ราชอาณาจักรตองงา (ค.ศ. 1900–1970)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชอาณาจักรตองงา

1900–1970
ธงชาติTonga
ธงชาติ
ตราแผ่นดินของTonga
ตราแผ่นดิน
ที่ตั้งของราชอาณาจักรตองงาตามเขตแดนในปัจจุบัน
ที่ตั้งของราชอาณาจักรตองงาตามเขตแดนในปัจจุบัน
สถานะรัฐในอารักขาของสหราชอาณาจักร
เมืองหลวงนูกูอาโลฟา
ภาษาทั่วไปอังกฤษ
ตองงา
ศาสนา
ฟรีเวสเลยันเชิร์ช
การปกครองราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (รัฐในอารักขาของสหราชอาณาจักร)
พระมหากษัตริย์ 
• 1900–1918
พระเจ้าจอร์จ ตูโปอูที่ 2 (แรกสุด)
• 1965–1970
สมเด็จพระราชาธิบดีเตาฟาอาเฮา ตูโปอูที่ 4 (สุดท้าย)
นายกรัฐมนตรี 
• 1900–1905
ซีโอซาเตกี เวอีกูเน (แรกสุด)
• 1965–1970
ฟาตาเฟฮี ตูอิเปเลฮาเก (สุดท้าย)
สภานิติบัญญัติสภานิติบัญญัติ
ประวัติศาสตร์ 
• สนธิสัญญามิตรภาพ
18 พฤษภาคม 1900
• สิ้นสุดความเป็นรัฐในอารักขา
4 มิุถนายน 1970
สกุลเงินปอนด์ตองงา (1921–1967)
ปาอางา (1967–1970)
รหัส ISO 3166TO
ก่อนหน้า
ถัดไป
ตองงา
ตองงา

ระหว่าง ค.ศ. 1900–70 ราชอาณาจักรตองงาเป็นรัฐในอารักขาของสหราชอาณาจักร โดยสถานะนี้เกิดขึ้นจากการลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1900 เมื่อชาวยุโรปและหัวหน้าชุมชนที่เป็นอริพยายามขับพระเจ้าจอร์จ ตูโปอูที่ 2 ออกจากราชบัลลังก์ สนธิสัญญาสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1970 ภายใต้ข้อตกลงที่สร้างขึ้นก่อนที่สมเด็จพระราชินีนาถซาโลเต ตูโปอูที่ 3 จะสวรรคต

ประวัติศาสตร์[แก้]

เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1900 ราชอาณาจักรตองงากลายเป็นรัฐในอารักขาของสหราชอาณาจักรจากการลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพ เพื่อกีดกันการขยายอำนาจของเยอรมนี ประกอบกับมีความพยายามขับไล่พระเจ้าจอร์จ ตูโปอูที่ 2 ออกจากราชบัลลังก์[1][2][3] การลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าวทำให้การดำเนินนโยบายต่างประเทศของตองงาต้องผ่านทางกงสุลอังกฤษ และสหราชอาณาจักรมีอำนาจยับยั้งนโยบายต่างประเทศและการเงินของราชอาณาจักรตองงา[1]

ตองงาได้รับผลกระทบจากการระบาดทั่วของไข้หวัดใหญ่สเปนเมื่อ ค.ศ. 1918 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1,800 คน คิดเป็นร้อยละ 8 ของผู้อยู่อาศัย[4]

ตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตองงาสงบ สนใจแต่กิจการภายในของตนและค่อนข้างโดดเดี่ยวจากการพัฒนาในส่วนอื่นของโลก โครงสร้างสังคมที่ซับซ้อนของตองงาโดยพื้นฐานแล้วสามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ พระมหากษัตริย์, ชนชั้นสูงและสามัญชน โดยระหว่างชนชั้นสูงและสามัญชนจะมี "มาตาปูเล" ซึ่งมีความข้องเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์หรือชนชั้นสูงโดยอาจถือครองที่ดินหรือไม่ก็ได้ ภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของคนแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกัน และแม้ว่าชนชั้นสูงจะขอการสนับสนุนจากผู้คนที่อยู่ในที่ดินของตนได้ ในทางกลับกันชนชั้นสูงต้องตอบแทนให้แก่ผู้คนเช่นกัน สถานะและลำดับทางสังคมมีส่วนอย่างมากในความสัมพันธ์ส่วนบุคคล แม้กระทั่งภายในครอบครัว

ในวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1970 สถานะอารักขาสิ้นสุดลง จากการเตรียมการมาตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถซาโลเต ตูโปอูที่ 3 จนกระทั่งพระองค์สวรรคตใน ค.ศ. 1965

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Tonga - History". Encyclopedia Britannica.
  2. "Tonga becomes a protectorate to the United Kingdom". www.famousdaily.com.
  3. "Tonga | Facts, History & News". www.infoplease.com.
  4. Kohn, George C. (2008). Encyclopedia of plague and pestilence: from ancient times to the present. Infobase Publishing. p. 363. ISBN 0-8160-6935-2.