ภาษาโบโด
ภาษาโบโด | |
---|---|
बोड़ो | |
ประเทศที่มีการพูด | อินเดีย, มีจำนวนน้อยใน เนปาล |
จำนวนผู้พูด | 603,000: 600,000 คนในอินเดีย (2540) , 3,301 คน ในเนปาล (2544) (ไม่พบวันที่) |
ตระกูลภาษา | |
ระบบการเขียน | อักษรเทวนาครี |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | รัฐอัสสัม (อินเดีย) |
รหัสภาษา | |
ISO 639-2 | sit |
ISO 639-3 | brx |
ภาษาโบโด (बोडो) จัดอยู่ในตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า พูดโดยชาวโบโดที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียและเนปาล เคยเขียนด้วยอักษรละติน ปัจจุบันเขียนด้วยอักษรเทวนาครี
การจัดจำแนกและภาษาที่เกี่ยวข้อง[แก้]
ภาษาโบโดเป็นภาษาในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต มีความใกล้เคียงกับภาษาดิมาซาในอัสสัม และภาษากาโรในรัฐเมฆาลัย และใกล้เคียงกับภาษากอกบอรอกในรัฐตรีปุระ
ประวัติ[แก้]
หลังจากมีการจัดตั้งองค์กรโบโดขึ้นใน พ.ศ. 2456 ได้มีการนำภาษานี้ไปเป็นสื่อในระดับมัธยมศึกษา และเป็นภาษาราชการร่วมของรัฐอัสสัม และมีการเปิดสอนรายวิชาด้วยภาษาโบโดในมหาวิทยาลัยคุวนตีใน พ.ศ. 2539 ภาษาโบโดยังมีหนังสือเกี่ยวกับกวีนิพนธ์ ละคร เรื่องสั้น นิยาย ชีวประวัติ หนังสือนำเที่ยว และหนังสือสำหรับเด็ก ภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวันจะได้รับอิทธิพลจากภาษาข้างเคียงเช่น ภาษาเบงกอล
ระบบการเขียน[แก้]
การเขียนภาษาโบโดอย่างเป็นทางการใช้อักษรเทวนาครี แม้ว่าจะเคยใช้อักษรละตินและอักษรอัสสัมเป็นเวลานาน [1] นักวิจัยบางคนกล่าวว่าภาษานี้เคยมีอักษรเป็นของตนเองแต่สูญหายไปแล้ว เรียกอักษรเดโอได
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Prabhakara, M S Scripting a solution, The Hindu, May 19, 2005.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- Abley, Mark (2006) The Verbs of Boro, Lost Magazine, March 2006
- Bodoland.org
- Boro Language
- Bodo computing resources at TDIL
- Language Information Service – India
|
|