ภาษาเอา
หน้าตา
ภาษาเอา | |
---|---|
ประเทศที่มีการพูด | อินเดีย |
ภูมิภาค | รัฐนาคาแลนด์ |
จำนวนผู้พูด | 141,000 คน (ไม่พบวันที่) |
ตระกูลภาษา | จีน-ทิเบต
|
รหัสภาษา | |
ISO 639-2 | sit |
ISO 639-3 | njo |
ภาษาเอา เป็นภาษากูกี-ชีน-นาคา ที่อยู่ในตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า พูดโดยชาวเอาในรัฐนาคาแลนด์ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย มีผู้พูดราว 141,000 คน (Gordon, 2005) สำเนียงที่สำคัญมี 2 สำเนียงคือ
- สำเนียง ชุงลี แบ่งได้อีก 2 สำเนียงคือ ชุงลี และทรานส์-ดิขุ
- สำเนียงมอกเซน แบ่งได้อีก 2 สำเนียงคือ มอกเซน และชังกี
ผู้พูดสำเนียงชังกี มี 60 % ของชาวเอาทั้งหมด เป็นสำเนียงที่ได้รับอิทธิพลจากมิชชันนารี สำเนียงชุงลีเป็นสำเนียงที่มีการสอนในโรงเรียน สำเนียงมอกเซนใช้พูดส่วนใหญ่ทางตะวันตกของเขตเอาและใกล้เคียงกับสำเนียงชังกี การพูดในแต่ละหมู่บ้านจะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน
อ้างอิง
[แก้]- Gordon, Raymond G., Jr. (Ed.). (2005). Ethnologue: Languages of the world (15th ed.). Dallas, TX: SIL International. ISBN 1-55671-159-X. (Online version: http://www.ethnologue.com)