กรมแพทย์ทหารบก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรมแพทย์ทหารบก/โรงเรียนเสนารักษ์ กรมแพทย์ทหารบก
ประเทศไทย
รูปแบบกองทัพบก
กองบัญชาการกองบัญชาการกรมแพทย์ทหารบก ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
สมญาเหล่าทหารแพทย์
คำขวัญเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน
อนุรักษ์กำลังรบและครอบครัว
สีหน่วยเขียว-แดง
เพลงหน่วยมาร์ชทหารเหล่าแพทย์
วันสถาปนา7 มกราคม พ.ศ. 2444; 123 ปีก่อน (2444-01-07)
ปฏิบัติการสำคัญภารกิจสหประชาชาติในเซาท์ซูดาน[1]
ผู้บังคับบัญชา
เจ้ากรมพลโท มานะพล เล็กสกุล

กรมแพทย์ทหารบก เป็นหน่วยงานในประเทศไทย ที่ศึกษาวิจัย ฝึกอบรมบุคลากรเหล่าทหารแพทย์ ในการให้บริการแก่ กำลังพลของกองทัพบก และครอบครัว รวมถึงประชาชน โดยให้บริการในโรงพยาบาลสังกัดกองทัพบก จำนวน 37 แห่ง

เริ่มก่อตั้งเป็นกองกรมกลาง กรมยุทธนาธิการ และโรงพยาบาลกลางกรมทหารบก บริเวณฝั่งทิศเหนือปากคลองหลอด ในปี พ.ศ. 2443 และเปลี่ยนชื่อมาเป็นกรมแพทย์ทหารบก ในปี พ.ศ. 2485 เปลี่ยนชื่อเป็น กรมเสนารักษ์ทหารบก และต่อมายกระดับเป็น กองเสนารักษ์มณฑลทหารบกที่ 1 และกรมเสนารักษ์ ในปี พ.ศ. 2489 ได้ย้ายกลับมาปากคลองหลอด และ เปลี่ยนชื่อเป็น กรมแพทย์ทหารบก อีกครั้งนับแต่นั้นมา ในปี พ.ศ. 2495 ได้ก่อตั้งโรงเรียนเสนารักษ์

กรมแพทย์ทหารบกเป็นหนึ่งใน 3 กรมแพทย์ของกองทัพไทย และ เป็นหนึ่งใน 9 กรมฝ่ายยุทธบริการ ของกองทัพบกไทย กรมแพทย์ทหารบกมีหน้าที่วางแผนอำนวยการประสานงาน แนะนำกำกับการดำเนินการวิจัย และ พัฒนาเกี่ยวกับการผลิต, จัดหา, ส่งกำลัง, ซ่อมบำรุง, บริการ, พยาธิวิทยา, เวชกรรมป้องกัน, ทันตกรรมและการรักษาพยาบาล กำหนดหลักนิยม และ ทำตำรา ตลอดทั้งการฝึกศึกษา ทั้งนี้เกี่ยวกับกิจการ และ สิ่งอุปกรณ์ของเหล่าทหารแพทย์

กรมแพทย์ทหารบกตั้งอยู่บนถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร[2] มี พลโท[3] มานะพล เล็กสกุล[4]เป็นเจ้ากรมแพทย์ทหารบก

พลโท[5] เกษม ภิญโญชนม์[6]พลตรี ชูสิทธิ์ ศรีอุทโยภาส[7] และ พลตรี เกรียงชัย ประสงค์สุกาญจน์[8]เป็นรองเจ้ากรมแพทย์ทหารบก

ด้วยค่านิยม "อนุรักษ์กำลังรบ"

ปัจจุบันมีศูนย์แพทย์ทหารอาเซียน (ASEAN Centre of Military Medicine: ACMM) บริเวณชั้น 4 อาคารกองบัญชาการ กรมแพทย์ทหารบก เป็นพื้นที่ปฏิบัติการ พร้อมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน อาทิ ห้องประชุมทางไกลผ่านระบบจอภาพ ห้องปฏิบัติงานของฝ่ายเลขานุการสำนักงานของประเทศสมาชิกทั้ง 18 ชาติ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการประสานความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมทางด้านการแพทย์ทหารอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งยังจะสร้างการยอมรับในฐานะที่ประเทศไทยมีความมุ่งมั่นพัฒนาความร่วมมือ เพื่อความมั่นคงและความผาสุกของประชาชนในภูมิภาค รวมทั้งจะเป็นช่องทางที่ขยายผลสู่ความร่วมมือในด้านอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1 - 11 กันยายน พ.ศ. 2559 ประเทศสมาชิกทั้ง 18 ชาติจะเข้าร่วมการฝึกร่วมผสมเน้นการบรรเทาสาธารณภัยและช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่ประเทศไทย

ประวัติ[แก้]

กรมแพทย์ทหารบก[แก้]

ตั้งแต่เป็นสยามประเทศ หลายร้อยปีมาแล้ว หมอหรือแพทย์ดูจะเป็น ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญคู่กับสังคมมานานช้าไม่ว่าจะเป็นเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ ทวยทหาร หรือไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ย่อมต้องพึ่งพาอาศัยแพทย์ด้วยกันทั้งสิ้น ยิ่งในยามศึกสงครามด้วยแล้วไพร่พลที่บาดเจ็บย่อมมีมากขึ้นตามสถานการณ์ จึงสันนิษฐานได้ว่ากิจการแพทย์ทหารน่าจะมีคู่กับกองทัพมาทุกยุคสมัย อย่างไรก็ดี ไม่สามารถค้นหาหลักฐาน จุดเริ่มต้นได้ชัดเจน จนกระทั่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวในบัญชีกองทัพของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพยกไปตีเมืองพระตะบอง (ปัจจุบันอยู่ในประเทศกัมพูชา) เมื่อเดือนยี่ ปีกุน เอกศก จุลศักราช 1201 ร.ศ. 58 (ตรงกับเดือนธันวาคม พ.ศ. 2382) ตามที่ปรากฏในจดหมายเหตุเกี่ยวกับเขมรและญวณในประชุมพงศาวดารภาคที่ 67 กล่าวไว้ว่าในสมัยรัชกาลที่ 3 อัตรากองทัพมีหน่วยหมอขนาดกรม ทั้งหมด 6 กรม คือ

1. กรมหมอยา ทำการรักษาด้วยยาไทย
2. กรมหมอนวด ทำการรักษาด้วยการบีบนวด จับเส้นสาย ตามตำราหมอนวดไทยโบราณ
3. กรมหมอประสาน ทำการรักษาจัดกระดูก ประสานกระดูกที่หักให้เข้าที่
4. กรมหมอยาตา รักษาโรคตาทั้งหลาย
5. กรมหมอฝรั่ง
6. กรมหมอฝี ทำการรักษาโรคหนองฝี ทั้งโดยยาและการบ่ง ผ่าฝี (น่าจะเทียบได้กับการผ่าตัดในปัจจุบัน)

ความสำคัญของแพทย์ทหารในสมัยนั้นมีความสำคัญอยู่ที่โรคทางยาเป็นหลัก เพราะการเดินทัพยังเป็นไปด้วยความยากลำบาก มักเกิดโรคต่างๆ ได้หลายชนิด เช่น ไข้หวัด ไข้จับสั่น (มาเลเรีย) โรคอุจจาระร่วง ฯลฯ การจัดอัตรากำลังในกรมหมอยาจึงจัดให้มีมากกว่ากรมอื่น

สำหรับกรมหมอฝรั่งนั้นเป็นข้อยืนยันว่าในแผ่นดินรัชกาลที่ 3 หมอฝรั่งเข้ามามีบทบาทในการรักษาพยาบาลทหารด้วยแล้ว จนถึงกับตั้งเป็นกรมหนึ่งและไทยเราใช้แพทย์ฝรั่งการแพทย์แผนปัจจุบันใน ราชการทหารมานานกว่า 165 ปีแล้ว

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้ง กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2414 และ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีตำแหน่งแพทย์ประจำกรมขึ้นด้วยตำแหน่งหนึ่ง ทำหน้าที่ดูแลสุขภาพตรวจ และ รักษาโรคให้กับทหาร และ ได้พระราชทานแพทย์ประจำพระองค์ คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ มาดำรงตำแหน่งแพทย์ประจำกรมทหารนี้

ขณะ นั้นมีแพทย์ไทยคนหนึ่งได้รับทุนของมิชชันนารีเพรสไบทีเรียน ไปศึกษาวิชาแพทย์ปริญญาที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์กจบกลับมา คือ นายแพทย์เทียนฮี้[9] หมอเฮาส์ มิชชันนารีชาวอเมริกันที่เคยสอน นายแพทย์เทียนฮี้ และ เป็นผู้ส่งนายแพทย์เทียนฮี้ ไปอเมริกา ได้พานายแพทย์เทียนฮี้ ไปฝากกับ จมื่นสราภัยสฤษดิ์การ (เจิม แสงชูโต) นายพันโทผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็กฯ

ผู้ บังคับการกรมทหารมหาดเล็กฯ ได้พานายแพทย์เทียนฮี้เข้าถวายตัว และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยนายแพทย์ รับราชการในกรมทหารมหาดเล็กฯ ตั้งแต่ พ.ศ. 2415 เป็นต้นมา นับได้ว่านายแพทย์เทียนฮี้ เป็นแพทย์ไทยที่เป็นแพทย์ปริญญาและจบวิชาการแพทย์แผนปัจจุบันคนแรกที่เข้า รับราชการทหาร

ต่อมาปี พ.ศ. 2422 จมื่นสราภัยสฤษดิ์การ ผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็กฯ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รับตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารหน้าครองบรรดาศักดิ์ เจ้าหมื่นไวยวรนาถ ได้ทูลขอ นายแพทย์เทียนฮี้ ซึ่งขณะนั้นมียศนายร้อยเอกมาเป็นนายแพทย์ประจำกรมทหารหน้าด้วย

สรุปได้ว่า ในช่วงเวลานั้นตำแหน่งนายแพทย์ประจำกรมทหาร เริ่มเป็นตำแหน่งที่มีอัตราบรรจุชัดเจนตามกรมทหารต่างๆ แต่คงเป็นแพทย์แผนโบราณเสียทั้งสิ้น นอกจากที่กรมทหารหน้าเท่านั้นมี นายร้อยเอกเทียนฮี้ นายแพทย์ประจำกรมเป็นแพทย์แผนปัจจุบัน

ที่กรม ทหารหน้านี้นายร้อยเอกเทียนฮี้ ได้ริเริ่มจัดตั้งโรงพยาบาลขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานที่รักษาพยาบาลแก่บรรดาข้าราชการทหาร นับได้ว่าเป็นโรงพยาบาลทหารแห่งแรกของประเทศไทย มีที่ตั้งอยู่ที่บริเวณถนนตรีเพชร ข้างสถานีตำรวจนครบาลพาหุรัด (ปัจจุบันคือกองตำรวจจราจร) เป็นโรงพยาบาลขนาด 60 เตียง มีแพทย์แผนโบราณเป็นผู้ช่วย

ระหว่างปี พ.ศ. 2428 - 2433 เจ้าหมื่นไวยวรนาถ ได้รับพระบรมราชโองการฯ ให้เป็นแม่ทัพไปปราบจีนฮ่อ ที่รุกรานเข้ามาทางหลวงพระบางที่ ทุ่งหลวงเชียงคำสองครั้ง นายร้อยเอกเทียนฮี้ ได้ไปราชการสงครามสองครั้งนี้ด้วย ได้ปฏิบัติหน้าที่แพทย์สนาม ตรากตรำดูแลกำลังพลที่เจ็บป่วยและบาดเจ็บอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย เมื่อกลับจากสงคราม เจ้าหมื่นไวยวรนาถ แม่ทัพได้รับพระราชทานเลื่อนยศ และ บรรดาศักดิ์เป็น นายพลโทพระยาสุรศักดิ์มนตรี นายร้อยเอกเทียนฮี้ ได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นนายพันตรี เครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกชั้นที่ 5 และ เหรียญปราบฮ่อ เป็นบำเหน็จ และ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ใหญ่ทหารบก ซึ่งเป็นตำแหน่งอัตราที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่โดยที่ยังมิได้มีการจัดตั้งหน่วย แพทย์ และ งานสายแพทย์ขึ้น ให้นายแพทย์ใหญ่ขึ้นตรงกับกรมยกกระบัตรทหารบกใหญ่ตามพระราชบัญญัติจัดการกรม ยุทธนาธิการปี พ.ศ. 2433 จึงนับได้ว่า นายพันตรีเทียนฮี้ เป็นนายแพทย์ใหญ่ทหารบกคนแรก อย่างไรก็ดี ผลจากการไปราชการสงครามเป็นเวลานานทำให้กิจการโรงพยาบาลทหารหน้าไม่มีผู้ ดูแลจึงเสื่อมความนิยมและเลิกล้มไป

ต่อมาในปี พ.ศ. 2435 เมื่อเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ผู้บังคับบัญชาเก่าของนายพันตรีเทียนฮี้ ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเสนาบดี กระทรวงเกษตราธิการ ได้ขอโอนย้ายนายพันตรีเทียนฮี้ ไปเป็นล่ามประจำกระทรวง และ ในปีเดียวกันนี้ นายพันตรีเทียนฮี้ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงดำรงแพทยาคุณ ต่อมาท่านได้ย้ายไปรับราชการในกระทรวงธรรมการ และ กระทรวงมหาดไทย จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระมนตรีพจนกิจ ในปี พ.ศ. 2443 ในปี พ.ศ. 2444 ได้ขอลาออกจากราชการด้วย สุขภาพไม่สมบูรณ์ แต่ยังช่วยเหลือราชการด้วยดีตลอดมา จึงได้รับพระราชทานยศเป็นอำมาตย์โท ในปี พ.ศ. 2454 และ พระยาสารสินสวามิภักดิ์ในปี พ.ศ. 2460 ตามลำดับ

ตำแหน่งนายแพทย์ใหญ่ทหารบกว่างอยู่ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2436 - พ.ศ. 2437 จนเมื่อ หม่อมราชวงศ์สุวพรรณ บุตรชายคนโตของ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ (อดีตนายแพทย์ประจำพระองค์ และ อดีตนายแพทย์ประจำกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์) สำเร็จวิชาแพทย์จากมหาวิทยาลัยเอดินเบอเรอ ประเทศอังกฤษ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ หม่อมราชวงศ์สุวพรรณ เป็นนายแพทย์ใหญ่ทหารบก มียศนายพันตรี

ปี พ.ศ. 2440 นายพันตรี หม่อมราชวงศ์สุวพรรณกราบ ถวายบังคมลาออก ด้วยเหตุผลการปฏิบัติราชการเป็นไปอย่างมิค่อยราบรื่นมากนัก ด้วยเหตุที่ยังมีความขัดแย้งระหว่างวิทยาการแพทย์สมัยใหม่ และ ความเชื่อของการแพทย์แผนโบราณประกอบกับที่ไม่มีกิจราชการอะไรให้ทำสมแก่เงินเดือนที่ทรงพระราชทาน หลังจากนั้นก็ไม่มีการแต่งตั้งผู้ใดดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ใหญ่ทหารบก จนปี พ.ศ. 2443 จึงยุบอัตรา โดย กรมยุทธนาธิการ[10] ใช้วิธีจัดแพทย์จากกรมกองต่าง ๆ หมุนเวียนกันไปเป็นแพทย์เวรประจำศาลายุทธนาธิการสำหรับคอยช่วยเหลือทหารตาม หน่วยต่าง ๆ ด้านการรักษาพยาบาลนอกเวลาราชการตามแต่หน่วยนั้น ๆ จะขอมา ส่วนผู้ที่ป่วยเจ็บเกินความสามารถ ก็จัดส่งไปรักษาต่อยังโรงพยาบาลพลเรือน เช่น ศิริราชพยาบาล และ โรงพยาบาลของสภาอุณาโลมแดง

สำหรับยาและเวชภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในยามปกติต้องเบิกจากกรมยกกระบัตรฯ แต่เนื่องจากปัญหาความล่าช้าและยาเก่าทำให้มีผู้ร้องเรียนกันมาก จนทางกรมยกกระบัตรเปลี่ยนมาจัดงบสรรยาและเวชภัณฑ์ให้หน่วยทหารระดับกรมใน อัตรา 1 ชั่งต่อเดือน

กิจการแพทย์ของทหารเริ่มมีผู้เห็นความสำคัญมาก ขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมียุทธการเกิดขึ้น เช่น สงครามปราบเงี้ยว ณ มณฑลพายัพ ระหว่างปี พ.ศ. 2440 ถึง พ.ศ. 2443 ทหารที่ไปรบนอกจากที่บาดเจ็บจากการสงครามแล้ว ยังมีทหารที่ป่วยเป็นไข้จับสั่นและเกิดโรคไข้ทรพิษระบาดในหน่วยทหารบางหน่วยอีกด้วย แพทย์ที่ไปในกองทัพต้องมีภารกิจในการรักษาพยาบาล และ ปลูกฝีให้ทั้งทหารฝ่ายไทย และ เชลยเงี้ยว

กรมยุทธนาธิการเห็นความสำคัญในกิจการสายแพทย์ จึงกราบบังคมทูลพระกรุณาฯ ขอจัดตั้ง “กองแพทย์” ขึ้นให้เป็นหน่วยในอัตราของ กรมยุทธนาธิการ โดยในวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442 นายพลเอกสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุพันธุวงษ์วรเดช ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ ได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ตามคำกราบทูลปรึกษาแนะนำของ นายพันเอกพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิระประวัติวรเดช ปลัดทัพบก เพื่อจัดให้มีกองแพทย์พยาบาลขึ้นไว้ในกรมยุทธนาธิการ และ จัดศาลายุทธนาธิการให้เป็นโรงพยาบาลกลางสัก 1 แห่ง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชกระแสตอบลงมาใน วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442 ว่าทรงเห็นด้วยที่จะให้จัดมีกองแพทย์ขึ้นอีกกองหนึ่งสำหรับตรวจตราและทำการ รักษาพยาบาลทหารบกทั่วไป มีตำแหน่งนายแพทย์ใหญ่เป็นหัวหน้า และให้มีตำแหน่งนายแพทย์เอก โท ตรี ขึ้นในกองแพทย์กลางนั้น

อย่างไรก็ดี เมื่อมีการจัดตั้งกองแพทย์กลางขึ้นแล้วก็ยังหาแพทย์ปริญญามาบรรจุในตำแหน่ง นายแพทย์ใหญ่ไม่ได้ อัตราดังกล่าวจึงว่างอยู่ จนต่อมาในปี พ.ศ. 2443 นายพันเอกพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิระประวัติวรเดช ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการได้มีหนังสือที่ 3/1020 ลงวันที่ 13 มิถุนายน ร.ศ.119 (ตรงกับ พ.ศ. 2443) กราบบังคมทูลฯ ขอพระราชทานพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดกองแพทย์กรมกลางขึ้นตามอัตรา และ ให้หม่อมเจ้ากำมสิทธิ์แพทย์แผนโบราณดำรงตำแหน่งนายแพทย์เอก และ มีหน้าที่กำกับดูแลบังคับบัญชากองแพทย์นี้ไปพลางก่อน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มีพระราชกระแสเห็นชอบ และ โปรดเกล้าฯ ตามเสนอ

ระหว่างนั้น นายพันโท พระยาพหลพลพยุหเสนา ยกกระบัตรทหารบก ได้ดำเนินการจัดตั้งโรงพยาบาลกลางของกองแพทย์กรมยุทธนาธิการขึ้นจนเป็นที่เรียบร้อย โดยตั้งอยู่ที่วังเก่าของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ประทานให้แก่ พระองค์เจ้าวิไลวรวิลาศ และ พระองค์เจ้าไชยรัตนวโรภาส ณ บริเวณฝั่งทิศเหนือของคลองหลอด ซึ่งทางราชการทหารจัดซื้อไว้สำหรับเป็น โรงทหารของกรมทหารบกราบที่ ๓ และ ในวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2443 (ก่อน พ.ศ. 2484 ประเทศสยามถือว่า เดือนเมษายน เป็นต้นปี และ เดือนมีนาคม เป็นปลายปี) ได้มีพิธีเปิด โรงพยาบาลทหารบกแห่งแรก โดย นายพลเอกสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระภาณุพันธุวงษ์วรเดช ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการเป็นองค์ประธาน และ หม่อมเจ้ากำมสิทธิ์ ในฐานะรักษาการหัวหน้ากองแพทย์เป็นผู้ถวายรายงาน มีทหารป่วยรับรักษาไว้ในโรงพยาบาลกลางในวันพิธีเปิดรวม 20 คน กับที่ต้องดูแลรักษาในกรมกองทหารต่าง ๆ อีกรวมเป็นจำนวน 153 คน นับเป็นครั้งแรกที่มีการจัดตั้งหน่วยแพทย์และมีอัตรากำลังอย่างเป็นทางการ

  • หม่อมเจ้ากำมสิทธิ์รักษาการในตำแหน่งแพทย์ใหญ่ทหารบกอยู่จนถึงปี พ.ศ. 2444 จึงมีคำสั่งแต่งตั้ง นายแพทย์ทรัมป์ แพทย์ชาวเยอรมันให้ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ใหญ่ทหารบก เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2444
  • ตำแหน่งนายแพทย์ใหญ่ทหารบก เป็นตำแหน่งที่มีมาก่อนการจัดตั้งหน่วยแพทย์
  • หน่วยแพทย์ที่มีการจัดตั้งและมีอัตรากำลังอย่างเป็นทางการก็คือ กองแพทย์กรมยุทธนาธิการ ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นกรมแพทย์ทหารบกในปัจจุบัน
  • ต่อมาทางราชการได้ถือว่าวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2443 (ซึ่งเป็นเพียงวันเปิดโรงพยาบาลทหารบก ในการกำกับดูแลของกองแพทย์กรมยุทธนาธิการ) เป็นวันสถาปนากรมแพทย์ทหารบก[11] และ ยกย่องว่า นายแพทย์เทียนฮี้ ซึ่งเป็นนายแพทย์ใหญ่ทหารบกท่านแรกในขณะที่ยังไม่มีการจัดตั้งหน่วยแพทย์ นั้นเป็นผู้บังคับบัญชาสายแพทย์ท่านแรก

ปี พ.ศ. 2559 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีเปิด ศูนย์แพทย์ทหารอาเซียน (ASEAN Centre of Military Medicine: ACMM) ที่กรมแพทย์ทหารบก โดยมีนายเล เลือง มินห์ (H.E. Le Luong Minh) เลขาธิการอาเซียน รวมทั้งผู้บัญชาการระดับสูงของเหล่าทัพและผู้เกี่ยวข้อง ผู้แทนประเทศสมาชิกอาเซียนและผู้แทนรัสเซีย ในฐานะประเทศคู่เจรจาที่ให้การสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ฯ ดังกล่าว และนางสาวภาสพร สังฆสุบรรณ์ รองอธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วมในพิธีอย่างพร้อมเพรียง การเปิดศูนย์แพทย์ทหารอาเซียนอย่างเป็นทางการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการประสานความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมในด้านการแพทย์ทหารในภูมิภาคอาเซียน แสดงบทบาทเชิงรุกและความพร้อมของไทยในการยกระดับมาตรฐานการให้บริการทางการแพทย์ในสถานการณ์ต่าง ๆ และให้สามารถสนับสนุนความร่วมมือในภูมิภาคได้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ ความมั่นคงทางทะเล การรักษาสันติภาพ การต่อต้านการก่อการร้าย การปฏิบัติการทุ่นระเบิด และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ ซึ่งทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการประสานความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมในด้านการแพทย์ทหารในอาเซียน

อาคารกรมแพทย์ทหารบก ปัจจุบัน

การจัดหน่วย กรมแพทย์ทหารบก[แก้]

ส่วนบังคับบัญชา[แก้]

  • แผนกธุรการ
  • สำนักงานการเงิน
  • ฝ่ายพระธรรมนูญ
  • ฝ่ายประชาสัมพันธ์

หน่วยขึ้นตรง กองบัญชาการกรมแพทย์ทหารบก[แก้]

หน่วยฝากการบังคับบัญชา[แก้]

หน่วยเวชกรรมป้องกัน กองทัพบก

ศูนย์แพทย์ทหารอาเซียน (ASEAN Centre of Military Medicine: ACMM)[แก้]

  • ศูนย์แพทย์ทหารอาเซียน

รายนามเจ้ากรมแพทย์ทหารบก/ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนารักษ์ กรมแพทย์ทหารบก[แก้]

รายนามผู้บังคับบัญชา กรมแพทย์ทหารบก
ลำดับ ยศ ชื่อ สกุล ตำแหน่ง ครองตำแหน่ง
ลำดับที่ 1
นายพันตรี เทียนฮี้ (พระยาสารสินสวามิภักดิ์)
นายแพทย์ใหญ่ทหารบก
พ.ศ. 2431 - พ.ศ. 2435
ลำดับที่ 2
นายพันตรี หม่อมราชวงศ์ สุวพรรณ (พันตรี หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์)
นายแพทย์ใหญ่ทหารบก
พ.ศ. 2437 - พ.ศ. 2440
ลำดับที่ 3
นายพันโท หม่อมเจ้า กำมสิทธิ์
นายแพทย์เอก กองแพทย์ กรมยุทธนาธิการ
15 กันยายน พ.ศ. 2444 - พ.ศ. 2447
ลำดับที่ 4
นายพันโท ทรัมป์
นายแพทย์ใหญ่ กรมยุทธนาธิการ
หัวน่ากรมแพทย์ทหารบก
13 มิถุนายน พ.ศ. 2443 - 14 กันยายน พ.ศ. 2444
พ.ศ. 2447 - 15 สิงหาคม พ.ศ. 2451
ลำดับที่ 5
นายพลตรี พระยาดำรงแพทยาคุณ (ฮวด วีระไวทยะ)
หัวน่ากรมแพทย์ทหารบก
เจ้ากรมแพทย์ศุขาภิบาลทหารบก
นายแพทย์ใหญ่ทหารบก
15 สิงหาคม พ.ศ. 2451 - 9 เมษายน พ.ศ. 2457
19 เมษายน พ.ศ. 2457 - 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457
17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 - 18 กันยายน พ.ศ. 2460
ลำดับที่ 6
นายพลตรี พระยาวิบุลอายุรเวท (เสก ธรรมสโรช)
นายแพทย์ใหญ่ทหารบก
นายแพทย์ใหญ่ทหาร
18 กันยายน พ.ศ. 2460 - 1 มกราคม พ.ศ. 2474
11 มกราคม พ.ศ. 2474 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2475
ลำดับที่ 7
นายพลตรี พระศัลยเวทยวิศิษฏ์ (สาย คชเสนี)
นายแพทย์ใหญ่ทหารบก
นายแพทย์ใหญ่ทหารบก
ผู้อำนวยการเสนารักส์ทหานบก
11 สิงหาคม พ.ศ. 2475 - 15 เมษายน พ.ศ. 2479
15 เมษายน พ.ศ. 2479 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2485
31 ธันวาคม พ.ศ. 2485 - 29 มกราคม พ.ศ. 2486 และ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 - 1 กันยายน พ.ศ. 2487
ลำดับที่ 8
พลโท จอน โชติดิลก (พระยาอภัยสงคราม)
ที่ปรึกสาการป้องกันพระราชอาณาจักร และผู้อำนวยการเสนารักส์ทหานบก
29 มกราคม พ.ศ. 2486 - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2487
ลำดับที่ 9
พลตรี สงวน โรจนวงศ์
รักษาราชการผู้อำนวยการเสนารักส์ทหานบก
นายแพทย์ใหญ่ทหารบก
1 กันยายน พ.ศ. 2487 - 1 มกราคม พ.ศ. 2489
1 มกราคม 2489 - 3 พฤศจิกายน 2493
ลำดับที่ 10
พลตรี ถนอม อุปถัมภานนท์
นายแพทย์ใหญ่ทหารบก
3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2503
ลำดับที่ 11
พลโท ประภาคาร กาญจนาคม
นายแพทย์ใหญ่ทหารบก
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก
30 ธันวาคม พ.ศ. 2503 - 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 - 30 กันยายน พ.ศ. 2511
ลำดับที่ 12
พลโท ผ่อง มีคุณเอี่ยม
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก
1 ตุลาคม พ.ศ. 2511 - 30 กันยายน พ.ศ. 2512
ลำดับที่ 13
พลโท สมุท ชาตินันทน์
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก
1 ตุลาคม พ.ศ. 2512 - 30 กันยายน พ.ศ. 2514
ลำดับที่ 14
พลโท ชม ศรทัตตํ
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก
1 ตุลาคม พ.ศ. 2514 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2515
ลำดับที่ 15
พลโท ทิพย์ ผลโภค
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก
1 เมษายน พ.ศ. 2515 - 30 กันยายน พ.ศ. 2515
ลำดับที่ 16
พลโท ประเดิม พีชผล
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก
1 ตุลาคม พ.ศ. 2515 - 30 กันยายน พ.ศ. 2516
ลำดับที่ 17
พลโท ประณต โพธิทัต
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก
1 ตุลาคม พ.ศ. 2516 - 30 กันยายน พ.ศ. 2520
ลำดับที่ 18
พลโท ยง วัชระคุปต์
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก
1 ตุลาคม พ.ศ. 2520 - 30 กันยายน พ.ศ. 2525
ลำดับที่ 19
พลโท สอาด ประเสริญสม
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก
1 ตุลาคม พ.ศ. 2525 - 30 กันยายน พ.ศ. 2527
ลำดับที่ 20
พลโท อัศวิน เทพาคำ
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก
1 ตุลาคม พ.ศ. 2527 - 30 กันยายน พ.ศ. 2530
ลำดับที่ 21
พลโท สิงหา เสาวภาพ
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก
1 ตุลาคม พ.ศ. 2530 - 30 กันยายน พ.ศ. 2532
ลำดับที่ 22
พลโท ปัญญา อยู่ประเสริฐ
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก
1 ตุลาคม พ.ศ. 2532 - 30 กันยายน พ.ศ. 2533
ลำดับที่ 23
พลโท ภิญโญ ศิริยะพันธุ์
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก
1 ตุลาคม พ.ศ. 2533 - 30 กันยายน พ.ศ. 2534
ลำดับที่ 24
พลโท อมฤต ณ สงขลา
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก
1 ตุลาคม พ.ศ. 2534 - 30 กันยายน พ.ศ. 2535
ลำดับที่ 25
พลโท เชิดชัย เจียมไชยศรี
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก
1 ตุลาคม พ.ศ. 2535 - 30 กันยายน พ.ศ. 2536
ลำดับที่ 26
พลโท คำรบ สายสุวรรณ
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก
1 ตุลาคม พ.ศ. 2536 - 30 กันยายน พ.ศ. 2538
ลำดับที่ 27
พลโท สุจินต์ อุบลวัตร
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก
1 ตุลาคม พ.ศ. 2538 - 30 กันยายน พ.ศ. 2540
ลำดับที่ 28
พลโท สุปรีชา โมกขะเวส
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก
1 ตุลาคม พ.ศ. 2540 - 30 กันยายน พ.ศ. 2541
ลำดับที่ 29
พลโท ปรียภาส นิลอุบล
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก
1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 - 30 กันยายน พ.ศ. 2543
ลำดับที่ 30
พลโท จุลเทพ ธีระธาดา
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก
1 ตุลาคม พ.ศ. 2543 - 30 กันยายน พ.ศ. 2544
ลำดับที่ 31
พลโท ชูฉัตร กำภู ณ อยุธยา
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก
1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 - 30 กันยายน พ.ศ. 2546
ลำดับที่ 32
พลโท ประวิชช์ ตันประเสริฐ
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก
1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 - 30 กันยายน พ.ศ. 2548
ลำดับที่ 33
พลโท บุญเลิศ จันทราภาส
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก
1 ตุลาคม พ.ศ. 2548 - 30 กันยายน พ.ศ. 2550
ลำดับที่ 34
พลโท วิทยา ช่อวิเชียร
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก
1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 - 30 กันยายน พ.ศ. 2553
ลำดับที่ 35
พลโท สหชาติ พิพิธกุล
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก
1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 - 30 กันยายน พ.ศ. 2554
ลำดับที่ 36
พลโท ธวัชชัย ศศิประภา
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก
1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 30 กันยายน พ.ศ. 2555
ลำดับที่ 37
พลโท ภานุวิชญ์ พุ่มหิรัญ
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก/ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนารักษ์
1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 30 กันยายน พ.ศ. 2556
ลำดับที่ 38
พลโท ธีรยุทธ ศศิประภา
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก/ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนารักษ์
1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 30 กันยายน พ.ศ. 2557
ลำดับที่ 39
พลโท บุณยรักษ์ พูนชัย
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก/ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนารักษ์
1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2558
ลำดับที่ 40
พลโท ไตรโรจน์ ครุธเวโช
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก/ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนารักษ์
1 เมษายน พ.ศ. 2558 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2559
ลำดับที่ 41
พลโท ชุมพล เปี่ยมสมบูรณ์
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก/ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนารักษ์
1 เมษายน พ.ศ. 2559 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2560
ลำดับที่ 42
พลโท สาโรช เขียวขจี
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก/ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนารักษ์
1 เมษายน พ.ศ. 2560 - 30 กันยายน พ.ศ. 2561
ลำดับที่ 43
พลโท ชาญณรงค์ นาคสวัสดิ์[12]
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก/ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนารักษ์
1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 - 31 มีนาคม 2563
ลำดับที่ 44
พลโท ชาญชัย ติกขะปัญโญ[13]
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก/ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนารักษ์
1 เมษายน พ.ศ. 2563 - 30 กันยายน พ.ศ. 2564
ลำดับที่ 45
พลโท สุพัษชัย เมฆะสุวรรณดิษฐ์[14]
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก/ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนารักษ์
1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 - 30 กันยายน พ.ศ. 2565
ลำดับที่ 46
พลโท วุฒิไชย อิศระ[15]
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก/ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนารักษ์
1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 - 30 กันยายน พ.ศ. 2566
ลำดับที่ 47
พลโท มานะพล เล็กสกุล[16]
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก/ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนารักษ์
1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]

  1. ผบ.ทหารสูงสุดห่วงทหารไทยในซูดานหลังเกิดรัฐประหาร - โพสต์ทูเดย์
  2. สมุดบันทึกข้อความ พบ.ประจำปี 2554
  3. โปรดเกล้าฯ "พระราชทานยศทหารชั้นนายพล" จำนวน 530 ราย ประกาศลงราชกิจจาฯ
  4. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ". ราชกิจจานุเบกษา. 2023-08-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-30. สืบค้นเมื่อ 2023-08-30.
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 39 ข หน้า 6 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอน 218 ง พิเศษ หน้า 21 วันที่ 14 กันยายน 2564
  7. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ". ราชกิจจานุเบกษา. 2022-09-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-12. สืบค้นเมื่อ 2022-09-10.
  8. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ". ราชกิจจานุเบกษา. 2023-08-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-30. สืบค้นเมื่อ 2023-08-30.
  9. ประวัติพระยาสารสินสวามิภักดิ์ (เทียนฮี้ สาระสิน)
  10. กรมยุทธการทหารบก (ปัจจุบัน) กรมยุทธนาธิการ เก็บถาวร 2011-08-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  11. ผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานวันสถาปนากรมแพทย์ทหารบก 113 ปี 7 มกราคม 2556[ลิงก์เสีย]
  12. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕ ตอน ๒๑๒ ง พิเศษ หน้า ๒๐ วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๑
  13. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอน 59 ง พิเศษ หน้า 6 วันที่ 15 มีนาคม 2563
  14. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอน 218 ง พิเศษ หน้า 20 วันที่ 14 กันยายน 2564
  15. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เก็บถาวร 2022-09-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอน 218 ง พิเศษ หน้า 20 วันที่ 14 กันยายน 2564
  16. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง พิเศษ หน้า 20 วันที่ 30 สิงหาคม 2566

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]