กองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน
國民革命軍
Guómín Gémìng Jūn
กว๋อหมินเก๋อหมิงจวิน
Flag of the National Revolutionary Army
ธงประจำกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน (ปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันในฐานะ กองทัพสาธารณรัฐจีน ตามที่บัญญัติใน รัฐธรรมนูญ ปี ค.ศ. 1947)
ประจำการ1925–1947
ประเทศ จีน
ขึ้นต่อ สาธารณรัฐจีน (ROC)
พรรคก๊กมินตั๋ง (KMT)
รูปแบบกองทัพ
บทบาทกองทัพทางบก
กำลังรบ4,300,000 (ประจำการทั้งหมด)
ปฏิบัติการสำคัญการกรีฑาทัพขึ้นเหนือ
การรบจีน-โซเวียต ค.ศ. 1929
การเดินทัพทางไกล
สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง
สงครามโลกครั้งที่สอง
สงครามกลางเมืองจีน
ผู้บังคับบัญชา
ผบ. สำคัญเจียงไคเชก
จางเสวี่ยเหลียง
ซุนหลี่เจ็น
Yen Hsi-shan
Feng Yuxiang
He Yingqin
Hu Kexian
Cen Chunxuan
and many others
กองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน
อักษรจีนตัวเต็ม國民革命軍
อักษรจีนตัวย่อ国民革命军

กองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน (NRA), ในบางครั้งอาจเรียกอย่างย่อๆว่า กองทัพปฏิวัติ (革命軍) ก่อนปี ค.ศ. 1928, และเป็น กองทัพแห่งชาติ (國軍) หลังค.ศ. 1928, กองทัพปฏิวัติแห่งชาติเป็นกองทัพของพรรคก๊กมินตั๋ง (พรรคชาตินิยมจีนหรือจีนคณะชาติ) ตั้งแต่ ค.ศ. 1925 ถึง 1947 ใน สาธารณรัฐจีน กองทัพปฏิวัติได้กลายมาเป็นกองทัพประจำการของสาธารณรัฐจีนในระหว่างตลอดการปกครองของก๊กมินตั๋งเริ่มในปี ค.ศ. 1928 กองทัพปฏิวัติได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นกองทัพสาธารณรัฐจีน หลังมีการร่าง รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐจีน ค.ศ. 1947, ที่ซึ่งได้มีการริเริ่มจัดให้มีการควบคุมโดยพลเรือน

โดยแรกเริ่มนั้นกองทัพปฏิวัติได้ถูกจัดตั้งโดยการช่วยเหลือทางทหารจากสหภาพโซเวียต เพื่อช่วยให้พรรคก๊กมินตั๋งในการรวบรวมประเทศจีนในช่วงยุคขุนศึก กองทัพปฏิวัติแห่งชาติด้ทำการสู้รบในการรบหลักคือ การกรีฑาทัพขึ้นเหนือ, การต่อต้านกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองและในการสู้รบกับกองทัพปลดปล่อยประชาชนของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในสงครามกลางเมืองจีน

ในระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่น กองกำลังติดอาวุธของพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ถูกรวมเข้าด้วยกันกับกองทัพปฏิวัติแห่งชาติอย่างหลอมๆ (ในขณะที่ยังคงมีการแยกการบัญชาการโดยผู้นำ) เนื่องจากความจำยอมและประนีประนอมร่วมกันระหว่างพรรคก๊กมินตั๋งกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนในการร่วมมือกันชั่วคราวในการต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่น

และการร่วมมือยังคงมีความขัดแย้งและในที่สุดพรรคคอมมิวนิสต์ได้แยกออกไปกองทัพปลดปล่อยประชาชนของตนเองหลังสงครามกับญี่ปุ่นยุติลง ด้วยการปรักาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐจีนปี ค.ศ. 1947 และการสิ้นสุดการปกครองจีนแผ่นดินใหญ่ของก๊กมินตั๋ง หลังจากการพ่ายแพ้ของพรรคก๊กมินตั๋งในสงครามกลางเมืองจีนให้กับพรรคคอมมิวนิสต์จีน และกองทัพปฏิวัติแห่งชาติได้ล่าถอยอพยพไปยังเกาะไต้หวันในปี ค.ศ. 1949 ต่อมากองทัพปฏิวัติแห่งชาติได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นกองทัพแห่งสาธารณรัฐจีน

ประวัติ[แก้]

จอมทัพ เจียงไคเชก, ผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน, ผู้มีบทบาทในชัยชนะการกรีฑาทัพขึ้นเหนือและต่อมาได้เป็นผู้นำของประเทศจีน
กองทัพปฏิวัติชาติในสงครามโลกครั้งที่สอง

กองทัพปฏิวัติได้ถูกก่อตั้งโดยพรรคก๊กมินตั๋งในปี ค.ศ. 1925 ในฐานะเป็นกองทัพทางทหารเพื่อมุ่งหมายในการรวมประเทศจีนในการกรีฑาทัพขึ้นเหนือ กองทัพได้มีการจัดตั้งรวบรวมอย่างเป็นระบบด้วยความช่วยเหลือองค์การคอมมิวนิสต์สากลหรือโคมินเทิร์นและได้รับการชี้นำภายใต้การปลูกฝังของลัทธิไตรราษฎร์ของดร.ซุน ยัตเซ็นเป็นหัวใจหลัก แต่บ่อยครั้งความแตกต่างและแตกแยกภายในพรรคทำให้กองทัพมักจะไม่มีประสิทธิภาพ เจ้าหน้าที่กองทัพจำนวนมากได้ผ่านการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยหวังปัวและผู้บัญชาการทหารคนแรกคือ เจียงไคเชก ที่ได้เป็นจอมทัพของกองทัพในปี ค.ศ. 1925 ก่อนที่จะนำทัพเข้ารบและได้รับชัยชนะในการกรีฑาทัพขึ้นเหนือ ผู้บัญชาการผู้มีบทบาทสำคัญคนอื่นๆรวมถึง ตู ยูหมิง และ เฉิน เฉิง การกรีฑาทัพขึ้นเหนือในปี ค.ศ. 1928 ได้ถูกใช้เป็นวันที่เมื่อยุคขุนศึกจีนได้สิ้นสุดลง

เครื่องแบบและอุปกรณ์อาวุธ[แก้]

กองทัพปฏิวัติแห่งชาติในยุคแรก[แก้]

หลังจากการปฏิวัติซินไฮ่ปี 1912 การเปลี่ยนรูปแบบของชุดทหารไม่ได้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบที่แน่นอนเลยสักครั้งเดียว จนกระทั่งถึงปี 1920 ซึ่งตอนนั้นทางกองทัพก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงเช่นการ ซึ่งในช่วงแรกใช้เครื่องแบบสีน้ำเงินปนเทาพร้อมกับใส่เสื้อชั้นนอกสีเดียวกัน ซึ่งส่วนมากชุดสีน้ำเงินย้อมสีมาจากอาณานิคมฝรั่งเศสในอินโดจีน และมีการใส่หมวกหม้อตาลแบบเดิมอย่างในสมัยที่ราชวงศ์ชิงปกครอง กองทัพที่อยู่ในมณฑนเสฉวนส่วนมากใช้เสื้อคลุมตัวนอกสีกากี โดยมีการพันผ้าสีทึบที่หน้าแข้งส่วนรองเท้านั้นเป็นรองเท้าแตะไม่ก็รองเท้าหุ้มข้อที่ยาวถึงแค่ข้อเท้า มีการใช้เครื่องแบบพลเรือนด้วยเช่น เนื่องจากการขาดแคลนชุดทหาร

กองพลที่ได้รับการฝึกฝนจากที่ปรึกษาเยอรมัน[แก้]

ทหารของกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีนสวมหมวกสตาร์ลฮีมรุ่น M35 และ ปืนแบบZB vz. 26
ทหารของกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีนที่ได้รับการสนับสนุนจากเยอรมัน

เจียง ไคเชก (蔣中正) ขึ้นมามีอำนาจ เขาก็ได้ทำการบูรณะกองทัพใหม่หมด โดยได้รับแรงสนับสนุนมาจากสหภาพโซเวียต และ เยอรมนี ซึ่งในภายหลังจากที่เจียง เริ่มครองประเทศแบบการปกครองแบบทหาร เขาก็เริ่มปฏิเสธความช่วยเหลือด้านทหารจากสหภาพโซเวียต แล้วหันมาเข้ากับนาซีเยอรมันแทน แต่ภายในปี 1933 นั้น รัฐบาลจีนก็ไม่สามารถพัฒนากองทัพจีนให้แทบเท่ากับประเทศใหญ่ ๆ ประเทศอื่น ๆ ได้ บวกกับความขัดแย้งภายในที่มีกับพวกคอมมิวนิสต์ และ ภัยคุกคามจากจักรวรรดิญี่ปุ่น กองทัพจีนก็ต้องพึ่งพายุทโธปกรณ์ที่ล้าสมัยเพื่อต่อต้านกับภัยเหล่านั้น เมื่อญี่ปุ่นประกาศสงครามกับสาธารณรัฐจีนในกลางปี 1937 รัฐบาลจีนกับพวกคอมมิวนิสต์ก็ร่วมมือกันต่อสู้ญี่ปุ่นที่บุกเข้ามา ซึ่งตอนนั้นเองอาวุธยุทโธปกรณ์ส่วนมากของจีนก็มาจากนาซีเยอรมันเป็นส่วนใหญ่ เช่น หมวกเหล็กแบบทองทัพเยอรมัน (Stahlhelm) และ อาวุธต่าง ๆ อย่างปืนรุ่นที่ 24 (二四式) ที่เป็นตัวก็อปปี้ของคาราบีเนอร์ 98คา (Karabiner 98k)

ความไร้แบบแผน และ ไร้ประสิทธิภาพของกองกำลังคณะชาติก็เริ่มหายไปในปี 1936 เมื่อยุทโธปกรณ์จากนาซีเยอรมันเพิ่มมากขึ้น และ ทางเยอรมันก็ส่งที่ปรึกษาด้านการทหารมาด้วย เพื่อให้กองทัพคล้าย ๆ กับกองทัพของเยอรมัน ประสิทธิภาพจะได้เพิ่มขึ้น ซึ่งในช่วงนี้เองเหล่านายทหารสัญญาบัตรก็เริ่มหาชุดที่เข้ากับแบบมาใส่กันเอง ซึ่งส่วนใหญ่ก็มีต้นแบบมาจากชุดทหารสัญญาบัตรเยอรมัน เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วก็เริ่มมีแนวคิดที่ว่าชุดทหารในหน้าร้อนนั้นจะเป็นผ้าฝ้ายสีกากีอ่อน ๆ ส่วนหน้าหนาวจะเป็นสีทาวอ่อน ๆ

กองพลที่ได้รับการสนับสนุนจากอังกฤษ[แก้]

ทหารของกองพลที่ได้รับอาวุธจากอังกฤษสวมหมวกแบบโบรดี้ (Brodie helmet)
ทหารของกองพลที่ได้รับอาวุธจากอังกฤษเดินสวนสนาม

กองทัพของสาธารณรัฐยังคงเห็นว่าหมวกเหล็กจองกองทัพยังไม่เพียงพอ และมีการสั่งซื้อหมวกแบบ หมวกโบรดี้ (Brodie helmet) ของกองทัพอังกฤษ ซึ่งเป็นหมวกที่ปรับให้เตี้ยและแบนลง ซึ่งหมวกเกราะดังกล่าวมีสัญลักษณ์พระอาทิตย์ของพรรคก๊กมินตั๋งติดอยู่ด้านหน้าของหมวก (แบบเดียวกับที่ติดอยู่บนธงชาติสาธารณรัฐจีน) หลังจากสงครามกับญี่ปุ่นปะทุขึ้น กองทัพจีนก็มองเห็นว่าพวกเขาขาดแคลนหมวกเหล็กเป็นอย่างมาก ทางอังกฤษก็ส่งหมวกโบรดี้ให้ ส่วนชุดทหารเป็นเสื้อชั้นนอกมีกระเป๋าสีช่อง กระดุมแบบไม้ และ ปกเสื้อแบบตั้งไม่มีแถบไหล่ ปกเสื้อนั้นมีแผ่นสีแปะไว้เพื่อแสดงถึงเหล่าทัพของทหาร สีแดงเป็นทหาารราบ, สีเหลืองคือทหารม้า, สีน้ำเงินคือทหารปืนใหญ่ และ สีขาวคือทหารช่าง กองทัพอากาศก็ใช้แบบแผนเดียวกัน ในด้านของอาวุธนั้น ทหารราบทั่วไปจะใช้ปืนไรเฟิลรุ่นที่ 24 เป็นส่วนมาก และ ขณะเดียวกันก็ใช้ปืนนำเข้าอย่าง เมาเซอร์ ซี96​ (Mauser C96) และ Browning Hi-Power (บราวนิงก์ ไฮพาวเวอร์) ส่วนกองพลที่ได้รับการฝึกฝนโดยตรงจากผู้ให้คำปรึกษาชาวเยอรมันก็ใส่ชุดแบบเดียวกันกับกองพลธรรมดา แต่ใช้หมวกเหล็กของกองทัพเยอรมันอย่างหมวกปี 1916 (M1916) ที่ใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ส่วนกองพลที่ถูกส่งไปอินเดียในช่วงสงครามนั้นใช้เครื่องแบบของอังกฤษ และ อเมริกา - หลังจากที่ญี่ปุ่นเริ่มบุกจีนลึกขึ้นเรื่อย ๆ เหล่าบุคคลที่ต่อต้านรัฐบาลก๊กมินตั๋ง และ มีความคิดแบบเดียวกันกับญี่ปุ่น (ต่อต้านคอมมิวนิสต์) ก็ได้ร่วมมือกับญี่ปุ่นก่อตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดที่มีชื่อว่ารัฐบาลปฏิรูป (汪精卫政权) ขึ้นมา โดยมีเหมือนหลวงอยู่ที่กรุงนานจิง (南京市) โดยอาวุธยุทโธปกรณ์ส่วนมากมาจากญี่ปุ่น และ เครื่องแบบก็ใช้แบบเดียวกับกองกำลังญี่ปุ่น