โรงพยาบาลอินทร์บุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลอินทร์บุรี
In Buri Hospital
ประเภทโรงพยาบาลทั่วไป
ที่ตั้ง37/7 ถนนเทพสุทธิโมลี ตำบลทับยา อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี 16110
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้งพ.ศ. 2496
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ผู้อำนวยการนายแพทย์วิทูรย์ อนันกุล
จำนวนเตียง150 เตียง[1]
บุคลากร580
เว็บไซต์[1]

โรงพยาบาลอินทร์บุรี เป็นโรงพยาบาลของรัฐขึ้นตรงต่อสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสิงห์บุรี สำนักงานปลัดกระทรวงสาธรณสุข กระทรวงสาธารณสุข ประเภทโรงพยาบาลทั่วไปขนาด150 เตียง ตั้งอยู่เลขที่ 37/7 หมู่ที่ 1 ตำบลทับยา อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ริมฝั่งตะวันตกติดแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศเหนือห่างจาก พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอินทร์บุรี ประมาณ 1 กิโลเมตรและอยู่ห่างจากจังหวัดสิงห์บุรีไปทางทิศเหนือ 12 กิโลเมตร โดยมีบริเวณพื้นที่ทั้งหมด 47 ไร่ ซึ่งเดิมเป็นวัดร้างชื่อ "วัดเชี่ยน" รวมกับที่ดินซึ่งประชาชนบริจาคเพิ่มเติม ประชาชนทั่วไปจึงเรียกโรงพยาบาลนี้ว่า "โรงพยาบาลวัดเชี่ยน" ภายใต้สโลแกน อบอุ่นดุจบ้านบริการเป็นเลิศ

ประวัติ[แก้]

โรงพยาบาลอินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี มีกำเนิดจากดำริและการดำเนินการก่อสร้างของพระเทพสุทธิโมลี (ผึ่ง บัวสรวง) อดีตเจ้าอาวาส วัดโบสถ์ พระอารามหลวง อำเภออินทร์บุรีและอดีตเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรีฝ่ายธรรมยุติ โดยหาทุนบริจาคจากประชาชนผู้มีจิตศรัทธาและได้ติดต่อกับกรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการขอเช่าที่ดินวัดเชี่ยน ซึ่งเป็นวัดร้างเพื่อใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างโรงพยาบาล ปี พ.ศ. 2496 ได้ติดต่อกับกระทรวงสาธารณสุขเพื่อขอสร้างเป็นโรงพยาบาลในปีต่อมา ปี พ.ศ. 2499 กระทรวงสาธารณสุขจึงได้อนุมัติสร้างให้เป็นสถานีอนามัยชั้น 1 เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2500 สังกัดกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีนายแพทย์หาญ พันธุ์ภู่ เป็นนายแพทย์ประจำ ต่อมาปี พ.ศ. 2501 ได้รับงบประมาณจากกระทรวงสาธรณสุขก่อสร้างอาคารเพื่มเติม ได้แก่บ้านพักแพทย์ บ้านพักเจ้าหน้าที่อื่น ๆ โรงครัวและโรงซักฟอก วันที่ 22 มีนาคม 2502 จึงเปิดดำเนินการเป็นโรงพยาบาลในสังกัด กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินกิจการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมา โรงพยาบาลอินทร์บุรี ได้รับการพัฒนาในทุก ๆ ด้านอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องด้วยความสามารถของผู้อำนวยการโรงพยาบาลและด้วยความร่วมมือร่วมใจของบุคลากรทุกฝ่ายในโรงพยาบาล และด้วยความสนับสนุนของผู้มีจิตศรัทธาที่ได้ร่วมกันบริจาคทุนทรัพย์ ในการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ปัจจุบันโรงพยาบาลอินทร์บุรี ยังคงมุ่งพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลในทุก ๆ ด้าน ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพและคุณภาพของการบริการ

บุคลากรทางการแพทย์[แก้]

การแบ่งส่วนราชการ[แก้]

โรงพยาบาลอินทร์บุรี มีการแบ่งส่วนราชการ ดังต่อไปนี้