ข้ามไปเนื้อหา

ท่าอากาศยานสุรินทร์ภักดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนามบินทหารบกสุรินทร์ภักดี
ส่วนหนึ่งของกองทัพบกไทย
สุรินทร์
แผนที่
พิกัด14°52′05.75″N 103°29′53.72″E / 14.8682639°N 103.4982556°E / 14.8682639; 103.4982556 (ฐานบินสุรินทร์ภักดี)
ประเภทสนามบินทหารบก
ข้อมูล
เจ้าของ กองทัพบกไทย
ผู้ดำเนินการ กองทัพบกไทย
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
ควบคุมโดย กองกำลังสุรนารี
สภาพสนามบินทหารที่มีการผลักดันใช้งานร่วมด้านพลเรือน
ข้อมูลสถานี
กองทหารรักษาการณ์กองร้อยลาดตระเวนระยะไกล (ร้อย.ลว.ไกล) กองกำลังสุรนารี
ข้อมูลลานบิน
ข้อมูลระบุIATA: PXR, ICAO: VTUJ[1]
ความสูง478 ฟุต (146 เมตร) เหนือระดับ
น้ำทะเล
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาวและพื้นผิว
01/19 1,536 เมตร (5,039 ฟุต) แอสฟอลต์คอนกรีต

สนามบินทหารบกสุรินทร์ภักดี หรือ ท่าอากาศยานสุรินทร์ภักดี หรือ สนามบินสุรินทร์ภักดี[2] (IATA: PXRICAO: VTUJ) ตั้งอยู่ที่ หมู่ 7 ถนนคชสาร ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 2 กิโลเมตร เดิมเป็นสนามบินของกองทัพบกใช้สำหรับจังหวัดขุขันธ์และจังหวัดสุรินทร์[3] ต่อมาได้มอบหมายให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ เป็นผู้ดำเนินการ แต่เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการกระจายอำนาจไม่ได้อนุญาตให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการเกี่ยวกับกิจการการบิน จึงต้องมีการถ่ายโอนให้กรมท่าอากาศยานเป็นผู้ดูแล และให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ เป็นหน่วยสนับสนุน[4]

ประวัติ

[แก้]

สนามบินสุรินทร์ ลงทุน 30 ล้านบาท สร้างโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ แรกเริ่มเปิดสนามบินมีสายการบิน บางกอกแอร์เวย์ มาทำการบินที่สนามบิน 3 เที่ยวต่อสัปดาห์ แต่เกิดปัญหาเนื่องจากขาดทุนจึงยกเลิกเส้นทาง ต่อมาได้มีสายการบิน แอร์อันดามัน มาทำการบิน 3 เที่ยวต่อสัปดาห์ แต่ก็ประสบปัญหาขาดทุนจึงต้องปิดกิจการและยกเลิกเส้นทาง

พ.ศ. 2552 สายการบินพีบีแอร์ ได้เข้ามาเปิดเส้นทางบินสุวรรณภูมิ - สุรินทร์ แต่เนื่องจากบริษัทประสบปัญหาทางการเงินจึงต้องประกาศปิดกิจการและยกเลิกทำการบิน โดยทำการบินได้เพียง 3 วัน

ในปี พ.ศ. 2554 สายการบินไทยรีเจียนัลแอร์ไลน์ได้ทำการเปิดเส้นทางบินสุวรรณภูมิ - สุรินทร์ โดยใช้เครื่องบินขนาดเล็กมาทำการบิน

พ.ศ. 2556 สายการบินนกแอร์ร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ และหน่วยงานเอกชนเตรียมเปิดเส้นทางบินดอนเมือง - สุรินทร์ เพื่อรองรับการท่องเที่ยวและการลงทุนโดยจะใช้เครื่องบินแบบ SAAB 340 มาทำการบิน ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดการบินได้ภายในปลายนี้ 2556 แต่ก็ไม่สามารถดำเนินการได้

พ.ศ. 2557 สายการบิน กานต์แอร์ ขออนุญาตทำการบินในเส้นทาง กรุงเทพ-สุรินทร์ ช่วงเทศกาลงานช้าง แต่ประสบปัญหาด้านความปลอดภัยของสนามบินสุรินทร์ ทำให้ยกเลิกไป

พ.ศ. 2558 สายการบิน กานต์แอร์ ได้รับการอนุมัติจากกรมการบินพลเรือน เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2558 ให้สามารถเปิดทำการบินแบบประจำในเส้นทางสายรองและย่อยภายในประเทศ กรุงเทพ-สุรินทร์ แต่ก็ยังไม่ได้ทำการบิน

พ.ศ. 2559 สายการบิน อาร์แอร์ไลน์ ได้เตรียมการเปิดทำการบินในเส้นทางดังกล่าว และมีแผนจะเปิดทำการบินในเดือนพฤษภาคมของปีดังกล่าว แต่ก็ยังไม่ได้ทำการบิน[5]

การใช้งานปัจจุบัน

[แก้]

ปัจจุบันใช้เป็นฐานปฏิบัติการของหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดสุรินทร์ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร[6] และมีกองทหารรักษาการณ์คือ กองร้อยลาดตระเวนระยะไกล กองกำลังสุรนารี[7]

อาคารสถานที่

[แก้]

อาคารผู้โดยสาร ลานจอดอากาศยาน

[แก้]
  • หอบังคับการบินสูง 4 ชั้น
  • อาคารผู้โดยสารหลังเดียว ขาเข้า 70 คน ขาออก 70 คน อาคารสูง 1 ชั้น
  • หลุมจอดอากาศยานสามารถรองรับเครื่องบินขนาดรุ่น เอทีอาร์ 72

ลานบิน

[แก้]

สนามบินสุรินทร์ภักดี ประกอบไปด้วยทางวิ่งความยาว 1,536 เมตร (5,039 ฟุต) ความกว้าง 35 เมตร (115 ฟุต) อยู่เหนือจากระดับน้ำทะเล 478 ฟุต (146 เมตร) ทิศทางรันเวย์คือ 01/19 หรือ 010° และ 190° พื้นผิวคอนกรีตและแอสฟอลต์คอนกรีต[8]

รายชื่อสายการบิน

[แก้]

สายการบินที่เคยให้บริการ

[แก้]
สายการบิน จุดหมายปลายทาง หมายเหตุ
นกมินิ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
บางกอกแอร์เวย์ กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ ภายในประเทศ
ไทยรีเจียนัลแอร์ไลน์ กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ ภายในประเทศ
กานต์แอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ

เหตุการณ์

[แก้]
  • เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ดูลย์ อตุโล โดยเครื่องบินพระที่นั่ง ซี-123 โปร์ไวเดอร์ ถึงท่าอากาศยานสุรินทร์ภักดี

อ้างอิง

[แก้]
  1. รายชื่อสนามบินในประเทศไทย (โค้ด)
  2. ท่าอากาศยานและสถานีควบคุมจราจรทางอากาศจาก กสทช.
  3. คำแถลงการณ์ของเสนาธิการทหารบก เรื่อง สนามบินสำหรับจังหวัดขุขันธ์ และ สุรินทร์
  4. "สมศักดิ์" ควง 2 รมต.คมนาคมลงอีสานใต้ "ครูมานิตย์" ชงสนามบินสุรินทร์ แนะศรีสะเกษยื่นไทยวอเตอร์แพลน
  5. "ชาวสุรินทร์เฮ! R Airlines เริ่มบินจริง 1 พค.นี้ "ดอนเมือง-สุรินทร์" ค่าตั๋ว 999". ข่าวสด. 14 มีนาคม 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-10. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  6. กรมฝนหลวงและการบินเกษตรเปิดหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดสุรินทร์ เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดใกล้เคียง ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป
  7. "'กองกำลังสุนารี'ซ้อมแผนกู้ภัยทางอากาศ-เตรียมพร้อมรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน". mgronline.com. 2006-09-07.
  8. "Aedrome/Heliport VTUJ". aip.caat.or.th (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-03-12.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]