ก้องศักด ยอดมณี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ก้องศักด ยอดมณี
ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย คนที่ 13
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2561
ก่อนหน้าสกล วรรณพงษ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 ธันวาคม พ.ศ. 2515 (51 ปี)
นครหลวงกรุงเทพธนบุรี ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
ศิษย์เก่า
ลายมือชื่อ

ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยและกรรมการสมาคมนิสิตเก่าคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[1]

ประวัติ[แก้]

ก้องศักด ยอดมณี เป็นบุตรของ ร้อยโท ดร. สุวิทย์ ยอดมณี บิดา และ คุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี มารดา มีจำนวนพี่น้อง 3 คน

1.นายสุวงศ์ ยอดมณี

2.นายก้องศักด ยอดมณี

3.ร้อยตรีจักรา ยอดมณี

การศึกษา[แก้]

ก้องศักด ยอดมณี เกิดวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ที่ นครหลวงกรุงเทพธนบุรี ศึกษาระดับประถมศึกษา ถึงระดับมัธยมปลายจาก โรงเรียนจิตรลดา จากนั้น ก้องศักด ได้เข้าศึกษาที่ ปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ2) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2537 ศึกษาต่อระดับปริญญาโทด้านกฎหมายพาณิชย์ (LL.M. in Commercial Law), University of Bristol ประเทศอังกฤษ (ทุนธนาคารแห่งประเทศไทย) ปีการศึกษา 2541 ระหว่างนี้ได้ศึกษาระดับประกาศนียบัตรหลักสูตรต่างๆ ประกาศนียบัตรหลักสูตรเทคนิคการเจรจาต่อรอง สถาบันอนุญาโตตุลาการ ปีการศึกษา 2542 ประกาศนียบัตรกฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2543 ประกาศนียบัตรหลักสูตร ผู้ตรวจสอบสถาบันการเงิน 1 ธนาคารแห่งประเทศไทย ปี 2545 จนกระทั่งจบปริญญาเอก สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีการศึกษา 2560 และ จบหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 26 (ปปร.26) ปีการศึกษา 2565-2566

การทำงาน[แก้]

เริ่มอาชีพเป็นนักกฎหมาย จนได้เป็น หัวหน้านิติกร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ผู้บริหารฝ่ายกฎหมาย)ปี พ.ศ. 2550 นอกจากนี้ได้ทำงานเอกชน เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทสุธาดิลก จำกัด ปี พ.ศ. 2553 เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทสุพงศา จำกัดปี พ.ศ. 2558

ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 เป็นผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยและในปี พ.ศ. 2565 - พ.ศ. 2567 เป็นกรรมการสมาคมนิสิตเก่าคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การเมือง[แก้]

ก้องศักด เข้าสู่ข้าราชการทางการเมือง ตำแหน่งแรกเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน) ปี พ.ศ. 2551 ถัดมาเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายกรณ์ จาติกวณิช) ปี พ.ศ. 2552, เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปี พ.ศ. 2553, ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (นายวีระชัย วีระเมธีกุล) และ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร) ปี พ.ศ. 2556

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. รายนามคณะกรรมการสมาคมนิสิตเก่าคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕ เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕๖, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2011-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๗๘, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2010-02-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
ก่อนหน้า ก้องศักด ยอดมณี ถัดไป
สกล วรรณพงษ์ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย คนที่ 13
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน)