พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 | |
---|---|
หน้าปกพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ฉบับพิมพ์ครั้งแรก | |
ผู้ประพันธ์ | ราชบัณฑิตยสถาน |
ประเทศ | ประเทศไทย |
ภาษา | ภาษาไทย |
ประเภท | พจนานุกรม |
สำนักพิมพ์ | นานมีบุ๊คส์ |
วันที่พิมพ์ | พ.ศ. 2556 |
หน้า | 1,484 หน้า |
เรื่องก่อนหน้า | พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เป็นพจนานุกรมภาษาไทยที่ใช้เป็นมาตรฐานสำหรับการเขียนหนังสือไทยของทางราชการและสถาบันการศึกษามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 ถึงปัจจุบัน[1] ผู้จัดทำคือ คณะกรรมการชำระพจนานุกรม แห่งราชบัณฑิตยสถาน (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นราชบัณฑิตยสภา) โดยแก้ไขปรับปรุงเนื้อหาจากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
ประวัติ
[แก้]คณะกรรมการชำระพจนานุกรมได้เริ่มปรับปรุงพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546[2] โดยนอกจากจะแก้ไขตัวสะกดและบทนิยามของคำศัพท์ที่มีอยู่ในพจนานุกรมฉบับก่อน ๆ แล้ว คณะกรรมการฯ ยังได้เพิ่มเติมบทนิยามคำศัพท์ทั่วไปและคำภาษาปากจำนวนหนึ่งซึ่งมีใช้ในภาษาไทยและเป็นที่รู้จักแพร่หลาย แต่ยังไม่เคยปรากฏในพจนานุกรม เช่น เครื่องดื่ม แซ็ว ตลาดนัดแรงงาน ตัดต่อ ตัวสำรอง ผัดฉ่า วัตถุมงคล สปา ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น รวมทั้งคำศัพท์จากสาขาวิชาที่มีความสำคัญ ได้แก่ ศัพท์พรรณพืช ศัพท์พรรณสัตว์ ศัพท์ประวัติศาสตร์ ศัพท์กฎหมายไทย ศัพท์ดนตรีไทย ศัพท์ดนตรีสากล และราชาศัพท์ และคำที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงใช้ในการพัฒนาเรื่องดิน น้ำ ป่าไม้ เช่น กังหันน้ำชัยพัฒนา แก้มลิง แกล้งดิน โครงการตามพระราชดำริ ทฤษฎีใหม่ เป็นต้น[2] ทำให้พจนานุกรมฉบับล่าสุดนี้มีคำศัพท์เพิ่มจากฉบับ พ.ศ. 2542 ประมาณ 2,000 คำ รวมแล้วมีคำศัพท์ทั้งหมดประมาณ 39,000 คำ[3]
ในปี พ.ศ. 2555 กนกวลี ชูชัยยะ เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน ได้แถลงข่าวว่า ราชบัณฑิตยสถานได้ชำระพจนานุกรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว และรัฐบาลของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้สนับสนุนงบประมาณจัดพิมพ์ครั้งแรกจำนวน 100,000 เล่ม เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนแจกจ่ายสถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา หน่วยงานราชการ คณะรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา สื่อมวลชน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง และจะคัดเลือกให้เอกชนเข้ามาใช้สิทธิ์ในการจัดพิมพ์และจำหน่ายฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 ต่อไป[4]
อนึ่ง แม้ว่าพจนานุกรมฉบับนี้จะได้รับการจัดพิมพ์ในปี พ.ศ. 2556 แต่ก็ใช้ชื่อว่า พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 และเพื่อเป็นการเผยแพร่พระเกียรติคุณและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ทรงห่วงใยการใช้ภาษาไทยของคนไทยในปัจจุบัน[2]
ในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีให้ยกเลิกระเบียบการใช้ตัวสะกดตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 และให้ใช้ตัวสะกดตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เป็นมาตรฐานการเขียนหนังสือไทยในวงราชการและวงการศึกษาแทน โดยลงเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556[1]
ต่อมาราชบัณฑิตยสถานได้เปิดให้ทดสอบระบบพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 แบบออนไลน์ตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557[5] และเปิดให้ดาวน์โหลดโปรแกรมประยุกต์พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 สู่โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบสมาร์ตโฟนตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2558[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระเบียบการใช้ตัวสะกด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 130 (พิเศษ 71 3): 4. 13 มิถุนายน 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-06-26. สืบค้นเมื่อ 2016-08-28.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า ก.
- ↑ "นานมีบุ๊คส์ชวนคนไทย มีพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ติดบ้านไว้เป็นคู่มือ". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 27 มีนาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "ราชบัณฑิตยสถานจัดทำพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔" (PDF). ราชบัณฑิตยสถาน. 2555. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2555.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ราชบัณฑิตยสถานเปิดให้ทดสอบระบบพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔". ราชบัณฑิตยสถาน. 24 ตุลาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ภาษาไทยใช้ง่ายแค่ปลายนิ้ว ด้วย "ราชบัณฑิตยฯ โมไบล์" พร้อมให้ดาวน์โหลดแล้ววันนี้ ทั้งในระบบ iOS Android และ Windows Mobile". สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. 21 กันยายน 2558. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)