ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศตองงา"
Timekeepertmk (คุย | ส่วนร่วม) |
Timekeepertmk (คุย | ส่วนร่วม) |
||
บรรทัด 89: | บรรทัด 89: | ||
ประมาณ [[ค.ศ. 950]] [[พระเจ้าอะโฮเออิตู|อะโฮเออิตู]]ได้สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็น[[ตูอิตองกา]]แห่ง[[จักรวรรดิตูอิตองกา]]พระองค์แรก<ref name="tu'i tonga">{{cite web|url=http://palaceoffice.gov.to/index.php?option=com_content&view=category&layout=blog&id=69&Itemid=82|title=Tu'i Tonga|publisher=Palace Office2013, Tonga|date=30 January 2014}}</ref> จักรวรรดิตูอิตองกาเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ในรัชสมัย[[พระเจ้าโมโม]] [[พระเจ้าตูอิตาตูอิ]]และ[[พระเจ้าตาลาตามา]] ซึ่งพระมหากษัตริย์ทั้ง 3 พระองค์ได้ขยายอาณาเขตของจักรวรรดิจนมีอาณาเขตครอบคลุมบางส่วนของ[[ฟิจิ]] [[ซามัว]] [[โตเกเลา]] [[นีอูเอ]]และ[[หมู่เกาะคุก]]<ref name="tu'i tonga"/> บรรดาดินแดนในการปกครองเหล่านี้จะส่งบรรณาการที่เรียกว่า ''อีนาซี'' ซึ่งต้องส่งมาถวาย[[ตูอิตองกา]]ที่เมือง[[มูอา]]อันเป็นนครหลวงของจักรวรรดิทุกปีในฤดูเก็บเกี่ยว<ref> St. Cartmail, Keith (1997). The art of Tonga. Honolulu, Hawai'i: University of Hawai'i Press. p. 39. [[ISBN 0-8248-1972-1]].</ref> อำนาจของจักรวรรดิตูอิตองกาเริ่มตกต่ำลงหลังจากเกิดเหตุลอบปลงพระชนม์ตูอิตองกาหลายพระองค์<ref>{{cite journal|url=http://www.jstor.org/pss/2842790|journal=The Journal of the Anthropological Institute of Great Britain and Ireland|title=Note Upon the Natives of Savage Island, or Niue|last=Thomson|first=Basil|volume=31|date=January 1901|page=137|publisher=Royal Anthropological Institute of Great Britain and Ireland}}</ref> ส่งผลให้ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 [[พระเจ้าเกาอูลูโฟนูอา]]ตูอิตองกาพระองค์ที่ 24 ตั้งพระอนุชาของพระองค์คือ[[พระเจ้าโมอูงาโมตูอา|เจ้าชายโมอูงาโมตูอา]]ขึ้นเป็น[[ตูอิฮาอะตากาเลาอา]]พระองค์แรก เพื่อช่วยเหลือตูอิตองกาในการปกครองจักรวรรดิ<ref>{{cite web|url=http://palaceoffice.gov.to/index.php?option=com_content&view=category&layout=blog&id=67&Itemid=80|title=Tu'i Ha'atakalaua|publisher=Palace Office2013, Tonga|date=30 January 2014}}</ref> และอีก 2 ศตวรรษต่อมาได้มีการตั้งราชวงศ์[[ตูอิกาโนกูโปลู]]ขึ้นเพื่อช่วยเหลืออีก 2 ราชวงศ์ในการปกครองจักรวรรดิ<ref name="Kanokupolu">{{cite web|url=http://palaceoffice.gov.to/index.php?option=com_content&view=category&layout=blog&id=68&Itemid=81|title=Tu'i Kanokupolu|publisher=Palace Office2013, Tonga|date=30 January 2014}}</ref> ซึ่งต่อมาตูอิกาโนกูโปลูสามารถก้าวขึ้นมาเป็นราชวงศ์ที่มีอิทธิพลแทนที่ตูอิฮาอะตากาเลาอาได้<ref name="Kanokupolu"/> |
ประมาณ [[ค.ศ. 950]] [[พระเจ้าอะโฮเออิตู|อะโฮเออิตู]]ได้สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็น[[ตูอิตองกา]]แห่ง[[จักรวรรดิตูอิตองกา]]พระองค์แรก<ref name="tu'i tonga">{{cite web|url=http://palaceoffice.gov.to/index.php?option=com_content&view=category&layout=blog&id=69&Itemid=82|title=Tu'i Tonga|publisher=Palace Office2013, Tonga|date=30 January 2014}}</ref> จักรวรรดิตูอิตองกาเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ในรัชสมัย[[พระเจ้าโมโม]] [[พระเจ้าตูอิตาตูอิ]]และ[[พระเจ้าตาลาตามา]] ซึ่งพระมหากษัตริย์ทั้ง 3 พระองค์ได้ขยายอาณาเขตของจักรวรรดิจนมีอาณาเขตครอบคลุมบางส่วนของ[[ฟิจิ]] [[ซามัว]] [[โตเกเลา]] [[นีอูเอ]]และ[[หมู่เกาะคุก]]<ref name="tu'i tonga"/> บรรดาดินแดนในการปกครองเหล่านี้จะส่งบรรณาการที่เรียกว่า ''อีนาซี'' ซึ่งต้องส่งมาถวาย[[ตูอิตองกา]]ที่เมือง[[มูอา]]อันเป็นนครหลวงของจักรวรรดิทุกปีในฤดูเก็บเกี่ยว<ref> St. Cartmail, Keith (1997). The art of Tonga. Honolulu, Hawai'i: University of Hawai'i Press. p. 39. [[ISBN 0-8248-1972-1]].</ref> อำนาจของจักรวรรดิตูอิตองกาเริ่มตกต่ำลงหลังจากเกิดเหตุลอบปลงพระชนม์ตูอิตองกาหลายพระองค์<ref>{{cite journal|url=http://www.jstor.org/pss/2842790|journal=The Journal of the Anthropological Institute of Great Britain and Ireland|title=Note Upon the Natives of Savage Island, or Niue|last=Thomson|first=Basil|volume=31|date=January 1901|page=137|publisher=Royal Anthropological Institute of Great Britain and Ireland}}</ref> ส่งผลให้ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 [[พระเจ้าเกาอูลูโฟนูอา]]ตูอิตองกาพระองค์ที่ 24 ตั้งพระอนุชาของพระองค์คือ[[พระเจ้าโมอูงาโมตูอา|เจ้าชายโมอูงาโมตูอา]]ขึ้นเป็น[[ตูอิฮาอะตากาเลาอา]]พระองค์แรก เพื่อช่วยเหลือตูอิตองกาในการปกครองจักรวรรดิ<ref>{{cite web|url=http://palaceoffice.gov.to/index.php?option=com_content&view=category&layout=blog&id=67&Itemid=80|title=Tu'i Ha'atakalaua|publisher=Palace Office2013, Tonga|date=30 January 2014}}</ref> และอีก 2 ศตวรรษต่อมาได้มีการตั้งราชวงศ์[[ตูอิกาโนกูโปลู]]ขึ้นเพื่อช่วยเหลืออีก 2 ราชวงศ์ในการปกครองจักรวรรดิ<ref name="Kanokupolu">{{cite web|url=http://palaceoffice.gov.to/index.php?option=com_content&view=category&layout=blog&id=68&Itemid=81|title=Tu'i Kanokupolu|publisher=Palace Office2013, Tonga|date=30 January 2014}}</ref> ซึ่งต่อมาตูอิกาโนกูโปลูสามารถก้าวขึ้นมาเป็นราชวงศ์ที่มีอิทธิพลแทนที่ตูอิฮาอะตากาเลาอาได้<ref name="Kanokupolu"/> |
||
ในยุคจักรวรรดิตูอิตองกานี้ มีนักสำรวจชาวยุโรปเดินทางเข้ามาหลายกลุ่ม โดยนักสำรวจที่เดินทางเข้ามาเป็นกลุ่มแรกนั้นเป็นนักสำรวจ[[ชาวดัตช์]]ชื่อว่า[[ยาค็อบ เลอแมร์]]และ[[วิลเลม ชูเต็น]] ซึ่งเดินทางมาถึงจักรวรรดิตูอิตองกาในปี ค.ศ. 1616<ref>Charles F. Urbanowicz, ''[http://www.csuchico.edu/~curbanowicz/MotivesAndMethods.pdf Motives and Methods: Missionaries in Tonga In the Early 19th Century]</ref> ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จักรวรรดิเกิดสงครามกลางเมือง<ref> James B. Minahan, ''Ethnic Groups of South Asia and the Pacific: An Encyclopedia'' (Santa Barbara, Calif. : ABC-CLIO)</ref> |
ในยุคจักรวรรดิตูอิตองกานี้ มีนักสำรวจชาวยุโรปเดินทางเข้ามาหลายกลุ่ม โดยนักสำรวจที่เดินทางเข้ามาเป็นกลุ่มแรกนั้นเป็นนักสำรวจ[[ชาวดัตช์]]ชื่อว่า[[ยาค็อบ เลอแมร์]]และ[[วิลเลม ชูเต็น]] ซึ่งเดินทางมาถึงจักรวรรดิตูอิตองกาในปี ค.ศ. 1616<ref>Charles F. Urbanowicz, ''[http://www.csuchico.edu/~curbanowicz/MotivesAndMethods.pdf Motives and Methods: Missionaries in Tonga In the Early 19th Century]</ref> ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จักรวรรดิเกิดสงครามกลางเมือง<ref name="James"> James B. Minahan, ''Ethnic Groups of South Asia and the Pacific: An Encyclopedia'' (Santa Barbara, Calif. : ABC-CLIO)</ref> โดยเข้ามาสำรวจในบริเวณ[[เกาะ]][[นีอูอาโทพูตาปู]]<ref name="expo">{{cite web|url=http://www.ciaworldfactbook.us/oceania/tonga.html|title=Tonga|publisher=CIA World Factbook - The best country factbook available online|date=30 January 2014}}</ref> ในปี ค.ศ. 1643 [[แอเบล ทาสมัน]]ได้เดินทางเข้ามาในตองกาในบริเวณ[[เกาะ]][[ตองกาตาปู]]และ[[ฮาอะไป]]<ref name="expo"/> แต่การเดินทางเข้ามาทั้ง 2 ครั้งของชาวยุโรปนี้ ยังไม่มีการติดต่อกับชาวพื้นเมืองอย่างเป็นทางการมากเท่าใดนัก<ref name="James"/> การติดต่อกับชาวพื้นเมืองอย่างเป็นทางการของชาวยุโรปและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในจักรวรรดิคือการเดินทางเข้ามาสำรวจของกัปตัน[[เจมส์ คุก]]ในปี ค.ศ. 1773 1774 และ 1777<ref name="James"/> ซึ่งเจมส์ คุกได้ตั้งชื่อหมู่เกาะนี้ว่า "หมู่เกาะแห่งมิตรภาพ" (Friendly Islands) โดยชื่อนี้มาจากความประทับใจของเจมส์ คุกต่อลักษณะนิสัยของชาวพื้นเมือง<ref name="James"/> |
||
ในช่วงที่กัปตัน[[เจมส์ คุก]] ได้แล่นเรือมาที่เกาะ ในปี พ.ศ. 2316, 2317, และ 2320 ได้มาพบหมู่เกาะตองกาและตั้งชื่อว่า "หมู่เกาะแห่งมิตรภาพ" (Friendly Islands) กลุ่ม[[มิชชันนารี]]กลุ่มแรกจาก[[ลอนดอน]]ได้มาอยู่ที่เกาะ ในปี พ.ศ. 2340 และกลุ่มมิชชันนารีกลุ่มต่อมาในปี พ.ศ. 2365<ref name="ประวัติศาสตร์ตองกา"/> |
|||
=== การรวมชาติตองกา === |
=== การรวมชาติตองกา === |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:39, 30 มกราคม 2557
ราชอาณาจักรตองกา Kingdom of Tonga (อังกฤษ) Puleʻanga Fakatuʻi ʻo Tonga (ตองงา) | |
---|---|
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | นูกูอะโลฟา |
ภาษาราชการ | ภาษาตองกาและภาษาอังกฤษ |
การปกครอง | ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ |
สมเด็จพระราชาธิบดีตูปูที่ 6 แห่งตองกา | |
ซีอาเลอาตาโอโง ตูอีวากาโน | |
เอกราชโดยสมบูรณ์ | |
• พ้นจากอารักขาของสหราชอาณาจักร | 4 มิถุนายน ค.ศ. 1970 |
พื้นที่ | |
• รวม | 747 ตารางกิโลเมตร (288 ตารางไมล์) (198) |
4.0 | |
ประชากร | |
• 2013 ประมาณ | 104,270[1] (189) |
• สำมะโนประชากร 2011 | 103,036[2] |
139 ต่อตารางกิโลเมตร (360.0 ต่อตารางไมล์) (76) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2011 (ประมาณ) |
• รวม | 763 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3] |
• ต่อหัว | 7,344 ดอลลาร์สหรัฐ[3] |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2011 (ประมาณ) |
• รวม | 439 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3] |
• ต่อหัว | 4,220 ดอลลาร์สหรัฐ[3] |
เอชดีไอ (2013) | 0.710[4] ข้อผิดพลาด: ค่า HDI ไม่ถูกต้อง · 95 |
สกุลเงิน | ปาอางา (TOP) |
เขตเวลา | UTC+13 |
ขับรถด้าน | ซ้ายมือ |
รหัสโทรศัพท์ | +676 |
โดเมนบนสุด | .to |
ตองกา (อังกฤษ: Tonga) หรือ โตงา (ตองงา: Tonga) มีชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรตองกา (อังกฤษ: Kingdom of Tonga; ตองงา: Puleʻanga Fakatuʻi ʻo Tonga ปูเลอางา ฟากาตูอิโอโตงา) เป็นประเทศหมู่เกาะในภูมิภาคโพลินีเซีย ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ระหว่างประเทศนิวซีแลนด์และรัฐฮาวายของสหรัฐอเมริกา โดยทะเลอาณาเขตทางตะวันตกติดต่อกับประเทศฟิจิ ส่วนทางตะวันออกติดต่อกับหมู่เกาะคุก นีอูเอและอเมริกันซามัว ในขณะที่ทางทิศเหนือติดต่อกับหมู่เกาะวาลลิสและหมู่เกาะฟุตูนา ในขณะที่ทางทิศเหนือติดต่อกับประเทศซามัวและอเมริกันซามัว ชื่อประเทศในภาษาตองกาแปลว่าทิศใต้ นอกจากนี้ประเทศนี้ได้รับฉายาว่าหมู่เกาะแห่งมิตรภาพ ซึ่งกัปตันเจมส์ คุกเป็นผู้ตั้งฉายานี้[5]
ประเทศตองกาเป็นประเทศขนาดเล็กมีเนื้อที่เพียง 747 ตารางกิโลเมตร นับเป็นอันดับที่ 189 ของโลก[6] หมู่เกาะตองกาประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่ประมาณ 169 เกาะ โดยมีเพียง 36 เกาะเท่านั้นที่มีการอยู่อาศัย[7] เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือเกาะตองกาตาปู ซึ่งเป็นที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองคือนูกูอะโลฟา เกาะส่วนใหญ่ของตองกาเป็นเกาะที่เกิดจากการทับถมของปะการัง[8] ประชากรของตองกามีทั้งสิ้น 103,036 คน[2] นับเป็นอันดับที่ 192 ของโลก[9]
สันนิษฐานว่ามนุษย์เข้ามาอยู่อาศัยในตองกาครั้งแรกเมื่อ 826 ± 8 ปีก่อนคริสตกาล[10] ตองกาเริ่มก่อตั้งอาณาจักรเป็นของตนเองในปี ค.ศ. 950 ชื่อว่าจักรวรรดิตูอิตองกา ซึ่งปกครองโดยราชวงศ์ตูอิตองกา ตูอิฮาอะตากาเลาอาและตูอิกาโนกูโปลู ต่อมาได้เกิดสงครามกลางเมือง ในท้ายที่สุดตูอิกาโนกูโปลูเตาฟาอาเฮาได้รับชัยชนะจึงรวบรวมดินแดนทั้งหมดก่อตั้งอาณาจักรโพลินีเซีย ตองกาเป็นเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่สามารถปกป้องตนเองจากการตกเป็นดินแดนอาณานิคมของชาติตะวันตก[11] ในปี ค.ศ. 2010 ประเทศตองกาจัดการเลือกตั้งทั่วไป การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่สมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน[12]
ชื่อประเทศ
ภาษาหลายภาษาของกลุ่มโพลินีเซียและภาษาตองกาเอง ได้ให้ความหมายคำว่าโตงา (ตองงา: Tonga) ไว้ว่า ใต้[13] ซึ่งสัมพันธ์กับตำแหน่งที่ตั้งของประเทศตองกาที่เป็นหมู่เกาะตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของภูมิภาคโพลินีเซียตอนกลาง ในภาษาตองกาชื่อประเทศออกเสียงตามระบบสัทอักษรว่า ˈtoŋa[14] ส่วนภาษาอังกฤษจะเรียกชื่อประเทศนี้ว่า /ˈtɒŋə/ หรือ /ˈtɒŋɡə/ นอกจากนี้ชื่อประเทศตองกายังมีความหมายคล้ายคลึงกับคำว่าโคนา (ฮาวาย: Kona) ในภาษาฮาวายอีกด้วย[15]
ประวัติศาสตร์
วัฒนธรรมลาพิตา
ชาวลาพิตา กลุ่มคนที่พูดภาษาในตระกูลภาษาออสโตรนีเชียนเป็นกลุ่มแรกที่เข้ามาอยู่อาศัยในตองกา ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ทางตะวันออกของประเทศปาปัวนิวกินีและหมู่เกาะโซโลมอนในปัจจุบัน[16] ช่วงเวลาที่กลุ่มคนเข้ามาอาศัยในหมู่เกาะตองกาเป็นกลุ่มแรกสุดนั้นยังเป็นข้อถกเถียงในปัจจุบัน โดยในระยะแรกนั้นมีการสันนิษฐานว่ากลุ่มคนที่เชื่อว่าเข้ามาอยู่อาศัยในดินแดนประเทศตองกาปัจจุบันเดินทางถึงหมู่เกาะตองกาในช่วงเวลาประมาณ 1,000 - 1,500 ปีก่อนคริสตกาล[16] ในระยะเวลาต่อมา ได้มีการนำเครื่องมือในสมัยนั้นผ่านการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี ซึ่งช่วยกำหนดได้ว่าชาวลาพิตาเดินทางเข้ามาอยู่ในตองกาในปี 826 ± 8 ก่อนคริสตกาล[10] กลุ่มคนที่เดินทาง เมื่อชาวลาพิตาเดินทางมาถึงหมู่เกาะตองกาแล้ว ได้ลงหลักปักฐานในนูกูเลกา บนเกาะตองกาตาปูเป็นที่แรก[10] และได้ลงหลักปักฐานในฮาอะไปเป็นที่ต่อมา[17] ชาวลาพิตาใช้ชีวิตโดยพึ่งพาทะเลเป็นส่วนใหญ่ อาหารของชาวลาพิตาจึงเน้นอาหารทะเลเป็นหลัก ยกตัวอย่างเช่น ปลานกแก้ว ปลานกขุนทอง เต่า ปลาไหล เป็นต้น[16] นอกจากนี้ยังมีการทำเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์อีกด้วย[16] หลักฐานที่สำคัญทางโบราณคดีในช่วงเวลานี้คือเครื่องปั้นดินเผาลาพิตา ซึ่งเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่ทำมาจากเปลือกหอยและหิน[18] โดยพบมากในบริเวณเขตการปกครองฮาอะไปในปัจจุบัน[19]
จักรวรรดิตูอิตองกา
ประมาณ ค.ศ. 950 อะโฮเออิตูได้สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นตูอิตองกาแห่งจักรวรรดิตูอิตองกาพระองค์แรก[20] จักรวรรดิตูอิตองกาเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ในรัชสมัยพระเจ้าโมโม พระเจ้าตูอิตาตูอิและพระเจ้าตาลาตามา ซึ่งพระมหากษัตริย์ทั้ง 3 พระองค์ได้ขยายอาณาเขตของจักรวรรดิจนมีอาณาเขตครอบคลุมบางส่วนของฟิจิ ซามัว โตเกเลา นีอูเอและหมู่เกาะคุก[20] บรรดาดินแดนในการปกครองเหล่านี้จะส่งบรรณาการที่เรียกว่า อีนาซี ซึ่งต้องส่งมาถวายตูอิตองกาที่เมืองมูอาอันเป็นนครหลวงของจักรวรรดิทุกปีในฤดูเก็บเกี่ยว[21] อำนาจของจักรวรรดิตูอิตองกาเริ่มตกต่ำลงหลังจากเกิดเหตุลอบปลงพระชนม์ตูอิตองกาหลายพระองค์[22] ส่งผลให้ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 พระเจ้าเกาอูลูโฟนูอาตูอิตองกาพระองค์ที่ 24 ตั้งพระอนุชาของพระองค์คือเจ้าชายโมอูงาโมตูอาขึ้นเป็นตูอิฮาอะตากาเลาอาพระองค์แรก เพื่อช่วยเหลือตูอิตองกาในการปกครองจักรวรรดิ[23] และอีก 2 ศตวรรษต่อมาได้มีการตั้งราชวงศ์ตูอิกาโนกูโปลูขึ้นเพื่อช่วยเหลืออีก 2 ราชวงศ์ในการปกครองจักรวรรดิ[24] ซึ่งต่อมาตูอิกาโนกูโปลูสามารถก้าวขึ้นมาเป็นราชวงศ์ที่มีอิทธิพลแทนที่ตูอิฮาอะตากาเลาอาได้[24]
ในยุคจักรวรรดิตูอิตองกานี้ มีนักสำรวจชาวยุโรปเดินทางเข้ามาหลายกลุ่ม โดยนักสำรวจที่เดินทางเข้ามาเป็นกลุ่มแรกนั้นเป็นนักสำรวจชาวดัตช์ชื่อว่ายาค็อบ เลอแมร์และวิลเลม ชูเต็น ซึ่งเดินทางมาถึงจักรวรรดิตูอิตองกาในปี ค.ศ. 1616[25] ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จักรวรรดิเกิดสงครามกลางเมือง[26] โดยเข้ามาสำรวจในบริเวณเกาะนีอูอาโทพูตาปู[27] ในปี ค.ศ. 1643 แอเบล ทาสมันได้เดินทางเข้ามาในตองกาในบริเวณเกาะตองกาตาปูและฮาอะไป[27] แต่การเดินทางเข้ามาทั้ง 2 ครั้งของชาวยุโรปนี้ ยังไม่มีการติดต่อกับชาวพื้นเมืองอย่างเป็นทางการมากเท่าใดนัก[26] การติดต่อกับชาวพื้นเมืองอย่างเป็นทางการของชาวยุโรปและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในจักรวรรดิคือการเดินทางเข้ามาสำรวจของกัปตันเจมส์ คุกในปี ค.ศ. 1773 1774 และ 1777[26] ซึ่งเจมส์ คุกได้ตั้งชื่อหมู่เกาะนี้ว่า "หมู่เกาะแห่งมิตรภาพ" (Friendly Islands) โดยชื่อนี้มาจากความประทับใจของเจมส์ คุกต่อลักษณะนิสัยของชาวพื้นเมือง[26]
การรวมชาติตองกา
ในปี พ.ศ. 2388 เตาฟาอาเฮา ตูปู ซึ่งมีเชื้อสายราชวงศ์ตูอิกาโนกูโปลู ได้รวบรวมหมู่เกาะตองกาที่แตกแยกกัน ให้เป็นอาณาจักรเดียวกัน ภายใต้ชื่อ "อาณาจักรโพลีนีเซีย" แล้วสถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าจอร์จ ตูปูที่ 1 พร้อมสถาปนาราชวงศ์ตูปูขึ้น พระองค์พระราชทานรัฐธรรมนูญเมื่อ พ.ศ. 2418 ในระยะเวลาต่อมา พระเจ้าจอร์จ ตูปูที่ 2ทรงทำสนธิสัญญาให้ตองกาเป็นรัฐภายใต้ การคุ้มครองของสหราชอาณาจักร ในปี พ.ศ. 2443 จนกระทั่งวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2513 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระราชาธิบดีเตาฟาอาเฮา ตูปูที่ 4 ตองการได้อำนาจการปกครองตนเองคืนทั้งหมด และได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในเครือจักรภพ และเมื่อกันยายน พ.ศ. 2543 ตองกาได้เข้าร่วมเป็นประเทศในสหประชาชาติ[28]
การเมือง
ระบบรัฐสภา ระบบสภาเดี่ยว ประกอบด้วยสมาชิก 3 กลุ่ม คือ
- คณะรัฐมนตรี คัดเลือกและแต่งตั้งโดยกษัตริย์ ดำรงตำแหน่งจนกระทั่งเกษียณอายุ
- ผู้แทนขุนนาง (Noble MPs) คัดเลือกโดยกลุ่มขุนนาง
- ผู้แทนสามัญชน (Commoner MPs) มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
สถานการณ์ทางการเมือง
จุดเปลี่ยนแปลงการปกครองของตองกา คือ การลาออกของเจ้าชายอูลูกาลาลา ลาวากา อาตา จึงทำให้หลาย ๆ คนคาดว่าตองกาจะก้าวสู่ความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ส่วนสาเหตุการลาออกไม่ทราบแน่นอน แต่ที่จริงแล้วเจ้าชายลาวากาไม่ต้องการตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแต่ที่แรก จึงทำให้ ดร. เฟเลติ เซเวเลซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยตองกาได้เป็นนายกรัฐมนตรีของตองกาจากการแต่งตั้งของสมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จ ตูปูที่ 5 เมื่อยังดำรงพระยศเป็นมกุฎราชกุมาร[29]
ประชาชนชาวตองกามีการเรียกร้องประชาธิปไตยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 และบ่อยครั้งที่รัฐบาลไม่ได้รับความไว้วางใจจากฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายประชาชน โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับการเงินและการขายหนังสือเดินทางให้แก่ชาวต่างชาติ นอกจากนี้ เจ้าชายอูลูกาลาลา ลาวากา อาตายังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการบริหาร โดยเฉพาะกรณีสายการบิน Royal Tongan Airlines ซึ่งพระองค์ทรงเป็นประธาน ประสบภาวะล้มละลายในปี พ.ศ. 2547 และการที่พระองค์เสด็จฯ ต่างประเทศเป็นเวลานานในช่วงเวลาที่ประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2547 อนึ่ง เจ้าชายอูลูกาลาลา ลาวากา อาตา ทรงไม่ได้ให้เหตุผลต่อการลาออกจากตำแหน่งในครั้งนี้ แต่เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าพระองค์ไม่มีพระประสงค์ที่จะดำรงตำแหน่งดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น และไม่ทรงชื่นชอบการปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี[29]
แม้ว่าการเมืองตองกาจะมีแนวโน้มเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น แต่รัฐบาลยังคงประสบปัญหาขัดแย้งกับสมาคมข้าราชการ ซึ่งเรียกร้องให้รัฐบาลปรับขึ้นเงินเดือน รวมทั้งการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายตูอิเปเลหะเก ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการรัฐสภาด้านการปฏิรูปการปกครอง จากอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 จึงคาดว่ากระบวนการปฏิรูปการเมืองจะยังคงล่าช้าต่อไป[29]
การแบ่งเขตการปกครอง
ตองกาแบ่งการปกครองใหญ่เป็น 5 เขตการปกครอง[30] คือ
- ตองกาตาปู เมืองเอก คือ มูอา
- ฮาอะไป เมืองเอก คือ ปังไก
- วาวาอู เมืองเอก คือ เนอิอาฟู
- นีอูอาส
- เออัว เมืองเอก โอโฮนัว
ภูมิศาสตร์
ประเทศตองกาตั้งอยู่ในทวีปโอเชียเนีย ในภูมิภาคโพลินีเซีย ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ อยู่ระหว่างระยะทาง 2 ใน 3 ระหว่างรัฐฮาวาย - นิวซีแลนด์ มีเกาะทั้งหมด 169 เกาะ แต่มีเพียง 96 เกาะที่มีคนอาศัยอยู่ เกาะส่วนใหญ่เป็นเกาะปะการัง มีบางเกาะเท่านั้นที่เกิดจากภูเขาไฟ เกาะที่ใหญ่ที่สุด คือเกาะตองกาตาปู ซึ่งมีพื้นที่ถึง 257 ตารางกิโลเมตร (34.36 % ของพื้นที่ทั้งประเทศ) ประเทศตองกาวัดตั้งแต่เหนือสุดเกาะนีอูอาโฟเอา จนใต้สุดสาธารณรัฐมิเนอร์วาได้ทั้งสิ้นกว่า 800 กิโลเมตร แต่มีพื้นที่ติดทะเลทั้งหมด 419 กิโลเมตร ประเทศตองกาอยู่ในเขตร้อน เพราะฉะนั้น จึงมีอุณหภูมิตลอดทั้งปีโดยเฉลี่ย 23 - 32 องศาเซลเซียส และมีอยู่ 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนและฤดูหนาว (คล้ายภาคใต้ของประเทศไทย) มีฝนตกเฉลี่ย 1,700 - 2,970 มิลลิเมตร ตั้งแต่เกาะตองกาตาปูถึงเส้นศูนย์สูตร
ประเทศตองกามีพื้นที่ทั้งหมด 748 ตารางกิโลเมตร พื้นดิน 718 ตารางกิโลเมตร พื้นน้ำ 30 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่เป็นขนาดสี่เท่าของวอชิงตัน ดี.ซี.ของสหรัฐอเมริกา มีเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 200 ไมล์ทะเล มีทรัพยากรที่สำคัญ คือปลาและดินอันอุดมสมบูรณ์ เขตสูงสุดอยู่ที่สถานที่ไม่มีชื่อบนเกาะเกา 1,033 เมตร สถานที่ต่ำสุด คือ มหาสมุทรแปซิฟิก 0 เมตร มีภัยธรรมชาติที่สำคัญ คือ ไซโคลน แผ่นดินไหว และ การประทุของภูเขาไฟ[30]
สัตว์พื้นเมืองและสภาพทางนิเวศวิทยา
สัตว์พื้นเมืองที่เด่นชัดที่สุด คือนกมาเลา อาศัยอยู่บนเกาะนีอูอาโฟเอา ออกไข่แล้วกลบไว้ใต้ดิน ซึ่งในปัจจุบันมีในเกาะนี้ที่เดียวในโลก ซึ่งเหมือนกับที่อื่นในภูมิภาคนี้เนื่องจากภูมิภาคนี้ถูกตัดขาดจากภูมิภาคอื่น สัตว์ที่เด่นในโอเชียเนียอื่น ๆ เช่น จิงโจ้ หมีโคอาลา นกคาสโซวารี่ นกปักษาสวรรค์ นกกีวีเป็นต้น สัตว์อื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ในตองกา ได้แก่ นกชนิดต่าง ๆ หมู และสัตว์น้ำต่าง ๆ มากมาย รวมถึงมีแนวปะการังที่สวยงามด้วย
ตองกาเป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อน เพราะฉะนั้นก็จะมีป่าดงดิบอันอุดมสมบูรณ์ แต่ถึงอย่างไรก็ตามป่าดงดิบก็ยังมีขนาดเล็ก สืบเนื่องมาจากขนาดของเกาะ ซึ่งแต่ละเกาะก็จะมีพันธุ์ไม้แตกต่างกันไป แล้วแต่สภาพทางภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา ดินฟ้าอากาศหรือแม้กระทั่งการอยู่ใกล้ชิดเกาะขนาดใหญ่ เป็นต้น
เศรษฐกิจ
ตองกาเป็นประเทศหนึ่งในแปซิฟิกใต้ที่มีพื้นดินอุดมสมบูรณ์ เศรษฐกิจของตองกายังคงพึ่งพาสินค้าเกษตรเป็นหลัก สินค้าออกที่สำคัญและทำรายได้อันดับ 1 คือ ฟักทอง เนื้อมะพร้าวตากแห้ง สินค้าอื่น ๆ จากมะพร้าว วานิลลา และพืชประเภทรากไม้ต่างๆ สำหรับอุตสาหกรรมที่ทำรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับที่ 2 ได้แก่ การท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2548 การส่งออกฟักทองลดลงกว่า 1,000 ตัน และเกษตรกรไม่ได้รับเงินค่าจ้างตรงตามเวลา ด้วยเหตุนี้ ผู้แทนการค้าตองกาจึงได้พยายามแสวงหาตลาดใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเกาหลีใต้[31]
ตองกายังคงพึ่งพาเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ การท่องเที่ยว และเงินจากแรงงานในต่างประเทศ (remittances) ซึ่งมีอัตราร้อยละ 20 ของ GDP ปัจจุบัน ประชากรชาวตองกากว่าครึ่งหนึ่งอาศัยอยู่ในออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และสหรัฐอเมริกา ประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือที่สำคัญ คือ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และนิวซีแลนด์
ตองกาได้จัดตั้งธนาคารแห่งชาติชื่อว่า The Reserve Bank[32] โดยแยกหน้าที่จาก Bank of Tonga เพื่อปฏิรูปเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งทำให้ภาพรวมทางเศรษฐกิจโดยทั่วไปดีขึ้นมาก ปัญหาด้านการเงิน คือ ชาวตองกาได้รับการปล่อยสินเชื่อจากธนาคารน้อยมาก เนื่องจากมีกลไกการควบคุมอัตราดอกเบี้ยที่เข้มงวด ประเทศที่มีความสำคัญทางการค้าของตองกา คือ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ โดยเฉพาะญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งสินค้าออกที่ใหญ่ที่สุดของตองกา ส่วนสินค้าเข้าของ ตองกาส่วนใหญ่เป็นสินค้าจำพวกอาหารตองกาไม่มีทรัพยากรแร่ธาตุที่สำคัญ แต่มีเขตเศรษฐกิจจำเพาะทางทะเลที่กว้างใหญ่ ซึ่งเหมาะแก่การประมงน้ำลึก อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 2517 ตองกาได้พัฒนาโครงการสำรวจแหล่งน้ำมันในทะเล และในปัจจุบันได้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นด้วย[29]
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจปัจจุบัน
ตองกาได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 โดยมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากองค์กรเอกชน Oxfam ว่า ตองกาจะเสียผลประโยชน์อย่างมหาศาลจากข้อกำหนดในการเป็นสมาชิก ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเกษตรกรและธุรกิจขนาดเล็กในประเทศ[29]
การคมนาคม สื่อสาร
ตองกาประกอบด้วยสนามบิน 6 แห่ง มีทางหลวงยาวทั้งหมด 680 กิโลเมตร มีเรือขนส่งสินค้า 20 ลำ ท่าเรือที่สำคัญ คือ นูกูอะโลฟา และประชาชนมีโทรศัพท์ทั้งหมด 11,200 เครื่อง โทรศัพท์มือถือ 9,000 เครื่อง สถานีวิทยุ 3 แห่งและสถานีโทรทัศน์ 3 แห่ง[30]
สถานการณ์ทางการคมนาคม สื่อสาร
บริษัทชอร์ไลน์โทรคมนาคมตองกา ซึ่งมีสมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จ ตูปูที่ 5 ทรงเป็นเจ้าของ ได้พยายามปรับปรุงระบบอินเทอร์เน็ตและดาวเทียม ให้ดียิ่งขึ้น
ประชากร
ประชากรในตองกาประกอบด้วยชาวตองกา ร้อยละ 98 (โพลีนีเซียน) และอื่น ๆ อีกร้อยละ 2 ซึ่งประกอบด้วยชาวยุโรป และชาวจีน มีอัตราการเกิดอยู่ที่ 25.37 ต่อ 1000 อัตราการตายอยู่ที่ 5.28 ต่อ 1000 และมีอัตราการอ่านออกเขียนได้ร้อยละ 98.9 ประชากรนับถือศาสนาคริสต์[30]
สุขภาพและโภชนาการ
ชาวตองกาส่วนใหญ่นิยมรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก ส่งผลให้ร้อยละ 92 ของผู้ใหญ่ตองกาเป็นโรคอ้วนเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ โดยคนชนบทมีอัตราความอ้วนน้อยกว่าคนเมือง เนื่องจากต้องปีนขึ้นเก็บมะพร้าวทุกวัน อาหารโปรดของชาวตองกา คือ หมูหันพื้นเมือง ซึ่งก็มีไขมันเยอะเช่นเดียวกัน สำหรับหมูหันนี้ไว้ใช้ในงานสำคัญ โดยจะเอาลูกหมูมาทำเป็นอาหาร
วัฒนธรรม
ชาวโปลีนีเซียนรวมถึงตองกาถือว่าเป็นผู้ดีในกลุ่มชนล้าหลัง เนื่องจากมีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง ตองกามีภาษาเป็นของตนเอง คือ ภาษาตองกา โดยมีประมาณหนึ่งแสนคนที่ใช้ภาษาตองกาเป็นภาษาหลัก นอกจากภาษาตองกาแล้ว ภาษาอังกฤษยังคงเป็นภาษาทางการของประเทศ ชาวตองกาเหมือนชาวโพลีนีเซียนทั่วไป คือ มีการเต้นรำของตัวเอง
ความสัมพันธ์ทางการทูต
ตองกาพยายามที่จะสร้างสัมพันธ์ทางการทูตให้ได้มากที่สุด โดยปัจจุบันตองกามีสำนักงานผู้แทนทางการทูต 6 แห่ง คือ ลอนดอน ฮาวาย ซานฟรานซิสโก นิวยอร์ก ปักกิ่ง และซิดนีย์
ความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศในโอเชียเนีย
ตองกามีความร่วมมือทั้งทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดกับประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกด้วยกัน เช่น ประเทศฟิจิ ประเทศซามัว ประเทศนาอูรู หมู่เกาะคุก ประเทศออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์ โดยในปี พ.ศ. 2549 ตองกาจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำ Pacific Islands Forum ซึ่งเป็นองค์กรในภูมิภาคแปซิฟิกที่สำคัญที่สุด
ความสัมพันธ์ทางการทูตกับนิวซีแลนด์
ตองกามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับนิวซีแลนด์มาโดยตลอด เนื่องจากมีความผูกพันกันทางเชื้อชาติ ศาสนาและประวัติศาสตร์กับชนพื้นเมือง (ชาวมาวรี) ส่งผลให้ตองกาได้รับอิทธิพลทางการเมืองและการปกครองจากนิวซีแลนด์เป็นอันมาก ผู้นำและผู้บริหารระดับสูงของตองกาหลายคนสำเร็จการศึกษาจากนิวซีแลนด์ และมีชาวตองกาจำนวนมากเข้าไปตั้งถิ่นฐานในนิวซีแลนด์ นอกจากนี้ นิวซีแลนด์ยังเป็นประเทศ ผู้บริจาครายใหญ่ของตองกา โดยเน้นให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษาเป็นหลัก
ความสัมพันธ์ทางการทูตกับชาติในเอเชีย
เดิมตองกาเป็นประเทศแรกที่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวันเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2515 ภายหลังที่ไต้หวันถูกขับออกจากสหประชาชาติแล้ว 1 ปี แต่ปัจจุบันตองกาได้เปลี่ยนมาเปิดความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีนและยึดถือนโยบายจีนเดียว ในขณะที่หลายประเทศในแปซิฟิกใต้ ได้แก่ ประเทศปาเลา ประเทศตูวาลู ประเทศหมู่เกาะมาร์แชลล์ ประเทศคิริบาส หมู่เกาะโซโลมอน และประเทศนาอูรูยังคงมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวัน สำหรับประเทศในกลุ่มอาเซียน ตองกามีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศบรูไน และประเทศไทย
ความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย
ความสัมพันธ์ทั่วไป
ไทยกับตองกาสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2537 และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมาโดยตลอด โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวลลิงตัน มีเขตอาณาคลุมตองกา เอกอัครราชทูตคนปัจจุบัน คือ นายนรชิต สิงหเสนี[29]
ตองกาให้ความเป็นมิตรและพยายามกระชับความสัมพันธ์กับไทย เนื่องจากไทยจะเป็นประเทศที่มีการพัฒนาที่ก้าวหน้า มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และไม่เคยเป็นอาณานิคมตะวันตกเช่นเดียวกันกับตองกา ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาไทยให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ตองกา 2 ครั้ง คือ กรณีพายุไซโคลน Weka ปี พ.ศ. 2545 บริจาคเงิน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ และกรณีพายุ Heta ปี พ.ศ. 2547 บริจาคเงิน 20,000 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ ขณะที่ตองกาเป็นประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกใต้ประเทศเดียวที่บริจาคเงินช่วยเหลือไทยกรณีสึนามิจำนวน 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ และให้การสนับสนุนไทยในเวทีระหว่างประเทศมาโดยตลอด
การค้าระหว่างไทย - ตองกา
การค้าระหว่างไทยและตองกายังมีปริมาณไม่มากนัก แต่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมากในปี พ.ศ. 2548 โดยการค้าสองฝ่ายมีมูลค่า 2.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2547 ร้อยละ 219 โดยไทยส่งออกสินค้าไปยังตองกาเกือบทั้งหมด โดยตองกานำเข้าสินค้าประเภทเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ไทยนำเข้าสินค้าจากตองกามีมูลค่าเพียง 1,416 ดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่ ผ้าผืน เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียม ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ รถยนต์และส่วนประกอบ
การช่วยเหลือด้านวิชาการ
ความช่วยเหลือทางวิชาการในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ไม่มีผู้แทนตองกาเข้ามารับการฝึกอบรมในไทย อย่างไรก็ตาม จากผลการหารือระหว่างเจ้าชายอูลูกาลาลา ลาวากา อาตา นายกรัฐมนตรี กับนายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2548 ฝ่ายตองกาได้แสดงความสนใจที่จะเรียนรู้จากไทยในเรื่องการประมงชายฝั่งและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งในเรื่องนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไทยและสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร.) พร้อมให้การสนับสนุน โดยมีโครงการจะจัดการฝึกอบรมด้านประมงชายฝั่งให้แก่ตองกาและกลุ่มประเทศสมาชิก Pacific Islands Forum ในปี พ.ศ. 2549
ความตกลงที่ทำกับไทย
- อยู่ระหว่างรอการลงนามความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศ
การเยือนของผู้นำระดับสูง
- ฝ่ายตองกาเยือนไทย
- ระดับราชวงศ์
- วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2523 สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จ ตูปูที่ 5 เมื่อยังดำรงตำแหน่งมกุฎราชกุมารแห่งตองกาได้เสด็จเยือนไทยเพื่อบรรยายสรุปในที่ประชุม ESCAP และในโอกาสนี้ได้พบหารือกับ ฯพณฯ พล อ.อ. สิทธิ เศวตศิลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- วันที่ 4-11 พฤศจิกายน 2533 สมเด็จพระราชินีฮาลาเอวาลู มาตาอาโฮ อาโฮเมเอเสด็จเยือนไทยในฐานะแขกพิเศษของสมาคมสตรีภาคพื้นแปซิฟิกและเอเชียอาคเนย์ (The Pan Pacific and Southeast Asia Women’s Association – PPSEAWA) ณ สวนสามพราน โดยในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2533 พระราชินีแห่งตองกาได้เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เป็นการส่วนพระองค์ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ของขวัญที่พระราชินีตองกาถวายเป็นภาชนะหวายถัก 3 ชิ้นใหญ่ ซึ่งเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านของตองกา สถานที่ที่ พระราชินีเสด็จเยือนได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่บ้านพักรถไฟ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดญาณสังวราราม โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
- ปี พ.ศ. 2549 สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จ ตูปูที่ 5 เมื่อยังดำรงตำแหน่งเป็นมกุฎราชกุมารมกุฎแห่งตองกาทรงเป็นผู้แทนพระองค์สมเด็จพระราชาธิบดีเตาฟาอาเฮา ตูปูที่ 4 เสด็จเยือนไทยในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
- ระดับรัฐบาล
- ปี 2548 เจ้าชายอูลูกาลาลา ลาวากา อาตา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการบินพลเรือน เสด็จเยือนไทยระหว่างวันที่ 22 - 28 เมษายน 2548 และในโอกาสนี้ได้พบหารือกับนายนายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
- ฝ่ายไทยเยือนตองกา
- ระดับพระราชวงศ์
- ปี พ.ศ. 2539 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนตองกาอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 19 - 21 เมษายน 2539
- ระดับรัฐบาล
- ปี 2537 นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศนำคณะเยือนปาปัวนิวกินี ฟิจิ ตองกา และนิวซีแลนด์ระหว่างวันที่ 9-21 สิงหาคม 2537 โดยในการเยือนตองการะหว่างวันที่ 15 - 17 สิงหาคม 2537 คณะได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระราชาธิบดีเตาฟาอาเฮา ตูปูที่ 4 และเยี่ยมคารวะคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้น[29]
อ้างอิง
- ↑ "SPC-SDP_Pop2000-2015_ by_1-and-5-year-age-groups_May2011.xls". สืบค้นเมื่อ 29 January 2013.
- ↑ 2.0 2.1 "Tonga National Population Census 2011; Preliminary Count". สืบค้นเมื่อ 29 January 2013.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 "Tonga". International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 29 January 2014.
- ↑ "Human Development Report 2010" (PDF). United Nations. 2010. สืบค้นเมื่อ 29 January 2014.
- ↑ "About Tonga". Tongasat. สืบค้นเมื่อ 29 January 2014.
- ↑ Demographic Yearbook—Table 3: Population by sex, rate of population increase, surface area and density (pdf), United Nations Statistics Division, 2007, สืบค้นเมื่อ 29 January 2014
- ↑ "The World Factbook". CIA. สืบค้นเมื่อ 29 January 2014.
- ↑ "Geography of Tonga". princeton. สืบค้นเมื่อ 29 January 2014.
- ↑ "COUNTRY COMPARISON :: POPULATION". CIA. สืบค้นเมื่อ 29 January 2014.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 "Uranium dating shows Polynesians came to Tonga in 826 BC". Carina Boom. สืบค้นเมื่อ 29 January 2014.
- ↑ "Tonga profile". BBC News Asia. สืบค้นเมื่อ 29 January 2014.
- ↑ "Strong showing for Tonga democrats in election". BBC News Asia-Pacific. สืบค้นเมื่อ 29 January 2014.
- ↑ Bill Goodwin. "Frommer's South Pacific". สืบค้นเมื่อ 30 January 2014.
- ↑ Churchward, C.M. (1985) Tongan grammar, Oxford University Press, ISBN 0-908717-05-9
- ↑ "HAWAIIAN ASTRONOMICAL CONCEPTS" (PDF). MAUD W. MAKEMSON. สืบค้นเมื่อ 30 January 2014.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 16.3 Patrick Vinton Kirch, The Lapita Peoples: Ancestors of the Oceanic World
- ↑ Burley, Dickinson, Barton, & Shutler Jr., Lapita on the Periphery: New data on old problems in the Kingdom of Tonga
- ↑ "Lapita Pottery Tonga" (PDF). go4biodiv.org. สืบค้นเมื่อ 30 January 2014.
- ↑ "Lapita Pottery Archaeological Sites (A National Serial Site for consideration as the Kingdom of Tonga's contribution to a transnational serial site listing)". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 30 January 2014.
- ↑ 20.0 20.1 "Tu'i Tonga". Palace Office2013, Tonga. 30 January 2014.
- ↑ St. Cartmail, Keith (1997). The art of Tonga. Honolulu, Hawai'i: University of Hawai'i Press. p. 39. ISBN 0-8248-1972-1.
- ↑ Thomson, Basil (January 1901). "Note Upon the Natives of Savage Island, or Niue". The Journal of the Anthropological Institute of Great Britain and Ireland. Royal Anthropological Institute of Great Britain and Ireland. 31: 137.
- ↑ "Tu'i Ha'atakalaua". Palace Office2013, Tonga. 30 January 2014.
- ↑ 24.0 24.1 "Tu'i Kanokupolu". Palace Office2013, Tonga. 30 January 2014.
- ↑ Charles F. Urbanowicz, Motives and Methods: Missionaries in Tonga In the Early 19th Century
- ↑ 26.0 26.1 26.2 26.3 James B. Minahan, Ethnic Groups of South Asia and the Pacific: An Encyclopedia (Santa Barbara, Calif. : ABC-CLIO)
- ↑ 27.0 27.1 "Tonga". CIA World Factbook - The best country factbook available online. 30 January 2014.
- ↑ ประวัติศาสตร์ตองกาบนเว็บไซต์รัฐบาล
- ↑ 29.0 29.1 29.2 29.3 29.4 29.5 29.6 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อกระทรวงการต่างประเทศ
- ↑ 30.0 30.1 30.2 30.3 ข้อมูลประเทศตองกาโดยซีไอเอ
- ↑ กระทรวงการคลัง ราชอาณาจักรตองกา
- ↑ ธนาคารสำรองเงินแห่งชาติตองกา
แหล่งข้อมูลอื่น
- กระทรวงการต่างประเทศ
- ข้อมูลประเทศตองกาโดยซีไอเอ
- รัฐบาลตองกา
- กระทรวงการคลัง ราชอาณาจักรตองกา
- ธนาคารสำรองเงินแห่งชาติตองกา
- กระทรวงการสำรวจที่ดินและธรรมชาติ ราชอาณาจักรตองกา
- แผนที่ตองกา
- แผนที่ตองกา
- โปสการ์ดการท่องเที่ยวตองกา
- มาตังกิตองกา ข่าวจากตองกา
- ประวัติศาสตร์ตองกา
- ประวัติศาสตร์ตองกาบนเว็บไซต์รัฐบาล
- เว็บไซต์ยอดนิยมของชาวตองกา