ทิวเขาผีปันน้ำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทิวเขาผีปันน้ำ
Phi Pan Nam Range
ขอบเขตทิวเขาผีปันน้ำ และแม่น้ำยม จาก อำเภอลอง จังหวัดแพร่
จุดสูงสุด
ยอดดอยเชียงดาว
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
1,694 เมตร (5,558 ฟุต)
พิกัด19°8′04″N 99°45′29″E / 19.13444°N 99.75806°E / 19.13444; 99.75806
ข้อมูลเชิงขนาด
ยาว400 กม. (249 ไมล์) NE/SW
กว้าง135 กม. (84 ไมล์) SE/NW
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
Countriesไทย และ ลาว
พิกัดเทือกเขา18°48′0″N 99°50′30″E / 18.80000°N 99.84167°E / 18.80000; 99.84167พิกัดภูมิศาสตร์: 18°48′0″N 99°50′30″E / 18.80000°N 99.84167°E / 18.80000; 99.84167
เทือกเขาที่สูงทางเหนือของไทย
ข้อมูลทางธรณีวิทยา
อายุหินยุคไทรแอสซิก
ประเภทหินหินทราย และ ศิลาแลง

ทิวเขาผีปันน้ำ เป็นแนวทิวเขาขนาดใหญ่และสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย เป็นสันปันน้ำที่แบ่งน้ำไหลแยกกันไปสองทาง ทางหนึ่งไปสู่อ่าวเจ้าพระยาอีกทางหนึ่งไปสู่อ่าวแม่โขง เขาย่อย ๆ หลายทิวประกอบขึ้นเป็นทิวเขาผีปันน้ำของแม่น้ำปิง วัง ยม และน่าน ซึ่งเป็นแควของแม่น้ำเจ้าพระยา ทิวเขาทั้งทิวครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดของตอนกลางของภาคเหนือในทิศทางตะวันออกเฉียงเหนือ ทางตะวันตกของทิวเขานี้เป็นทิวเขา ซึ่งเรียงตัวกันตามแนวเส้นแวง ยอดเขาที่สำคัญคือ ดอยขุนออน ดอยผาโจ้ ดอยผีปันน้ำ ภูชี้ฟ้า[1] และดอยขุนตาล เป็นภูเขาหินแกรนิต ซึ่งตั้งขวางเส้นทางรถไฟสายเหนือ ทำให้ต้องเจาะลอดสันเขาทางใต้ของทิวเขานี้ เป็นอุโมงค์ขุนตาล ในปี พ.ศ. 2450 และเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2461 โดยมี ดอยหลวง เป็นดอยเขาที่สูงที่สุด ด้วยความสูง 1,694 เมตร (5,558 ฟุต) ในเขตจังหวัดพะเยา เชียงราย และลำปาง[2][3]

ทิวเขาผีปันน้ำเริ่มจากทิวเขาแดนลาว ตอนแบ่งเขตแดนประเทศไทยกับประเทศพม่า เริ่มจากทางทิศตะวันออกของช่องกิ่วผาวอก ห่าง 2 กิโลเมตร เป็นทิวยาวไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ผ่านถนนสายเชียงใหม่-ฝาง ตรงที่สูงที่สุดในถนนสายนี้ เรียกว่า "ปางหัวโต" รวมความยาวทิวเขาผีปันน้ำทั้งสิ้น 412 กิโลเมตร[4]

มุมมองที่กว๊านพะเยา เห็นทิวเขาผีปันน้ำอยู่เป็นฉากหลัง

อ้างอิง[แก้]

  1. ภูชี้ฟ้า ดอยผาตั้ง (Phu chi fa & Doi pha tang) (Thai)
  2. อุทยานแห่งชาติ จากธรรมชาติสู่เขตอนุรักษ์, สำนักอุทยานแห่งชาติ, กรุงเทพฯ, 2545, 48
  3. อุโมงค์รถไฟถ้ำขุนตาน เก็บถาวร 2010-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์สำนักงานสรรพากรพื้นที่ลำพูน]
  4. ผีปันน้ำ

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]