เขื่อนกิ่วลม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขื่อนกิ่วลม
ชื่อทางการเขื่อนกิ่วลม
ที่ตั้งตำบลบ้านแลง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
โครงสร้างและทางน้ำล้น
ความสูง42 เมตร
ความยาว135 เมตร
ความกว้าง (ที่ฐาน)5.35 เมตร
กั้นแม่น้ำวัง

เขื่อนกิ่วลม[1] เป็นเขื่อนในการดูแลของกรมชลประทาน ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองลำปางขึ้นไปทางทิศเหนือตามถนนพหลโยธิน ประมาณ 38 กิโลเมตรเศษ แยกซ้ายกิโลเมตรที่ 623 เข้า ไปอีก 14 กิโลเมตร ปิดกั้น แม่น้ำวัง ซึ่งเป็นแควที่มีขนาดเล็กและสั้นที่สุดของแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ในท้องที่จังหวัดลำปางเพียงจังหวัดเดียวเกือบตลอดสาย และไหลลงสู่แม่น้ำปิงในเขตจังหวัดตาก แม่น้ำวังมีพื้นที่ลุ่มน้ำแคบ ประกอบกับมีฝนน้อยกว่าลุ่มน้ำอื่น ๆ ในภาคนี้ แม่น้ำจึงเล็ก แต่น้ำขึ้นและลงในเวลาอันรวดเร็ว กับมีระยะเวลาขาดแคลนน้ำค่อนข้างมาก การทำนาจึงขึ้นอยู่กับฝนเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนเป็นอันมาก และข้าวที่ปลูกได้ก็น้อยจนไม่พอบริโภคในจังหวัด เพื่อเป็นการแก้ไขความเดือดร้อนเกี่ยวกับเรื่องน้ำเพื่อการเพาะปลูกของราษฎรในขั้นแรกนั้น กรมชลประทานได้พิจารณาสร้างโครงการชลประทานแม่วังซึ่งเป็นโครงการประเภททดและส่งน้ำแบบเหมืองฝายขึ้นเป็นโครงการแรกเมื่อ พ.ศ. 2478 ต่อมา เมื่อความต้องการน้ำเพื่อการเพาะปลูกเพิ่มขึ้น กรมชลประทานจึงสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำกิ่วลมที่ตำบลบ้านแลง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เพื่อเก็บกักน้ำบนแม่น้ำวัง และสามารถส่งให้ราษฎรทำการเพาะปลูกได้ตลอดปี เขื่อนกิ่วลมเป็นเขื่อนเก็กน้ำแห่งแรกในภาคเหนือ และเริ่มเก็บน้ำได้ในปี 2515

ลักษณะตัวเขื่อน[แก้]

  • เป็นเขื่อนเก็บกักน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก
  • สูง 26.50 ม. ยาว 135 ม. มีช่องระบายกว้าง 13.00 ม. จำนวน 5 ช่อง
  • ระดับสันเขื่อน + 236.00 ร.ท.ก.
  • ระดับเก็บกัก + 285.00 ร.ท.ก. ระดับน้ำเก็บกักสูงสุด 285.00 ร.ท.ก.
  • ปริมาณน้ำที่ระดับเก็บกัก 112 ล้าน ลบ.ม.ปริมาณน้ำที่ระดับเก็บกักสูงสุด 112 ล้าน ลบ.ม.
  • อาณาเขตรับน้ำ 2,700 ตร.กม. พื้นที่อ่าง ฯ ที่ระดับเก็บกักสูงสุด 19 ตร.กม. ปริมาณฝนเฉลี่ย 1,200 มม./ปี
  • Service  Spillway ขนาด 1.25 x 2.00 ม. ระบายน้ำได้ 12.00 ลบ.ม./วินาที
  • ทางระบายน้ำฉุกเฉิน ขนาด 13.00 x 8.00 ม. ระบายน้ำได้ 3,000 ลบ.ม./วินาที
  • คลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวา ยาว 40.30 กม. ปริมาณน้ำผ่านเต็มที่ 25.00 ลบ.ม./วินาที คลองซอยและคลองแยกซอย 31 สาย ยาวรวม 71.60 กม.

เขื่อนกิ่วลมขณะก่อสร้างถูกใช้เป็นฉากของเรื่องสั้นชุดชาวเขื่อนโดย มนันยา มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับชีวิตของข้าราชการกรมชลประทานและเหล่าคนงานก่อสร้าง เธอได้รับแรงบันดาลใจในการแต่งจากการติดตามสามีของเธอที่เป็นหนึ่งในข้าราชการควบคุมการก่อสร้าง เรื่องสั้นถูกตีพิมพ์เป็นตอนๆ ในนิตยสาร สตรีสาร และต่อมาได้มีการรวมเล่มเป็นหนังสือ 3 เล่ม ในชื่อ ชาวเขื่อน, เอ แมน คอลด์ เป๋ง และ ลาก่อนกิ่วลม

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-31. สืบค้นเมื่อ 2018-08-06.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 18°33′00″N 99°36′29″E / 18.55°N 99.608°E / 18.55; 99.608