โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา

พิกัด: 13°09′42″N 100°55′08″E / 13.161595°N 100.918795°E / 13.161595; 100.918795
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา
สภากาชาดไทย
Queen Savang Vadhana Memorial Hospital [Thai Red Cross Society]
แผนที่
ประเภทโรงพยาบาลศูนย์
ที่ตั้ง290 ถนนเจิมจอมพล ตำบลศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย ไทย
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้ง10 กันยายน พ.ศ. 2445 (121 ปี)
สังกัดสภากาชาดไทย
ความร่วมมือคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้อำนวยการรศ.นพ.โศภณ นภาธร [1]
จำนวนเตียง459[2]
เว็บไซต์www.somdej.or.th

โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา เดิมชื่อ โรงพยาบาลศรีราชา สภากาชาดไทย เป็นโรงพยาบาลที่เก่าแก่ที่สุดในสังกัดสภากาชาดไทย และตั้งแต่ปีการศึกษา 2567 เป็นต้นไปจะทำหน้าที่เป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกและสถาบันสมทบเพื่อการผลิตแพทย์ให้กับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2445 ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ริมชายฝั่งทะเลอ่าวไทย สร้างขึ้นตามพระประสงค์ของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า[3]

ประวัติ[แก้]

โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา กำเนิดขึ้นจากพระประสงค์ของสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี หลังจากพระองค์เสด็จประพาสและประทับพักฟื้น ณ พระตำหนัก ตำบลบางพระ จังหวัดชลบุรี ในปี พ.ศ. 2441 ในการนี้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)ได้จัดสร้างเรือนไม้ยื่นลงในทะเลตำบลศรีราชา เพื่อเป็นพระตำหนักแห่งใหม่และเชิญเสด็จจากตำบลบางพระมาประทับที่นี่ แต่พระตำหนักเรือนไม้ดังกล่าวอยู่ในน้ำ คับแคบและไม่แข็งแรง ราว 1 ปีหลังสร้างเสร็จ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าจึงทรงพระดำริเลือกหาพื้นที่บนชายฝั่งตำบลศรีราชาสำหรับสร้างพระตำหนัก จนกระทั่งพระองค์พอพระทัยพื้นที่บริเวณเนินเขาชายทะเลด้านทิศใต้ของพระตำหนักไม้เดิม พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์และเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีถวายความเห็น ต่อมามีพระกระแสรับสั่งให้จัดสร้างพระตำหนักใหญ่ 3 ชั้นขึ้นหลังหนึ่งสำหรับเป็นที่ประทับและเรือนหลังย่อม ๆ อีก 4-5 หลัง[4]

ประชาชนย่อมมีความเดือดร้อนทุกข์ทรมานจากการเจ็บไข้นั้น ถ้าได้มีสถานที่พยาบาลคนเจ็บไข้ขึ้นในตำบลนี้ นอกจากจะได้ใช้เป็นที่รักษาพยาบาลข้าราชบริพารและผู้ที่ตามเสด็จนั้นแล้ว ยังจะเป็นสาธารณประโยชน์ให้ประชาชนในท้องถิ่นที่ใกล้เคียงได้พึ่งพาอาศัยในยามเจ็บไข้ ซึ่งเป็นสาธารณกุศลและเป็นการช่วยชาติบ้านเมืองอีกส่วนหนึ่ง

— สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

ระหว่างที่สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวีประทับอยู่ที่ตำหนักแห่งนี้ มีข้าราชบริพารและเจ้าหน้าที่รักษาพระองค์เป็นจำนวนมากที่เจ็บป่วย ประชาชนในเขตตำบลนี้ย่อมต้องเจ็บป่วยเช่นเดียวกัน ด้วยพระทัยเต็มไปด้วยการกุศลสาธารณะจึงทรงมีดำริให้สร้างสถานพยาบาลขึ้นในบริเวณใกล้เคียงพระตำหนักของพระองค์ ในช่วงก่อตั้งมีพระบำบัดสรรพโรค(หมอเอช. อาดัมสัน) เป็นผู้ช่วยในการวางแผนผังการก่อสร้าง โดยสร้างเป็นเรือนหลังคามุงจาก 2 ชั้นขึ้นก่อน 1 หลัง แล้วเพิ่มขึ้นอีก 4 หลังเป็นกลุ่มอาคารเดียวกันยื่นลงไปในทะเล การก่อสร้างสถานพยาบาลใหม่นี้แล้วเสร็จในต้นเดือน กันยายน พ.ศ. 2445[5]

พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา อธิบดีกรมพยาบาล กระทรวงธรรมการ เสด็จประกอบพิธีเปิดสถานพยาบาลนี้ในวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2445 มีชื่อเรียกในขณะนั้นว่า “โรงพยาบาลศรีมหาราชา” ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าพระราชทานนามโรงพยาบาลนี้ว่า “โรงพยาบาลสมเด็จ”[6]

พัฒนาการ[แก้]

จากความทรุดโทรมของตัวโรงพยาบาลที่ยื่นลงไปในทะเล ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการใช้งานอีกทั้งความทรุดโทรมนี้ไม่คุ้มค่าที่จะซ่อมแซม นายบัวหรือขุนปราณเขตต์นครซึ่งเป็นผู้ดูแลโรงพยาบาล กราบบังคมทูลสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี เพื่อขอย้ายโรงพยาบาลขึ้นไปตั้งบนบกทางด้านเหนือของเขาพระตำหนัก(คือที่ตั้งโรงพยาบาลปัจจุบันนี้) พระองค์ทรงเห็นชอบด้วยและได้พระราชทานเงินเป็นค่าก่อสร้างในการย้ายนี้ประมาณสองหมื่นบาทเศษ โดยเริ่มสร้างโรงพยาบาลบนบกในปี พ.ศ. 2451 ประกอบด้วยอาคาร 5 หลัง หลังแรกเป็นเรือนไม้ขนาดใหญ่ 2 ชั้น ชั้นล่างสำหรับทำการตรวจโรคและชั้นบนเป็นที่ทำการ หลังที่สองและสามเป็นเรือนไม้สำหรับผู้ป่วย หลังที่สี่เป็นเรือนไม้ยาวชั้นเดียวยกพื้นสำหรับเป็นที่อยู่ของเจ้าหน้าที่ หลังที่ห้าเป็นบ้านพักแพทย์ผู้ปกครองโรงพยาบาล 1 หลัง อยู่บริเวณหน้าเรือนพักผู้ป่วย เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ย้ายคนเจ็บไข้จากเรือนในน้ำมาอยู่ในที่นี้เมื่อ พ.ศ. 2452[7]

ค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลด้านกายภาพทั้งเงินค่าก่อสร้าง ค่าซ่อมแซม รวมถึงค่าใช้สอยประจำโรงพยาบาลจำพวก ค่าเวชภัณฑ์ ค่าครุภัณฑ์ ค่าอาหารเลี้ยงคนเจ็บไข้ ตลอดจนเงินเดือนแพทย์และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ เป็นเงินส่วนพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวีทั้งสิ้น พระองค์พระราชทานตลอดมาทุกปี เป็นเงินราวปีละ 15,000 บาท ภายหลังได้เพิ่มเป็น 20,000 บาท ตลอดพระชนมายุ ต่อจากนั้นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีพระราชทานเงินส่วนนี้เสมอมาทุกปี เพื่อเป็นที่รำลึกถึงสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 โรงพยาบาลได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา"[8]

สังกัด[แก้]

แรกเริ่มสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวีทรงฝากโรงพยาบาลสมเด็จสมเด็จนี้ไว้ในสังกัดโรงพยาบาลศิริราช จนถึงปี พ.ศ. 2461 พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้โรงพยาบาลนี้ไปอยู่ภายในการกำกับดูแลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[9] ภายใต้กระทรวงธรรมการ(กระทรวงศึกษาธิการ) 10 ปีให้หลังในเดือนเมษายน พ.ศ. 2471 จึงโปรดเกล้าฯให้โอนโรงพยาบาลจากกระทรวงธรรมการไปสังกัดสภากาชาดไทย เป็นโรงพยาบาลแห่งที่สองของสภากาชาดไทยแต่มีอายุมากกว่าโรงพยาบาลแห่งแรกคือโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ถึง 12 ปี[10]

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก[แก้]

โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา มีศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก(ศพค.) จัดตั้งอยู่ในโรงพยาบาลทำหน้าที่จัดการเรียนการสอนและฝึกปฏิบัติทางการแพทย์ให้กับนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4-6 ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[11]

ตั้งแต่ปีการศึกษา 2567 เป็นต้นไปจะทำหน้าที่เป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกและสถาบันสมทบเพื่อการผลิตแพทย์ให้กับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2563 คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย พร้อมด้วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ทำพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ และการผลิตบัณฑิตระหว่างคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย และโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย เพื่อร่วมมือในการผลิตบัณฑิตคณะแพทยศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ เพื่อพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพให้มีเพิ่มมากขึ้น[12]

การร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นความร่วมมือกันพัฒนา สร้างบุคลากรทางการแพทย์ขึ้นมา ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวจะรับผู้ที่จบปริญญาตรี เข้ามาศึกษาต่อในปริญญาแพทยศาสตร์เป็นระยะเวลา 4 ปี ในหลักสูตรนานาชาติ สำหรับการที่มาร่วมมือกันในครั้งนี้เนื่องจาก โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา เป็นโรงพยาบาลในสภากาชาดไทย ที่ได้มีความร่วมมือกันมานานแล้ว และโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ยังอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งการพัฒนาบัณฑิต การพัฒนาคนเพื่อตอบสนองพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จะเป็นจุดสำคัญที่ดีที่ทำให้การพัฒนาภาพรวมของประเทศได้ดีในอนาคต[13]

หลักสูตรการศึกษา[แก้]

โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย จัดการเรียนการสอนในระดับ Clinical clerkship และ Externship (นิสิตแพทย์ชั้นปี 2-4) ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใน 1 หลักสูตร คือ

ปริญญาตรี
สถาบันอุดมศึกษา
  • หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)

ระยะเวลาในการศึกษา[แก้]

ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรรวม 4 ปี ดังนี้

ระดับชั้น
สถานที่ศึกษา
สังกัด
ระยะทางระหว่างสถานที่ศึกษา
  • ระดับ Pre-clerkship (ชั้นปี 1-2)
  • ระดับ Clinical clerkship (ชั้นปี 2-3)
  • ระดับ Externship (ชั้นปี 4)
  • ระยะทางประมาณ 115.9 กิโลเมตร

อ้างอิง[แก้]

  1. โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา. (2564). คณะผู้บริหารโรงพยาบาล: โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา. เรียกใช้เมื่อ 21 ตุลาคม 2564 จาก เว็บไซต์ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา: https://somdej.or.th/?page_id=3054
  2. http://gishealth.moph.go.th/healthmap/infoequip.php?maincode=13754[ลิงก์เสีย]
  3. โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย. (2559). ประวัติโรงพยาบาล: โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย. เรียกใช้เมื่อ 2 ตุลาคม 2559 จาก เว็บไซต์ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย: http://www.somdej.or.th/index.php/2015-09-03-09-01-57/61-7 เก็บถาวร 2016-08-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย. (2559). ประวัติโรงพยาบาล: โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย. เรียกใช้เมื่อ 2 ตุลาคม 2559 จาก เว็บไซต์ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย: http://www.somdej.or.th/index.php/2015-09-03-09-01-57/61-7 เก็บถาวร 2016-08-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย. (2559). พระราชทานกำเนิดโรงพยาบาล: โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย. เรียกใช้เมื่อ 2 พฤศจิกายน 2559 จาก เว็บไซต์ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย: http://www.somdej.or.th/index.php/2015-09-03-09-01-57/62-8 เก็บถาวร 2016-11-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. Hfocus. (10 ตุลาคม 2014). 112 ปี โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย: Hfocus. เรียกใช้เมื่อ 2 พฤศจิกายน 2559 จาก เว็บไซต์ Hfocus: https://www.hfocus.org/content/2014/10/8330
  7. Hfocus. (10 ตุลาคม 2014). 112 ปี โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย: Hfocus. เรียกใช้เมื่อ 2 พฤศจิกายน 2559 จาก เว็บไซต์ Hfocus: https://www.hfocus.org/content/2014/10/8330
  8. โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย. (2559). พระราชทานกำเนิดโรงพยาบาล: โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย. เรียกใช้เมื่อ 2 พฤศจิกายน 2559 จาก เว็บไซต์ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย: http://www.somdej.or.th/index.php/2015-09-03-09-01-57/62-8 เก็บถาวร 2016-11-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  9. ราชกิจจานุเบกษา. “ แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกกรมมหาวิทยาลัย เรื่อง ทรงมอบโรงพยาบาลศรีมหาราชาแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพระราชทานพระราชทรัพย์บำรุง.” เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา. 7 เมษายน 2461. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2461/D/33.PDF (1 ธันวาคม 2559 ที่เข้าถึง).
  10. โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย. (2559). ประวัติโรงพยาบาล: โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย. เรียกใช้เมื่อ 2 ตุลาคม 2559 จาก เว็บไซต์ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย: http://www.somdej.or.th/index.php/2015-09-03-09-01-57/61-7 เก็บถาวร 2016-08-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  11. https://interpass.in.th/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%AC%E0%B8%B2%E0%B8%AF-%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C-4-%E0%B8%9B%E0%B8%B5-%E0%B8%88%E0%B8%9A-%E0%B8%9B/
  12. https://www.md.chula.ac.th/%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/
  13. https://mgronline.com/local/detail/9630000009301

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°09′42″N 100°55′08″E / 13.161595°N 100.918795°E / 13.161595; 100.918795