โรงพยาบาลกลาง

พิกัด: 13°44′47″N 100°30′34″E / 13.7464°N 100.5095°E / 13.7464; 100.5095
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลกลาง
Klang Hospital
แผนที่
ประเภทโรงพยาบาลตติยภูมิชั้นสูง
ที่ตั้งถนนหลวง แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้ง24 พฤษภาคม พ.ศ. 2441
(125 ปี 338 วัน)
สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
โรงเรียนแพทย์สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ความร่วมมือสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
รับรองสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล
ผู้อำนวยการนายแพทย์อรรถพล เกิดอรุณสุขศรี[1]
จำนวนเตียง500 เตียง[2]
แพทย์132 คน
เว็บไซต์โรงพยาบาลกลาง

โรงพยาบาลกลาง (อังกฤษ: Klang Hospital) เป็นโรงพยาบาลตติยภูมิขั้นสูงขนาด 500 เตียง สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนถนนหลวง แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันทำหน้าที่เป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกและสถาบันสมทบเพื่อการผลิตแพทย์ให้กับสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ประวัติ[แก้]

เริ่มการก่อสร้างเมื่อ วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2441 สำหรับสร้างเป็นโรงพยาบาล สำหรับรักษาหญิงโสเภณีกับประชาชน แต่เมื่อสร้างโรงพยาบาลเสร็จ กรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาลไม่มีงบประมาณ ในการดำเนินการต่อ โรงพยาบาลกรมพลตระเวนหรือโรงพยาบาลตำรวจในขณะนั้น ได้ขอเช่าเรือนโรงพยาบาลใช้รักษาหญิงโสเภณีของกรมสุขาภิบาล ซึ่งยังตอนนั้นยังไม่ได้เปิดให้บริการ ดังนั้นจึงใช้ชื่อโรงพยาบาลว่า โรงพยาบาลกรมพลตระเวน เปิดให้บริการแก่พลตระเวนและผู้ป่วยจากคดีต่าง ๆ ในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2443 แต่เมื่อเปิดก็มีพลเรือนมารับการรักษาอีกด้วย ปัจจุบัน โรงพยาบาลกลางมีอายุครบ 121 ปี เป็นสถานที่ให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย สร้างเสริมสุขภาพอนามัย และป้องกันโรค ตลอดจนส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าวิจัยทางการแพทย์ และปฏิบัติงานร่วมกับส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย โดยได้มีการปรับปรุงพัฒนาการบริการให้ทันสมัย โดยเน้นบริการที่ดีเลิศ (Best Service) ตลอดจนปรับปรุงฟื้นฟูสภาพแวดล้อม และบรรยากาศทั้งภายในอาคาร และรอบโรงพยาบาลให้ดีขึ้นเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้รับบริการ ตลอดจนตอบสนองนโยบายของรัฐ ในการให้บริการด้านการแพทย์ และสาธารณสุขแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพโดยการสร้างอาคารอเนกประสงค์ 20 ชั้น เพื่อทดแทนอาคารเก่าด้วยเงินงบประมาณ 780 ล้านบาท โดยได้รับพระราชชื่ออาคารแห่งนี้ว่า "อาคารอนุสรณ์ 100 ปี"[3]

ศูนย์และศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์[แก้]

  • ศูนย์จักษุวิทยา [4]
  • ศูนย์ผ่าตัดกระดูกและข้อ
  • ศูนย์ส่องกล้องและผ่าตัดผ่านกล้องระบบทางเดินอาหาร
  • ศูนย์คลินิกโรคอ้วน

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก[แก้]

ตามที่สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ได้ลงนามความร่วมมือร่วมกับสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ในการร่วมผลิตแพทย์เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555 และได้กำหนดให้โรงพยาบาลกลาง เป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์ทำหน้าที่จัดการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ในชั้นคลินิกเครือข่ายความร่วมมือกับสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง[5]

หลักสูตรการศึกษา[แก้]

ปัจจุบัน ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลกลาง[6] จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นคลินิก ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ของสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ใน 1 หลักสูตร คือ

ปริญญาตรี
สถาบันอุดมศึกษา
  • หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ( พ.บ.)

ระยะเวลาในการศึกษา[แก้]

ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรรวม 6 ปี ดังนี้

ระดับชั้น
สถานที่ศึกษา
  • ระดับชั้นเตรียมแพทยศาสตร์และชั้นปรีคลินิก (ชั้นปี 1 - 3)
  • ระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4 - 6)
  • มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลกลาง

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°44′47″N 100°30′34″E / 13.7464°N 100.5095°E / 13.7464; 100.5095