบิดานายบรรหาร, การหลีกเลี่ยงที่จะเสียภาษีจำหน่ายที่ดินให้กับธนาคารแห่งประเทศไทยของรัฐบาล, การรับเงินสนับสนุนจากนายราเกซ สักเสนา ซึ่งเป็นอาชญากรจากคดียักยอกเงินของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ, กรณีคัดลอกวิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยรามคำแหงของนายบรรหาร [2] เป็นต้น สร้างความสะเทือนแก่เสถียรภาพของรัฐบาลเป็นอย่างมาก ต่อมา ก่อนการวันลงมติอภิปรายฯ พรรคร่วมรัฐบาลได้มีมติที่จะให้นายบรรหาร ลาออกจากตำแหน่ง มิฉะนั้นจะไม่ยกมือไว้วางใจให้ แต่นายบรรหารต่อรองที่จะขอลาออกภายใน 7 วันแทน ขณะเดียวกันได้มีความพยายามที่จะรวบรวมเสียงสนับสนุนของพรรคร่วมรัฐบาลต่าง ๆ ที่จะสนับสนุน พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ด้วยจำนวนเสียง 118 เสียง แต่ทว่านายบรรหารได้เลือกที่จะยุบสภาฯขึ้นเสียก่อน [3]

ผลการเลือกตั้ง

สัญลักษณ์ ชื่อพรรค หัวหน้าพรรค จำนวน ส.ส.
พรรคความหวังใหม่ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ 125 คน
พรรคประชาธิปัตย์ นายชวน หลีกภัย 123 คน
พรรคชาติพัฒนา พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ 52 คน
พรรคชาติไทย นายบรรหาร ศิลปอาชา 39 คน
พรรคกิจสังคม นายมนตรี พงษ์พานิช 20 คน
พรรคประชากรไทย นายสมัคร สุนทรเวช 18 คน
พรรคเอกภาพ นายอุทัย พิมพ์ใจชน 8 คน
พรรคเสรีธรรม นายพินิจ จารุสมบัติ 4 คน
พรรคมวลชน ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง 2 คน
พรรคพลังธรรม พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร 1 คน
พรรคไท นายธนบดินทร์ แสงสถาพร 1 คน

[4]

รวมทั้งสภา 393 คน[5]

ต่อมาเกิดวิกฤตเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ภายหลังการลดค่าเงินบาท พ.ศ. 2540 และ พล.อ.ชวลิต ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี และมีจับกลุ่มกันใหม่ของพรรคการเมือง เพื่อจัดตั้งรัฐบาลรวม 2 กลุ่มคือกลุ่มพรรคร่วมรัฐบาลเดิม ที่นำโดยพรรคความหวังใหม่และพรรคชาติพัฒนา และกลุ่มพรรคฝ่ายค้านที่นำโดย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคกิจสังคม เหตุการณ์ครั้งนั้นนำไปสู่กรณี "กลุ่มงูเห่า"

ดูเพิ่ม

อ้างอิง