ยุทธการที่เกาะรามรี

พิกัด: 19°06′00″N 93°48′00″E / 19.10000°N 93.80000°E / 19.10000; 93.80000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการที่เกาะรามรี
ส่วนหนึ่งของ การทัพพม่า

กองทหารอังกฤษในเรือระบายพลขณะขึ้นฝั่งที่เกาะรามรี ณ วันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1945
วันที่14 มกราคม – 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945
สถานที่19°06′00″N 93°48′00″E / 19.10000°N 93.80000°E / 19.10000; 93.80000
ผล อังกฤษได้รับชัยชนะ
คู่สงคราม

 สหราชอาณาจักร

 ญี่ปุ่น
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ซีริล โลแมกซ์ คังอิจิ นางาซาวะ
หน่วยที่เกี่ยวข้อง
สองกองพลน้อย, กองพลทหารราบอินเดียที่ 26; หนึ่งฝูงบิน, กรมทหารที่ 146 เหล่ายานเกราะสหราชอาณาจักร, หน่วยของกองพลน้อยคอมมานโด 3 กองพันที่ 2, กรมทหารที่ 121, กองพลที่ 54
กำลัง
ป.  6,000 นาย ป.  1,000 นาย
ความสูญเสีย
"เล็กน้อย"[1] เสียชีวิต ป.  500 นาย
ถูกจับกุม 20 นาย
อพยพไปยังแผ่นดินใหญ่ ป.  500 นาย
เกาะรามรีตั้งอยู่ในประเทศพม่า
เกาะรามรี
เกาะรามรี
ประเทศพม่า (เมียนมา)

ยุทธการที่เกาะรามรี (อังกฤษ: Battle of Ramree Island; ญี่ปุ่น: ラムリー島の戦い; พม่า: ရမ်းဗြဲကျွန်း တိုက်ပွဲ) อุบัติขึ้นตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม ถึง 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 ในสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวรบด้านใต้ในการทัพพม่าโดยเหล่าสิบห้าอินเดีย

เกาะรามรี เป็นส่วนหนึ่งของอาระกัน (ปัจจุบันคือรัฐยะไข่) มีพื้นที่ 520 ตร.ไมล์ (1,350 ตร.กม.) และแยกออกจากแผ่นดินใหญ่ด้วยช่องแคบที่มีความกว้างเฉลี่ยประมาณ 490 ฟุต (150 ม.) เกาะนี้อยู่ห่างจากอัคยับ (ปัจจุบันคือซิตตเว) ไปทางใต้ 110 กม. ซึ่งระหว่างการบุกครองพม่าเมื่อต้น ค.ศ. 1942 เกาะแห่งนี้ถูกยึดครองโดยกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น กระทั่งในเดือนมกราคม ค.ศ. 1945 กองกำลังของเหล่าสิบห้าอินเดียได้ยกพลขึ้นบกที่เกาะรามรีและเกาะเกาะชีดูบาที่อยู่ใกล้เคียง เพื่อสร้างสนามบินสำหรับส่งเสบียงให้แก่การทัพบนแผ่นดินใหญ่

ยุทธการดังกล่าวเป็นที่ทราบกันดีว่าทหารญี่ปุ่นหลายร้อยนายถูกจระเข้คร่าชีวิตในที่ลุ่มน้ำขังป่าชายเลนของเกาะรามรี ซึ่งบันทึกสถิติโลกกินเนสส์บางฉบับระบุว่าเป็นจำนวนผู้เสียชีวิตสูงสุดจากสัตว์จู่โจมในการรบ ส่วนนักสัตววิทยาและนักประวัติศาสตร์การทหารสมัยใหม่ได้แย้งกลับคำกล่าวอ้างเหล่านี้[2]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. Woodburn Kirby 2004, p. 250.
  2. Russell 1987, p. 216; Kynaston 1998, p. 135.

อ้างอิง[แก้]

หนังสือ

  • Allen, Louis (1984). Burma: The Longest War. London: Dent Paperbacks. ISBN 978-0-460-02474-7.
  • Jacob, J. F. R. (2011). An Odyssey in War and Peace. New Dwlhi: Roli Books. ISBN 978-81-7436-933-8.
  • Kynaston, Nick, บ.ก. (1998). The Guinness 1999 Book of Records. Guinness Publishing. ISBN 978-0-85112-070-6.
  • McLynn, Frank (2011). The Burma Campaign: Disaster into Triumph, 1942–45. Yale University Press. ISBN 978-0-300-17162-4.
  • Russell, Alan, บ.ก. (1987). The Guinness Book of Records 1988. Guinness Books. ISBN 978-0-85112-873-3.
  • Saunders, H. St G. (1975) [1954]. Royal Air Force 1939–45: The Fight is Won. Vol. III (repr. 2nd ed.). London: HMSO. ISBN 978-0-11-771594-3. สืบค้นเมื่อ 13 December 2015.
  • Woodburn Kirby, S. (2004) [1965]. Butler, Sir James (บ.ก.). The War Against Japan: The Reconquest of Burma. History of the Second World War, United Kingdom Military Series. Vol. IV (Imperial War Museum Department of Printed Books and Naval & Military Press Uckfield ed.). London: HMSO. ISBN 978-1-84574-063-4.
  • Wright, B. S. (1968). The Frogmen of Burma. Toronto: Clark Irwin. ISBN 978-0-7183-0481-2.
  • Wright, B. S. (1962). Wildlife Sketches: Near and Far. Fredericton, NB: Brunswick Press. OCLC 8099292.

วารสาร

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]