ข้ามไปเนื้อหา

สถานีห้วยขวาง

พิกัด: 13°46′43″N 100°34′26″E / 13.7786°N 100.5740°E / 13.7786; 100.5740
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ห้วยขวาง
BL18

Huai Khwang
ชานชาลา
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนรัชดาภิเษก เขตดินแดงและเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°46′43″N 100°34′26″E / 13.7786°N 100.5740°E / 13.7786; 100.5740
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)
สาย
ชานชาลา1 ชานชาลาเกาะกลาง
ทางวิ่ง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างใต้ดิน
ทางเข้าออกสำหรับผู้พิการมีบริการ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีBL18
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547; 20 ปีก่อน (2547-07-03)
ชื่อเดิมประชาราษฎร์บำเพ็ญ
ผู้โดยสาร
25644,981,804
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
มุ่งหน้า หลักสอง
สายเฉลิมรัชมงคล สุทธิสาร
มุ่งหน้า ท่าพระ ผ่าน บางซื่อ
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีห้วยขวาง (อังกฤษ: Huai Khwang Station, รหัส BL18) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในย่านอาคารที่พักอาศัย โรงแรม และสถานเริงรมย์บนถนนรัชดาภิเษก

ที่ตั้ง

[แก้]

ถนนรัชดาภิเษก บริเวณกลางแยกห้วยขวาง (จุดบรรจบถนนรัชดาภิเษกและถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ) ในพื้นที่แขวงดินแดง แขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง และแขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร

บริเวณโดยรอบสถานีห้วยขวางเป็นย่านที่พักอาศัยหนาแน่นใจกลางเมือง มีถนนซอยจำนวนมากที่เชื่อมจากถนนรัชดาภิเษกไปยังถนนวิภาวดีรังสิต, ถนนสุทธิสารวินิจฉัย และถนนอโศก-ดินแดง ผ่านเส้นทางหลักในพื้นที่เขตดินแดง ได้แก่ ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ, ถนนประชาสุข และถนนประชาสงเคราะห์ ส่วนในเขตห้วยขวางมีโครงข่ายถนนซอยที่เชื่อมผ่านถนนประชาอุทิศ แยกเหม่งจ๋าย ออกไปยังถนนประดิษฐ์มนูธรรมและถนนรามคำแหงในพื้นที่เขตวังทองหลางและบางกะปิ โดยเฉพาะในพื้นที่เขตดินแดงที่อยู่ใกล้กับสถานีเป็นที่ตั้งของ "เคหะชุมชนห้วยขวาง" ซึ่งเป็นชุมชนขนาดใหญ่ใจกลางกรุงเทพมหานครต่อเนื่องกับ "เคหะชุมชนดินแดง" มีตลาดสดห้วยขวางอยู่ใจกลางชุมชน ดังนั้น แม้ก่อนหน้าในระหว่างการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สถานีแห่งนี้จะเคยใช้ชื่อว่า "สถานีประชาราษฎร์บำเพ็ญ" ตามชื่อถนนที่ตัดกับถนนรัชดาภิเษกบริเวณที่ตั้งสถานีก็ตาม แต่ในภายหลังก็ได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ "สถานีห้วยขวาง" ซึ่งเป็นที่คุ้นเคยในท้องถิ่นมากกว่า

ในอดีตสมัยรัฐบาลชวน ปี พ.ศ. 2536-2537 มีแผนใช้พื้นที่บริเวณสถานีห้วยขวางเป็นสถานีกลางของกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับสถานีกลางบางซื่อที่เชื่อมกับระหว่างโฮปเวลล์ และรถไฟความเร็วสูงสาย กรุงเทพ-สนามบินหนองงูเห่า-ระยอง แต่โครงการต้องถูกระงับไปเนื่องจากวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540[1][2]

แผนผังสถานี

[แก้]
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, อาคารเลอคองคอร์ด
โรงเรียนกุนนทีรุทธารามวิทยาคม
B1
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-4, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร
B2
ชานชาลา
ชานชาลา 2 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ (ผ่าน บางซื่อ)
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 1 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง

รายละเอียดของสถานี

[แก้]

สีสัญลักษณ์ของสถานี

[แก้]

ใช้สีส้มตกแต่งกระเบื้องที่เสา ผนังและขอบด้านบนของแนวประตูกั้นชานชาลา หมายถึงเป็นสถานีที่อยู่ในพื้นที่ย่านการค้าหนาแน่น [3]

รูปแบบของสถานี

[แก้]

เป็นสถานีใต้ดิน กว้าง 23 เมตร ยาว 226 เมตร ระดับชานชาลาอยู่ลึก 19 เมตรจากผิวดิน เป็นชานชาลาแบบเกาะกลาง (Station with Central Platform)

ความโดดเด่นของโครงสร้างสถานี

[แก้]
ชั้นออกบัตรโดยสาร อยู่ใต้อุโมงค์ลอดทางแยกรัชดาภิเษก-ห้วยขวาง

มีพื้นที่ภายในสถานีเพียง 2 ชั้น คือชั้นออกบัตรโดยสารและชั้นชานชาลา เนื่องจากพื้นที่ชั้นบนสุดของสถานีถูกนำไปก่อสร้างเป็นอุโมงค์ลอดทางแยกรัชดาภิเษก-ห้วยขวาง ตามแนวถนนรัชดาภิเษก

ทางเข้า-ออก

[แก้]
ทางเข้า-ออกที่ 1
  • 1 ลานจอดรถของสถานี, ป้ายรถประจำทางไปศูนย์วัฒนธรรมฯ (ลิฟต์)
  • 2 ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ, อาคารเลอคองคอร์ด, ป้ายรถประจำทางไปศูนย์วัฒนธรรมฯ
  • 3 โรงแรมดิเอมเมอรัลด์, ป้ายรถประจำทางไปสี่แยกรัชดาภิเษก-สุทธิสาร
  • 4 อาคารเสริมทรัพย์, ป้ายรถประจำทางไปสี่แยกรัชดาภิเษก-สุทธิสาร

การจัดพื้นที่ในตัวสถานี

[แก้]

แบ่งเป็น 2 ชั้น ประกอบด้วย

  • 1 ชั้นออกบัตรโดยสาร
  • 2 ชั้นชานชาลา

สิ่งอำนวยความสะดวก

[แก้]
  • ลานจอดรถ 30 คัน บริเวณทางเข้า-ออกหมายเลข 1
  • ลิฟท์สำหรับผู้พิการ ทางเข้า-ออกหมายเลข 1

เวลาให้บริการ

[แก้]
ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายเฉลิมรัชมงคล[4]
ชานชาลาที่ 1
BL38 หลักสอง จันทร์ – ศุกร์ 05:59 23:47
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 06:01 23:47
ชานชาลาที่ 2
BL01 ท่าพระ
(ผ่านบางซื่อ)
จันทร์ – ศุกร์ 05:55 23:50
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 05:59 23:50
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง 23:04

รถโดยสารประจำทาง

[แก้]
  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

ถนนรัชดาภิเษก

[แก้]

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

[แก้]
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
54 (3-44) (2) วงกลม : อู่พระราม 9 สุทธิสาร
ดินแดง
ขสมก. 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
73 (2-45) (3) รถโดยสารประจำทาง อู่สวนสยาม สะพานพระพุทธยอดฟ้า 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
สนามกีฬาห้วยขวาง
136 (1) อู่คลองเตย สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
137 (3-48) (2) วงกลม : รามคำแหง อู่พระราม 9 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

179 (3-49) (3) อู่พระราม 9 สะพานพระราม 7 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
185 (3) รถโดยสารประจำทาง อู่รังสิต อู่คลองเตย 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
206 (3) รถโดยสารประจำทาง อู่เมกาบางนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

มีรถให้บริการทางด่วน (ให้บริการเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วน)
514 (1) รถโดยสารประจำทาง อู่มีนบุรี รถโดยสารประจำทาง สีลม 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)

ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ (ตลาดห้วยขวาง)

[แก้]

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

[แก้]
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
54 (2-44) (2) วงกลม : อู่พระราม 9 สุทธิสาร
ดินแดง
ขสมก. 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
73 (2-45) (3) สนามกีฬาห้วยขวาง สะพานพระพุทธยอดฟ้า 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ (ตลาดห้วยขวาง)
สายที่ ต้นทาง ปลายทาง หมายเหตุ
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)
54 วงกลม พระราม 9 ดินแดง
73 สวนสยาม สะพานพุทธ หมดระยะห้วยขวาง
  • ถนนรัชดาภิเษก ด้านสุทธิสาร สาย 73 136 137 179 185 206 514 517
  • ถนนรัชดาภิเษก ด้านศูนย์วัฒนธรรมฯ สาย 54 73 136 137 179 185 206 514 517
  • ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ ด้านตลาดห้วยขวาง สาย 54 73
  • ถนนประชาราษฎรบำเพ็ง ฝั่งลานจอดรถสถานีห้วยขวาง สองแถวแดง ตลาดห้วยขวาง-ราม39(วัดเทพลีลา)

สถานที่สำคัญใกล้เคียง

[แก้]
แผนผังบริเวณสถานี

ศูนย์การค้าและอาคารสำนักงาน

[แก้]

โรงแรม

[แก้]

เหตุการณ์สำคัญในอดีต

[แก้]

วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เวลาประมาณ 18.20 น. รถไฟฟ้าใต้ดินจากสถานีสุทธิสาร มุ่งหน้าสถานีหัวลำโพง ได้เกิดเหตุขัดข้องทางเทคนิคและหยุดวิ่งกะทันหัน โดยมีการประกาศแจ้งให้ผู้โดยสารออกจากขบวนรถทั้งระบบ ทำให้มีผู้โดยสารตกค้างอยู่ตามสถานีต่าง ๆ จำนวนมาก สาเหตุเกิดจากมีสัญญาณไฟแจ้งเตือนให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบระบบบางอย่างที่อาจขัดข้อง จึงต้องปิดระบบไฟฟ้าในช่วงระหว่างสถานีสุทธิสารและสถานีห้วยขวาง และต้องปรับเปลี่ยนการเดินรถโดยเปิดเดินรถเพียงอุโมงค์เดียวในช่วงระหว่างสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ถึงสถานีพหลโยธิน ผู้โดยสารจึงต้องใช้เวลาเดินทางเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 20 นาที จากการตรวจสอบพบว่าเกิดจากระบบบ่อรับน้ำตัน ทำให้เกิดสัญญานเตือนให้หยุดรถชั่วคราวเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยเป็นอันดับแรก โดยเจ้าหน้าที่สามารถแก้ไขและเดินรถได้ตามปกติตั้งแต่เวลา 6.00 น. ของวันรุ่งขึ้น [5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. https://resolution.soc.go.th/PDF_UPLOAD/2539/12248014.pdf โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ - หนองงูเห่า- ระยอง
  2. https://www.nesdc.go.th/suvarnabhumi/articles_center/rapid_train_in_thailand/rapid_train_summary%20-%20january2539.pdf โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ(ห้วยขวาง) - สนามบิน- หนองงูเห่า - ระยอง
  3. จุดเริ่มต้นของคนเดินทาง: ดำดินเดินทาง. คอลัมน์นายรอบรู้ นิตยสารสารคดี เดือนตุลาคม 2548
  4. "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.
  5. หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ วันที่ 6 สิงหาคม 2551

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]