ท้าววสวัตตี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พญามาร)

ตามคติศาสนาพุทธ ท้าวปรนิมมิตวสวัตตี หรือ ท้าววสวัตตี[1] เป็นเทพบุตรผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี[2] เป็นมาร[3][4] จึงถูกพระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า มารผู้มีบาป[5] เพราะชอบมาผจญผู้ที่จะทำความดีต่าง ๆ[6]

ประวัติ[แก้]

หลังจากสมเด็จพระโคตมพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน กำลังทรงค้นพบอริยสัจ 4 และทรงกำลังจะก้าวล่วงจากอุปจารสมาธิไปถึงอัปปนาสมาธิ (ฌาน 1) มารมีความเห็นว่าพระพุทธเจ้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนา จะทำให้คนสำเร็จมรรคผลเข้าสู่พระนิพพานกันหมด ไม่เหลือวิญญาณไปขึ้นสวรรค์ จึงต้องยกทัพมากำราบ[6] แต่ถูกน้ำจากมวยผมของพระแม่ธรณีพัดไป จนในที่สุดมารก็ยอมแพ้

มารเคยรบกวนงานฉลองพระธาตุของพระเจ้าอโศกมหาราช แต่ถูกพระอุปคุตเถระสร้างความอับอายโดยการจับมัดไว้ที่เขาพระสุเมรุ[7] ภายหลังปรารถนาพุทธภูมิ และยอมเป็นศิษย์ของพระอุปคุต อนาคตวงศ์ระบุว่าพระกัสสปพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่าในอนาคตท้าววสวัตตีจะได้ตรัสรู้เป็นพระธรรมสามีสัมพุทธเจ้า[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). สวรรค์ 6. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
  2. เกวัฏฏสูตร, พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
  3. นิทานกถา, อรรถกถา เอกกนิบาตชาดก อปัณณกวรรค
  4. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, หน้า 1101
  5. มหาปรินิพพานสูตร. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
  6. 6.0 6.1 ความจริงบางอย่างเกี่ยวกับพระยามาร (วิชาการ.คอม) (ไทย)
  7. ตำนานพระอุปคุต (ไทย)
  8. พระคัมภีร์อนาคตวงศ์, หน้า 103-104
  • ประภาส สุระเสน. พระคัมภีร์อนาคตวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2553. 198 หน้า. หน้า 1-2. ISBN 974-580-742-7
  • ราชบัณฑิตยสถานพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. ISBN 978-616-7073-80-4

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]