ชุดตัวอักษรซอกเดีย
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก อักษรซอกเดีย)
ชุดตัวอักษรซอกเดีย | |
---|---|
ชนิด | |
ช่วงยุค | ยุคโบราณตอนปลาย |
ทิศทาง | Vertical or horizontal, บนลงล่าง |
ภาษาพูด | ภาษาซอกเดีย |
อักษรที่เกี่ยวข้อง | |
ระบบแม่ | |
ระบบลูก | อักษรมองโกเลีย อักษรออร์คอน อักษรแมนจู อักษรอุยกูร์ |
ชุดตัวอักษรซอกเดีย พัฒนามาจากชุดตัวอักษรแอราเมอิก เริ่มใช้ครั้งแรกราว พ.ศ. 900 และใช้อย่างแพร่หลายเมื่อประมาณ พ.ศ. 1500 รูปแบบแรกของอักษร ใช้เขียนจดหมายและจารึก รูปแบบตัวโค้งของอักษรนี้ ใช้ในเอกสารทางวิชาการ เอกสารของราชสำนัก และคัมภีร์ทางพุทธศาสนา อักษรนี้เลิกใช้เมื่อราว พ.ศ. 1800 เขียนในแนวนอนจากขวาไปซ้าย หรือ ซ้ายไปขวาในแนวตั้ง รูปแบบดั้งเดิมไม่มีการเปลี่ยนรูปอักษรเมื่อเชื่อมต่อ แต่จะพบการเชื่อมต่อในอักษรยุคหลัง
ใช้เขียน
[แก้]- ภาษาซอกเดีย ซึ่งเป็นภาษากลุ่มอิหร่านกลาง ที่ตายแล้ว เคยใช้พูดในบริเวณซอกเดียนา ซึ่งได้แก่ ซินเจียง (ประเทศจีน) อุซเบกิสถาน ทาจิกิสถาน และปากีสถาน คาดว่าภาษายักโนบี ที่ใช้พูดในทาจิกิสถานปัจจุบัน เป็นรูปแบบที่สืบทอดมาจากภาษาซอกเดีย
อ้างอิง
[แก้]- รูปและการออกเสียงของอักษรซอกเดีย (อังกฤษ)