การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538

← กันยายน พ.ศ. 2535 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 พ.ศ. 2539 →

ทั้งหมด 391 ที่นั่งในรัฐสภาไทย
ต้องการ 196 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก
ผู้ใช้สิทธิ62.0% เพิ่มขึ้น
  First party Second party Third party
 
ผู้นำ บรรหาร ศิลปอาชา ชวน หลีกภัย ชวลิต ยงใจยุทธ
พรรค ชาติไทย ประชาธิปัตย์ ความหวังใหม่
เขตของผู้นำ ส.ส.สุพรรณบุรี เขต 1 ส.ส.ตรัง เขต 1 ส.ส.นครพนม เขต 1
เลือกตั้งล่าสุด 77 79 51
ที่นั่งที่ชนะ 92 86 57
ที่นั่งเปลี่ยน เพิ่มขึ้น 15 เพิ่มขึ้น 7 เพิ่มขึ้น 6
คะแนนเสียง 12,630,074 12,325,423 6,806,621
% 22.8% 22.3% 12.3%

นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง

ชวน หลีกภัย
ประชาธิปัตย์

ว่าที่นายกรัฐมนตรี

บรรหาร ศิลปอาชา
ชาติไทย

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 เป็น การเลือกตั้งในประเทศไทยครั้งที่ 20 มีขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538[1] การเลือกตั้งในครั้งนั้น พรรคชาติไทย ประสบความสำเร็จ สามารถเอาชนะ พรรคประชาธิปัตย์ไปได้ ทำให้ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และ นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี

การเลือกตั้งครั้งนี้ สืบเนื่องจากภายหลังการลงมติการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลกรณีการแจกเอกสารสิทธิที่ดิน ส.ป.ก.4-01 ที่รับผิดชอบโดย พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคแกนนำรัฐบาล ในวันที่ 17 พฤษภาคม ก่อนหน้านั้น พรรคพลังธรรม ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลมีมติงดออกเสียง แต่ทว่านายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้รับผิดชอบก็ยังได้รับความไว้ใจวางใจให้ดำรงตำแหน่งต่อไป วันต่อมา พรรคพลังธรรมถอนตัวออกจากการร่วมเป็นรัฐบาล ทำให้นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีตัดสินใจที่จะตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาขึ้นในวันที่ 19 พฤษภาคม ปีเดียวกัน

ผลการเลือกตั้ง พรรคชาติไทย ที่นำโดย นายบรรหาร ศิลปอาชา ซึ่งเป็นแกนนำฝ่ายค้าน ได้รับคะแนนมาเป็นลำดับหนึ่ง ด้วยจำนวน 91 ที่นั่ง ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นรัฐบาลได้มาเป็นลำดับต่อมา คือ 86 ที่นั่ง ขณะที่พรรคความหวังใหม่ได้รับเลือกมาเป็นลำดับที่สาม 57 ที่นั่ง[2]

นายบรรหาร จึงได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 13 กรกฎาคม ปีเดียวกัน นับเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ของประเทศไทย

การเลือกตั้งครั้งนี้ ปรากฏว่ามีการทุจริตการเลือกตั้งค่อนข้างมาก โดยหัวคะแนนของหลายพรรคการเมืองถูกจับได้พร้อมหลักฐานเป็นเงินสด พร้อมรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและเอกสารระบุว่าได้จ่ายเงินไปแล้วหลายราย ซึ่งคาดการณ์ว่า มีจำนวนเงินที่ใช้ในการทุจริตการเลือกตั้งถึง 20,000 ล้านบาท[3]

ผลการเลือกตั้ง

สัญลักษณ์ ชื่อพรรค หัวหน้าพรรค จำนวน ส.ส.
พรรคชาติไทย บรรหาร ศิลปอาชา 92 คน
พรรคประชาธิปัตย์ นายชวน หลีกภัย 86 คน
พรรคความหวังใหม่ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ 57 คน
พรรคชาติพัฒนา พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ 53 คน
พรรคพลังธรรม พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร 23 คน
พรรคกิจสังคม นายมนตรี พงษ์พานิช 22 คน
พรรคประชากรไทย นายสมัคร สุนทรเวช 18 คน
พรรคนำไทย นายอำนวย วีรวรรณ 18 คน
พรรคเสรีธรรม นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ 11 คน
พรรคเอกภาพ นายไชยยศ สะสมทรัพย์ 8 คน
พรรคมวลชน ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง 3 คน

รวมทั้งสภา 391 คน

อ้างอิง

ดูเพิ่ม