โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต

พิกัด: 7°53′49″N 98°23′02″E / 7.896893°N 98.383810°E / 7.896893; 98.383810
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
Vachira Phuket Hospital
กระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 11
แผนที่
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง353 ถนนเยาวราช ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต 83000, ประเทศไทย
พิกัด7°53′49″N 98°23′02″E / 7.896893°N 98.383810°E / 7.896893; 98.383810
หน่วยงาน
ประเภทภูมิภาค
สังกัดสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
บริการสุขภาพ
จำนวนเตียง551 เตียง
ประวัติ
ชื่อเดิมโรงพยาบาลสุขาภิบาล
วชิระพยาบาล
เปิดให้บริการ1 มกราคม พ.ศ. 2463
ลิงก์
เว็บไซต์www.vachiraphuket.go.th/index.php

โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต เป็นโรงพยาบาลหลักของจังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย และจัดอยู่ในประเภทโรงพยาบาลระดับภูมิภาคของกระทรวงสาธารณสุข โดยมีศูนย์แพทยศาสตรศึกษาโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ที่อบรมแพทย์ให้แก่สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์[1]

ประวัติ[แก้]

โรงพยาบาลแห่งแรกในภูเก็ตสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2449 โดยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากพ่อค้าและประชาชนในท้องถิ่น โดยได้รับการเรียกในชื่อโรงพยาบาลสุขาภิบาล โดยตั้งอยู่ที่ถนนโกมารภัจจ์ และอยู่ภายใต้การบริหารของมณฑลเทศาภิบาลภูเก็ต ภายหลังการเสด็จพระราชดำเนินเยือนของพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ ฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2460 พระองค์ได้ทรงมีพระบรมราชโองการให้สร้างโรงพยาบาลที่ใหม่และกว้างขวางกว่าเดิม ซึ่งได้ดำเนินการบริเวณถนนเยาวราช ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลในปัจจุบัน โรงพยาบาลดังกล่าวได้รับการตั้งชื่อว่าวชิระพยาบาลตามพระนามพระมหากษัตริย์ และเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2463 รวมทั้งการจัดการได้รับความช่วยเหลือจากคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ต่อมาได้ตั้งชื่อโรงพยาบาลนี้ว่าโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต เพื่อป้องกันความสับสนกับวชิรพยาบาลที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร และทางโรงพยาบาลได้รับการปรับปรุงครั้งใหญ่ใน พ.ศ. 2540[2]

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก[แก้]

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต (อังกฤษ: Vachira Phuket Hospital Medical Education Center) เป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก สังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยเป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์กับสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2549 ตั้งอยู่ในเขตภาคใต้ ณ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

ประวัติ[แก้]

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต เป็นหน่วยงานของโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2549 เพื่อจัดการเรียนการสอนระดับคลินิกให้แก่นักศึกษาแพทย์ของสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในระดับชั้นคลินิก (ชั้นปีที่ 4,5 และ 6) ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ซึ่งหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์นี้ได้รับการรับรองหลักสูตรจากแพทยสภา เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2550

โดยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เริ่มรับนักศึกษาแพทย์เข้าเรียนชั้นปีที่ 1 ที่สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นนักศึกษาแพทย์รุ่นแรกในปีการศึกษา 2550 หลังจากนั้นนักศึกษาแพทย์รุ่นแรกนี้จะมาศึกษาวิชาในชั้นคลินิกตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ในปีการศึกษา 2553 เป็นต้นไป

ในการดำเนินงานของศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลวชิระภูเก็ตนี้ จะจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนักศึกษาแพทย์ โดยร่วมกับ สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ในการคัดเลือกนักเรียนเพื่อเข้าศึกษาร่วมในการจัดทำหลักสูตร และได้รับความช่วยเหลือ และสนับสนุนการดำเนินงานและงบประมาณจากสำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ซึ่งขึ้นตรงกับกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งลักษณะพิเศษของ โครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท คือคัดเลือกนักเรียนให้เรียนในภูมิภาคและให้กลับไปทำงานที่ภูมิลำเนาเดิมกระจายโอกาสให้นักเรียน ได้ศึกษาวิชาแพทยศาสตร์มากขึ้น

หลักสูตรการศึกษา[แก้]

ปัจจุบัน ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นคลินิก ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ของสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ใน 1 หลักสูตร คือ

ปริญญาตรี
สถาบันอุดมศึกษา

ระยะเวลาในการศึกษา[แก้]

ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรรวม 6 ปี ดังนี้

ระดับชั้น
สถานที่ศึกษา
  • ระดับชั้นเตรียมแพทยศาสตร์และชั้นปรีคลินิก (ชั้นปี 1 - 3)
  • ระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4 - 6)

การรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต[แก้]

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต รับนักศึกษาแพทย์เข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต โดยวิธีรับตรงผ่านทางสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตามประกาศรับตรงประจำปีของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "CPIRD". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-02. สืบค้นเมื่อ 2022-05-22.
  2. "เรื่อง : แนะนำโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-02.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]