การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศตองงา พ.ศ. 2553

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศตองงา พ.ศ. 2553

← 2008 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 2014 →

19 (ต่อ 26) ที่นั่งในสภานิติบัญญัติ
  First party Second party
 
ผู้นำ ซีอาเลอาตาโอโง ตูอีวากาโน ʻAkilisi Pohiva
พรรค ไม่มี Democratic Party of the Friendly Islands
เขตของผู้นำ Tongatapu (Nobles) Tongatapu 1
เลือกตั้งล่าสุด 12 ที่นั่ง, 54.09% [1] ไม่เคยร่วม
ที่นั่งที่ชนะ 14 12
ที่นั่งเปลี่ยน ลดลง 3 เพิ่มขึ้น 3
คะแนนเสียง 25,873 10,953
% 67.30% 28.49%

นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง

เฟเลติ เซเวเล
Democratic Party of the Friendly Islands

ว่าที่นายกรัฐมนตรี

ซีอาเลอาตาโอโง ตูอีวากาโน
ไม่มี

การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศตองงา พ.ศ. 2553 เป็นการเลือกตั้งภายใต้กฎหมายเลือกตั้งฉบับใหม่ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553[2] เพื่อเลือกสมาชิกสภานิติบัญญัติตองงาจำนวน 26 ที่นั่ง

การเลือกตั้งได้รับการประกาศโดยสมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จ ตูโปอูที่ 5 แห่งตองงา ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 ไม่นานก่อนทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2551[3][4] และนำโดยโครงการการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ[5] การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่สมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่ (17 จาก 26) มาจากการเลือกตั้งโดยทั่วถึงของประชาชน ในขณะที่อีก 9 ที่นั่งสำรองไว้สำหรับสมาชิกชนชั้นสูงของตองงา นับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญตั้งแต่การปกครองภายใต้ระบอบกษัตริย์อันยาวนานกว่า 165 ปีมุ่งหน้าไปยังประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนอย่างเต็มตัว[6]

พรรคประชาธิปไตยหมู่เกาะแห่งมิตรภาพ ก่อตั้งขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2553 เป็นพรรคที่ก่อตั้งมาเพื่อรับสมัครการเลือกตั้งคราวนี้โดยเฉพาะ ภายใต้การนำของทหารผ่านศึกนิยมประชาธิปไตย โปฮิวา กวาดที่นั่งไปได้มากที่สุดถึง 12 จาก 17 ที่นั่ง[7]

เบื้องหลัง[แก้]

ก่อนหน้าการเลือกตั้งคราวนี้ สมาชิกรัฐสภาตองงาล้วนมาจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์เป็นส่วนใหญ่ และยังทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีอีกด้วย[8][6] มีเพียง 9 จาก 30 ที่นั่งเท่านั้น และอีก 9 ที่นั่งมาจากการเลือกตั้งภายในสมาชิกของชนชั้นสูง

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 รัฐสภาได้ออกโครงการปฏิรูปทางการเมือง โดยเพิ่มจำนวนผู้แทนที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนขึ้นจาก 9 ที่นั่งเป็น 17 ที่นั่ง[9] โดย 10 ที่นั่งมาจากโตงาตาปู 3 ที่นั่งจากวาวาอู 2 ที่นั่งจากฮาอะไป และ 1 ที่นั่งจาก Niuas เช่นเดียวกับอัว[10] ที่นั่งทั้งหมดมาจากการเลือกตั้งเขตละคน ซึ่งแตกต่างจากการเลือกตั้งแบบเขตละหลายคนที่เคยใช้มาในอดีต การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้ 65.4% ของสมาชิกรัฐสภาได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน[11][12] ส่วนชนชั้นสูงจะยังคงสามารถเลือกผู้แทนของตนได้ 9 คน แต่การแต่งตั้งผู้แทนของพระมหากษัตริย์จะถูกยกเลิกไป[12]

การเลือกคณะรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีเคยเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ แต่คราวนี้ สมาชิกรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งจะลงคะแนนเสียงเลือกนายกรัฐมนตรี[6]

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมาจากความตระหนักถึงการประท้วงนิยมประชาธิปไตยเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549[12][13] ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 8 คน และเขตเศรษฐกิจจำนวนมากของตองงาลาปูถูกทำลายเมื่อผู้ชุมนุมได้ประท้วงต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่การปฏิรูปทางการเมืองที่เชื่องช้า[14] การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากพระมหากษัตริย์[15]

การเลือกตั้ง[แก้]

การลงทะเบียนผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม โดยมีผู้ลงคะแนนถึง 42,000 คนได้มาลงทะเบียน[16][8] ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ศูนย์วิกฤตการณ์สตรีและเด็กได้แสดงความกังวลที่ว่ามากถึง 40% ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอาจไม่สามารถลงทะเบียนได้[17]

ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งมีการลงทะเบียนระหว่างวันที่ 21-22 ตุลาคม โดยมีผู้ลงสมัคร 147 คนใน 17 เขตเลือกตั้ง[18] เขตเลือกตั้งโตงาตาปู 6 และ 9 เป็นเขตที่มีการแข่งขันมากที่สุด ถึงเขตละ 15 คน ในขณะที่บางเขตเลือกตั้งมีผู้ลงสมัครเพียง 3 คน ผู้ลงสมัครในจำนวนนี้มี 10 คนที่เป็นสตรี[19] และมีเพียง 3 คนที่มาจากคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันเท่านั้นที่ลงสมัครในคราวนี้ด้วย[20]

ในการลงสมัคร ผู้ลงสมัครจะต้องจ่ายเงินจำนวน 400 พาแองกาเพื่อเป็นค่าธรรมเนียมการสมัคร และแสดงรายมือชื่อของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวน 50 คนเพื่อสนับสนุนการเป็นผู้ลงสมัครของพวกเขา[21] เศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบกลายมาเป็นความจำเป็นที่สำคัญที่สุดสำหรับการรณรงค์เลือกตั้งคราวนี้[13]

สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จ ตูโปอู ที่ 5 แห่งตองงา ได้ตรัสเรียกการเลือกตั้งครั้งนี้ว่าเป็น "วันแห่งประวัติศาสตร์และความยิ่งใหญ่สูงสุดของราชอาณาจักร"[22] และ "พวกท่านจะได้เลือกตัวแทนของตนเองให้เข้าไปนั่งในรัฐสภา ดังนั้น การเลือกตั้งครั้งนี้จึงจะนำไปสู่รัฐบาลชุดแรกในประวัติศาสตร์อันยาวนานของประเทศเรา ซึ่งมีที่มาจากเสียงของประชาชน"[13]

ผลที่ตามมา[แก้]

เมื่อผลการเลือกตั้งได้รับการสรุป สมาชิกรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งจะเลือกนายกรัฐมนตรี ชาวตองงาซึ่งมีวัฒนธรรมอันยาวนานที่มองหาชนชั้นสูงเป็นผู้นำ ได้คาดหวังว่านายกรัฐมนตรีจะเป็นชนชั้นสูงด้วย[8] แต่หลังจากการเลือกตั้ง ผู้แทนชนชั้นสูงได้ประกาศว่าพวกเขาจะสนับสนุนให้สามัญชนเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี[23] ภายใต้การปฏิรูปครั้งใหม่นี้ รัฐสภามีเวลาหนึ่งเดือนที่จะเลือกนายกรัฐมนตรีและตั้งรัฐบาล[14]

ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าพรรคประชาธิปไตยหมู่เกาะแห่งมิตรภาพ ได้รับชัยชนะถึง 12 จาก 17 ที่นั่ง เกือบถึงกึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด[24][25][26] ถึงแม้ว่าพรรคจะได้รับคะแนนเสียงเพียงหนึ่งในสามของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งหมด ผู้สมัครอิสระได้รับคะแนนเสียงรวมกันถึงสองในสาม แต่มีเพียง 5 ที่นั่งเท่านั้นที่ได้รับเลือก

อ้างอิง[แก้]

  1. Includes nobles and peer members who were appointed by the King of Tonga.
  2. "Civics education vital ahead of Tonga election, says advocate". Radio New Zealand International. 2010-04-21. สืบค้นเมื่อ 2010-04-22.
  3. "Tonga's king to cede key powers". BBC. 2008-07-29. สืบค้นเมื่อ 2010-04-22.
  4. "His Majesty King George Tupou V- A Monarch for a time of change". Fiji Daily Post. 2008-07-28. สืบค้นเมื่อ 2010-04-22.
  5. "Commission pessimistic over ability of Assembly to meet 2010 election deadline". Matangi Tonga. 2009-11-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-05. สืบค้นเมื่อ 2010-04-22.
  6. 6.0 6.1 6.2 "Strong showing for Tonga democrats in election". BBC News. British Broadcasting Corporation. 2010-11-26. สืบค้นเมื่อ 2010-11-26.
  7. Malkin, Bonnie (27 November 2010). "King prepares to hand over powers after election in Tonga". Sydney Morning Herald. Fairfax Media. สืบค้นเมื่อ 26 November 2010.
  8. 8.0 8.1 8.2 Agence France-Presse (2010-11-24). "Tonga set for landmark vote". Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 2010-11-24.
  9. "Tonga Parliament enacts political reforms". Radio New Zealand International. 2010-04-15. สืบค้นเมื่อ 2010-04-21.
  10. "Tonga parliament votes on amended boundaries". Radio New Zealand International. 2010-04-20. สืบค้นเมื่อ 2010-04-21.
  11. "Tonga's pro-democracy movement hails assembly reform". Radio New Zealand International. 2010-04-21. สืบค้นเมื่อ 2010-04-22.
  12. 12.0 12.1 12.2 Dorney, Sean (2010-11-24). "Tonga prepares for historic poll". Australia Network News. Australian Broadcasting Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-14. สืบค้นเมื่อ 2010-11-24.
  13. 13.0 13.1 13.2 "Tonga Democrats 'leading' in polls". Al Jazeera. 2010-11-25. สืบค้นเมื่อ 2010-11-25.
  14. 14.0 14.1 Agence France-Presse (2010-11-26). "No clear winner in Tonga's first election". Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 2010-11-26.
  15. Hill, Bruce (2010-11-22). "Tongan monarch voices support for elections". Radio Australia; Austalian Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 2010-11-25.
  16. "Registration closes with over 40,000 Tongan voters". Matangi Tonga. 2010-09-03. สืบค้นเมื่อ 2010-09-04.[ลิงก์เสีย]
  17. "Huge numbers failed to register for Tonga election, says woman advocate". Radio New Zealand International. 2010-11-01. สืบค้นเมื่อ 2010-11-01.
  18. "147 candidates for November Election". Matangi Tonga. 2010-10-22. สืบค้นเมื่อ 2010-10-23.[ลิงก์เสีย]
  19. "Ten women contesting Tonga poll". Radio New Zealand International. 2010-10-25. สืบค้นเมื่อ 2010-10-25.
  20. "Tonga health minister standing in elections to ensure continuity". Radio New Zealand International. 2010-10-25. สืบค้นเมื่อ 2010-10-25.
  21. "Parliamentary candidates to register in October". Matangi Tonga. 2010-09-03. สืบค้นเมื่อ 2010-09-04.[ลิงก์เสีย]
  22. The Associated Press (2010-11-25). "Tongans vote for majority of parliamentarians". CTV News. CTV Globe Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-28. สืบค้นเมื่อ 2010-11-25.
  23. "Tonga names noble MPs who say prime minister should come from the people's representatives". Radio New Zealand International. 2010-11-25. สืบค้นเมื่อ 2010-11-25.
  24. "Pro-democracy party in Tonga big winner in general elections". Radio New Zealand International. 2010-11-26. สืบค้นเมื่อ 2010-11-26..
  25. "Tongatapu results". Matangi Tonga. 2010-11-26. สืบค้นเมื่อ 2010-11-26.[ลิงก์เสีย]
  26. "Outer island results". Matangi Tonga. 2010-11-26. สืบค้นเมื่อ 2010-11-26.[ลิงก์เสีย]

ดูเพิ่ม[แก้]