ภาคเหนือ (ประเทศไทย)
ภาคเหนือ | |
---|---|
จากซ้ายบนไปล่างขวา: ดอยอินทนนท์, ดอยผ้าห่มปก, วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร, สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 4 (เชียงของ–ห้วยทราย) และ อุโมงค์ขุนตาน | |
ภาคเหนือในประเทศไทย | |
เมืองใหญ่สุด | เชียงใหม่ |
จังหวัด | |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 96,020 ตร.กม. (37,070 ตร.ไมล์) |
ประชากร (พ.ศ. 2566) | |
• ทั้งหมด | 6,290,583 คน |
• ความหนาแน่น | 66 คน/ตร.กม. (170 คน/ตร.ไมล์) |
ดัชนีการพัฒนามนุษย์ | |
• HDI (2019) | 0.762 (สูง) [2] |
เขตเวลา | UTC+7 (ประเทศไทย) |
ภาคเหนือ หรือ อุดร เป็นภูมิภาคที่อยู่ด้านบนสุดของไทย มีลักษณะภูมิประเทศอันประกอบไปด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน ต่อเนื่องมาจากทิวเขาชานในประเทศพม่าและประเทศลาว ภาคเหนือมีภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา เหมือนกับพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ การที่มีพื้นที่อยู่เหนือระดับน้ำทะเลและมีเส้นละติจูดอยู่ตอนบนทำให้สภาพอากาศของภาคเหนือเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลอย่างเห็นได้ชัด เช่น มีฤดูหนาวที่หนาวเย็นกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ทางด้านประวัติศาสตร์ของภาคเหนือมีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับอาณาจักรล้านนา
ประวัติศาสตร์
[แก้]บริเวณพื้นที่ภาคเหนือ เดิมเป็นที่ตั้งของอาณาจักรล้านนา ซึ่งพญามังรายทรงสถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 1835 จากการยุบรวมกันของอาณาจักรในช่วงยุคก่อนหน้า คือ หิรัญนครเงินยางเชียงแสนและหริภุญชัย และสถาปนาเมืองหลวงอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 1838 ในชื่อนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่
ภูมิศาสตร์
[แก้]ภูมิประเทศของภาคเหนือประกอบไปด้วยเทือกเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อน และมีพื้นที่สำคัญของประเทศหลายจุด เช่น พื้นที่ทางด้านตะวันตกสุดของประเทศที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน พื้นที่ทางด้านเหนือสุดของประเทศที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย จุดสูงสุดของประเทศที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ ภาคเหนือยังเป็นพื้นที่แรกของประเทศที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน โดยจุดแรกที่แม่น้ำโขงไหลผ่านประเทศไทยอยู่บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
ภาคเหนือมีพื้นที่รวมทั้งหมด 93,690.85 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.06 ของพื้นที่บนผิวโลก
เขตแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาคอื่น ๆ ของภาคเหนือ เรียงตามเข็มนาฬิกา ได้แก่ ทิศตะวันตกและทิศเหนือติดกับประเทศพม่า ทิศเหนือและทิศตะวันออกติดกับประเทศลาว ทิศใต้ติดกับภาคกลาง พื้นที่จังหวัดพิษณุโลก และ สุโขทัย ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้มีพื้นที่ติดกับภาคตะวันตก บริเวณจังหวัดตาก
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]จังหวัดในภาคเหนือ กำหนดโดยคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติเมื่อปี พ.ศ. 2521 และประกาศใช้โดยราชบัณฑิตยสถาน[3] เป็นการแบ่งตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ ประเพณี สังคม วัฒนธรรมและภาษา เป็นการแบ่งระบบ 6 ภูมิภาค ประกอบไปด้วย 9 จังหวัด ตามลักษณะภูมิภาคตามธรรมชาติที่ตั้งอยู่ในเขตภูเขา
นอกจากการแบ่งตามราชบัณฑิตยสถานแล้ว ยังมีหน่วยงานที่เคยจัดแบ่งภูมิภาคของประเทศไทยขึ้นเพื่อกำหนดแผนบริหารงานด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นการแบ่งภูมิภาคอย่างไม่เป็นทางการได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยกำหนดให้ภาคเหนือมีทั้งหมด 17 จังหวัด[3] ประกอบด้วย 9 จังหวัดภาคเหนือข้างต้น กับอีก 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ และจังหวัดอุทัยธานี
จังหวัดทั้ง 9 ของภาคเหนือในการแบ่งเช่นนี้อาจเรียกว่า ภาคเหนือตอนบน ซึ่งส่วนใหญ่เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรล้านนามาก่อน (สำหรับจังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดตาก เคยเป็นบางส่วน) และมีภาษาถิ่นเป็นคำเมือง ส่วน 8 จังหวัดที่เหลืออาจเรียกว่า ภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดนครสวรรค์ อันเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญ ปัจจุบันการแบ่งแบบนี้ไม่นิยมใช้อ้างอิงในเอกสารของทางราชการและบทความทางวิชาการอื่นๆ เนื่องจากราชบัณฑิตยสถานได้กำหนดให้จังหวัดเหล่านี้ เป็นจังหวัดในเขตภาคกลาง ยกเว้นจังหวัดตากอยู่ในภาคตะวันตก
ภาคเหนือ แบ่งพื้นที่ตามราชบัณฑิตยสถานประกอบด้วย 9 จังหวัด ได้แก่
ตราประจำ จังหวัด |
ธงประจำ จังหวัด |
รายชื่อจังหวัด | หน่วยการปกครอง | จำนวนประชากร (คน) |
พื้นที่ทั้งหมด (ตร.กม.) |
ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาษาไทย | อังกฤษ | ภาษาล้านนา | อำเภอ | ตำบล | หมู่บ้าน | |||||
จังหวัดเชียงราย | Chiang Rai | ᨩ᩠ᨿᨦᩁᩣ᩠ᨿ | 18 | 124 | 1,753 | 1,298,977 | 11,678.4 | 111.22 | ||
จังหวัดเชียงใหม่ | Chiang Mai | ᨩ᩠ᨿᨦᩉᩲ᩠ᨾ᩵ | 25 | 204 | 2,066 | 1,797,075 | 22,436 | 80.10 | ||
จังหวัดน่าน | Nan | ᨶᩣ᩠᩵ᨶ | 15 | 99 | 893 | 472,722 | 11,472.1 | 41.20 | ||
จังหวัดพะเยา | Phayao | ᨻᨿᩣ᩠ᩅ | 9 | 68 | 779 | 458,287 | 6,335.1 | 71.48 | ||
จังหวัดแพร่ | Phrae | ᨻᩯᩖ᩵ | 8 | 78 | 645 | 426,331 | 6,538.6 | 65.20 | ||
จังหวัดแม่ฮ่องสอน | Mae Hong Son | ᨾᩯ᩵ᩁᩬ᩵ᨦᩈᩬᩁ | 7 | 45 | 415 | 287,644 | 12,681.3 | 22.68 | ||
จังหวัดลำปาง | Lampang | ᩃᩣᩴᨻᩣ᩠ᨦ | 13 | 100 | 855 | 711,478 | 12,534.0 | 56.76 | ||
จังหวัดลำพูน | Lamphun | ᩃᨻᩪᩁ | 8 | 51 | 574 | 398,440 | 4,505.9 | 88.42 | ||
จังหวัดอุตรดิตถ์ | Uttaradit | ᩏᨲ᩠ᨲᩁᨯᩥᨲ᩠ᨳ᩺ | 9 | 67 | 613 | 439,629 | 7,838.6 | 56.08 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ภาคเหนือ มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ดังนี้
- องค์การบริหารส่วนจังหวัด 9 แห่ง ประกอบด้วย
- องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
- องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย
- องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน
- องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา
- องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่
- องค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน
- องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง
- องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน
- องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์
- เทศบาลนคร 3 แห่ง ประกอบด้วย
- เทศบาลเมือง 14 แห่ง ประกอบด้วย
- เทศบาลเมืองต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
- เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
- เทศบาลเมืองแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
- เทศบาลเมืองแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
- เทศบาลเมืองน่าน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
- เทศบาลเมืองดอกคำใต้ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา
- เทศบาลเมืองพะเยา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
- เทศบาลเมืองแพร่ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
- เทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- เทศบาลเมืองลำพูน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
- เทศบาลเมืองเขลางค์นคร อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
- เทศบาลเมืองพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
- เทศบาลเมืองล้อมแรด อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง
- เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
- เทศบาลตำบล 375 แห่ง ประกอบด้วย
- จังหวัดเชียงราย มีเทศบาลตำบล 72 แห่ง
- จังหวัดเชียงใหม่ มีเทศบาลตำบล 115 แห่ง
- จังหวัดน่าน มีเทศบาลตำบล 18 แห่ง
- จังหวัดพะเยา มีเทศบาลตำบล 33 แห่ง
- จังหวัดแพร่ มีเทศบาลตำบล 25 แห่ง
- จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีเทศบาลตำบล 6 แห่ง
- จังหวัดลำปาง มีเทศบาลตำบล 40 แห่ง
- จังหวัดลำพูน มีเทศบาลตำบล 38 แห่ง
- จังหวัดอุตรดิตถ์ มีเทศบาลตำบล 27 แห่ง
- องค์การบริหารส่วนตำบล 506 แห่ง ประกอบด้วย
- จังหวัดเชียงราย มีองค์การบริหารส่วนตำบล 70 แห่ง
- จังหวัดเชียงใหม่ มีองค์การบริหารส่วนตำบล 89 แห่ง
- จังหวัดน่าน มีองค์การบริหารส่วนตำบล 80 แห่ง
- จังหวัดพะเยา มีองค์การบริหารส่วนตำบล 36 แห่ง
- จังหวัดแพร่ มีองค์การบริหารส่วนตำบล 57 แห่ง
- จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีองค์การบริหารส่วนตำบล 42 แห่ง
- จังหวัดลำปาง มีองค์การบริหารส่วนตำบล 61 แห่ง
- จังหวัดลำพูน มีองค์การบริหารส่วนตำบล 18 แห่ง
- จังหวัดอุตรดิตถ์ มีองค์การบริหารส่วนตำบล 53 แห่ง
ประชากรศาสตร์
[แก้]ภาษา
[แก้]พื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน และบางส่วนของจังหวัดอุตรดิตถ์ เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา ทำให้เกิดลักษณะของตัวอักษรและสำเนียงเฉพาะถิ่น เรียกว่าอักษรธรรมล้านนา (ตั๋วเมือง) และภาษาถิ่นพายัพ (กำเมือง)
สถิติประชากร
[แก้]อันดับ | จังหวัด | จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2561)[4] |
จำนวน (คน) (31 ธันวาคม 2558)[5] |
จำนวน (คน) (31 ธันวาคม 2557)[6] |
จำนวน (คน) (31 ธันวาคม 2556)[7] |
จำนวน (คน) (31 ธันวาคม 2555) [8] |
จำนวน (คน) (31 ธันวาคม 2554) [9] |
จำนวน (คน) (31 ธันวาคม 2553) [10] |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | เชียงใหม่ | 1,763,742 | 1,728,242 | 1,678,284 | 1,666,888 | 1,655,642 | 1,646,144 | 1,640,479 |
2 | เชียงราย | 1,292,130 | 1,277,950 | 1,207,699 | 1,204,660 | 1,200,423 | 1,198,656 | 1,198,218 |
3 | ลำปาง | 742,883 | 752,356 | 753,013 | 754,862 | 756,811 | 757,534 | 761,949 |
4 | น่าน | 478,989 | 479,518 | 478,264 | 477,912 | 477,673 | 476,612 | 476,363 |
5 | พะเยา | 475,215 | 482,645 | 484,454 | 486,744 | 488,120 | 486,472 | 486,304 |
6 | อุตรดิตถ์ | 455,403 | 459,768 | 460,400 | 460,995 | 461,294 | 461,040 | 462,618 |
7 | แพร่ | 445,090 | 452,346 | 454,083 | 456,074 | 457,607 | 458,750 | 460,756 |
8 | ลำพูน | 405,955 | 406,385 | 405,468 | 405,268 | 404,673 | 403,952 | 404,560 |
9 | แม่ฮ่องสอน | 282,566 | 273,764 | 248,178 | 246,549 | 244,356 | 244,048 | 242,742 |
— | รวม | 6,341,973 | 6,312,974 | 6,169,843 | 6,159,952 | 6,146,599 | 6,133,208 | 6,133,989 |
เมืองใหญ่
[แก้]การศึกษา
[แก้]สถาบันอุดมศึกษาที่สำคัญ ได้แก่
|
การขนส่ง
[แก้]การขนส่งทางอากาศ
[แก้]- ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่
- ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย
- ท่าอากาศยานน่านนคร
- ท่าอากาศยานลำปาง
- ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน
การขนส่งทางบก
[แก้]- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ลำปาง–งาว–พะเยา–เชียงราย–แม่สาย)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (อุตรดิตถ์–เด่นชัย–ลำปาง–ลำพูน–เชียงใหม่)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 (สุโขทัย–เด่นชัย–แพร่–น่าน–ด่านพรมแดน)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 103 (งาว–ร้องกวาง)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105 (แม่สอด–แม่สะเรียง)
สถานที่สำคัญ
[แก้]อุทยานแห่งชาติ
[แก้]ในภาคเหนือตอนบนเป็นดอยสูงสลับซับซ้อนหลายชั้น มีอุทยานแห่งชาติสำคัญหลายแห่ง เช่น
เขื่อน
[แก้]เขื่อนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ที่สำคัญ ได้แก่
- เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
- เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จังหวัดเชียงใหม่
- เขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่
- เขื่อนกิ่วลม จังหวัดลำปาง
- เขื่อนกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง
เทือกเขาที่สำคัญ
[แก้]- ทิวเขาแดนลาว
- ทิวเขาถนนธงชัย
- ทิวเขาหลวงพระบาง
- ทิวเขาผีปันน้ำ
- ทิวเขาดอยมอนกุจู
- ทิวเขาดอยอินทนนท์
- ทิวเขาขุนตาน
- ทิวเขาพลึง
- ทิวเขาดอยภูสอยดาว
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "การแบ่งภูมิภาคทางภูมิศาสตร์". สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. สืบค้นเมื่อ 17 March 2023.
- ↑ "Sub-national HDI - Area Database - Global Data Lab". hdi.globaldatalab.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-07-07.
- ↑ 3.0 3.1 "ราชบัณฑิตยสถาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-31. สืบค้นเมื่อ 2007-06-24.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat61.htm[ลิงก์เสีย] 2562. สืบค้น 6 ธันวาคม 2561.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat57.html 2558. สืบค้น 1 มีนาคม 2558.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเนกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๑, ตอน ๔๑ ง , ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗, หน้า ๑
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat55.html 2555. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat54.html 2555. สืบค้น 6 เมษายน 2555.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] เก็บถาวร 2011-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2553. สืบค้น 22 มีนาคม 2554.
- ↑ ฐานข้อมูลกรมการปกครอง
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- คู่มือการท่องเที่ยว ภาคเหนือ (ประเทศไทย) จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)