พิเชษฐ์ วิสัยจร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิเชษฐ์ วิสัยจร
ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 – 30 กันยายน พ.ศ. 2554
ก่อนหน้าพลเอก วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
ถัดไปพลเอก ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน
แม่ทัพภาคที่ 4
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 – 30 กันยายน พ.ศ. 2553
ก่อนหน้าพลโท วิโรจน์ บัวจรูญ
ถัดไปพลโท อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 ตุลาคม พ.ศ. 2493 (73 ปี)
อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสผศ.ดร.ภัทรียา วิสัยจร
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองทัพบกไทย
ประจำการพ.ศ. 2514 - พ.ศ. 2554
ยศ พลเอก

พลเอก พิเชษฐ์ วิสัยจร (ชื่อเล่น: แป๊ะ) อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก, อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 อดีตราชองครักษ์พิเศษ[1] เกิดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2493 ที่อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร

การศึกษา[แก้]

พล.อ.พิเชษฐ์ จบการศึกษาจากโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย, โรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 11 (ตท.11-ร่วมรุ่นเดียวกับ พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์, พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน, พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์, โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 22 (จปร.22-ร่วมรุ่นเดียวกับ พล.อ.วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา, พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล), โรงเรียนเสนาธิการทหารบกหลักสูตรประจำ ชุดที่ 61, วิทยาลัยเสนาธิการทหาร รุ่นที่ 44, วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 47 (วปรอ.47) และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพัฒนบูรณาการศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

การทำงาน[แก้]

พล.อ.พิเชษฐ์ เป็นทหารราบ เริ่มรับราชการจากการเป็นผู้หมวดปืนเล็กกองร้อยอาวุธเบาที่ 23 กองพันทหารราบที่ 3 (ร.23 พัน3) ในพื้นที่ภาคอีสาน จากนั้นได้เจริญก้าวหน้าในหน้าที่ได้รับเลื่อนตำแหน่งและเลื่อนยศขึ้นมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 4 ในปี พ.ศ. 2548, รองแม่ทัพภาคที่ 2 ในปี พ.ศ. 2549 และในปี พ.ศ. 2551 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพภาคที่ 4 นอกจากนั้นยังเคยเป็นผู้บังคับบัญชา 972 ไทย-ติมอร์ตะวันออก ผลัดที่ 2 รักษาการสันติภาพที่ติมอร์ตามมติของสหประชาชาติอีกด้วย [2]

ได้ชื่อว่าเป็นนายทหารพัฒนา โดยเฉพาะด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาชุมชน[3] เคยเป็นหัวหน้าพัฒนาโครงการเพื่อความมั่นคงเฉพาะพื้นที่ป่าดงนาทาม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้รับรางวัลจากการทำงานด้านนี้จากหลายหน่วยงาน

ผลงานด้านการทหารที่สำคัญ[แก้]

เมื่อปี 2530 ขณะนั้นเป็นรองผู้บังคับกองพันได้นำกำลังเข้าโจมตีทหารเวียดนามบริเวณเนิน 382 ซึ่งรุกล้ำอธิปไตยเข้ามาในประเทศไทยบริเวณพื้นที่ช่องบกอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี จนเวียดนาม สูญเสียจำนวนมากและถอนตัวออกไป ฝ่ายเราบาดเจ็บสูญเสียเช่นกันและที่สำคัญ พ.ต.พิเชษฐ์ วิสัยจร ยศในขณะนั้นถูกสะเก็ดลูกกระสุนปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลังของเวียดนามได้รับบาดเจ็บสาหัส

หลังจากที่ภัยคอมมิวนิสต์และเวียดนามยุติลง พลเอกพิเชษฐ์ วิสัยจร ได้เห็นว่าภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นใหม่และความไม่มั่นคงตามแนวชายแดน คือภัยคุกคามจาก ความยากจนความไม่มีจะกิน ภัยจากการทำลายทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ และยุทธศาสตร์ของทหารคือยุทธศาสตร์การต่อสู้แบบเบ็ดเสร็จ จึงได้ริเริ่มฝึกจัดตั้งราษฎรให้ช่วยกันรักษาป่าตามแนวชายแดนอีสานใต้ ซึ่งเป็นต้นน้ำลำธารเรียกว่า ราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า โดยเน้นเรื่อง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ การรักษาป่า การปลูกต้นไม้เป็นสมบัติของโลก เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ นอกจากนั้นยังเคยเป็นผู้บังคับบัญชา 972 ไทย-ติมอร์ตะวันออก ผลัดที่ 2 รักษาการสันติภาพที่ติมอร์ตามมติของสหประชาชาติอีกด้วย [4]

ปี พ.ศ. 2547 เมื่อครั้งมาดำรง ตำแหน่งเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 4 ใน ได้ดำเนินการต่างๆ ไว้มากมาย อาทิโครงการเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ ,โครงการดำเนินงานส่งเสริมพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม,โครงการศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง, โครงการตาสับปะรด,โครงการคอมพิวเตอร์สู่ตาดีกา,โครงการแตงโมสมานฉันท์

ปี พ.ศ. 2551 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเป็น แม่ทัพภาคที่ 4 ทำให้โครงการต่าง ๆที่ดำเนินการไว้ โดยเฉพาะในพื้นที่ จังหวัดปัตตานี และพื้นที่ บ.บอเกาะ ต.สากอ อ.สุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ที่เป็นพื้นที่นำร่องและเห็นเป็นรูปธรรม จะได้ขยายสู่ทั่วทุกพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมกันนี้ได้กำหนดยุทธศาสตร์ 4 ด้านดังนี้ 1. การเมืองนำการทหาร 2. การแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี 3. ยึดหลักกฎหมายอย่างเสมอภาคและเป็นธรรมบนหลักสิทธิมนุษยชน 4. การพัฒนาสมดุลยั่งยืนดังนั้นภายใต้อุดมการณ์ วิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์ การแก้ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ปี พ.ศ. 2553 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก[5] ระหว่างวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

การรับราชการ[แก้]

  • ผู้หมวดปืนเล็ก ร.23 พัน 3
  • ผู้บังคับกองร้อย ปืนเล็ก ร.6 พัน 3
  • ผู้พัน ร.6 พัน 2
  • ผู้พัน ร.6 พัน 3
  • ผู้บัญชาการศูนย์ฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มทบ.ที่ 22
  • หัวหน้าพัฒนาโครงการเพื่อความมั่นคงเฉพาะพื้นที่ป่าดงนาทาม อันนื่องมาจากพระรราชดำริ
  • ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 6
  • ผู้บัญชาการ 972 ไทย-ติมอร์ตะวันออก ผลัดที่ 2 รักษาการสันติภาพที่ "ติมอร์" ตามมติของยูเอ็น
  • รองผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 6 กองทัพภาคที่ 2
  • 1 เมษายน 2547 ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 6
  • 10 มิถุนายน 2548 รองแม่ทัพภาคที่ 4
  • 1 ตุลาคม 2549 รองแม่ทัพภาคที่ 2
  • 1 ตุลาคม 2551 แม่ทัพภาคที่ 4
  • 1 ตุลาคม 2553 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก

รางวัล[แก้]

  • ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่นด้านการพัฒนาสังคมชนบท จากมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจากคุณมีชัย วีระไวทยะ ในการแก้ไขปัญหาปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ [6]
  • ได้รับรางวัลเกียรติยศจักรดาว สาขาการทหาร พ.ศ. 2553[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

  •  สหประชาชาติ :
    • พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เหรียญคณะผู้แทนสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก[13]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/092/T_0001.PDF
  2. ประวัติจากไทยรัฐ
  3. "พันเอก (พิเศษ) พิเชษฐ์ วิสัยจร นายทหารนักพัฒนา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-19.
  4. ประวัติจากไทยรัฐ
  5. "โปรดเกล้าฯ โยกย้ายทหารแล้วประยุทธ์ขึ้น ผบ.ทบ. ดาวพงษ์นั่งเสธ.ทบ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-07. สืบค้นเมื่อ 2011-04-22.
  6. มูลนิธิตลาดหลักทรัพย์ฯ มอบรางวัลเชิดชูเกียรติผู้ทำความดี สาขาพัฒนาสังคมชนบท
  7. งานเกียรติยศจักรดาว ประจำปี 2553[ลิงก์เสีย]
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๔, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๒, ๑๘ ธํนวาคม ๒๕๕๑
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๐๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๐ ตุลาคม ๒๕๓๓
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๕, ๙ มกราคม ๒๕๓๐
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๓, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗
  13. https://www.facebook.com/KODETAHARN/photos/a.2028208777469148/2186382551651769/

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]