โรงพยาบาลในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โรงพยาบาล (หรืออาจใช้ว่า สถานพยาบาล หรือ ศูนย์การแพทย์) เป็นสถานที่สำหรับการบริการทางด้านสุขภาพ โดยมักที่จะมุ่งเน้นทางด้านการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูภาวะความเจ็บป่วย หรือโรคต่างๆ ทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ ในประเทศไทยมีการให้บริการทั้งโรงพยาบาลรัฐบาล โรงพยาบาลเอกชน รวมทั้งคลินิก ที่เปิดบริการโดยทั่วไป

โรงพยาบาลรัฐบาล[แก้]

โรงพยาบาลส่วนใหญ่ในประเทศไทยเป็นโรงพยาบาลรัฐบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข[1] โดยโรงพยาบาลในส่วนภูมิภาคจะขึ้นตรงกับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดหรืออำเภอต่าง ๆ มีหลากหลายระดับตามขีดความสามารถ แต่สำหรับโรงพยาบาลในส่วนกลาง (กรุงเทพมหานคร) จะขึ้นตรงกับกรมการแพทย์ เช่น โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลเลิดสิน โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี โรงพยาบาลสงฆ์ เป็นต้น

สำหรับโรงพยาบาลเฉพาะทางอื่น ๆ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั้งในส่วนกลาง และในส่วนภูมิภาคจะขึ้นตรงกับกรมการแพทย์ทั้งหมด[2] เช่น สถาบันมะเร็งแห่งชาติ สถาบันโรคทรวงอก สถาบันประสาทวิทยา สถาบันโรคผิวหนัง สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เป็นต้น ยกเว้นโรงพยาบาลเฉพาะทางที่ดูแลรักษาผู้ป่วยทางด้านจิตเวชจะขึ้นตรงกับกรมสุขภาพจิต[3] เช่น สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา โรงพยาบาลศรีธัญญา สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ สถาบันราชานุกูล เป็นต้น

นอกเหนือจากโรงพยาบาลรัฐบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขแล้ว ในประเทศไทยยังมีโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลสังกัดหน่วยงานอื่น ๆ เช่น สภากาชาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งกรุงเทพมหานคร (กทม.) อีกด้วย โดยโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลรัฐบาลทั้งหมดจะให้บริการประชาชนตามสิทธิการรักษาในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

โดยทั่วไปโรงพยาบาลใน กทม. จะให้ความสำคัญเรื่องเตียงกับบัตรทองเป็นลำดับแรก (1st priority)[4]

ประเภทของโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลต่าง ๆ แบ่งตามขีดความสามารถ และประเภทได้ดังนี้

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย[แก้]

โรงพยาบาลศิริราช
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

โรงพยาบาลประเภทนี้เป็นโรงพยาบาลในมหาวิทยาลัยและโรงเรียนแพทย์ของสถาบันแพทยศาสตร์ในประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่สังกัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยเป็นศูนย์บริการทางการแพทย์ระดับตติยภูมิขั้นสูง (Super Tertiary Care) ที่มีขีดความสามารถในการให้บริการและมีความพร้อมในการรักษาสูงสุด เนื่องจากเป็นโรงพยาบาลที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนเพื่อผลิตบุคลากรทางด้านการแพทย์ และเป็นโรงพยาบาลสำหรับการค้นคว้าวิจัยต่าง ๆ ดังนี้

โรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์ในมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้เป็นสถาบันผลิตแพทย์[แก้]

โรงพยาบาลประเภทนี้เป็นสถานพยาบาลในมหาวิทยาลัยที่ตั้งขึ้นเพื่อรองรับการบริการทางการแพทย์ทั่วไป และการแพทย์เฉพาะทาง รวมทั้งการค้นคว้าวิจัยต่าง ๆ โดยไม่ได้เป็นสถาบันหลักในการทำการเรียนการสอนของนิสิต และนักศึกษาแพทย์ ซึ่งมีดังนี้

โรงพยาบาลศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก[แก้]

ในปี พ.ศ. 2537 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมมือกับทบวงมหาวิทยาลัย จัดทำ “โครงการร่วมผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท” เพื่อแก้ไขความขาดแคลนแพทย์ในส่วนภูมิภาค โดยร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ต่างๆ ในการร่วมผลิตแพทย์ ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ ทางกระทรวงสาธารณสุขจึงจัดตั้ง “สำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท” ในปี พ.ศ. 2540 เพื่อรับผิดชอบโครงการดังกล่าว สำนักงานนี้มีฐานะเทียบเท่ากองในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้ชื่อย่อว่า “สบพช.”

สำหรับการจัดการเรียนการสอนนั้น ในระดับชั้นปรีคลินิก (ชั้นปี 1-3) จะทำการเรียนการสอนที่คณะแพทยศาสตร์ (สำนักวิชาแพทยศาสตร์ / วิทยาลัยแพทยศาสตร์) ประจำมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค ส่วนในระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4-6) จะอาศัย โรงพยาบาล ทั้งโรงพยาบาลทั่วไป (บางแห่ง) และโรงพยาบาลศูนย์ (บางแห่ง) ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจัดตั้งเป็นสถาบันสมทบในการเรียนและฝึกปฏิบัติงานของนิสิตนักศึกษาแพทย์ โดยใช้ชื่อว่า ศูนย์แพทยศาสตรศึกษา ชั้นคลินิก ปัจจุบัน ทาง สบพช. มีการจัดตั้งศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกขึ้นในโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่เข้าร่วมเป็นสถาบันสมทบในการร่วมผลิตแพทย์เพื่อบริหารและจัดการเรียนการสอนนิสิตนักศึกษาแพทย์ในโรงพยาบาลอันเป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษา ชั้นคลินิก เหล่านั้น อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้เป็นหน่วยงานหนึ่งของโรงพยาบาลนั้นๆ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก ทั่วประเทศ มีจำนวน 41 แห่ง [5]

โรงพยาบาลส่วนกลาง[แก้]

โรงพยาบาลรัฐบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในส่วนกลาง จะขึ้นตรงต่อกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยมีดังนี้

โรงพยาบาลส่วนภูมิภาค[แก้]

เป็นโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดหรืออำเภอต่าง ๆ มีหลากหลายระดับตามขีดความสามารถ

โรงพยาบาลศูนย์ (ระดับ A)[แก้]

โรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.) เป็นโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดประจำภูมิภาคที่มีขีดความสามารถระดับตติยภูมิ (Tertiary Care) มีจำนวนเตียงมากกว่า 500 เตียง ปัจจุบันมีทั้งหมด35แห่ง [1] จำแนกตามเขตสุขภาพ

โรงพยาบาลทั่วไป (ระดับ S และ M1)[แก้]

โรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) เป็นโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดทั่วไปหรือโรงพยาบาลประจำอำเภอขนาดใหญ่ที่มีขีดความสามารถระดับทุติยภูมิ (Secondary Care) มีจำนวนเตียง 120 - 500 เตียง[1] ในประเทศไทยมีอยู่ 86 แห่ง (รวมโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว) จำแนกตามภาค[6] ดังนี้

เขตสุขภาพที่ 1[แก้]
เขตสุขภาพที่ 2[แก้]
เขตสุขภาพที่ 3[แก้]
เขตสุขภาพที่ 4[แก้]
เขตสุขภาพที่ 5[แก้]
เขตสุขภาพที่ 6[แก้]
เขตสุขภาพที่ 7[แก้]
เขตสุขภาพที่ 8[แก้]
เขตสุขภาพที่ 9[แก้]
เขตสุขภาพที่ 10[แก้]
เขตสุขภาพที่ 11[แก้]
เขตสุขภาพที่ 12[แก้]

โรงพยาบาลชุมชน (ระดับ M2 F1 F2 และ F3)[แก้]

โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) เป็นโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยเป็นโรงพยาบาลประจำอำเภอทั่วไป มีขีดความสามารถระดับปฐมภูมิ (Primary Care) หรือระดับทุติยภูมิ (Secondary Care) ในบางแห่ง มีจำนวนเตียง 10 - 120 เตียง ในประเทศไทยมีอยู่ 723 แห่ง[1]

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล[แก้]

เดิมนั้นคือสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชน เป็นสถานพยาบาลประจำตำบลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีขีดความสามารถระดับปฐมภูมิ (Primary Care) โดยเกือบทั้งหมดจะไม่รับผู้ป่วยใน และไม่มีแพทย์ทำงานอยู่เป็นประจำ แต่จะอาศัยความร่วมมือกับแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน ในปี พ.ศ. 2552 รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีนโยบายที่จะพัฒนาสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชนให้มีศักยภาพมากขึ้น จึงจัดสรรงบประมาณในโครงการไทยเข้มแข็ง พ.ศ. 2555 เพื่อยกระดับสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชนให้เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช[แก้]

ดูบทความหลักที่: โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช (รพร.) เป็นโรงพยาบาลชุมชนประจำอำเภอสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ยกเว้นโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้วที่เป็นโรงพยาบาลทั่วไปประจำจังหวัด[7]) มีขีดความสามารถระดับปฐมภูมิ (Primary Care) หรือระดับทุติยภูมิ (Secondary Care) ในบางแห่ง มีจำนวนเตียง 30 - 200 เตียง ดำเนินการโดยมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช[8] โดยโครงการก่อสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2520 ในสมัยรัฐบาลนายกรัฐมนตรีศาสตราจาย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร ซึ่งมีดำริที่จะสร้างโรงพยาบาลอำเภอ ขนาด 30 เตียง ในอำเภอท้องถิ่นทุรกันดารในขณะนั้น จำนวน 20 แห่ง ทั่วทุกภาคของประเทศ เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นของขวัญแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีอภิเษกสมรส 3 มกราคม พ.ศ. 2520[9] ปัจจุบันในประเทศไทยมีโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช 21 แห่ง[10][1] ดังนี้

โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ[แก้]

โรงพยาบาลเฉพาะทาง[แก้]

โรงพยาบาลสังกัดหน่วยงานอื่น ๆ[แก้]

สภากาชาดไทย[แก้]

เป็นโรงพยาบาลในสังกัดของสภากาชาดไทย คือโรงพยาบาลที่ขึ้นตรงกับสภากาชาดไทย (โดยไม่ได้จัดเป็นหน่วยงานรัฐบาล)) เป็นสภากาชาดประจำประเทศไทย มีภารกิจปกป้องชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) เดิมเรียก "สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม" มีอยู่ทั้งหมด 2 แห่ง

สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร[แก้]

เป็นหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการตรวจรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค บริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน การจัดการศึกษา ฝึกอบรมและพัฒนาทางวิชาการแพทย์และการพยาบาล โดยมีโรงพยาบาลในสังกัดทั้งสิ้น 12 แห่ง ประกอบด้วย

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

กรมแพทย์ทหารบก[แก้]

กรมแพทย์ทหารเรือ[แก้]

กรมแพทย์ทหารอากาศ[แก้]

สำนักงานแพทย์ใหญ่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ[แก้]

การรถไฟแห่งประเทศไทย[แก้]

การท่าเรือแห่งประเทศไทย[แก้]

การไฟฟ้านครหลวง[แก้]

กระทรวงการคลัง[แก้]

กระทรวงยุติธรรม[แก้]

องค์การมหาชน[แก้]

โรงพยาบาลเอกชน[แก้]

เป็นโรงพยาบาลที่จัดตั้งโดยเอกชน มีทั้งที่เป็นบริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัดด้วย โรงพยาบาลเอกชนบางแห่งเป็นโรงพยาบาลเฉพาะด้าน เช่น โรงพยาบาลทางด้านโรคตา โรงพยาบาลทันตกรรม เป็นต้น บางแห่งก็มีมากกว่าหนึ่งแห่งในกลุ่มบริษัทเดียวกัน

กรณีอื้อฉาว[แก้]

โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในประเทศไทย ได้ปฏิเสธการรักษาของผู้ป่วยชาวต่างชาติจนผู้ป่วยเสียชีวิต เกิดการวิจารณ์ในวงกว้าง[11][12][13][14] [15][16][17][18][19][20][21]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 จำนวนโรงพยาบาลในประเทศไทย
  2. "โครงสร้างกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-25. สืบค้นเมื่อ 2010-01-30.
  3. "โครงสร้างกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-19. สืบค้นเมื่อ 2010-01-30.
  4. "เรื่องเตียงโรงพยาบาล". Apichaya Sukprasert. 8 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "ความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับทบวงมหาวิทยาลัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-28. สืบค้นเมื่อ 2011-12-16.
  6. "การจัดสรรบุคลากรทางการแพทย์ด้วยภูมิศาสตร์สารสนเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-03-31.
  7. "ประวัติโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-01. สืบค้นเมื่อ 2009-06-29.
  8. http://www.cp-hosp.or.th/display/index.php เก็บถาวร 2009-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
  9. "ประวัติความเป็นมาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-24. สืบค้นเมื่อ 2009-06-29.
  10. "โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-15. สืบค้นเมื่อ 2009-06-30.
  11. ข่าวไทยฉาว ! สื่อ ตปท.โจมตี รพ.ปัดรักษาคนไข้จนเสียชีวิต, สืบค้นเมื่อ 2023-12-21
  12. ข่าวสด. 2566. สื่อนอกตีข่าว นักท่องเที่ยวไต้หวันมาไทย ถูกรถชน-โดนปฏิเสธรักษา สุดท้ายดับสลด. (Online) https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_8004737 12 ธ.ค. 2566 11:51 น.
  13. chaidee, nawinda. "ทัวร์ลง! รพ.เอกชน ไล่ต่างชาติถูกรถชนไป รพ.รัฐ กลัวเบิกไม่ได้-สุดท้ายสิ้นใจ". เดลินิวส์.
  14. มติชน. 2566. ต่างชาติถูกชนโคม่า กู้ภัยหามส่งรพ.เอกชนอยู่ใกล้ เจอไล่ไปรพ.รัฐ ลั่นไม่คิดเหรอจะเบิกยังไง. https://www.matichon.co.th/social/news_4322208 วันที่ 8 ธันวาคม 2566 - 17:07 น.
  15. "สบส.-สพฉ.สอบข้อเท็จจริง รพ.เอกชน ปฏิเสธรักษาชาวไต้หวันถูกรถชน". สำนักข่าวไทย อสมท (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-12-13.
  16. "กระทรวงท่องเที่ยวฯ เสียใจ ปมนักท่องเที่ยวไต้หวันถูก รพ.เอกชน ปฏิเสธการรักษาจนถึงแก่ความตาย ด้าน สธ. สั่งสอบด่วน หากผิดจริงดำเนินการขั้นเด็ดขาด". THE STANDARD. 2023-12-12.
  17. แพร _เหมือนแพร (2023-12-12). "ไต้หวันตีข่าวฉาว นทท. ถูกรถชนในไทย รพ. เอกชน ปฏิเสธรับตัว สุดท้ายดับสลด". kapook.com.
  18. "สธ.ลั่น เตียงเต็มฟังไม่ขึ้น รพ.เอกชนปฏิเสธ "นักท่องเที่ยวไต้หวัน"". Thai PBS.
  19. ""ชลน่าน" สั่งตรวจสอบข้อเท็จจริง รพ.เอกชน ปฏิเสธรักษานักท่องเที่ยวไต้หวัน". www.thairath.co.th. 2023-12-12.
  20. Pool, T. V. "สื่อนอกซัดไทย นักท่องเที่ยวไต้หวันที่ถูกรถชน แต่ถูกปฏิเสธการรักษา | tvpoolonline.com". LINE TODAY.
  21. "Exclusive ! ญาติชาวไต้หวันเผย "ยังไร้คำชี้แจงจากทางการไทยและโรงพยาบาล" หวังรัฐบาลไทยมอบความเป็นธรรม". mgronline.com. 2023-12-19.

ดูเพิ่ม[แก้]