อำเภอพนมดงรัก
อำเภอพนมดงรัก | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Phanom Dong Rak |
คำขวัญ: ปราสาทเก่า ทิวเขางาม อ่างน้ำใส ใฝ่วัฒนธรรม | |
![]() แผนที่จังหวัดสุรินทร์ เน้นอำเภอพนมดงรัก | |
พิกัด: 14°26′44″N 103°18′16″E / 14.44556°N 103.30444°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | สุรินทร์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 318.0 ตร.กม. (122.8 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 37,932 คน |
• ความหนาแน่น | 119.28 คน/ตร.กม. (308.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 32140 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3214 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอพนมดงรัก หมู่ที่ 18 ตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ 32140 |
![]() |
พนมดงรัก เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอพนมดงรักตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอปราสาท
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอกาบเชิง
- ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดอุดรมีชัย (ประเทศกัมพูชา)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอบ้านกรวด (จังหวัดบุรีรัมย์)
ประวัติ[แก้]
ท้องที่อำเภอพนมดงรักเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอกาบเชิง ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอพนมดงรัก ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ปีเดียวกัน[1] และต่อมาเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอพนมดงรัก โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน[2]
โดยชื่อ "พนมดงรัก" มาจากเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติกั้นระหว่างไทยกับกัมพูชาและลาว โดยคำว่า "พนมดงรัก" มาจากภาษาเขมรคำว่า "พนมดองแร็ก" (ជួរភ្នំដងរែក) แปลว่า "ภูเขาไม้คาน"[3]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอพนมดงรักแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 ตำบล 55 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | บักได | (Bakdai) | 20 หมู่บ้าน | ||||||||
2. | โคกกลาง | (Khok Klang) | 11 หมู่บ้าน | ||||||||
3. | จีกแดก | (Chik Daek) | 12 หมู่บ้าน | ||||||||
4. | ตาเมียง | (Ta Miang) | 12 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอพนมดงรักประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่
- องค์การบริหารส่วนตำบลบักได ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบักไดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโคกกลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกกลางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลจีกแดก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจีกแดกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลตาเมียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาเมียงทั้งตำบล
เศรษฐกิจ[แก้]
- ภาคเกษตรกรรม ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรม พืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ยางพารา ข้าว อ้อย และมันสำปะหลัง
- วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ส่วนมากเป็นการลงทุนจำหน่ายวัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์ด้านการเกษตร
สถานศึกษา[แก้]
- ระดับมัธยมศึกษา
- โรงเรียนพนมดงรักวิทยา
- ระดับประถมศึกษา
- โรงเรียนบ้านรุน (ขยายโอกาส ม.1-6)
- โรงเรียนบ้านอำปึล (ขยายโอกาส ม.1-3)
- โรงเรียนบ้านตาเมียง (ขยายโอกาส ม.1-3)
- โรงเรียนบ้านหนองคันนา (ขยายโอกาส ม.1-3)
- โรงเรียนบ้านโคกกรม (ขยายโอกาส ม.1-3)
- โรงเรียนบ้านโคกกลาง (ขยายโอกาส ม.1-3)
- โรงเรียนบ้านสระแก้ว (ขยายโอกาส ม.1-3)
- โรงเรียนบ้านอุโลก
- โรงเรียนนิคมสร้างตนเอง ปราสาท4 (นิคมฯ4)
- โรงเรียนบ้านไทยสันติสุข
- โรงเรียนบ้านไทยนิยม
- โรงเรียนบ้านหนองจูบ
- โรงเรียนบ้านพนมดิน
- โรงเรียนบ้านจีกแดก
- โรงเรียนบ้านละเอาะ
- โรงเรียนบ้านตาลวก
- โรงเรียนบ้านศรีสวาย
- โรงเรียนบ้านโคกโบสถ์
- โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนโคกแสลง
การสาธารณสุข[แก้]
- โรงพยาบาล ขนาด 30 เตียง 1 แห่ง
- โรงพยาบาลพนมดงรักเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา
- สาธารณสุขอำเภอ 1 แห่ง
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 7 แห่ง
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาเมียง
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจีกแดก
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกกลาง
- สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี บ้านรุน จ.สุรินทร์
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอำปึล
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอุโลก
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองคันนา
สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]
- อุทยานประวัติศาสตร์กลุ่มปราสาทตาเมือน
- ปราสาทตาควาย
- อ่างเก็บน้ำห้วยเสม็ด
- อุทยานการศึกษาวัดเขาโต๊ะ
- เขื่อนห้วยศาลา
- สุดเขตประเทศไทย
- หมอกทิวเขาพนมดงรัก
- ทะเลโคกแสลง
เทศกาล[แก้]
- งานเยี่ยมเยือนตาเมือนเดือนเมษา โดยจัดขึ้นวันที่ 12 เมษายน ของทุกปี
- ประเพณีบุญบั้งไฟโคกกลาง จัดขึ้นทุกปี ประมาณต้นเดือนพฤษภาคม
- ของดีประจำอำเภอพนมดงรัก ช่วงเดือนมีนาคม
- งานเลี้ยงปู่ตา ช่วงเดือนเมษายน
- งายเยี่ยมเยือนปราสาทตาควาย
- งานฮีต12 คอง14
การละเล่นพื้นบ้าน[แก้]
- หมอลำ
กลุ่มชาติพันธุ์[แก้]
- ลาว (ไทยอีสาน)
- เขมร (บางส่วน)
- กูย (ส่วย บางส่วน หนองจูบ หนองคันนา โนนมะยาง ศรีสวาย หนองแคน สระแก้ว สายกุหลาบ)
สถาบันการเงิน[แก้]
ธนาคาร
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ATM
- ATM/ADM กรุงไทย
- กสิกรไทย
- กรุงเทพ
- ไทยพาณิชย์
- ออมสิน
- ธกส.
หน่วยงานราชการอื่น ๆ[แก้]
- ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนพนมดงรัก
- สถานีตำรวจภูธรพนมดงรัก
- สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอพนมดงรัก
- สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพนมดงรัก
- สำนักงานสัสดีพนมดงรัก
- สำนักงานเกษตรอำเภอพนมดงรัก
การเดินทาง[แก้]
อำเภอพนมดงรักมีทางหลวงแผ่นดินตัดผ่าน 2 สาย คือ ทางหลวงหมายเลข 224 จากเขตเทศบาลนครนครราชสีมาถึงบ้านหินโคน อำเภอกาบเชิง และทางหลวงหมายเลข 2375 จากพนมดิน-บักดอก อำเภอปราสาท เดินทางได้อย่างสะดวก
บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]
- ทัชชกร ยีรัมย์ (จา พนม)
- เฉลิมพล มาลาคำ
- ร็อคคงคย
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอพนมดงรัก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (พิเศษ 9 ง): 55. 22 มีนาคม 2538. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-01-26. สืบค้นเมื่อ 2008-06-26.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. 24 สิงหาคม 2550. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2008-06-26.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ หน้า ๑๑๒-๑๑๓. รัก...ไม่รัก โดย "สถาปนิกต่างดาว". อนุสาร อ.ส.ท.ปีที่ ๕๖ ฉบับที่ ๗: กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนตำบลจีกแดก เก็บถาวร 2011-07-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนตำบลตาเมียง