ท่าอากาศยานบุรีรัมย์

พิกัด: 15°13′46″N 103°15′12″E / 15.22944°N 103.25333°E / 15.22944; 103.25333
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Buriram Airport)
ท่าอากาศยานนานาชาติบุรีรัมย์
อาคารผู้โดยสารหลังปัจจุบัน
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ
ผู้ดำเนินงานกรมท่าอากาศยาน
พื้นที่บริการจังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์
สถานที่ตั้งจังหวัดบุรีรัมย์
วันที่เปิดใช้งาน14 ตุลาคม พ.ศ. 2539
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล179.8 เมตร / 590 ฟุต
พิกัด15°13′46″N 103°15′12″E / 15.22944°N 103.25333°E / 15.22944; 103.25333
เว็บไซต์https://minisite.airports.go.th/buriram/home
แผนที่
ภาพแผนที่ประเทศไทย ซึ่งบอกสถานที่ของท่าอากาศยาน
ภาพแผนที่ประเทศไทย ซึ่งบอกสถานที่ของท่าอากาศยาน
BFV
ตำแหน่งของท่าอากาศยานในประเทศไทย
ภาพแผนที่ประเทศไทย ซึ่งบอกสถานที่ของท่าอากาศยาน
ภาพแผนที่ประเทศไทย ซึ่งบอกสถานที่ของท่าอากาศยาน
BFV
BFV (ประเทศไทย)
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
04/22 2,100 6,890 แอสฟอลต์คอนกรีต
สถิติ (2566)
ผู้โดยสาร252,246
เที่ยวบิน1,942
แหล่งข้อมูล: http://www.airports.go.th

ท่าอากาศยานนานาชาติบุรีรัมย์ (IATA: BFVICAO: VTUO) ตั้งอยู่ที่ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ห่างจากเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ ประมาณ 34 กิโลเมตร เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[1] ก่อสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2539 และในปี พ.ศ. 2558 เป็นปีแรกที่มีสายการบินให้บริการถึง 2 สายการบินพร้อมกัน[2] มีทางวิ่งที่สามารถรองรับเครื่องบินขนาด แอร์บัส เอ320 ได้ โดยมีอาคารผู้โดยสารขนาด 4,148 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 550 คนต่อชั่วโมง[3] และมีบริการรถเช่า[4]

ประวัติ[แก้]

ก่อตั้งท่าอากาศยาน[แก้]

ปี พ.ศ. 2528 อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เสนอให้ก่อสร้างท่าอากาศยานจังหวัดบุรีรัมย์ในที่ดินสาธารณประโยชน์ 3 แปลง แต่ที่ดินทั้ง 3 แปลงไม่เหมาะสมต่อการก่อสร้าง กรมการบินพาณิชย์ (กรมท่าอากาศยาน ในปัจจุบัน) ได้แจ้งจังหวัดให้จัดหาที่ก่อสร้างท่าอากาศยานใหม่ จังหวัดจึงได้เสนอที่ดินสาธารณประโยชน์ โคกเสม็ด และโคกพริก ในพื้นที่อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีความเหมาะสมในการก่อสร้างท่าอากาศยาน ดังนั้น กรมการบินพาณิชย์ จึงวางแผนการก่อสร้างและทำการสำรวจความเป็นไปได้เบื้องต้น ปรากฏว่าที่ดินบริเวณดังกล่าว มีเนื้อที่ไม่เพียงพอ ต้องโยกย้ายราษฎรออกจากพื้นที่ และราษฎรในพื้นที่คัดค้านไม่ยอมให้สร้างท่าอากาศยานในพื้นที่ดังกล่าว

เดือนธันวาคม พ.ศ. 2532 ทางจังหวัดจึงได้เสนอที่ดินบริเวณป่าโคกโจด อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ เนื้อที่ประมาณ 3,750 ไร่ อยู่ห่างจากอำเภอเมืองบุรีรัมย์ประมาณ 30 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอเมืองสุรินทร์ประมาณ 75 กิโลเมตร ให้กรมการบินพาณิชย์ก่อสร้างท่าอากาศยานบุรีรัมย์

ในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 คณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างท่าอากาศยาน โดยให้มีศักยภาพรองรับเครื่องบินขนาด 150 ที่นั่ง ขึ้น – ลงได้ และคาดว่าผลที่ได้รับจะทำให้พื้นที่ บริการของท่าอากาศยานบุรีรัมย์ ครอบคลุมได้ทั่วบริเวณอีสานใต้

ปี พ.ศ. 2536 – 2539 ท่าอากาศยานบุรีรัมย์จึงได้ก่อกำเนิดขึ้น ซึ่งกรมการบินพาณิชย์ได้จัดสรรงบประมาณปี พ.ศ. 2536 เพื่อก่อสร้าง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 376.20 ล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2539 และได้รับการประกาศให้เป็นท่าอากาศยานอนุญาตเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2539[2]

ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558 เป็นครั้งแรกที่มีสายการบิน 2 สายการบินเปิดให้บริการพร้อมกัน[5] ทำให้มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นถึง 575.29%

การจะให้บริษัทท่าอากาศยานไทยเข้าบริหาร[แก้]

กระทรวงคมนาคมได้มีแผนการที่จะให้ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เข้าบริหารท่าอากาศยานบุรีรัมย์ ในลักษณะการบริหารสัญญาร่วม หรือการจ้าง บมจ. ท่าอากาศยานไทย บริหารจัดการ โดยกรมท่าอากาศยานยังคงความเป็นเจ้าของท่าอากาศยาน[6][7]

ในเดือนมีนาคม 2565 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เปิดเผยว่ากระทรวงคมนาคมจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เข้าดูแลและบริหารจัดการท่าอากาศยานบุรีรัมย์แทนกรมท่าอากาศยาน[8]

อาคารสถานที่[แก้]

ภาพจากแหล่งข้อมูลภายนอก
รูปภาพภายในอาคารผู้โดยสาร ท่าอากาศยานบุรีรัมย์

อาคารผู้โดยสาร[แก้]

ที่นั่งผู้โดยสารขาออกภายในอาคารผู้โดยสารหลังปัจจุบัน
อาคารผู้โดยสารหลังใหม่ อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง

ท่าอากาศยานบุรีรัมย์มีอาคารผู้โดยสารปัจจุบันทั้งหมด 1 อาคาร ซึ่งเป็นอาคารชั้นเดียว โดยพื้นที่โถงตรงกลางมีความสูงเท่ากับอาคาร 2 ชั้น ขนาดพื้นที่ประมาณ 4,148 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 550 คนในชั่วโมงคับคั่ง[3] และสามารถรองรับเที่ยวบินได้สูงสุดวันละ 16 เที่ยวบิน ซึ่งสามารถจอดเครื่องบินขนาดโบอิง 737 / แอร์บัส เอ320 ได้ 6 ลำพร้อมกัน บนลานจอด ขนาดกว้าง 90 เมตร ยาว 365 เมตร

ทางวิ่ง (รันเวย์) และทางขับ (แท็กซี่เวย์)[แก้]

หอบังคับการบิน

ทางวิ่งใช้พื้นผิวแอสฟัลติกคอนกรีต ขนาดกว้าง 45 เมตร ยาว 2,100 เมตร พร้อมไหล่ทางวิ่งข้างละ 7.5 เมตร สามารถรองรับอากาศยานสูงสุดได้คือ โบอิง 737 และ แอร์บัส เอ320 พร้อมพื้นที่ปลอดภัยปลายทางวิ่ง (blastpads) ขนาดกว้างข้างละ 60 เมตร และความยาวข้างละ 450 เมตร[3]

ท่าอากาศยานบุรีรัมย์มีทางขับจำนวน 2 เส้น ขนาดความกว้างเส้นละ 23 เมตร และความยาวเส้นละ 240 เมตร[3]

รายชื่อสายการบิน[แก้]

เครื่องบินของสายการบินไทยแอร์เอเชียที่ท่าอากาศยานบุรีรัมย์
สายการบิน จุดหมายปลายทาง[9] หมายเหตุ
ไทยแอร์เอเชีย กรุงเทพฯ–ดอนเมือง ภายในประเทศ
นกแอร์ กรุงเทพฯ–ดอนเมือง ภายในประเทศ

สายการบินในอดีต[แก้]

สายการบิน จุดหมายปลายทาง[2] ปีที่ให้บริการ หมายเหตุ
การบินไทย กรุงเทพฯ–ดอนเมือง พ.ศ. 2539-2545 ภายในประเทศ
ภูเก็ตแอร์ กรุงเทพฯ–ดอนเมือง พ.ศ. 2545-2548 ภายในประเทศ
พีบีแอร์ กรุงเทพฯ–ดอนเมือง พ.ศ. 2548-2549 ภายในประเทศ
กรุงเทพฯ–สุวรรณภูมิ พ.ศ. 2549-2552

สถิติ[แก้]

ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศ[แก้]

ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศในแต่ละปีปฏิทิน[10]
ปี (พ.ศ.) ผู้โดยสาร ความเปลี่ยนแปลง เที่ยวบิน คาร์โก้ (หน่วยตัน)
2544 33,964 765 22.1
2545 24,972 ลดลง 26.48% 788 6.62
2546 22,390 ลดลง 10.34% 712 5.10
2547 30,600 เพิ่มขึ้น 36.67% 753 2.21
2548 22,321 ลดลง 27.06% 541 1.41
2549 8,643 ลดลง 61.28% 348 0.24
2550 11,057 เพิ่มขึ้น 27.93% 424 0.14
2551 8,407 ลดลง 23.97% 318 0.02
2552 7,479 ลดลง 11.04% 298 0.00
2553 7,410 ลดลง 0.92% 240 0.00
2554 8,207 เพิ่มขึ้น 10.76% 427 0.00
2555 4,575 ลดลง 44.25% 318 0.00
2556 11,393 เพิ่มขึ้น 149.03% 501 0.00
2557 17,431 เพิ่มขึ้น 53.00% 408 0.00
2558 117,710 เพิ่มขึ้น 575.29% 1,508 0.00
2559 197,988 เพิ่มขึ้น 68.20% 2,258 0.00
2560 220,856 เพิ่มขึ้น 11.55% 2,609 0.00
2561 340,692 เพิ่มขึ้น 54.26% 3,197 0.00
2562 355,497 เพิ่มขึ้น 4.35% 3,461 0.00
2563 180,996 ลดลง 49.09% 2,404 0.00
2564 42,868 ลดลง 36.80% 2,317 0.00
2565 196,647 เพิ่มขึ้น 57.64% 2,908 0.00
2566 252,246 เพิ่มขึ้น 70.40% 1,942 0.00

การเดินทางสู่ท่าอากาศยาน[แก้]

ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 219 โดยมีทางเข้าไปจากทางหลวงประมาณ 500 เมตร ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติโคกโจด[11] โดยมีลานจอดรถยนต์กลางแจ้งหน้าอาคารผู้โดยสาร ซึ่งมีสามารถจุรถได้ประมาณ 100 คัน[3]และที่ท่าอากาศยานมีบริการรถเช่าอยู่หลายบริษัท[4]

ที่ท่าอากาศยานมีบริการรถตู้รับ-ส่ง โดยเป็นบริการที่ไม่ใช่ของท่าอากาศยาน ซึ่งเป็นเส้นทางระหว่าง สถานีขนส่งจังหวัดบุรีรัมย์ - ท่าอากาศยาน ซึ่งรถตู้จะมาส่งถึงตัวอาคารผู้โดยสาร[12]

อ้างอิง[แก้]

  1. "รายชื่อท่าอากาศยานของกรมท่าอากาศยาน". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 "ประวัติท่าอากาศยานบุรีรัมย์ เว็บไซต์กรมท่าอากาศยาน". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "ลักษณะทางกายภาพท่าอากาศยานบุรีรัมย์". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 "รายชื่อบริษัทรถเช่าที่ท่าอากาศยานบุรีรัมย์". 15 สิงหาคม 2561. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-31. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "สนามบินพาณิชย์จังหวัดบุรีรัมย์ เส้นทางคมทางเลือกแห่งใหม่ของนักท่องเที่ยว". 21 มกราคม 2559. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "เบื้องลึกเด้งอธิบดีทย. เซ่นการเมืองขวางทอท.ฮุบสนามบิน". ฐานเศรษฐกิจ. 8 กันยายน 2562. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "คมนาคม เคาะให้ ทอท. เช่าบริหาร 3 สนามบิน ของ ทย. ระบุโอนให้ไม่ได้ไม่มีกฎหมายรองรับ". ข่าวสด. 14 ธันวาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. ""ศักดิ์สยาม" เปิดไทม์ไลน์โอนย้าย 3 สนามบิน จ่อเสนอ ครม. เมษายนนี้". ไทยรัฐ. 21 มีนาคม 2565. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "ตารางการบินท่าอากาศยานบุรีรัมย์". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "ข้อมูลสถิติท่าอากาศยานสังกัดกรมท่าอากาศยาน". กรมท่าอากาศยาน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "ที่ตั้งและพิกัดทางภูมิศาสตร์". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "วิธีเดินทางจากสนามบินบุรีรัมย์เข้าเมืองแบบประหยัด ด้วยรถตู้ประจำทาง". 2 พฤษภาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)