ภาษากฺ๋อง เป็นภาษาใกล้สูญ ภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษาทิเบต-พม่า ของตระกูลภาษาจีน-ทิเบต เป็นภาษาที่แสดงลักษณะของภาษาในกลุ่มทิเบต-พม่าอย่างเด่นชัด[2] กล่าวคือ มีหน่วยเสียง วรรณยุกต์ มีพยัญชนะท้ายน้อย ความสั้น-ยาวของเสียงสระไม่ส่งผลต่อความหมายของคำ และมีการเรียงประโยคแบบประธาน -กรรม -กริยา
ผู้พูดภาษากฺ๋องเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กฺ๋อง จากการสำรวจของนักภาษาศาสตร์เดวิด แบรดลีย์ พบผู้พูดภาษานี้ในประเทศไทย ราว 80 คนใน พ.ศ. 2543 อาศัยอยู่ในหมู่ที่ 4 บ้านวังควาย ตำบลวังยาว และหมู่ที่ 10 บ้านกกเชียง ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี และหมู่ที่ 3 บ้านละว้า ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี ไม่พบผู้พูดในประเทศพม่า ปัจจุบันเริ่มมีผู้พูดภาษากฺ๋องน้อยลง โดยเด็ก ๆ ชาวกฺ๋องหันไปพูดภาษาไทย และภาษาลาว (ลาวครั่ง )
สัทวิทยา [ แก้ ]
พยัญชนะ [ แก้ ]
หน่วยเสียงที่เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น และพยัญชนะท้าย มี 3 หน่วยเสียง ได้แก่ /ŋ/ , /k/ และ /ʔ/
หน่วยเสียงพยัญชนะควบมี 4 หน่วยเสียง ได้แก่ /pʰl/ , /kl/ , /kʰl/ และ /bl/ เกิดในตำแหน่งต้นพยางค์เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผู้พูดรุ่นใหม่ไม่นิยมออกเสียง /pʰl/ และ /bl/ เป็นพยัญชนะควบ โดยจะออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวแรก
หน่วยเสียง /x/ พบเฉพาะในกลุ่มผู้พูดสูงอายุ โดยพบตัวอย่างคำเดียวคือ /x ǎʔ/ 'เข็ม'
หน่วยเสียง /pʰ/ มีเสียงย่อย 2 เสียง ได้แก่ [pʰ] และ [f] ซึ่งมีการแปรอิสระ เช่น [pʰ e~f e] 'ไม้ (ไผ่)' ส่วนหน่วยเสียง /cʰ/ มีเสียงย่อย 2 เสียง ได้แก่ [cʰ] และ [s] ซึ่งมีการแปรอิสระเช่นกัน เช่น [cʰ ǒŋ~s ǒŋ 'กิ้งก่า' ทั้งนี้ ผู้พูดรุ่นใหม่นิยมออกเสียง /pʰ/ และ /cʰ/ เป็น [f] และ [s] ตามลำดับ แต่ยังไม่เป็นทั้งระบบ
สระเดี่ยว [ แก้ ]
หน่วยเสียงสระเดี่ยวภาษากฺ๋องถิ่นกกเชียง จังหวัดสุพรรณบุรี [4]
ระดับลิ้น
ตำแหน่งลิ้น
หน้า
กลางลิ้น
หลัง
สูง
i
ɨ ʉ
u
กึ่งสูง
ʊ
กลาง
e ø
ə
o
กึ่งต่ำ
ʌ
ต่ำ
ɛ œ
a
ɔ
หน่วยเสียง /e/ มีเสียงย่อย 2 เสียง ได้แก่ [e] และ [ɪ] โดยเสียงย่อย [e] ปรากฏในพยางค์ที่มีพยัญชนะท้าย เช่น [kě ŋ] 'ตัวเอง' ส่วนเสียงย่อย [ɪ] ปรากฏในพยางค์ที่ไม่มีพยัญชนะท้าย เช่น [cɪ ] 'ม้าม'
สระประสม [ แก้ ]
ภาษากฺ๋องถิ่นกกเชียงมีหน่วยเสียงสระประสม 3 หน่วยเสียง[4] ได้แก่ /i̯a/ , /ɨ̯a/ และ /u̯ɔ/
วรรณยุกต์ [ แก้ ]
ภาษากฺ๋องถิ่นกกเชียงมีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ 4 หน่วยเสียง[5] ได้แก่
หน่วยเสียงกลางระดับ (mid tone)
หน่วยเสียงวรรณยุกต์ต่ำ-ตก (low-falling tone) ซึ่งอาจเปลี่ยนเสียงเป็นวรรณยุกต์กลาง-ตก-ขึ้นหรือวรรณยุกต์สูง-ตกในประโยคปฏิเสธ
หน่วยเสียงวรรณยุกต์สูง-ตก (high-falling tone)
หน่วยเสียงวรรณยุกต์กลาง-ตก-ขึ้น (mid falling-rising tone) มีเสียงย่อย 2 เสียง ได้แก่ เสียงต่ำ-ขึ้น ปรากฏเมื่อพยัญชนะท้ายเป็นเสียงกัก และเสียงกลาง-ตก-ขึ้น ปรากฏเมื่อพยัญชนะท้ายเป็นเสียงอื่นที่ไม่ใช่เสียงกัก
ระบบการเขียน [ แก้ ]
ตัวเขียนภาษากฺ๋องอักษรไทยตามที่คณะกรรมการจัดทำระบบเขียนภาษาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยอักษรไทย สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ได้กำหนดไว้ มีดังนี้
พยัญชนะ
อักษรไทย
เสียง
ตัวอย่างคำ
ความหมาย
ก
/k/
ก ง
ตะกร้า
วุ๋ก
หนู
กฺ
/ɡ/
กฺ อง
ม้า
ค
/kʰ/
ค๋ ง
นกยูง
ฆ
/x/
ฆ๋ ะ
เข็ม
ง
/ŋ/
ง อ
ห้า
ดุ๋ง ทุง
ลำห้วย
จ
/c/
จี๋
เก้ง
ช
/cʰ/
ช๋ ง
กิ้งก่า
ซ
/s/
เซี ย
ล้าง
ญ
/ɲ/
ญ า
เบ็ดตกปลา
ด
/d/
เดื อ
เสือ
ต
/t/
ต๋ อง
ข้อง
ท
/tʰ/
ท๋ อง
ตุ่น
น
/n/
นั๋ ง
ตั๊กแตน
บ
/b/
บ๋ ก
ครก
ป
/p/
ป าเท้ง
รองเท้า
พ
/pʰ/
พู
หม้อ
ฟ
/f/
เฟ๋
เกวียน
ม
/m/
มึ๋ ก
วัว
ย
/j/
ยึ๋ ง
บ้าน
ล
/l/
เล๋ าะ
นิ้ว
ว
/w/
วั๋ ง
หมี
อ
/ʔ/ (เมื่อเป็นพยัญชนะต้น)
อ๋ า
กวาง
ไม่มีรูป
/ʔ/ (เมื่อเป็นพยัญชนะท้าย)
เค๋าะ
นก
ฮ
/h/
ฮิ๋ ง
ทองคำ
พยัญชนะไม่เปลี่ยนรูปเมื่อผันวรรณยุกต์
สระ
อักษรไทย
เสียง
ตัวอย่างคำ
ความหมาย
–ะ
/a/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/ )
ฆ๋ะ
เข็ม
–ั
/a/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /k/ , /ŋ/ )
วั๋ ง
หมี
–า
/a/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย)
อ๋า
กวาง
–ิ
/i/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย)
นิ ง
แทรก
–ี
/i/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย)
จี๋
เก้ง
–ึ
/ɨ/
มึ๋ ก
วัว
–ือํ
/ʉ/
คือํ
หมา
–ุ
/u/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย)
วุ๋ ก
หนู
–ู
/u/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย)
ลาบู้
ผีเสื้อ
เ–ะ
/e/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย)
เ ดะ
มา
กาเว็ ง
เที่ยว
เ ก๋ก
ขวัญ
เ–
/e/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย)
เ จ
ม้าม
เํ–
/ø/
เํ ยง
เสื้อ
แ–ะ
/ɛ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย)
แ ม๋ะ
แม่
แล็ งแ ท๋ะ
หอยขม
อาแ ค่ง
อะไร
แ–
/ɛ/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย)
แ ซ
สิบ
แํ–ะ/แํ–
/œ/
แํ ฮ๋ะ
รัก
เ–อะ/เ–ิ
/ə/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย)
เซิ่ ก
สีดำ
เ–อ
/ə/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย)
เ กอ
เพื่อน
เํ–ิ
/ʌ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /k/ , /ŋ/ )
เํดิ๋ ก
สะอึก
โ–ะ
/o/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/ )
โ ว๋ะ
ไก่
โ–ะ (ลดรูป)
/o/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /k/ , /ŋ/ )
บ๋ก
ครก
โ–
/o/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย)
โ อ
คน
โ–ะํ
/ʊ/
โ พ๋ะํ
หมู
เ–าะ
/ɔ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้ายเป็น /ʔ/ )
เ ล๋า ะ
นิ้ว
–อ
/ɔ/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้ายหรือมีพยัญชนะท้ายเป็น /k/ , /ŋ/ )
ม่อ
ทา, เมา
กฺ่อ ง
แสบ
เ–ีย
/i̯a/
เ คลี่ย
อร่อย
เ–ือ
/ɨ̯a/
เคื๋อ ง
ตัวต่อ
–ัว
/u̯ɔ/ (เมื่อไม่มีพยัญชนะท้าย)
ซัว
กิน
–ว
/u̯ɔ/ (เมื่อมีพยัญชนะท้าย)
คูดว ง
หมวก
วรรณยุกต์
อักษรไทย
เสียง
ตัวอย่างคำ
ความหมาย
ไม่มีรูป
หน่วยเสียงกลางระดับ
ออง
เทียน
–่
หน่วยเสียงต่ำ-ตก
บ่ า
ตี
–้
หน่วยเสียงสูง-ตก
กฺ้ อง
สูง
–๋
หน่วยเสียงกลาง-ตก-ขึ้น
เอิ๋ ก
ไม้
ยึ๋ ง
บ้าน
ไวยากรณ์ [ แก้ ]
โครงสร้างประโยค เป็นแบบประธาน -กรรม -กริยา คำขยาย อยู่หน้ากริยา แต่อยู่หลังคำนาม คำบุพบท อยู่หลังคำนาม
อ้างอิง [ แก้ ]
↑ "Gong" at Ethnologue (18th ed., 2015)
↑ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. คู่มือระบบเขียนภาษากฺ๋องอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2561, หน้า 1.
↑ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. คู่มือระบบเขียนภาษากฺ๋องอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2561, หน้า 24.
↑ 4.0 4.1 สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. คู่มือระบบเขียนภาษากฺ๋องอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2561, หน้า 27.
↑ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. คู่มือระบบเขียนภาษากฺ๋องอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2561, หน้า 29.
มยุรี ถาวรพัฒน์. สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์: ก๊อง (อุก๋อง). กทม. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล. 2540.
Gordon, Raymond G., Jr. (ed.), 2005. Ethnologue: Languages of the World, Fifteenth edition. Dallas, Tex.: SIL International. Online version: http://www.ethnologue.com/ .
ภาษาราชการ ภาษาพื้นเมือง
ภาษามือ