อักษรรูนส์ ฮังการี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อักษรฮังการีเก่า
ชนิดอักษร
ภาษาพูดฮังการี
ช่วงยุครับรองในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ใช้งานน้อยจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟื้นฟูในคริสต์ศตวรรษที่ 20
ระบบแม่
เตอร์กิกเก่า
  • อักษรฮังการีเก่า
ช่วงยูนิโคดU+10C80–U+10CFF
ISO 15924Hung
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทศาสตร์สัทอักษรสากล หากไม่มีการสนับสนุนเร็นเดอร์ที่เหมาะสม คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถาม กล่อง หรือสัญลักษณ์อื่นแทนอักขระยูนิโค้ด

อักษรฮังการีเก่า หรือ อักษรรูนส์ฮังการี (ฮังการี: Székely-magyar rovás หรือ rovásírás) เป็นระบบการเขียนอักษรในภาษาฮังการี ภาษาฮังการีสมัยใหม่เขียนด้วยชุดตัวอักษรฮังการีทีมีฐานจากอักษรละติน ส่วนคำว่า "เก่า" สื่อถึงลำดับความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของอักษรเมื่อเปรียบเทียบกับอักษรฐานละติน[1] อักษรฮังการีเก่าเป็นอักษรรุ่นลูกของอักษรเตอร์กิกเก่า [ต้องการอ้างอิง]

ชาวฮังการีเริ่มตั้งถิ่นฐานในแอ่งคาร์เพเทียนเมื่อ ค.ศ. 895 หลังจัดตั้งราชอาณาจักรฮังการี ก็มีการยกเลิกใช้อักษรบางส่วนและใช้อักษรละตินแทน

ชื่อภาษาอังกฤษในมาตรฐาน ISO 15924 คือ Old Hungarian (Hungarian Runic)[2][3]

ชื่อ[แก้]

ในภาษาฮังการีสมัยใหม่ อักษรนี้มีชื่อทางการว่า Székely rovásírás ('อักษร Szekler')[4] โดยทั่วไป ระบบการเขียนนี้มีชื่อว่า rovásírás, székely rovásírás[4] และ székely-magyar írás (หรือสั้น ๆ ว่า rovás 'รอยบาก, รอย')[5]

อักษร[แก้]

อักษรรูนนี้มี 42 ตัว เนื่องจากเป็นอักษรเตอร์กิกเก่า ทำให้บางพยัญชนะมีสองรูป รูปหนึ่งใช้ร่วมกับสระหลัง (a, á, o, ó, u, ú) ส่วนอีกรูปหนึ่งใช้กับสระหน้า (e, é, i, í, ö, ő, ü, ű) ชื่อพยัญชนะต้องออกเสียงพร้อมสระ ในชุดพยัญชนะเก่า ลำดับพยัญชนะ-สระอยู่ตรงข้ามกับแบบสมัยใหม่ (ep แทน ) ชุดตัวอักษรนี้ๆม่มีอักษรสำหรับหน่วยเสียง dz และ dzs ในภาษาฮังการีสมัยใหม่ และไม่มีอักษรสำหรับ q, w, x และ y ในอักษรละติน

อักษร ชื่อ หน่วยเสียง (สัทอักษรสากล) ฮังการีเก่า (ภาพ) ฮังการีเก่า (ยูนิโคด)
A a /ɒ/ 𐲀 𐳀
Á á /aː/ 𐲁 𐳁
B eb /b/ 𐲂 𐳂
C ec /ts/ 𐲄 𐳄
Cs ecs /tʃ/ 𐲆 𐳆
D ed /d/ 𐲇 𐳇
(Dz) dzé /dz/ ตัวแฝดของ 𐲇‎ กับ 𐲯
(Dzs) dzsé /dʒ/ ตัวแฝดของ 𐲇‎ กับ 𐲰
E e /ɛ/ 𐲉 𐳉
É é /eː/ 𐲋 𐳋
F ef /f/ 𐲌 𐳌
G eg /ɡ/ 𐲍 𐳍
Gy egy /ɟ/ 𐲎 𐳎
H eh /h/ 𐲏 𐳏
I i /i/ 𐲐 𐳐
Í í /iː/ 𐲑 𐳑
J ej /j/ 𐲒 𐳒
K ek /k/ 𐲓 𐳓
K ak /k/ 𐲔 𐳔
L el /l/ 𐲖 𐳖
Ly elly, el-ipszilon /j/ 𐲗 𐳗
M em /m/ 𐲘 𐳘
N en /n/ 𐲙 𐳙
Ny eny /ɲ/ 𐲚 𐳚
O o /o/ 𐲛 𐳛
Ó ó /oː/ 𐲜 𐳜
Ö ö /ø/ 𐲝 𐳝 𐲞 𐳞
Ő ő /øː/ 𐲟 𐳟
P ep /p/ 𐲠 𐳠
(Q) eq (/kv/) ตัวแฝดของ 𐲓‎ กับ 𐲮
R er /r/ 𐲢 𐳢
S es /ʃ/ 𐲤 𐳤
Sz esz /s/ 𐲥 𐳥
T et /t/ 𐲦 𐳦
Ty ety /c/ 𐲨 𐳨
U u /u/ 𐲪 𐳪
Ú ú /uː/ 𐲫 𐳫
Ü ü /y/ 𐲬 𐳬
Ű ű /yː/ 𐲭 𐳭
V ev /v/ 𐲮 𐳮
(W) dupla vé /v/ ตัวแฝดของ 𐲮‎ กับ 𐲮
(X) iksz (/ks/) ตัวแฝดของ 𐲓‎ กับ 𐲥
(Y) ipszilon /i/ ~ /j/ ตัวแฝดของ 𐲐‎ กับ 𐲒
Z ez /z/ 𐲯 𐳯
Zs ezs /ʒ/ 𐲰 𐳰

อักษรรูนฮังการีเก่ายังมีอักษรรูนที่ไม่ใช่อักษร แต่เป็นสัญลักษณ์ต่างหาก บางข้อมูลระบุเป็น "capita dictionum" (น่าจะเป็นรูปสะกดผิดจาก capita dicarum[6]) ตัวอย่างที่พบได้ทั่วไป มีดังนี้:

  • TPRUS:
  • ENT: 𐲧 𐳧
  • TPRU:
  • NAP:
  • EMP: 𐲡 𐳡
  • UNK: 𐲕 𐳕
  • US: 𐲲 𐳲
  • AMB: 𐲃 𐳃

ตัวเลข[แก้]

ตัวเลขฮังการี
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 50 100 500 1000
𐳺 𐳺𐳺 𐳺𐳺𐳺 𐳺𐳺𐳺𐳺 𐳻 𐳻𐳺 𐳻𐳺𐳺 𐳻𐳺𐳺𐳺 𐳻𐳺𐳺𐳺𐳺 𐳼 𐳽 𐳾 ̲𐳽 𐳿

ตัวอย่างข้อความ[แก้]

ข้อความจาก Csikszentmárton, ค.ศ. 1501
ข้อความจาก Csikszentmárton, ค.ศ. 1501


ข้อความจาก Csíkszentmárton, ค.ศ. 1501 อักษรรูนที่มีเส้นใต้เดิมเขียนเป็นตัวแฝด

ถอดอักขระในยูนิโคด: 𐲪𐲢𐲙𐲔⁝𐲥𐲬𐲖𐲦𐲤𐲦𐲬𐲖⁝𐲌𐲛𐲍𐲮𐲀𐲙⁝𐲐𐲢𐲙𐲔⁝𐲯𐲢𐲞𐲦 ⁝𐲥𐲀𐲯𐲎⁝𐲥𐲦𐲙𐲇𐲞𐲂𐲉⁝𐲘𐲀𐲨𐲤⁝𐲒𐲀𐲙𐲛𐲤⁝𐲤𐲨𐲦𐲙⁝𐲓𐲛𐲮𐲀𐲆⁝𐲆𐲐𐲙𐲀𐲖𐲦𐲔⁝𐲘𐲀𐲨𐲀𐲤𐲘𐲤𐲦𐲢⁝𐲍𐲢𐲍𐲗𐲘𐲤𐲦𐲢𐲆𐲐𐲙𐲀𐲖𐲦𐲀𐲔 𐲍·𐲐𐲒·𐲀·𐲤·𐲐·𐲗·𐲗·𐲖𐲦·𐲀·

ตีความในภาษาฮังการีเก่า : "ÚRNaK SZÜLeTéSéTÜL FOGVÁN ÍRNaK eZeRÖTSZÁZeGY eSZTeNDŐBE MÁTYáS JÁNOS eSTYTáN KOVÁCS CSINÁLTáK MÁTYáSMeSTeR GeRGeLYMeSTeRCSINÁLTÁK G IJ A aS I LY LY LT A" (อักษรนี้ในจารึกเขียนด้วยอักษรรูนแบบตัวพิมพ์ใหญ่)

ตีความในภาษาฮังการีสมัยใหม่: "(Ezt) az Úr születése utáni 1501. évben írták. Mátyás, János, István kovácsok csinálták. Mátyás mester (és) Gergely mester csinálták gijas ily ly lta"

แปลภาษาอังกฤษ: "(This) was written in the 1501st year of our Lord. The smiths Matthias, John (and) Stephen did (this). Master Matthias (and) Master Gregory did (ตีความไม่ได้)"

อ้างอิง[แก้]

  1. "Consolidated proposal for encoding the Old Hungarian script in the UCS" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-31.
  2. "ISO 15924/RA Notice of Changes". ISO 15924. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-30.
  3. Code request for the Rovas script in ISO 15924 (2012-10-20)[ลิงก์เสีย]
  4. 4.0 4.1 ไม่พบไฟล์เสียง "Szekely rovasiras.ogg"
  5. by the public. From the verb 'to carve', 'to score' since the letters were usually carved on wood or sticks.
  6. "Rovásírás ROVÁSÍRÁS Csudabogarak". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-28. สืบค้นเมื่อ 2017-09-24.

ข้อมูล[แก้]

อังกฤษ[แก้]

  • Gábor Hosszú (2011): Heritage of Scribes. The Relation of Rovas Scripts to Eurasian Writing Systems. First edition. Budapest: Rovas Foundation, ISBN 978-963-88437-4-6, fully available from Google Books
  • Edward D. Rockstein: "The Mystery of the Székely Runes", Epigraphic Society Occasional Papers, Vol. 19, 1990, pp. 176–183

ฮังการี[แก้]

  • Új Magyar Lexikon (New Hungarian Encyclopaedia) – Akadémiai Kiadó, Budapest, 1962 (Volume 5) ISBN 963-05-2808-8
  • Gyula Sebestyén: A magyar rovásírás hiteles emlékei, Budapest, 1915

ละติน[แก้]

  • J. Thelegdi: Rudimenta priscae Hunnorum linguae brevibus quaestionibus et responsionibus comprehensa, Batavia, 1598

แหล่งข้อมูอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Old Hungarian script