วิทยาลัยแสงธรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยแสงธรรม
ชื่อย่อวส. / STC
คติพจน์แสงธรรม นำปัญญา และชีวิต
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
สถาปนา2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 (49 ปี)
นายกสภาฯพระคาร์ดินัลฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช
อธิการบดีบาทหลวง ดร.ธีรพล กอบวิทยากุล[1]
ผู้ศึกษา193 คน (2566)[2]
ที่ตั้ง
สี██ สีส้ม
เว็บไซต์www.saengtham.ac.th

วิทยาลัยแสงธรรม เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าข้าม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เริ่มต้นจัดการเรียนการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2515 โดยใช้ชื่อว่า "สามเณราลัย แสงธรรม"[3] ปัจจุบันมี บาทหลวง ดร.ธีรพล กอบวิทยากุล เป็นอธิการบดี

ประวัติ[แก้]

วิทยาลัยแสงธรรม จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2515 โดยใช้ชื่อว่า "สามเณราลัย แสงธรรม" เพื่อจัดการเรียนการสอนด้านศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ต่อมาเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 จึงได้มีการจัดตั้งเป็นสถาบันอุดมศึกษา โดยมีชื่อว่า "วิทยาลัยแสงธรรม" เปิดสอน 2 หลักสูตรใน 2 คณะวิชา คือ คณะมนุษยศาสตร์ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา และ คณะศาสนศาสตร์ หลักสูตรศาสนศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเทววิทยา และได้มีการพัฒนาการเรียนการสอนเรื่อยมา กระทั่งในปี พ.ศ. 2553 จึงได้มีการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรปรับปรุงในปัจจุบัน

คณะ[แก้]

คณะมนุษย์ศาสตร์[แก้]

คณะมนุษย์ศาสตร์ จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอน ตามแนวคิดคริสตศาสนาให้เหมาะสมและมีคุณภาพ และส่งเสริมการค้นคว้าและวิจัยปรัชญาสาขาต่างๆ ให้เกิดแหล่งบริการความรู้ด้านปรัชญา มี 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา

  • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา

คณะศาสนศาสตร์[แก้]

คณะศาสนศาสตร์ มี 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเทววิทยา และสาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา

  • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา
  • หลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทววิทยา
  • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม

วิทยาเขต[แก้]

วิทยาลัยแสงธรรม วิทยาเขตเซเวียร์ ตั้งอยู่ที่อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เดิมเป็นการจัดการศึกษาของชุมชนการเรียนรู้เซเวียร์ เป็นสถาบันที่เป็นระบบหอพัก แต่เนื่องจากไม่ได้จัดตั้งเป็นสถาบันอุดมศึกษา จึงได้จัดให้นักศึกษาได้ศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เพื่อรับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ต่อมาในปี พ.ศ. 2566 ชุมชนการเรียนรู้เซเวียร์ได้ร่วมมือกับวิทยาลัยแสงธรรม จัดตั้งเป็นวิทยาเขตอย่างเป็นทางการ โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเปิด ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

อ้างอิง[แก้]

  1. ผู้บริหารวิทยาลัยแสงธรรม
  2. สถิติอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  3. "ประวัติวิทยาลัยแสงธรรม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-28. สืบค้นเมื่อ 2011-03-07.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]