โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

พิกัด: 14°27′59.05″N 100°06′58.26″E / 14.4664028°N 100.1161833°E / 14.4664028; 100.1161833
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

14°27′59.05″N 100°06′58.26″E / 14.4664028°N 100.1161833°E / 14.4664028; 100.1161833

โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช
Chaophraya Yommarat Hospital
แผนที่
ประเภทรัฐ (โรงพยาบาลศูนย์ ระดับ A)
ที่ตั้งเลขที่ 950 ถนนพระพันวษา ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี 72000
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้งพ.ศ. 2469
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ความร่วมมือคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผู้อำนวยการนายแพทย์อิทธิพล จรัสโอฬาร
จำนวนเตียง721 เตียง[1]
แพทย์102 คน
บุคลากร1582 คน
เว็บไซต์http://www.yrh.moph.go.th

โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช เป็นโรงพยาบาลศูนย์ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ขนาด 710 เตียง [2] เปิดดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2469 ชื่อของโรงพยาบาลมาจากชื่อของ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ผู้บริจาคเงินสร้างโรงพยาบาล โดยตั้งติดกับบ้านยะมะรัชโช บ้านของท่านเจ้าพระยายมราช

ประวัติ[แก้]

ปี พ.ศ. 2469 ท่านเจ้าพระยายมราช ได้บริจาคเงินจำนวนเงิน 40,000 บาท สร้างอาคารเจ้าพระยายมราชบริเวณใกล้เทศบาลเมืองสุพรรณบุรีในปัจจุบัน โดยหันไปทางแม่น้ำท่าจีน โดยด้านหลังเป็นถนนจึงรับบริการได้เป็นอย่างดีทางน้ำและทางบก

ปี พ.ศ. 2478 มีนายแพทย์ท่านแรกประจำคือ นายแพทย์เคียน พานิช

ปี พ.ศ. 2485 กระทรวงสาธารณสุขยกระดับโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราชเป็นโรงพยาบาลศูนย์ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีการขยายหอผู้ป่วยอายุรกรรม ศัลยกรรม และสูติกรรม

ปี พ.ศ. 2500 แม่น้ำท่าจีนตื้น โดยเปลี่ยนด้านหน้าโรงพยาบาลเป็นด้านถนนแทน บุตรหลานท่านเจ้าพระยายมราชได้สร้างอนุสาวรีย์ท่านเจ้าพระยายมราชโดยมีกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบ โดยมีอดีตนายกรัฐมนตรีจอมพลป. พิบูลสงครามเป็นประธานเปิดอนุสาวรีย์ในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2500 ซึ่งเป็นวันโรงพยาบาล

ปี พ.ศ. 2534 โรงพยาบาลมีพื้นที่จำกัดไม่สามารถขยายพื้นได้อีก ทางราชการมอบเงินสร้างอาคารอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน 7 ชั้นจำนวนเงิน 144.34 ล้านบาท

ปี พ.ศ. 2537 อาคารอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน 7 ชั้นเสร็จสิ้น โดยมีห้องอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน ห้องผ่าตัดและหอผู้ป่วย

ปี พ.ศ. 2542 การสร้างอาคารพิเศษ 5 ชั้นเสร็จสิ้น โดยกำลังสร้างอาคารอำนวยการแห่งใหม่สูง 11 ชั้น และ อาคารเฉลิมพระบารมี 7 ชั้นโดยงบประมาณจากฯพณฯท่าน บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมตรีคนที่ 21 รวมทั้งการสร้างอาคารบรรหาร แจ่มใสที่ 1-3 เสร็จสิ้น

ปี พ.ศ. 2544 อาคารอำนวยการ 11 ชั้นและอาคารเฉลิมพระบารมี 7 ชั้นเสร็จสิ้น โดยวันที่ 4 กรกฎาคมในปีเดียวกันได้ยกระดับเป็นโรงพยาบาลขนาด 503 เตียง

ปี พ.ศ. 2545 ได้ยกระดับเป็นโรงพยาบาลขนาด 623 เตียง สร้างสำนักงานปฏิบัติการที่ชั้น 4 อาคารอุบัติเหตุ

ปี พ.ศ. 2547 ได้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือเด็กเตาะแตะและผู้สูงอายุ ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ปี พ.ศ. 2548 ได้เปิดศูนย์พื่งได้ ช่วยเหลือผู้มีความทุกข์จากเหตุการณ์ต่างๆ

ปี พ.ศ. 2550 ปรับปรุงอาคารพิเศษบรรหาร แจ่มใสที่ 2 ให้ทันสมัย โดยชั้น 1 เป็นศูนย์กักกันผู้ติดเชื้ออันตราย เปิดศูนย์สุขภาพผู้สูงอายุประจำภาคตะวันตก มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ที่ชั้น 1 อาคารอำนวยการเดิม

ปี พ.ศ. 2551 เปิดศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย บริเวณชั้น 4 อาคารอุบัติเหตุ รวมทั้งย้ายศูนย์บริจาคโลหิตไปอยู่ชั้น 4 สร้างห้องส่องกล้องระบบทางเดินหายใจที่ชั้น 3 เริ่มสร้างศูนย์เอกซเรย์คอมพืวเตอร์แห่งใหม่ที่อาคารอำนวยการเดิมชั้น 1 ปรับปรุงการให้บริการทางการแพทย์โดยระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย

ปี พ.ศ. 2552 ได้รับมาตรฐานการบริการ HA

ปี พ.ศ. 2553 การสร้างศูนย์บริจาคโลหิตไปอยู่ชั้น 4 สร้างห้องส่องกล้องระบบทางเดินหายใจที่ชั้น 3 ศูนย์เอกซเรย์คอมพิวเตอร์แห่งใหม่ที่อาคารอำนวยการเดิมเสร็จสิ้น

ปี พ.ศ. 2559 การก่อสร้างอาคารสนับสนุนบริการเสร็จสิ้น

ปี พ.ศ. 2562 เปิดอาคารผู้ป่วยนอกและศูนย์โรคหัวใจ เริ่มการผ่าตัดหัวใจเป็นครั้งแรก

สถานที่ภายในโรงพยาบาล[แก้]

อาคารเจ้าพระยายมราช[แก้]

เป็น ศูนย์แพทย์แผนไทยและพิพิธภัณฑ์เจ้าพระยายมราช

อาคารอำนวยการ 11 ชั้น[แก้]

ชั้น B ห้องเก็บเวชระเบียน, ศูนย์ข้อมูลการแพ้ยาผู้ป่วย

ชั้น 1 ห้องเวชระเบียน เบอร์ 1, ห้องตรวจคลื่นหัวใจไฟฟ้าและฉีดยา เบอร์ 2, ห้องตรวจนอกเวลาราชการ เบอร์ 4, ห้องตรวจอายุรกรรมทั่วไป เบอร์ 3-7, ห้องตรวจประกันสังคม เบอร์ 8, ห้องตรวจแพทย์แผนไทย เบอร์ 9, ห้องจ่ายยา เบอร์ 11, ศูนย์แพ้ยา เบอร์ 11/2, ห้องจ่ายเงิน เบอร์ 12, ห้องตรวจออร์โธปิดิกส์ เบอร์ 15, ห้องปฏิบัติการผู้ป่วยนอก เบอร์ 18

ชั้น 2 ห้องตรวจสอบสิทธิ์ เบอร์ 20, ห้องตรวจกุมารเวชกรรม เบอร์ 21, ห้องตรวจศัลยกรรมทั่วไปและศัลยกรรมพิเศษ เบอร์ 22-24, ห้องผ่าตัดเล็ก(กลุ่มงานศัลยกรรม) เบอร์ 27, ห้องจ่ายยาชั้น 2 เบอร์ 28, ห้องจ่ายเงินชั้น 2 เบอร์ 29

ชั้น 3 ห้องตรวจทันตกรรมและทันตกรรมนอกเวลาราชการ เบอร์ 32, ห้องจ่ายยาผู้ป่วยใน (นอนโรงพยาบาล)

ชั้น 4 หอผู้ป่วยอายุกรรมหญิง,หอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตอายุกรรม 1 (Intermediate 4) และหอผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง (Stroke Unit)

ชั้น 5 หอผู้ป่วยอายุกรรมชาย, หอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตอายุรกรรม 2 (Intermediate 5)

ชั้น 6 หอผู้ป่วยตา หู คอ จมูกและพระสงฆ์อาพาต

ชั้น 7 ตึกพิเศษอายุรกรรม

ชั้น 8 ห้องผู้อำนวยการ, สำนักงานเลขานุการ, ห้องรองผู้อำนวยการ, ฝ่ายบริหารทั่วไป, ฝ่ายการเจ้าหน้าที่, ฝ่ายธุรการ, ฝ่ายการเงินและบัญชี, ฝ่ายพัสดุและบำรุงรักษา, กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพ, ห้องประชุม 8/1, ห้องประชุม 8/2

ชั้น 9 ฝ่ายแผนงานและสารสนเทศ, ศูนย์คอมพิวเตอร์และฝ่ายเทคโนโลยี,ฝ่ายโสตและทัศนศึกษา, งานอบรมและพัฒนาบุคลากร, ห้องสมุด, ห้องประชุมขุนช้าง, ห้องประชุมขุนแผน, ห้องประชุมนางพิม

ชั้น 10 ห้องประชุม ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา

อาคารอุบัติเหตุ 7 ชั้น[แก้]

ชั้น 1 ห้องประชาสัมพันธ์, ห้องเวชระเบียนอาคารอุบัติเหตุ, ห้องอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน, ห้องจ่ายยาผู้ป่วยใน, ห้องจ่ายเงินผู้ป่วยใน, จุดเจาะเลือดที่ 2, ห้องเอกซเรย์ 107, ห้องอัลตราซาวน์ 111, ศูนย์เปล, ศูนย์ ERT

ชั้น 2 ห้องผ่าตัดใหญ่-วิสัญญี

ชั้น 3 ห้องส่องกระเพาะอาหาร, ห้องส่องระบบทางเดินหายใจ, หน่วยไตเทียม, หออภิบาลผู้ป่วยหนักอายุรกรรม (ICU Med), หออภิบาลผู้ป่วยหนักศัลยกรรม (ICU Sur)

ชั้น 4 ศูนย์บริจาคโลหิตแห่งชาติ สำนักงานสุพรรณบุรีและธนาคารเลือด, องค์กรแพทย์, ศูนย์ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

ชั้น 5 หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย 1-2

ชั้น 6 หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิงและเด็ก 1-2

ชั้น 7 หอผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุชาย, หออภิบาลผู้ป่วยหนักอุบัติเหตุ (ICU Trauma)

อาคารเฉลิมพระบารมี 7 ชั้น[แก้]

ชั้น 1 ห้องตรวจสูติ-นรีเวช-ANC

ชั้น 2 ห้องคลอด, ห้องผ่าตัดความดันอากาศแรงดันลบ (OR COVID-19)

ชั้น 3 หอผู้ป่วยเด็กแรกเกิด, หออภิบาลผู้ป่วยหนักเด็กแรกเกิด (NICU)

ชั้น 4-5 หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม, หออภิบายผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรม (PICU ชั้น 5), ศูนย์โรคไข้เลือดออก(ชั้น 5)

ชั้น 6 หอผู้ป่วยหลังคลอด

ชั้น 7 หอผู้ป่วยนรีเวชกรรม

อาคารออร์โธปิดิกส์[แก้]

ชั้น 1 ห้องเอกซเรย์ 112, สำนักงานรังสีวิทยา

ชั้น 2 หอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ชาย

ชั้น 3 หอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์หญิงและเด็ก

ชั้น 4 หอผู้ป่วยเคมีบำบัด

อาคารสนับสนุนบริการทางการแพทย์ (11 ชั้น)[แก้]

ชั้น 1 กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู, หน่วยฝังเข็ม

ชั้น 2 กลุ่มงานกายภาพบำบัด, หน่วยกายอุปกรณ์

ชั้น 3 กลุ่มงานโภชนาศาสตร์

ชั้น 4 โรงครัว

ชั้น 5 ฝ่ายการพยาบาล, งานควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อ (IC), ศูนย์แสงส่องใจ (Palliative Care), กลุ่มงานวิศวกรรมทางการแพทย์, ศูนย์เครื่องมือแพทย์

ชั้น 6 คลังเวชภัณฑ์กลุ่มงานเภสัชกรรม

ชั้น 7 คลังยาและกลุ่มงานเภสัชกรรม

ชั้น 9 กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม, กลุ่มงานเวชกรรมสังคม, กลุ่มงานสุขศึกษา

อาคารผู้ป่วยนอกและศูนย์โรคหัวใจ (7 ชั้น)[แก้]

ชั้น 1 ห้องเวชระเบียนผู้ป่วยนอก, ห้องตรวจอายุรกรรมพิเศษ เบอร์ 2-9, ห้องตรวจโรคเลือดและโรคมะเร็ง เบอร์ 10-11, ห้องให้คำปรึกษา เบอร์ 12-13, ห้องศูนย์รับบริจาคอวัยวะ เบอร์ 16, ศูนย์ Admit, งานสังคมสงเคราะห์, สำนักงานมูลนิธิ

ชั้น 2 (ชั้นลอย) งานศูนย์ประกันสุขภาพ, ห้องเวชระเบียนผู้ป่วยใน, คลังยาอาคารผู้ป่วยนอก

ชั้น 3 ห้องตรวจพรีเมี่ยมคลินิก, ห้องตรวจโรคไต, ห้องตรวจจิตเวช

ชั้น 4 ห้องตรวจตา, ห้องตรวจหู คอ จมูก

ชั้น 5 หออภิบาลผู้ป่วหนักโรคหัวใจ (CCU), หออภิบาลผู้ป่วยหนักศัลยกรรมหัวใจ (ISCCU), หอผู้ป่วยกิ่งวิกฤตโรคหัวใจ (ICCU), หอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Unit)

ชั้น 6 ห้องผ่าตัด, ห้องผ่าตัดตา

ชั้น 7 ศูนย์โรคหัวใจ,ห้องตรวจโรคหัวใจ, ห้องปฏิบัติการผ่าตัดสวนหัวใจ

อาคารบรรหาร-แจ่มใส ศิลปอาชา 2-3-5 ชั้นเป็นตึกพิเศษ (อาคารบรรหาร-แจ่มใส ศิลปอาชา 2 เป็นหอผู้ป่วยแยกโรค), อาคารหอพักนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี, อาคารจอดรถ 7 ชั้น, อาคาร 100 เตียง, บ้านพักเจ้าหน้าที่ (แยกอยู่บริเวณหน้าโรงเรียนสุพรรณภูมิ)

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก[แก้]

วันที่ 29 พฤษภาคม 2566 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และกระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกันจัดพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) เพื่อสนับสนุนการเป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์หลักของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตศาสตร์ ของโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี และโรงพยาบาลศูนย์สกลนคร จังหวัดสกลนคร เพื่อเป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตศาสตร์ ในระดับชั้นคลินิก[3] โดยคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีแผนจะเปิดรับนิสิตแพทย์รุ่นแรกในปีการศึกษา 2567 จำนวน 48 คน [4][5][6][7]

หลักสูตรการศึกษา[แก้]

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นคลินิก ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใน 1 หลักสูตร ภายหลังเปิดรับนิสิต ปีการศึกษา 2567 เป็นรุ่นแรก จำนวน 48 คน/รุ่น[8] โดยแบ่งออกเป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลสกลนคร จำนวน 24 คน/รุ่น และศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จำนวน 24 คน/รุ่น มีรายละเอียด คือ

หลักสูตร
สถาบันอุดมศึกษา
  • หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) สาขาวิชาแพทยศาสตร์

ระยะเวลาในการศึกษา[แก้]

ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรรวม 6 ปี ดังนี้

ระดับชั้น
สถานที่ศึกษา
  • ระดับชั้นเตรียมแพทยศาสตร์และชั้นปรีคลินิก (ชั้นปี 1 - 3)
  • ระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4 - 6)

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ระบบรายงานทรัพยากรสาธารณสุข
  2. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข ล่าสุด!! ข้อมูลพื้นฐานโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2565 (ณ เดือนเมษายน 2566)[ลิงก์เสีย] สืบค้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566
  3. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, การลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และกระทรวงสาธารณสุขเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก สืบค้นเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2566
  4. ไทยรัฐ ออนไลน์, มก.จับมือ สธ.ตั้งศูนย์แพทย์สุพรรณบุรี-สกลนคร, 31 พฤษภาคม 2566, กรุงเทพฯ, สืบค้นวันที่ 11 สิงหาคม 2566
  5. สยามรัฐ, มก. MOU สธ. พัฒนาศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก ณ โรงพยาบาลหลัก ผลิตแพทย์ให้ประเทศไทย, 29 พฤษภาคม 2566, กรุงเทพ, สืบค้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566
  6. มติชน, ม.เกษตรฯ จับมือ สธ.พัฒนาศูนย์แพทย์ศึกษาชั้นคลินิก ที่ รพ.หลัก เล็งรับนิสิตแพทย์รุ่นแรกปี’67 วันที่ 2 มิถุนายน 2566, กรุงเทพฯ, สืบค้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566
  7. เดลินิวส์ ออนไลน์ ครบรอบ 4 ปี ศูนย์ผ่าตัดหัวใจ โรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราชเดินหน้าดูแลปชช., 10 สิงหาคม 2566, กรุงเทพฯ, สืบค้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566
  8. แพทยสภา, ประกาศแพทยสภา เรื่อง แพทยสภาให้การรับรองคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผ่านการตรวจประเมินหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ 2567 ประกาศ ณ วันที่ 15 กันยายน 2566 สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2566