ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จื๋อโนม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
{{รอการตรวจสอบ}}
[[ไฟล์:Tu duc thanh che tu hoc giai nghia ca.jpg|thumb|222px|ส่วนหนึ่งจาก {{lang|vi|''Tự Đức Thánh Chế Tự Học Giải Nghĩa Ca''}} ที่เขียนด้วยจื๋อโนม]]
[[ไฟล์:Tu duc thanh che tu hoc giai nghia ca.jpg|thumb|222px|ส่วนหนึ่งจาก {{lang|vi|''Tự Đức Thánh Chế Tự Học Giải Nghĩa Ca''}} ที่เขียนด้วยจื๋อโนม]]
'''จื๋อโนม''' ({{lang-vi|chữ Nôm, 字喃/𡨸喃/𡦂喃}}) เป็นระบบอักษรที่ใช้เขียน[[ภาษาเวียดนาม]] ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว จื๋อโนมประกอบด้วย[[อักษรจีน]] ("ฮั่นจื้อ" เรียกเป็นภาษาเวียดนามว่า "ฮ้านตึ" - {{lang|vi|Hán tự}}) และอักขระที่ประดิษฐ์ขึ้นตามแบบอักษรจีน ตัวอย่างที่เก่าที่สุดอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 มักนิยมใช้เฉพาะในหมู่ชนชั้นสูงของเวียดนาม โดยส่วนใหญ่ใช้บันทึกวรรณคดีเวียดนาม (งานเขียนที่เป็นทางการส่วนใหญ่จะใช้ภาษาจีนแบบแผน ไม่ใช่ภาษาเวียดนาม) ปัจจุบันถือว่าถูกแทนที่โดยสมบูรณ์ด้วย[[อักษรโกว๊กหงือ|จื๋อโกว๊กหงือ]]ซึ่งดัดแปลงจาก[[อักษรละติน]]
'''จื๋อโนม''' ({{lang-vi|chữ Nôm, 字喃/𡨸喃/𡦂喃}}) เป็นระบบอักษรที่ใช้เขียน[[ภาษาเวียดนาม]] ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว จื๋อโนมประกอบด้วย[[อักษรจีน]] ("ฮั่นจื้อ" เรียกเป็นภาษาเวียดนามว่า "ฮ้านตึ" - {{lang|vi|Hán tự}}) และอักขระที่ประดิษฐ์ขึ้นตามแบบอักษรจีน ตัวอย่างที่เก่าที่สุดอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 มักนิยมใช้เฉพาะในหมู่ชนชั้นสูงของเวียดนาม โดยส่วนใหญ่ใช้บันทึกวรรณคดีเวียดนาม (งานเขียนที่เป็นทางการส่วนใหญ่จะใช้ภาษาจีนแบบแผน ไม่ใช่ภาษาเวียดนาม) ปัจจุบันถือว่าถูกแทนที่โดยสมบูรณ์ด้วย[[จื๋อโกว๊กหงือ]]ซึ่งดัดแปลงจาก[[อักษรละติน]]


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:33, 11 ธันวาคม 2558

ส่วนหนึ่งจาก [Tự Đức Thánh Chế Tự Học Giải Nghĩa Ca] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ) ที่เขียนด้วยจื๋อโนม

จื๋อโนม (เวียดนาม: chữ Nôm, 字喃/𡨸喃/𡦂喃) เป็นระบบอักษรที่ใช้เขียนภาษาเวียดนาม ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว จื๋อโนมประกอบด้วยอักษรจีน ("ฮั่นจื้อ" เรียกเป็นภาษาเวียดนามว่า "ฮ้านตึ" - Hán tự) และอักขระที่ประดิษฐ์ขึ้นตามแบบอักษรจีน ตัวอย่างที่เก่าที่สุดอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 มักนิยมใช้เฉพาะในหมู่ชนชั้นสูงของเวียดนาม โดยส่วนใหญ่ใช้บันทึกวรรณคดีเวียดนาม (งานเขียนที่เป็นทางการส่วนใหญ่จะใช้ภาษาจีนแบบแผน ไม่ใช่ภาษาเวียดนาม) ปัจจุบันถือว่าถูกแทนที่โดยสมบูรณ์ด้วยจื๋อโกว๊กหงือซึ่งดัดแปลงจากอักษรละติน

ประวัติ

เวียดนามถูกจีนปกครองนานนับพันปีระหว่าง พ.ศ. 432–1481 เป็นผลให้ภาษาเขียนในทางราชการเป็นภาษาจีนโบราณที่รู้จักในชื่อ "จื๋อญอ" (chữ Nho; 字儒) ในภาษาเวียดนาม จื๋อญอยังใช้ต่อมาในเวียดนามร่วมกับจื๋อโนมและจื๋อโกว๊กหงือจนถึง พ.ศ. 2461

ในช่วงประมาณ พ.ศ. 1500 ชาวเวียดนามปรับปรุงอักษรจีนใช้เขียนภาษาของตน เรียกว่าจื๋อโนมหรืออักษรใต้ ตัวอย่างที่เก่าที่สุดของอักษรนี้คือจารึกโลหะที่เจดีย์บ๋าวอาน (Bảo An) ในจังหวัดหวิญฟุก อายุราว พ.ศ. 1752 ในช่วง พ.ศ. 1800 อักษรชุดนี้ได้เริ่มมีการนำมาใช้ทางวรรณคดี กวีและนักเขียนชาวเวียดนามที่มีชื่อเสียงหลายคนเขียนงานของตนโดยใช้จื๋อโนม เช่น เหงียน เทวียน (Nguyễn Thuyên), เหงียน สี โก๊ (Nguyễn Sĩ Cố; พ.ศ. 1900), เหงียน จ๋าย (Nguyễn Trãi; พ.ศ. 2000), โห่ กวี๊ ลี (Hồ Quý Ly; พ.ศ. 1900) ผู้แปลภาษาจีนเป็นภาษาเวียดนามและเขียนประกาศของทางราชการ

เมื่อมิชชันนารีชาวตะวันตกเข้ามาถึงเวียดนามเมื่อประมาณ พ.ศ. 2200 พวกเขาได้คิดค้นการเขียนภาษาเวียดนามด้วยอักษรละติน เรียกว่า "จื๋อโกว๊กหงือ" ใช้ในหนังสือสวดมนต์และหนังสือทางศาสนา ฯลฯ อักษรนี้มีผู้ประดิษฐ์หลายคน แต่ผู้ที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดคือ อาแล็กซ็องดร์ เดอ รอด (Alexandre de Rhodes) มิชชันนารีคณะเยสุอิตชาวฝรั่งเศส และต่อมาเริ่มมีการสอนจื๋อโกว๊กหงือในโรงเรียนต่าง ๆ ตั้งแต่ราว พ.ศ. 2300 เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในอีก 200 ปีต่อมา ปัจจุบัน ภาษาเวียดนามเขียนด้วยจื๋อโกว๊กหงือเพียงอย่างเดียว ส่วนจื๋อโนมใช้ในทางวิชาการเท่านั้น

จื๋อโนมเป็นรูปแบบผสมของอักษรจีนมาตรฐานกับสัญลักษณ์ที่ใช้เฉพาะภาษาเวียดนาม (อักษรจีนหลายตัวที่ถูกดัดแปลงไม่มีความหมายในภาษาจีน) ในการนำอักษรจีนมาใช้ ผู้ประดิษฐ์จื๋อโนมยืมคำจีนมาเป็นจำนวนมากและปรับให้เป็นการออกเสียงของภาษาเวียดนาม ทำให้มี 2 คำสำหรับเรียกสิ่งเดียวกันคือ คำจีน-เวียดนาม กับ คำที่มีต้นกำเนิดในภาษาเวียดนาม สัญลักษณ์ใหม่จะรวมสัญลักษณ์ที่แสดงความหมายและแสดงการออกเสียงในภาษาเวียดนาม

แหล่งข้อมูลอื่น