กรมการแพทย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรมการแพทย์
Department of Medical services
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461
หน่วยงานก่อนหน้า
สำนักงานใหญ่ไทย
เลขที่ 88/23 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • แพทย์หญิง อัมพร เบญจพลพิทักษ์ [1], อธิบดี
  • นายแพทย์ ไพโรจน์ ​สุรัตนวนิช, รองอธิบดี
  • นายแพทย์ ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์, รองอธิบดี
  • ว่าง[2], รองอธิบดี
ต้นสังกัดหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุข
เว็บไซต์http://www.dms.moph.go.th

กรมการแพทย์ เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการเกี่ยวกับการแพทย์ เช่น การพัฒนาการแพทย์ ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับการแพทย์ เป็นต้น

ประวัติ[แก้]

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมการสุขาภิบาล กระทรวงนครบาล และกรมประชาภิบาล กระทรวงมหาดไทย ตั้งเป็น กรมสาธารณสุข สังกัดกระทรวงมหาดไทย จนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่งตั้งคณะกรรมการการพิจารณาจัดการปรับปรุง เพื่อรวบรวมกิจการแพทย์และสาธารณสุข ยกเว้นการแพทย์ของทหาร ตำรวจและการรถไฟ และมีมติให้ตั้ง กระทรวงสาธารณสุข จึงถือกำเนิดกรมการแพทย์ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ. ศ. 2485

หน้าที่และอำนาจตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการแพทย์ พ.ศ. 2552[แก้]

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข มีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาการด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ฝ่ายกาย โดยมีการศึกษา วิจัย พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เหมาะสม การเพิ่มพูนความรู้และทักษะการปฏิบัติงานแก่บุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทางที่มีคุณภาพ ให้บริการทางการแพทย์เฉพาะด้านหรือในระดับตติยภูมิที่ยุ่งยากซับซ้อนอย่างได้มาตรฐานเพื่อให้ผู้รับบริการพึงพอใจ โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์และการแพทย์เฉพาะทาง รวมทั้งดำเนินการและประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศในเรื่องดังกล่าว

(๒) กำหนดและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานในการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์และการแพทย์เฉพาะทาง

(๓) ถ่ายทอดองค์ความรู้ และเทคโนโลยีทางการแพทย์และการแพทย์เฉพาะทางแก่สถานบริการสุขภาพทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

(๔) ประเมินการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ของสถานบริการสุขภาพทุกระดับให้เหมาะสมและคุ้มค่า

(๕) จัดให้มีบริการเพื่อรองรับการส่งต่อผู้ป่วยระดับตติยภูมิ เฉพาะโรคหรือเฉพาะทาง

(๖) ให้การเพิ่มพูนความรู้และทักษะการปฏิบัติงานด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องแก่แพทย์และบุคลากรทางด้านสุขภาพทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

(๗) พัฒนาระบบและกลไกการดำเนินงานให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบ

(๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย


  1. โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอธิบดี - รองปลัด สธ. 11 ตำแหน่ง
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ