ภาษาองามี
ภาษาองามี | |
---|---|
ประเทศที่มีการพูด | อินเดีย |
ภูมิภาค | รัฐนาคาแลนด์ |
จำนวนผู้พูด | 109,000 คน (2540) (ไม่พบวันที่) |
ตระกูลภาษา | จีน-ทิเบต
|
รหัสภาษา | |
ISO 639-2 | sit |
ISO 639-3 | njm |
ภาษาองามี เป็นตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า ใช้พูดในเทือกเขาทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย มีหลายสำเนียง
สัทวิทยา
[แก้]สำเนียงโกฮีมามีวรรณยุกต์ 4 เสียง (/˥ ˧ ˨ ˩/ หรือ {{IPA|/a̋ á ā à/}) มีสระ 6 เสียง /i e̞ a̠ o u̟ ə̝/ สระประสมมีน้อย
Labial | Alveolar | Post- alveolar |
Palatal | Velar | Labio- velar | |
---|---|---|---|---|---|---|
Nasal | m̥ʰ m | n̥ʰ n | ɲ̊ʰ ɲ | ŋ | ||
Plosive | pʰ p b | tʰ t d | kʰ k ɡ | kʷʰ kʷ ɡʷ | ||
Affricate | ts | tʃ | ||||
Fricative | v | s z | ʃ ʒ~ʝ | x~h | ||
Approximant | l̥ʰ l | ɻ̊ ɻ | ȷ̊ j | w̥ w |
Phon. | allophone before /ə/ |
---|---|
p | pfə ~ fə ?[1] |
(b) | (bvə)[2] |
m̥ʰ | ɱ̊ʰə |
m | ɱə |
kʷʰ | kʰfə |
kʷ | kvə |
ɡʷ | ɡvə |
ɻ | ɻ̩ ~ ɚ |
ไวยากรณ์/รากศัพท์
[แก้]ไวยากรณ์และรากศัพท์ของภาษาองามีสามารถเข้าถึงได้ในสำเนียงเตนยิดี และภาษาอังกฤษ แต่ส่วนที่สะสมไว้ก็มีความขัดแย้งในการวิเคราะห์หน่วยเสียงหรือประโยคในภาษา และข้อมูลที่ได้มาจากหลายสำเนียง โดยเฉพาะเอกสารรุ่นเก่า (ประมาณ พ.ศ. 2413 – 2503) ที่รวบรวมโดยมิชชันนารีในศาสนาคริสต์ ซึ่งข้อมูลจะไม่เฉพาะกับสำเนียงใดสำเนียงหนึ่ง สันนิษฐานว่าภาษาองามีเป็นภาษามาตรฐานในบริเวณนาคาแลนด์ ปัจจุบันมีหนังสือวลีองามี-อังกฤษ และพจนานุกรมองามี-อังกฤษ-ฮินดีให้เข้าถึงได้ทางอินเทอร์เน็ต
การรวมรวมเอกสาร
[แก้]เอกสารภาษาองามีที่สามารถรวบรวมได้มันเป็นเอกสารตีพิมพ์ (นวนิยาย กวีนิพนธ์ และตำรา) เอกสารที่มีการรวบรวมทางอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่มักเป็นเอกสารทางศาสนาคริสต์ที่เขียนด้วยสำเนียงเตนยิดี ไบเบิลที่สมบูรณ์แบบที่เขียนด้วยสำเนียงเตนยิดี ตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2513 อย่างไรก็ตาม เฉพาะบทแปลไบเบิลภาค Genesis ที่ได้แสดงทางอินเทอร์เน็ตในโครงการโรเซ็ตตา แหล่งเอกสารที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งคือนิทานพื้นบ้าน รวมทั้งเพลงพื้นบ้านที่เขียนด้วยสำเนียงเตนยิดี เพลงภาษาองามีสำหรับใช้ในศาสนาคริสต์แต่งขึ้นในชุมชนในโบสถ์ เอกสารขนาดใหญ่ที่เขียนด้วยสำเนียงเตนยิดี คือตำราเรียนในโรงเรียนโกฮีมาและมหาวิทยาลัย