ภาษาใกล้สูญ
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ภาษาใกล้สูญ (อังกฤษ: endangered language) หรือ ภาษาวิกฤต เป็นภาษาซึ่งเสี่ยงต่อการเลิกใช้ หากภาษานั้นไม่มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ ภาษานั้นก็จะเป็นภาษาที่ตายแล้ว หากไม่มีผู้ใดพูดภาษานั้นเลย จะเป็น "ภาษาสูญ" จำนวนภาษาทั้งหมดในโลกไม่เป็นที่ทราบ มีการประเมินกันหลากหลายขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย Michael E. Krauss ประเมินว่ามีภาษาใช้กันอยู่ในปัจจุบันราว 6,000 ภาษา จนถึง พ.ศ. 2550[1] ยูเนสโกใช้ตัวเลขนี้[2] Krauss นิยามภาษาว่า "ปลอดภัย" หากเด็ก ๆ จะมีโอกาสพูดในอีก 100 ปีข้างหน้า "ใกล้สูญ" หากเด็กไม่อาจพูดได้ในอีก 100 ปีข้างหน้า (ประมาณ 60-80% ของภาษาทั้งหมดอยู่ในหมวดหมู่นี้) และ "ใกล้ตาย" (moribund) หากเด็กไม่อาจพูดได้ในปัจจุบัน[1]
การบ่ง
[แก้]แม้ไม่มีนิยามชัดเจนในการบ่งภาษาว่าใกล้สูญ แต่มีการใช้สามเกณฑ์หลักเป็นแนวปฏิบัติดังนี้
- จำนวนผู้พูดในปัจจุบันที่ยังมีชีวิตอยู่
- อายุเฉลี่ยของผู้พูดเป็นภาษาแม่ และ/หรือ พูดได้คล่อง
- ร้อยละของรุ่นอายุน้อยสุดที่มีความคล่องในภาษาที่กำลังกล่าวถึง
บางภาษา เช่น ภาษาในอินโดนีเซีย อาจมีผู้พูดนับหลายหมื่นคน แต่อาจเป็นภาษาใกล้สูญได้ เพราะเด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาอีกต่อไป และผู้พูดกำลังอยู่ระหว่างเปลี่ยนไปใช้ภาษาอินโดนีเซียซึ่งเป็นภาษาราชการแทนภาษาท้องถิ่น
ในทางกลับกัน ภาษาที่มีผู้พูดเพียง 100 คน อาจถูกพิจารณาให้เป็นภาษามีชีวิตอยู่อย่างยิ่งก็ได้ หากภาษานั้นเป็นภาษาหลักของชุมชน และเป็นภาษาแรก (หรือภาษาเดียว) ที่เด็กในชุมชนนั้นใช้พูดจริง
การประเมินว่า "ความหลากหลายทางภาษานั้นสำคัญต่อมรดกของมนุษย์" คณะผู้เชี่ยวชาญภาษาใกล้สูญเฉพาะกิจของยูเนสโกเสนอนิยามภาษาใกล้สูญไว้ว่า "... เมื่อผู้พูดเลิกใช้ภาษานี้, ใช้ภาษาในอาณาเขตสื่อสารจำนวนลดลงอย่างมาก และหยุดส่งต่อจากรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นต่อไป นั่นคือ ไม่มีผู้พูดใหม่ ไม่ว่าผู้ใหญ่หรือเด็ก"[2]
แผนที่ชุดภาษาที่ตกอยู่ในอันตรายของโลก (Atlas of the World's Languages in Danger) ออนไลน์ของยูเนสโกจัด 2,500 ภาษาออกเป็นห้าระดับความเสี่ยงอันตราย: ไม่ปลอดภัย ใกล้สูญแน่นอน ใกล้สูญอย่างรุนแรง ใกล้สูญวิกฤต และสูญ[3] มากกว่า 200 ภาษาทั่วโลกจะสูญในช่วงสามชั่วอายุคน[4]
บรรณานุกรม
[แก้]- Zuckermann, Ghil'ad (กิลอัด สุขเคอร์แมน) & Walsh, Michael, 2011. Stop, Revive, Survive: Lessons from the Hebrew Revival Applicable to the Reclamation, Maintenance and Empowerment of Aboriginal Languages and Cultures, Australian Journal of Linguistics 31: 111–127.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Krauss, Michael E. (2007). "Keynote-Mass Language Extinction and Documentation: The Race Against Time". ใน Miyaoka, Osahito; Sakiyama, Osamu; Krauss, Michael E. (บ.ก.). The Vanishing Languages of the Pacific Rim (illustrated ed.). Oxford: Oxford University Press. pp. 3–24. ISBN 019926662X, 9780199266623. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "K2007" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ 2.0 2.1 UNESCO ad Hoc Expert Group on Endangered Languages (2003). "Language Vitality and Endangerment" (pdf). สืบค้นเมื่อ 27 April 2009.
- ↑ "UNESCO Atlas of the World's Languages in Danger". UNESCO.org. 2009. สืบค้นเมื่อ 27 April 2009.
- ↑ http://www.dawn.com/2011/07/21/languages-on-papua-vanish-without-a-whisper.html