คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
Faculty of Science, UdonThani Rajabhat University | |
คติพจน์ | มุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพบัณฑิตสู่มาตรฐาน บูรณาการและพัฒนาองค์ความรู้ นำเทคโนโลยีสู่ชุมชน พัฒนาคนและท้องถิ่นอย่างยั่งยืน |
---|---|
สถาปนา | พ.ศ. 2518 |
คณบดี | นายอนุกูล อ่อนสวัสดิ์ |
ที่อยู่ | |
วารสาร | วารสารวิทยาศาสตร์ มร.อด. |
สี | เหลือง |
มาสคอต | อะตอม |
เว็บไซต์ | www.sci.udru.ac.th |
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัราชภัฏอุดรธานี (อังกฤษ: Faculty of Science, UdonThani Rajabhat University) เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นคณะวิชาที่จัดตั้งขึ้นพร้อมกับสถาบันที่ยังมีฐานะป็นวิทยาลัยครูอุดรธานีในอดีต ซึ่งถือว่าเป็นคณะที่เก่าแก่คณะหนึ่งของมหาวิทยาลัย มีชื่อเดิมว่า "คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" เพื่อการจัดการบริหารมหาวิทยาลัยให้ดียิ่งขึ้น จึงมีการแยกสาขาวิชาทางด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมออกไปจัดตั้งเป็นอีกหนึ่งคณะวิชา จึงมีการเปลี่ยนชื่อคณะเป็น "คณะวิทยาศาสตร์" นับแต่นั้นเป็นต้นมา
ประวัติ
[แก้]คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัราชภัฏอุดรธานี[1] เริ่มแรกก่อตั้งตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 ในชื่อ คณะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเปิดการสอนในระยะแรกในระดับ ปกศ.ชั้นสูง และปริญญาตรี (เฉพาะสาขาการศึกษา) ได้แก่ ภาควิชาเกษตรศาสตร์ ภาควิชาคณิตศาสตร์ ภาควิชาเคมี ภาควิชาชีววิทยา ภาควิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ ภาควิชา หัตถศึกษาและอุตสาหกรรมศิลป์ ภาควิชาสุขศึกษา และภาควิชาพลศึกษาและนันทนาการ
ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาวะทางเศรษฐกิจ มีประชาชนต้องการเข้าศึกษาในวิทยาลัยครูเป็นจำนวนมาก ประกอบด้วยนโยบายของรัฐบาลต้องการขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชน จึงมีโครงการให้คณะวิชาเปิดสอนสาขาอื่นที่ไม่ใช่วิชาชีพครูขึ้นเป็นครั้งแรก เรียกว่า"หลักสูตรเทคนิคการอาชีพ" โดยได้เปิดสอนในสาขา ก่อสร้าง ช่างยนต์ คหกรรม และเกษตร
ปี พ.ศ. 2527 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528 มีผลให้วิทยาลัยครูสามารถผลิตกำลังคนโปรแกรมวิชาชีพอื่นได้อย่างชัดเจน คณะวิชาวิทยาศาสตร์จึงได้เปิดสอนนักศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรีในสาขาวิทยาศาสตร์นอกเหนือจากโปรแกรมวิชาการศึกษา และได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารภายในบางส่วน ได้แก่ ภาควิชาคณิตศาสตร์เปลี่ยนเป็นภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ ภาควิชาสุขศึกษาเปลี่ยนเป็นภาควิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และให้ภาควิชาพลศึกษาและนันทนาการสังกัดในคณะวิชาครุศาสตร์แทน
ปี พ.ศ. 2530 คณะวิชาวิทยาศาสตร์ได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และได้จัดตั้งภาควิชาคอมพิวเตอร์ ทำการเปิดสอนหลักสูตรโปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ในระดับอนุปริญญา
ปี พ.ศ. 2536 คณะฯ ได้เปิดสอนโดยใช้หลักสูตรปริญญาตรีสาขาวิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรวิทยาลัยครูฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2536 เป็นครั้งแรก
ปี พ.ศ. 2538 กระทรวงศึกษาธิการได้มีการประกาศให้วิทยาลัยครูทั่วประเทศยกฐานะเป็น "สถาบันราชภัฏ" และให้ใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ จึงทำให้คณะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ปี พ.ศ. 2541 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารภายในคณะเป็นแบบโปรแกรมวิชา โดยแบ่งออกเป็น 17 โปรแกรมวิชา ได้แก่โปรแกรมวิชาฟิสิกส์ โปรแกรมวิชาเคมี โปรแกรมวิชาชีววิทยาประยุกต์ โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ โปรแกรมวิชาสถิติประยุกต์ โปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ โปรแกรมวิชา คหกรรมศาสตร์ โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ก่อสร้าง) โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม(อิเล็กทรอนิกส์) โปรแกรมวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีการเกษตร โปรแกรมวิชาพืชศาสตร์ โปรแกรมวิชาสัตวบาล โปรแกรมวิชาสัตวรักษ์ โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
ปี พ.ศ. 2548 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ได้จัดตั้งส่วนราชการภายในใหม่ทั้งหมดตามกฎกระทรวงศึกษาธิการ จึงทำให้มหาวิทยาลัยแบ่งออกเป็น 10 ส่วนราชการ โดยจัดตั้งส่วนราชการคณะวิทยาศาสตร์และคณะเทคโนโลยีแยกออกจากกัน จึงทำให้คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "คณะวิทยาศาสตร์" และเปิดทำการสอน คือ สาขาวิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาเคมี สาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สาขาวิชาสถิติประยุกต์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา สาขาวิชาสุขศึกษา[2]
ปัจจุบัน คณะวิทยาศาสตร์ มีสาขาวิชาที่เปิดสอน คือ สาขาวิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาเคมี สาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สาขาวิชาสถิติประยุกต์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา และสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ นอกจากหน้าทีการผลิตบัณฑิต มหาบัณฑิต แล้วคณะยังได้ศึกษา วิเคราะห์สภาพและการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ตลอดจนความต้องการของท้องถิ่นเพื่อนำผลมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาด้านต่าง ๆ ได้แก่ อาคารสถานที่ ห้องปฏิบัติการ บุคลากร ตลอดจนหลักสูตรการเรียนการสอนด้วย เพื่อให้สมดังคำปณิธาน "ราชภัฏ มหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น"
สัญลักษณ์
[แก้]- สัญลักษณ์ประจำคณะ
คือ ตราพระราชลัญกรในรัชกาลที่ 9 อันทรงคุณค่าพระราชทานให้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏล้อมรอบด้วยอะตอมหลากสี เพื่อแสดงถึงนักศึกษาหลากหลายที่มา สมกับคำว่า "คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน"
- สีประจำคณะ
ออกแบบสัญลักษณ์
[แก้]ว่าที่ร้อยเอกวัชภูมิ เพชรแสงใส
หลักสูตร
[แก้]หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี[3] | |||
---|---|---|---|
สาขาวิชา | ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
สาขาวิชาคณิตศาสตร์ | หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
|
- | - |
สาขาวิชาเคมี | หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
|
- | - |
สาขาวิชาชีววิทยา | หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
|
- | - |
สาขาวิชาฟิสิกส์ | หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
|
- | - |
สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ | หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
|
- | - |
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา | หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
|
- | - |
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม | หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
|
- | - |
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ | หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ส.บ.)
หลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต (พท.บ.)[1]
|
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
|
- |
คณบดี
[แก้]ทำเนียบคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี[4] | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รายนามคณบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง | ||||||||
1.นายอนุกูล อ่อนสวัสดิ์ | 2547-2558 | ||||||||
2.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เพียร สิงห์จานุสงค์ | 2558-2561 | ||||||||
3.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พัฒนาภรณ์ ชัยประเสริฐ | 2561-2563 | ||||||||
4.ดร.อภิรักษ์ ลอยแก้ว | ปัจจุบัน |
หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี และผู้รักษาการแทนคณบดี เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น
บุคคลที่มีชื่อเสียง
[แก้]ดูเพิ่ม รายนามบุคคลที่มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี