พระเจ้าโมโม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าโมโม
ตูอีโตงาแห่งจักรวรรดิตูอีโตงา
ครองราชย์ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 12
รัชสมัยไม่ทราบปีที่แน่นอน
ราชาภิเษกประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 12
รัชกาลก่อนหน้าสมเด็จพระเจ้าอาฟูลูงา
รัชกาลถัดไปสมเด็จพระเจ้าตูอิตาตูอิ
พระมเหสีสมเด็จพระราชินีนูอา
พระราชบุตรสมเด็จพระเจ้าตูอิตาตูอิ
เจ้าหญิงลาตูตามา (ตูอีโตงาเฟฟีเน)
สมเด็จพระเจ้าโมโม
ราชวงศ์ตูอีโตงา
พระราชบิดาสมเด็จพระเจ้าอาฟูลูงา
พระราชมารดาไม่ทราบ

สมเด็จพระเจ้าโมโม (ตองงา: Momo) ทรงเป็นตูอีโตงา (พระมหากษัตริย์) พระองค์ที่ 10 แห่งจักรวรรดิตูอีโตงา[1] พระองค์มีพระชนม์ชีพอยู่ในระหว่างประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 11 หรือ 12 พระนามของพระองค์มาจากมนุษย์กลุ่มแรกของโลกตามความเชื่อพื้นเมืองตองงาคือโกไฮ, โกเอา, โม โมโม ในรัชสมัยของพระองค์ถือได้ว่าเป็นยุคเริ่มต้นของความรุ่งเรืองของจักรวรรดิตูอีโตงา และเป็นรัชกาลแรกหลังจากรัชสมัยของพระเจ้าอะโฮเออิตูที่มีบันทึกและเรื่องเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในรัชสมัย

พระราชประวัติ[แก้]

สมเด็จพระเจ้าโมโมเป็นพระราชโอรสที่ปรากฏพระนามเพียงพระองค์เดียวของสมเด็จพระเจ้าอาฟูลูงากับพระราชมารดาที่ไม่ทราบพระนาม[2] เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นตูอีโตงาสืบต่อจากพระราชบิดานั้น พระองค์ได้ส่งราชทูตเลฮาอูลีสู่ของธิดาของโลเอา (ตูอิฮาอะเมอา) ซึ่งปกครองดินแดนอยู่ตอนกลางของเกาะโตงาตาปู[3] อย่างไรก็ตามโลเอาได้แจ้งแก่ราชทูตว่าธิดาของตนคือนูอานั้นได้แต่งงานและมีลูกแล้ว ในขณะที่ธิดาของตนอีกคนหนึ่งก็ยังไม่บรรลุนิติภาวะ สำหรับสามีของนูอานั้นคือโงโงคิลิโตโต หัวหน้าของเผ่าฮาอะโงโงซึ่งอาศัยอยู่ที่มาลาโป[3] อย่างไรก็ตามพระเจ้าโมโมต้องการนูอามาเป็นพระมเหสี ซึ่งท้ายที่สุดโงโงคิลิโตโตจำเป็นต้องยอม นูอาจึงกลายเป็นพระมเหสีของพระเจ้าโมโม[3]

สำหรับพระราชโอรสและพระธิดาของพระเจ้าโมโมและพระมเหสีนูอาที่ปรากฏพระนามมี 2 พระองค์ดังนี้คือ[4]

  1. สมเด็จพระเจ้าตูอิตาตูอิ
  2. เจ้าหญิงลาตูตามา

นอกจากนี้แล้วยังปรากฏนามบุตรคนสำคัญของนูอากับโงโงคิลิโตโตคือฟาซีอาปูเลซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือพระเจ้าตูอิตาตูอิ

พระราชกรณียกิจ[แก้]

พระองค์ย้ายที่ประทับมาอยู่ที่เฮเกตา[5] ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับนีอูโทอัว ในรัชสมัยของพระองค์ประชาชนจะต้องก้มศีรษะให้ต่ำกว่าตูอีโตงาเพื่อเป็นการแสดงความเคารพ นอกจากนี้ยุคนี้ยังมีการเริ่มขยายอำนาจของจักรวรรดิให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้นด้วย ซึ่งต่อมาจะประสบความสำเร็จในรัชสมัยของพระโอรสของพระองค์[3]

พงศาวลี[แก้]

รายการอ้างอิง[แก้]

  1. "The 'Ahoe'itu Dynasty". Royalark. 14 January 2014.
  2. "TU'I TONGA 'Afulunga (d. date unknown)". familytreemaker. 14 January 2014.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "BACKGROUND TO TONGAN SOCIETY AT THE TIME OF CAPTAIN COOK'S VISITS" (PDF). The Journal of the Polynesian Society. 14 January 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-12-09. สืบค้นเมื่อ 2014-01-15.
  4. "TU'I TONGA Momo (d. date unknown)". familytreemaker. 15 January 2014.
  5. "The Ancient Capitals of the Kingdom of Tonga". UNESCO. 15 January 2014.