ภาษายักโนบี
ภาษายักโนบี | |
---|---|
yaɣnobī́ zivók, йағнобӣ зивок ~ яғнобӣ зивок | |
ประเทศที่มีการพูด | ทาจิกิสถาน |
ภูมิภาค | เดิมมาจากหุบเขายักนอบ ในคริสต์ทศวรรษ 1970 ย้ายไปที่ Zafarobod จากนั้นในคริสต์ทศวรรษ 1990 ผู้พูดบางส่วนกลับมาที่ยักนอบ |
ชาติพันธุ์ | ชาวยักโนบี |
จำนวนผู้พูด | 12,000 คน[ต้องการอ้างอิง] (2004)[1] |
ตระกูลภาษา | |
รูปแบบก่อนหน้า | |
ภาษาถิ่น | ยักโนบีตะวันออก
ยักโนบีตะวันตก
|
ระบบการเขียน | อักษรซีริลิลก อักษรละติน อักษรเปอร์เซีย-อาหรับ |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | yai |
Linguasphere | 58-ABC-a |
ภาษายักโนบี[4] เป็นภาษากลุ่มอิหร่านตะวันออก ใช้พูดโดยชาวยักโนบีในหุบเขาทางเหนือของแม่น้ำยักนอบในเขตซาราฟซาน ประเทศทาจิกิสถาน จัดว่าเป็นลูกหลานของภาษาซอกเดีย.[5] มีผู้พูดราว 3,000 - 6,000 คน ส่วนใหญ่พูดภาษาทาจิกได้ด้วย และบางครั้งในวรรณคดีวิชาการเรียกเป็น ภาษาซอกเดียใหม่[6]
ภาษายักโนบีมีสองสำเนียงคือสำเนียงตะวันตกและตะวันออก โดยมากต่างกันทางด้านสัทวิทยา เช่นเสียงเดิม*θ เป็น t ในสำเนียงตะวันตกและเป็น s ในสำเนียงตะวันออก เช่น met - mes (วัน; มาจากภาษาซอกเดีย mēθ <myθ>) และ ay ในสำเนียงตะวันตกเป็น e ในสำเนียงตะวันออกเช่น wayš - weš (หญ้า;จากภาษาซอกเดีย wayš หรือ wēš <wyš>)
รากศัพท์
[แก้]ความรู้ในปัจจุบันเกี่ยวกับรากศัพท์ในภาษายักโนบีมาจากพจนานุกรมภาษายักโนบี-รัสเซียและไวยากรณ์ภาษายักโนบี งานชิ้นล่าสุดคือพจนานุกรมภาษายักโนบี-ทาจิก ในภาษายักโนบีปัจจุบัน รากศัพท์มาจากภาษาทาจิกถึง 60% ที่เหลือมาจากกลุ่มภาษาเตอร์กิก (5% มาจากภาษาอุซเบก) และภาษารัสเซีย 2% หนึ่งในสามของรากศัพท์มาจากกลุ่มภาษาอิหร่านตะวันออก และสามารถเปรียบเทียบได้ง่ายกับศัพท์จากภาษาซอกเดีย ภาษาออสเซเตีย กลุ่มภาษาปามีร์หรือภาษาปาทาน
การเขียน
[แก้]ภาษายักโนบีไม่มีการเขียนจนถึง พ.ศ. 2533[7] แต่ Andreyev รายงานว่า มีมุลลาฮ์ยักโนบีบางส่วนใช้อักษรอาหรับในช่วงก่อน พ.ศ. 2471 โดยหลักจะใช้เมื่อพวกเขาจำเป็นต้องซ่อนข้อมูลสำคัญจากชาวทาจิก[8] ในปัจจุบันเขียนด้วยอักษรละตินดัดแปลง ดังนี้
a (á), ā (ā́), b, č, d, e (é), f, g, ɣ, h, ḥ, i (í), ī (ī́), ǰ, k, q, l, m (m̃), n (ñ), o (ó), p, r, s, š, t, u (ú), ū (ū́), ʏ (ʏ́), v, w (u̯), x, x̊, y, z, ž, ع
TITUS ถอดอักษรได้ดังนี้: a (á), b, č, d, e (é), ĕ (ĕ́), ẹ (ẹ́), ẹ̆ (ẹ̆́), ə (ə́), f, g, ɣ, h, x̣, i (í), ĭ (ĭ́), ī (ī́), ǰ, k, q, l, m (m̃), n (ñ), o (ó), ọ (ọ́), p, r, s, š, t, u (ú), ŭ (ŭ́), ı̥ (í̥), v, u̯, x, x̊, y, z, ž, ع
นอกจากนั้น Sayfiddīn Mīrzozoda จากสถาบันวิทยาศาสตร์ทาจิกได้ดัดแปลงอักษรซีริลลิกสำหรับภาษาทาจิกมาเขียนภาษายักโนบีแต่ไม่เหมาะสมเพราะไม่แยกสระเสียงสั้นและสระเสียงยาว และไม่บอกการเน้นเสียง
А а (a), Б б (b), В в (v), Ԝ ԝ (w), Г г (g), Ғ ғ (ɣ), Д д (d), Е е (e/ye), Ё ё (yo), Ж ж (ž), З з (z), И и (i, ī), Ӣ ӣ (ī), й (y), К к (k), Қ қ (q) Л л (l), М м (m), Н н (n), О о (o), П п (p), Р р (r), С с (s), Т т (t), У у (u, ū, ʏ), Ӯ ӯ (ū, ʏ), Ф ф (f), Х х (x), Хԝ хԝ (x̊), Ҳ ҳ (h, ḥ), Ч ч (č), Ҷ ҷ (ǰ), Ш ш (š), Ъ ъ (ع), Э э (e), Ю ю (yu, yū, yʏ), Я я (ya)
อักษรซีริลลิก
[แก้]ชุดตัวอักษรยักโนบีเหมือนกับอักษรทาจิก โดยเพิ่มเพียงตัว Ԝ
А а | Б б | В в | Ԝ ԝ | Г г | Ғ ғ |
Д д | Е е | Ё ё | Ж ж | З з | И и |
Ӣ ӣ | Й й | К к | Қ қ | Л л | М м |
Н н | О о | П п | Р р | С с | Т т |
У у | Ӯ ӯ | Ф ф | Х х | Ҳ ҳ | Ч ч |
Ҷ ҷ | Ш ш | Ъ ъ | Э э | Ю ю | Я я |
สัทวิทยา
[แก้]ภาษายักโนบีมีเสียงสระ 8 เสียง เป็นสระเสียงสั้น 3 เสียง สระเสียงยาว 5 เสียง และมีเสียงพยัญชนะ 27 เสียง
ข้อความ
[แก้]อักษรละติน | Fálɣar-at Yáɣnob asosī́ láfz-šint ī-x gumū́n, néki áxtit toǰīkī́-pi wó(v)ošt, mox yaɣnobī́-pi. 'Mʏ́štif' wó(v)omišt, áxtit 'Muždív' wó(v)ošt. |
---|---|
อักษรซีริลลิก | Фалғарат Яғноб асосӣ лафзшинт ӣх гумун, неки ахтит тоҷикипӣ ԝоошт, мох яғнобипӣ. 'Мӯштиф' ԝоомишт, ахтит 'Муждив' ԝоошт. |
สัทอักษรสากล | [ˈfalʁɑratʰ ˈjɑʁnɔˑb asɔˑˈsiː ˈlafzʃʲɪntʰ ˈiːχ ɡʊˈmoːn ˈneːcʰe ˈɑχtʰɪtʰ tʰɔˑdʒʲiˑˈcʰiːpʰe ˈβ̞oːˀɔˑʃʲtʰ moːʁ jɑʁnɔˑˈbiːpʰe ˈmyːʃʲtʰɪf ˈβ̞oːˀɔˑmɪʃʲtʰ ˈɑχtʰɪtʰ mʊʒʲˈdɪv ˈβ̞oːˀɔˑʃʲtʰ] |
แปลภาษาอังกฤษ | In Falghar and in Yaghnob, it is certainly one basic language, but they speak Tajik and we speak Yaghnobi. We say 'Müštif', they say 'Muždiv'. |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ภาษายักโนบี ที่ Ethnologue (23rd ed., 2020)
- ↑ Gernot Windfuhr, 2009, "Dialectology and Topics", The Iranian Languages, Routledge
- ↑ Paul Bergne (15 June 2007). The Birth of Tajikistan: National Identity and the Origins of the Republic. I.B.Tauris. pp. 6–. ISBN 978-1-84511-283-7.
- ↑ บางครั้งเขียนเป็น Yaghnabi, Yagnobi หรือ Yagnabi; – yaɣnobī́ zivók (ในภาษาทาจิกเขียนด้วยอักษรซีริลลิก яғнобӣ зивок [jɑʁnɔːˈbiː zɪ̆ˈvoːkʰ]; รัสเซีย: ягнобский язык, อักษรโรมัน: jagnobskij jazyk, ทาจิก забони яғнобӣ zabon-i yaɣnobî; เปอร์เซีย: زبان یغنابى zæbɑ̄n-e yæɣnɑ̄bī
- ↑ Bielmeier. R. Yaghnobi in Encyclopedia Iranica [1] เก็บถาวร 2009-09-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Bielmeier. R. Yaghnobi in Encyclopedia Iranica
- ↑ The Cyrillic Tajik alphabet-based script was invented by Sayfiddīn Mīrzozoda in the 1990s.
- ↑ М. С. Андреев, Материалы по этнографии Ягноба, Душанбе (Дониш) 1970, pp. 38–39