ภาษาญัฮกุร
ภาษาญัฮกุร | |
---|---|
ประเทศที่มีการพูด | ไทย (จังหวัดเพชรบูรณ์ ชัยภูมิ และนครราชสีมา) |
จำนวนผู้พูด | 1,500 คน (2549[1]) |
ตระกูลภาษา | |
รูปแบบก่อนหน้า | ภาษามอญเก่า
|
ระบบการเขียน | อักษรไทย |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | ![]() |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | cbn |
ภาษาญัฮกุร เป็นภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก กลุ่มมอญ-เขมร กลุ่มย่อยมอญ ถือว่าใกล้เคียงกับภาษามอญโบราณในสมัยทวารวดี มีผู้พูดคือชาวญัฮกุรในจังหวัดนครราชสีมา เพชรบูรณ์ และชัยภูมิ บางส่วนเริ่มเปลี่ยนมาพูดภาษาไทย
ภาษาญัฮกุรเดิมเป็นเพียงภาษาพูดไม่มีตัวเขียน ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2548 ได้มีการสร้างระบบตัวเขียนขึ้นใหม่โดยใช้อักษรไทย และเพิ่มสัทอักษรสากล ʔ และรวบรวมคำศัพท์เอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อไม่ให้สูญหาย มีพยัญชนะ 26 เสียง เป็นตัวสะกดได้ 15 เสียง มีสระ 21 เสียง เป็นสระเดี่ยว 18 เสียง สระประสม 3 เสียง ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ ใช้ระบบน้ำเสียงแทน มีระบบการเติมหน่วยคำแต่ปัจจุบันเหลือใช้ไม่มากนัก เรียงประโยคแบบประธาน-กริยา-กรรม
สัทวิทยา[แก้]
พยัญชนะ[แก้]
ลักษณะการออกเสียง | ตำแหน่งเกิดเสียง | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ริมฝีปาก | ปุ่มเหงือก | เพดานแข็ง | เพดานอ่อน | เส้นเสียง | ||||
เสียงนาสิก | ก้อง | m | n | ɲ | ŋ | |||
ไม่ก้อง | m̥ | n̥ | ŋ̊ | |||||
เสียงหยุด | ก้อง | b | d | |||||
ไม่ก้อง | ไม่พ่นลม | p | t | c | k | ʔ | ||
พ่นลม | pʰ | tʰ | cʰ | kʰ | ||||
เสียงเสียดแทรก | (f) | (s) | ç | h | ||||
เสียงรัว | ก้อง | r | ||||||
ไม่ก้อง | r̥ | |||||||
เสียงข้างลิ้น | ก้อง | l | ||||||
ไม่ก้อง | l̥ | |||||||
เสียงกึ่งสระ | ก้อง | w | j | |||||
ไม่ก้อง | ʍ |
- หน่วยเสียงที่เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะท้ายมี 14 หน่วยเสียง ได้แก่ /m/, /n/, /ɲ/, /ŋ/, /p/, /t/, /c/, /k/, /ʔ/, /h/, /r/, /l/, /w/ และ /j/
- หน่วยเสียงพยัญชนะควบมี 16 หน่วยเสียง ได้แก่ /bl/, /pr/, /pʰr/, /pʰl/, /tr/, /tʰr/, /tʰl/, /cr/, /cl/, /cʰr/, /kr/, /kl/, /kw/, /kʰr/, /kʰl/ และ /kʰw/ เกิดในตำแหน่งต้นพยางค์เท่านั้น นอกเหนือจากนี้จะกลายเป็น 2 พยางค์โดยมี /a/ คั่นกลาง
- พยางค์นาสิกจะตามด้วยพยัญชนะในฐานเดียวกัน เช่น /m̩p/, /n̩t/ ฯลฯ (ดูหมายเหตุท้ายตารางด้านล่าง)
- ผู้พูดรุ่นใหม่อาจออกเสียง /cʰ/ เป็น [s]
- หน่วยเสียง /f/ และ /s/ พบในคำยืมจากภาษาไทย โดยผู้พูดรุ่นเก่าจะออกเสียง /f/ เป็น [kʰw] เช่น /faj.faːʔ/ > [kʰwaj.kʰwaːʔ] 'ไฟฟ้า, ไฟฉาย'
- หน่วยเสียง /ç/ เกิดในตำแหน่งท้ายพยางค์เท่านั้น
สระ[แก้]
สระเดี่ยว[แก้]
ระดับลิ้น | ตำแหน่งลิ้น | ||
---|---|---|---|
หน้า | กลาง | หลัง | |
สูง | i, iː | ɯ, ɯː | u, uː |
กึ่งสูง | e, eː | ɤ, ɤː | o, oː |
กึ่งต่ำ | æ, æː | ʌ | ɔ, ɔː |
ต่ำ | a, aː |
สระประสม[แก้]
หน่วยเสียงสระประสมภาษาญัฮกุรถิ่นบ้านไร่มี 3 หน่วยเสียง[3] ได้แก่ /ia/, /ɯa/ และ /ua/
ลักษณะน้ำเสียง[แก้]
ภาษาญัฮกุรถิ่นบ้านไร่มีลักษณะน้ำเสียงที่ทำให้ความหมายของคำต่างกัน 2 ลักษณะ ได้แก่ ลักษณะน้ำเสียงที่ 1 ซึ่งเป็นลักษณะน้ำเสียงปกติโดยมักออกเป็นเสียงสูง และลักษณะน้ำเสียงที่ 2 ซึ่งมักออกเป็นเสียงต่ำ[4] ในการถอดเสียงเป็นสัทอักษรใช้เครื่องหมาย ⟨◌̀⟩ หรือ ⟨◌̤⟩
ระบบการเขียน[แก้]
ตัวเขียนภาษาญัฮกุรอักษรไทยตามที่คณะกรรมการจัดทำระบบเขียนภาษาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยอักษรไทย สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ได้กำหนดไว้ มีดังนี้
|
|
|
อ้างอิง[แก้]
- อภิญญา บัวสรวง และ สุวิไล เปรมศรีรัตน์. สารานุกรมกลุ่มชาติพันธ์: ญัฮกุ้ร. กทม. สถาบันวิจัยวัฒนธรรมและภาษาเพื่อการพัฒนาชนบท. 2541
- ↑ Nyah Kur at Ethnologue (18th ed., 2015)
- ↑ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. คู่มือระบบเขียนภาษาญัฮกุรอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2559, หน้า 24.
- ↑ 3.0 3.1 สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. คู่มือระบบเขียนภาษาญัฮกุรอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2559, หน้า 28.
- ↑ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. คู่มือระบบเขียนภาษาญัฮกุรอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2559, หน้า 31.
![]() |
บทความเกี่ยวกับภาษานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ภาษา |